แรงงานชิ้นส่วนยานยนต์ หวั่นหลังโควิดตกงานสูง

ผู้นำแรงงานชิ้นส่วนยานยนต์ หวั่นตกงานจำนวนมาก หลังโควิดบวกกับการเข้ามาของเทคโนโลยีใหม่ ชงรัฐแก้ปัญหาพัฒนาคน เก่า-ใหม่ให้มีงานทำ เสนอองค์กรต้องมองอนาคตเงินก้อนสุดท้ายเมื่อออกงาน

ภาคีสังคมแรงงานสู้โควิด จัดเสวนาออนไลน์ เรื่อง “ชิ้นส่วนยานยนต์หดตัว สิทธิแรงงานหดหาย” เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2563 เมื่อรถยนต์ไฟฟ้า (EV) เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ความต้องการชิ้นส่วนยานยนต์แบบเดิมๆก็เริ่มลดลง ตำแหน่งงานก็ต้องหดหาย วิกฤตไวรัสโควิด-19ระบาด ยิ่งเร่งให้เกิดผลกระทบต่อแรงงานเร็วขึ้น ดราม่าละเมิดสิทธิแรงงานก็ผุดขึ้นทั่วไป

นายสัพพัญญู นามไธสง ประธานสหภาพแรงงานผลิตภัณฑ์ยานยนต์ไทย กล่าวว่าสภาพปัญหาที่เห็นงหลีกหนีไม่พ้นจากคำว่ารายได้ เพราะว่าลูกจ้างไม่เคยคิดว่าสถานการณ์วิกฤติ การผลิตที่ลดลง ผู้บริโภคเขาเปลี่ยนวิธีการคิด คนงานที่อยู่ในโซนอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ ปัญหาที่หนักๆเลยที่สะท้อนมาว่าตอนนี้การหยุดกิจการชั่วคราว การมีรายได้ 75% ด้วยลำพังค่าจ้าง 100% ไม่สามารถทำให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ ลูกจ้างต้องอาศัยการทำงานล่วงเวลา (โอที)เข้ามาเสริมรายได้เพื่อให้ตัวเองอยู่ได้ คำว่าวิกฤตของโรคระบาดที่เข้ามากระทบทั้งกับกลุ่มนายจ้าง กับลูกจ้าง ที่ได้สะท้อนที่ได้รับข้อมูลมาจกคนงานบอกรับไม่ได้กับการใช้มาตรา 75 จ่ายค่าจ้าง 75% เมื่อไหร่นายจ้างจะเลิก จ่าย 100% ดีกว่า วันนี้ขบวนการผลิตของนายจ้างปรับตัวส่วนหนึ่งก็คือจ่าย 75% อีกส่วนคือ ยุบการทำงานบางกะ รายได้ค่าทำงานกะ เดือนหนึ่งไม่ต่ำกว่า 14-15 วันมันหายไป 75% หายไปอีก 25% ก็มีผลกระทบเรื่องรายได้ของแรงงาน

เรื่องของแรงงานเหมาค่าแรง ยิ่งไม่ต้องพูดถึง เขาถูกเลิกจ้างไปแล้ว ด้วยการคืนต้นสังกัดไป เป็นยุทธศาสตร์การจ้างงาน ซึ่งอยากสะท้อนว่า ลักษณะการคืนแรงงานเหมาค่าแรงให้กับบริษัทต้นสังกัด ที่บอกว่า ไม่ใช่การเลิกจ้าง ก่อนหน้านี้นายจ้างมีกำลังการผลิตเต็มสปีดปกติ นายจ้างได้รับผลประโยชน์จากแรงงานตรงนั้นเต็มที่ แต่พอมีวิกฤติไม่กี่เดือน การคืนหรือการปลดออก การส่งแรงงานคืนต้นสังกัดมันทำให้แรงงานเหมาค่าแรงไม่ได้รับสิทธิการดูแลคุ้มครอง กรณีแรงงานเหมาค่าแรงอยู่มากกว่า 1 ปีก็มี แต่เวลาคืนต้นสังกัด ได้ยินว่า แรงงานกลุ่มนั้นไปที่สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่อทวงถามว่า “สิทธิฉันมีแค่นี้จริงหรือ” นายจ้างคืนต้นสังกัดบริษัทรับเหมาฯ ต้องไปทำงานที่โน่นที่นี่ เกิดกระบวนการ การกดดันให้ออกจากงานไปเองหรือไม่ สุดท้ายมีการเสนอเงินช่วยเหลือมา 5,000บาท แรงงานก็รับ ซึ่งนายจ้างเสนอเพื่อความรวดเร็ว ใช้คำว่า “กำขี้ดีกว่ากำตด” ผลกระทบกับเหมาค่าแรงไม่ต้องพูดถึงเลยเขาไม่มีสิทธิที่จะออกเสียงเลย ช่วงวิกฤตอย่างนี้ ซึ่งส่วนใหญ่ที่พบเดิมทีหยุดวันอาทิตย์เดี๋ยวนี้ให้คนงานหยุดวันเสาร์เพิ่มขึ้น สั่งหยุดเลยไม่จ่าย 75% สั่งหยุดเลย ตอนนี้ขยายให้ไปหยุดวันจันทร์, เสาร์, อาทิตย์ ตอนนี้หนักเลยทำ 4 หยุด 3 หยุด 3 วันต่อสัปดาห์ไม่ได้รับค่าจ้างอันตรายมากกว่าจ่าย 75% ยังไม่ได้ตามข้อมูลว่า แรงงานเหมาค่าแรงกลุ่มนั้นได้ไปที่สำนักงานประกันสังคม หรือไม่ และนายจ้างไปดำเนินเรื่องเยียวให้หรือไม่

กรณีทำงาน 4 วัน หยุด 3 วัน เรื่องการคืนต้นสังกัดต้องจ่าย 75% ให้ย้อนไปดูว่าศักยภาพของนายทุนกับลูกจ้างตอนนี้ 75% รับมา 3 เดือนเงินในกระเป๋าไม่มีสักบาท ถามว่า ตั้งแต่เกิดวิกฤตตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงตอนนี้เงินในกระเป๋าเจ้านายยังมีมาก งานนี้จะทำอะไรก็วิงวอนมันน่าจะมีการเยียวยาให้ถูกต้องหน่อยในฐานะที่เป็นมนุษย์ด้วยกัน

ความช่วยเหลือส่วนหนึ่งก็มีมูลนิธิเข้ามาช่วยเหลือ  ในกลุ่มเอาสิ่งของไปวางในตู้ปันสุขก็มีการตอบรับดี คนงานบางกลุ่มที่เขาได้รับผลกระทบจริงเขาก็ไปใช้ตรงนั้นได้อันนี้ก็เป็นเรื่องที่เราได้รับการช่วยเหลือหรือไม่เราก็พยายามพยุงกันเอง เพราะว่าจะไปประกันสังคมป่านนี้แล้วความชัดเจนในการจ่ายยังไม่เกิดเลยประกันสังคม

ช่วงที่มีวิกฤตอย่างนี้นายจ้างสั่งให้คุณหยุดเป็นอาทิตย์ 2 เดือน 3 เดือน จ่าย 75% ทำอะไรให้มันเกิดประโยชน์ต่อตัวเองบ้าง สหภาพแรงงานเลยชวนเพื่อนๆสมาชิกมาฝึกอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นตัดผม เลี่ยมกรอบพระ ฯลฯ มติที่ประชุมมีนโยบายให้เดินหน้าเต็มสูบเลยเพราะว่า ช่วงที่ลูกจ้างหยุดเป็นช่วงที่ต้องประสานให้เขาเข้ามาฝึกอาชีพเพื่อหารายได้พิเศษเพิ่มไว้

ประเด็นที่หนึ่ง ต้องมีทุนให้กับลูกจ้างในฐานะเป็นผู้นำแรงงาน คิดว่าให้เงินอย่างเดียวอาจจะไม่พอ ต้องให้เครื่องมือไปทำมาหากิน ฝึกให้มีอาชีพติดตัวแน่นอนกลุ่มแรงงานที่ระดับ 40 ปีขึ้นไป พร้อมที่จะออกไปและเปลี่ยนผ่านให้แรงงานหนุ่มสาวเข้ามาสู่อุตสาหกรรม ระบบแบบนี้ควรจะมีการผลักดัน ประเด็นที่สอง วิกฤตมาลูกจ้างรับผลกระทบแน่นอนแม้รับเงิน 100% ยังต้องทำงานเพิ่มOTจึงมีรายรับพออยู่ได้ การรับเงิน 75% ไม่มีOT หยุดบ้างทำงานบ้าง คิดว่า ถ้ารัฐเรียกร้องหรือช่วยหนุน อยากให้รัฐบาลเข้ามาขอความร่วมมือบอกนายจ้างจ่าย 100% ได้ไหม โดยรัฐยินดีจะลดภาษีนำเข้าให้ หรือยื่นข้อเสนอไปว่าบริษัทไหนจ่าย 100% รัฐยินดีที่จะช่วยนายจ้างอีก 3 ปีข้างหน้าไม่ต้องจ่ายภาษีเลย หรือจ่ายในอัตราที่ต่ำลง

นายธนัสถา คำมาวงศ์ ประธานสหภาพแรงงานสยามโตโยต้า กล่าวว่า ได้ร่วมกับทีมงานเปิดศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ในพื้นที่อมตะนคร ชลบุรี ในกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ ตอนนี้ร้องทุกข์กรณีละเมิดสิทธิ 4-5 บริษัท จากการเปิดศูนย์มาเดือนกว่าๆเกือบ 2 เดือน มาตรการที่หลายๆสถานประกอบการเขาใช้มาตรา 75 แต่จ่ายเงินเพียง 50% แต่ได้สวัสดิการบางอย่าง คือบริษัทเดียวกัน อีกส่วนหนึ่งจ่าย 75% แต่ไม่ได้สวัสดิการเลย ทำให้พนักงานหรือกรรมการสหภาพมาร้องที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ว่ามีการเลือกปฏิบัติ ทางศูนย์ได้ทำหนังสือไปที่สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จังหวัดชลบุรี เพื่อประสานงานให้มีการพูดคุยไกล่เกลี่ยกันว่า ทำไมถึงปฏิบัติแบบ 2 มาตรฐาน และที่โดนอีกคือพนักงานซับคอนแทรคที่โดนส่งคืนต้นสังกัดจ่ายเงินช่วยเหลือ 1 เดือน บริษัทซับฯเลิกจ้างจำนวนคนเกือบ 50 คน ไม่จ่ายค่าชดเชย

ส่วนที่ 3 คือนายจ้างลดวันทำงานเหลือ 3 วัน /สัปดาห์ แรงงานที่เหลือให้ไปรับเงินว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัย 62% หลังจากที่มีการยื่นข้อเรียกร้องปีที่ผ่านมา สภาพการจ้างที่ตกลงกันแล้ว มีการเลื่อนการบังคับใช้โดยไม่มีกำหนดกรณีนี้ก็มีการร้องทุกข์ และอีกส่วนเปิดโครงการจากด้วยใจ จำใจจาก มีสิทธิประโยชน์เพิ่มให้ ซี่งยังไม่ได้ตามจำนวนที่บริษัทต้องการให้ออก ที่เหลือนายจ้างจะชี้ให้ออกและจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย ได้น้อยกว่าคนที่ออกตามโครงการสมัครใจ ทางศูนย์รับข้อมูลต่างๆทำหนังสือไปที่สวัสดิการคุ้มครองแรงงานเพื่อให้ทางสวัสดิการคุ้มครองแรงงานนัดทางบริษัทเข้าไปไกล่เกลี่ยกัน และมีผู้ได้รับการไกล่เกลี่ยบ้างแล้ว แต่ว่า ยังไม่จบและนายจ้างที่ยังเฉยอยู่ก็มี ก็ยังอยู่ในเงื่อนไขอยู่

ส่วนสถานประกอบการคาร์แบรนด์แต่ละค่ายมีสายป่านยาว หรือสายป่านสั้น และการรักษาหน้าตาด้วย ในกลุ่มยานยนต์จะใช้มาตรา 75 แต่การจ่ายแตกต่างกัน แบรนด์ใหญ่จ่ายให้ลูกจ้าง 90% จ่ายไประยะหนึ่งจะลดมาจ่าย 85% และจะลดลงมาเป็น 80% ส่วนกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์จะอยู่ที่ 75%

ช่วงนี้บริษัทต้องSave Cost การผลิตไว้ก่อน หลังจากนี้กลุ่มยานยนต์จะเจอปัญหาเรื่องของรถไฟฟ้า พบกับนวัตกรรม 4.0 ตอนนี้ถือโอกาสในการเปลี่ยนแปลงองค์กร เปลี่ยนแปลงการจ้างงานให้มันน้อยลงโดยใช้นวัตกรรมโรบอทหุ่นยนต์มาแทน พูดภาพรวมหลังจากโควิดซาลงไปแล้วมันก็จะมีการแบ่งคน มีคนดี คนเก่ง ในสถานประกอบการนั้น คนอีกกลุ่มหนึ่งคือคนที่ไปต่อไม่ได้ก็จะมีอยู่ 2-3 ทาง ทางแรกไปต่อไม่ได้ก็จะกลับคืนสู่ชนบทเพราะว่า โดยพื้นฐานแล้วประเทศไทย ในอุตสาหกรรมยานยนต์ก็มีพื้นฐานอยู่ต่างจังหวัดก็ได้เงินจากโครงการจำใจจาก หรือเกษียณก่อนกำหนดได้เงินสักก้อนไปเริ่มทำอาชีพเกษตรกรรม

ส่วนที่ 2 คือกลุ่มคนที่จากบ้านมานานพื้นฐานก็ไม่มีแล้ว เงินก็น้อยกลับไปก็ไม่ได้ เป็นปัญหาที่เราต้องช่วยกันถกว่าจะช่วยกลุ่มนี้ได้อย่างไรหรือไม่แตกต่างจากคนที่ทำงานอิสระเลย

กลุ่มที่อยากอยู่ต่อแต่ไม่มีฝีมือ เข้ากับเทคโนโลยีไม่ได้ จะกลับบ้านก็กลับไม่ได้แต่ก็อยากอยู่ต่อ อันนี้ต้องฝากทางภาครัฐให้มีการยกระดับฝีมือแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงแรงงานหรือว่าภาครัฐบาลต้องมาจับเรื่องนี้ให้เป็นประเด็นสำคัญด้วย

แนวคิดในอนาคตการวางแผนการใช้เงิน ถ้าไม่มีงานไม่มีโอทีทำเป็นปัญหาทันทีเลย อยากให้พนักงานหรือสมาชิกทบทวนการบริหารจัดการเรื่องคุณภาพชีวิตและการวางแผนการใช้เงินมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา สุดท้ายแผนการฟื้นฟูหรือมาตรการฟื้นฟู งบที่มีอยู่ 4 แสนล้าน มีแจ้งความประสงค์ไปแล้ว 7 แสนล้าน มีงบ 4 แสนแต่ยื่นไปแล้ว 7 แสน งบฟื้นฟู 4 แสนล้าน อยากจะให้ตกมาถึงนายจ้างกับมาถึงคนงานด้วย จะฟื้นฟูยังไงให้นายจ้างอยู่ได้ ให้คนงานได้รับเงินจากแผนฟื้นฟูได้บ้าง

นายอมรฤทธิ์ แสงยะรักษ์ ประธานสหพันธ์แรงงานชิ้นส่วนยานยนต์ กล่าวว่า ผลกระทบอุตสาหกรรมยานยนต์มันก็หมายถึงชิ้นส่วนด้วยผู้ประกอบด้วย เมื่อผู้ประกอบรถยนต์ได้รับผลกระทบชิ้นส่วนก็ได้รับผลกระทบเหมือนกัน เหมือนอยู่ในเรือลำเดียวกัน ฉะนั้นผลกระทบจริงๆแล้วยานยนต์กระทบปลายปีที่แล้วแต่เป็นเรื่องเศรษฐกิจพอมาเจอพิษโควิดเหมือนซ้ำหนักลงไปอีก สถานการณ์โดยภาพรวมจะลดลงประมาณ 30%  วันนี้อุตสาหกรรมยานยนต์ เรื่องผลกระทบกับแรงงานสิ่งแรกที่กระทบคือ เรื่องสภาพการจ้าง การลดชั่วโมงทำงาน โอทีไม่มี 100% และมาใช้มาตรา75 เรื่องการเลิกจ้างสถานการณ์ตอนนี้มีทั้งการใช้มาตรา75  และการเลิกจ้าง

พนักงานที่ได้รับผลกระทบแรกเลยคือ พนักงานรายวันที่ชั่วโมงการทำงานลดลง วันทำงานลดลง คนทำงานรับค่าจ้างรายวันกระทบมาก หากมีหนี้สินมาก ไม่ว่าจะรายได้เงินเดือนสูงๆ หากผ่อนรถ ผ่อนบ้าน ผ่อนบัตรเครดิต สถานการณ์แบบนี้ อยู่ไม่ได้ต้องออกไปหรือไปทำงานที่อื่น ถ้าไม่มีโอทีคนงานอยู่ไม่ได้แน่นอนแต่ว่า เนื่องด้วยโควิดมันไปไหนไม่ได้ ไปที่อื่นก็ไม่ได้ต้องโดนกักตัว ฉะนั้นวิธีแก้ไขคือ พนักงานต้องลดค่าใช้จ่ายต้องปรับ เช่น ไปยื่นผ่อนชำระหนี้ และพูดคุยกับนายจ้างเรื่องการเยียวยาเพื่อให้ชะลอการเลิกจ้างเพื่อให้รอดูสถานการณ์ซึ่งหลักการอยู่ไม่ได้นาน นายจ้างก็รับภาระอยู่ไม่ได้นานถ้าเป็นอย่างนี้ยาวไปเรื่อยๆ การเลิกจ้างออกมาแน่นอน

ในสถานการณ์แบบนี้มันมีคำว่า ช่วยเหลือกัน ที่นายจ้างพูดคุยต้องช่วยเหลือบริษัทยามทุกข์ยากเราต้องร่วมมือกัน สิ่งนี้เป็นที่มาของการลดสวัสดิการโดยที่สหภาพเองพูดลำบากอย่างเช่น สวัสดิการเรื่องการจัดกิจกรรมต่างๆ นายจ้างก็ขอลดเพราะมันไม่จำเป็นลดไปก่อนทำให้องค์กรอยู่ได้ สิ่งเหล่านี้กับกลายว่า ไปละเมิดสวัสดิการของพนักงานที่มีอยู่ ถ้าเป็นสถานการณ์ปกติสหภาพแรงงานคงไม่ยอม สถานการณ์อย่างนี้มันใช้คำว่า แรงงานสัมพันธ์อยู่ด้วยกัน บริษัทอยู่ได้ แรงงานอยู่ได้ นี่คือ สิ่งหนึ่งที่ผู้นำแรงงาน ก็น้ำท่วมปาก ต้องพยายามไม่ให้มีการเลิกจ้าง พยายามยอมทุกอย่างนี่คือ การต่อรองกัน เพื่อให้สถานภาพการจ้างงานยังคงอยู่

ตอนนี้ต้องยอมรับว่า ประเทศไทยมีสถานประกอบการที่เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ประมาณ 2,000 กว่าราย มีคนงานประมาณ 500,000 คน กลุ่มนี้ถ้าหากคาร์แบร์นต่างๆได้รับผลกระทบ กลุ่มชิ้นส่วนกระทบแน่นอนเพราะว่าไม่มีงานเข้ามา สายป่านก็ไม่ยาวกลุ่มนี้จะเลิกจ้างคนเป็นอันดับแรกซึ่งน่ากังวล

คิดว่า สิ่งเหล่านี้รัฐต้องเข้ามาดูแลในธุรกิจที่สายป่านไม่ยาวเขาคงไม่อุ้มพนักงานอยู่ถึงตลอดสิ้นปีแน่นอน ในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ปีนี้ ยอดขายอย่างในกลุ่มชิ้นส่วนที่ทำงานอยู่ยอดขายตกไป 2 หมื่นล้าน คงไม่เอาคนงานไว้แน่นอนเพราะฉะนั้นต้องมีการปรับเปลี่ยนการจ้างงานแน่นอนเราก็พยายามจะยื้อให้ถึงที่สุด

เรื่องปรับเปลี่ยนแผนธุรกิจเอาเทคโนโลยีเข้ามาทดแทนคนนายจ้างคิดมานานแล้ว เพียงแต่ว่ามันยังไม่มีผลกระทบอย่างโควิดเข้ามาทำให้เหตุการณ์มันพลิก และเริ่มคิดเร็วขึ้น ศักยภาพของโรบอทยุคนี้แทนคนได้ 5-10 คน เพราะฉะนั้นเรื่องที่ว่าโรบอทเตรียมตัวเข้ามาเรื่องจริงเขากำลังเอาเข้ามาเพื่อทดแทนคนที่ถูกให้ออกไปหลังจากโควิด จากนี้ไปการจ้างงานจะไม่เหมือนเดิมคนที่ออกงานไปอายุ 40-50ปี จะไม่กลับมาสู่ระบบแน่นอน ส่วนเด็กรุ่นใหม่ก็ขาดฝีมือ ฉะนั้นอุตสาหกรรมต้องปรับเปลี่ยน แรงงานต้องปรับตัวรัฐต้องเข้ามาช่วยในการฝึกฝีมือเรื่องเทคโนโลยี ไม่อย่างนั้นอุตสาหกรรมไปไม่รอด แถมทางภาครัฐมองแต่การพัฒนาฝีมือเรื่องโรบอทให้นายจ้างโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

ในฐานะที่เป็นผู้นำแรงงานที่เป็นสหภาพแรงงานสิ่งหนึ่งที่ต้องเรียกร้องเงินก้อนสุดท้ายที่มันเยอะขึ้น ไปเรียกร้องเอาเงินเฉพาะที่เราต้องทำงานยาวไป เงินก้อนสุดท้ายกับการกลับไปสู่ชีวิตแบบใหม่ของของแรงงานแบบ New Normal ต้องมีทุนไป คนที่อยู่ก็ต้องผลักดันว่าต้องมีการพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อให้เขาได้อยู่กับระบบได้ ในฐานะที่เป็นผู้นำแรงงานเราก็ต้องผลักดันสวัสดิการที่ดีๆให้กับคนงานที่ออกไปแล้วสามารถที่จะสร้างเนื้อสร้างตัวได้

นายวินัย ติ่นโตนด ประธานสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ประเด็นสำคัญคือผลกระทบในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ เดิมปี2562 กล่าวถึงการเปลี่ยนผ่านยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งมันอาจจะกระทบบ้างแต่ตัวเลขไม่น่าจะมากขนาดนี้ แต่ปัจจุบันผลจากโควิด-19 จาก 124 ประเทศทั่วโลกตัวเลขผู้ติดเชื้อก็ 2 ล้านกว่าคน ส่งผลกระทบการส่งออก และการท่องเที่ยวของประเทศไทยด้วย 2 อย่างหลัก ทำให้ธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์ ทั้งผลิตอะไหล่ญี่ปุ่นแบรนด์รถยนต์ต่างๆมาตั้งโรงงานผลิตเป็นฐานผลิตหลักของโลกเพื่อส่งออก โดยส่งออกกว่า 60% และขายในประเทศแค่ 40% ณ ปัจจุบันกระทบหนักสุด ด้วยทั่วโลกมีการปิดประเทศ ทำให้ส่งออกไม่ได้ ปัจจุบันหลายบริษัทก็ใช้มาตรการ 75 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน หรือบางแห่งใช้ยาแรงเลิกจ้าง ปลดออกบ้าง ส่วนพนักงานซับคอนแทรคมีการคืนต้นสังกัด ซึ่งเป็นผลกระทบหนัก

ตอนนี้ข้อมูลจากศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย พื้นที่บ่อวิน พื้นที่อมตะนคร พื้นที่ระยอง พื้นที่ปราจีนบุรี พื้นที่ฉะเชิงเทรา มีแรงงานได้รับผลกระทบประมาณ 300,000 กว่าคน ซึ่งเป็นคนงานซับคอนแทรคที่ถูกคืนตัว และใช้มาตรการเดินเรื่องไป ร้อง คร.7 คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ใครจะฟ้องศาลได้ก็ฟ้อง ตอนนี้มาตรการหลายๆมาตรการที่ออกมาไม่ได้ช่วยเหลือดูแลแรงงาน ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงสถานการณ์ที่กลุ่มยานยนต์แบรนด์ดังต่างๆ มียอดการผลิตลดลงมากกว่า 70% ยกตัวอย่างแบรนด์ๆหนึ่งเดิมทีมียอดการผลิตอยู่เดือนหนึ่งประมาณ 54,000 คัน ปัจจุบัน ณ เดือนนี้ยอดการผลิตเหลือประมาณแค่ 28,000 คัน ลดลงไปหายไปกว่าครึ่งและตั้งแต่เดือนกรกฎคมเป็นต้นไปยอดจาก 28,000 ก็เหลือแค่ 27,000 คัน มองได้เลยอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคตถ้าเกิดว่าไตรมาส 3 ไตรมาส 4 น่าจะกระทบยาว และแน่นอนว่าคนทำงานที่มันเกินอยู่ปี 2554-2555 รถยนต์คันแรก น่าจะมีการเลิกจ้างคนงานมหาศาลในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งตอนนี้ก็มีข่าวเลิกจ้างทุกวันวันละ 1,000 -2,000 คน

ตอนนี้สถานการณ์เกิดวิกฤต 2 ช่วง ช่วงแรกเรื่องงของการเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมยานยนต์ จากรถยนต์ที่ใช้ฟอสซิลก็เปลี่ยนเป็นยานยนต์ไฟฟ้าและมันเกิดผลกระทบโรคโควิด-19 ทำให้แต่ละประเทศมันปิดประเทศส่งออกไม่ได้ และคนในประเทศลดกำลังการซื้อ ขายไม่ได้ หลังจากวิกฤตโควิดที่มันสิ้นสุดแล้ว ในช่วงนี้มันอาจจะเป็นโอกาสของกลุ่มผู้ผลิตในการเปลี่ยนสายการผลิตด้วยในการเปลี่ยนสายพานการผลิต ติดตั้งเครื่อง  อาศัยวิกฤตโควิดตรงนี้ ปลดออก เลิกจ้าง ประกันสังคมก็เปิดโอกาสให้แล้ว 62%หรือจะเป็น 75% กฎหมายคุ้มครองแรงงานก็แล้วแต่ ใครจะใช้มาตรการแบบไหน หลังจากโควิดไปแล้วรัฐบาลไม่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ก็หวังว่าน่าจะมีการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีมาตรการของลดภาษียานยนต์ ในช่วงไตรมาส 3 ไตรมาส 4 อาจจะทำให้กลุ่มธุรกิจยานยนต์มันกลับมามียอดผลิตที่สูงขึ้นบ้าง แต่ก็เชื่อว่าเป็นโอกาสที่นายจ้างน่าจะใช้ช่วงวิกฤตนี้ในการที่จะปลดออก เลิกจ้าง พร้อมเป็นการปรับเปลี่ยนธุรกิจในช่วงนี้

สถานการณ์ ณ ตอนนี้ บางแบรนด์ถึงขั้นประกาศปิดโรงงานประกอบรถกระบะแล้วก็ย้ายไปผลิตที่แหลมฉบัง หลายๆประเทศเขาก็ปิดมาแล้ว และมาตั้งฐานที่นี่จะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเป็นหลักซึ่งเชื่อว่า มีการเตรียมการไว้อยู่แล้ว ต้องตามข่าวกัน ตอนนี้คนงานก็ถูกlayoff สถานการณ์เรื่องของยานยนต์เชื่อว่าในอนาคตรูปแบบของการจ้างงานเปลี่ยนแปลงไปมากกว่านี้เหมือนกลุ่มเครือใหญ่ๆ ที่ปัจจุบันถึงขั้นปลดคนงานไทย เอาคนงานข้ามชาติเข้ามาทำงานแทน จากนี้ไปอุตสาหกรรมจะฟื้นตัวแบบช้าๆ ฟื้นตัวแบบไร้แรงงาน

ปัจจุบันเนื่องจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ และปัจจัยการจ้างงานทำให้คนไทยเริ่มเบื่องาน เริ่มจะหันกลับไปสู่ภาคเกษตรและทฤษฎีเก่าเดิมอยู่กันแบบสบายๆไม่ต้องอะไรมาก ปลูกผัก ปลูกข้าวมีกินก็พอแล้ว เริ่มจะมีแบบนี้แต่ก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งยังยึดติดอยู่กับภาคธุรกิจ ซึ่งอนาคตคนที่จะทำงานตรงๆทำงานแบบหามรุ่งหามค่ำ และเข้าสู่ภาคธุรกิจจริงๆ เริ่มจะมีน้อยนอกจากนักศึกษา ปัจจุบันนักศึกษาที่จบมาใหม่ 2 แสนกว่าคนเมื่อมีนาคมที่รวมกับปัจจุบันอัตราการว่างงานอยู่ในระดับ 4-5 แสนกว่า ตอนนี้ล้านต้นๆแล้วที่ตกงานอัตราว่างงานล้านกว่าคนยังไม่รวมที่ปิดกิจการชั่วคราวใช้มาตรา 75 ซึ่งคนเหล่านี้ ไม่มีโอกาสที่จะกลับมาทำงานก็เยอะ เช่น บริษัทซับคอนแทรคที่คืนตัวแล้วก็ปิดกิจการให้ลูกจ้างเซ็นลาออกแล้วไปใช้ประกันสังคมกรณีว่างงาน 70% จำนวน 200วัน คนเหล่านี้โอกาสน้อยที่จะกลับเข้ามทำงานแน่นอน

ช่วงที่ยื่นข้อเรียกร้อง ปีที่ผ่านมาก็ประสบความสำเร็จว่า ถ้าบริษัทมีการปลดออกเลิกจ้าง ปรับเปลี่ยนธุรกิจอะไรก็แล้วแต่ ต้องจ่ายสูงกว่ากฎหมายคูณสองเข้าไป อันนี้ก็ประโยชน์ส่วนหนึ่งและมีเงินส่วนอื่นๆอีกที่เรียกร้องมาก่อนหน้านี้ มีการยื่นข้อเรียกร้องให้นายจ้างจัดการฝึกอาชีพคนงาน เพื่อสร้างอาชีพทางเลือกให้กับคนงาน ซึ่งก็ประสบความสำเร็จมาแล้ว 3 อาชีพ เป็นแนวความคิดว่า สิ่งเหล่านี้ต้องสร้างให้เกิดได้จริงในช่วงโอกาสแบบนี้ ทำอย่างไรให้คนงานอยู่ได้ อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ ต้องคิดในฐานะที่เป็นผู้นำแรงงาน อาชีพหลักๆที่ควรฝึกให้คนงาน หนึ่ง สหภาพทำได้ทำเลย สอง ขอบริษัทได้บริษัทช่วยเหลือ สหภาพขอบริษัทได้มา 4 อาชีพ คือ ช่างแอร์ ช่างไฟฟ้า ช่างเชื่อม ช่างตัดผม อย่างนี้ที่มันสามารถที่จะประกอบธุรกิจได้ ปัจจุบันกระทรวงแรงงาน มีงบประมาณที่เรื่องการฝึกอาชีพให้กับคนงาน แต่ว่ากระทรวงแรงงานไม่ได้ดำเนินการหลายอาชีพที่งบประมาณมันตกค้างอยู่และกระทรวงไม่ได้ทำ