ศาลแรงงานสั่งนายจ้างจ่ายชดเชยค่าเสียหายคดีอักษร อรรคติ

 

อักษร

ศาลสั่งนายจ้างจ่ายชดเชยค่าเสียหาย หลังสู้คดี 5 ปีกว่า ทั้งศาลต้นศาลอุทธรณ์เห็นพ้องต้องจ่าย 180,000บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ7.5

คดีนายอักษร อรรคติ ผู้ป่วยเป็นโรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทจากการทำงาน นับเป็นคดีประวัติศาสตร์อีกคดีหนึ่งของผู้ใช้แรงงาน  วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2559.ศาลแรงงานกลาง ได้มีการอ่านคำพิพากษาฎีกา คดีแดงเลขที่ 3158/2555 โดยมีโจทก์จำเลยมารับฟังศาล “นายอักษร อรรคติ โจทก์ บริษัทเอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด จำเลย คดีแพ่งศาลแรงงานยื่นฟ้องไว้ที่ศาลเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2554 ศาลได้พิจารณาคดีที่นายอัคษร อรรคติ เป็นโจทก์ ฟ้อง ว่าเข้างานเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม2548 ตำแหน่งพนักงานฝ่ายผลิต มีหน้าที่ยกสินค้าขึ้นรถ และรับสินค้าเข้าเก็บในโกดังเพื่อรอจัดส่งต่อไปตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา นายอักษรเริ่มมีอาการปวดหลังและรักษาตัวมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 และปวดมากขึ้นเรื่อยมา ไปพบแพทย์วินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท และใช้สิทธิกองทุนเงินทดแทน และรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง อาการเริ่มดีขึ้น อักษรกลับเข้าทำงาน แต่ถูกจำเลยใช้ให้ทำงานในลักษณะเดิม ทั้งที่แพทย์มีความเห็นว่าโจทก์ไม่สามารถทำงานตามปกติได้อีกต่อไป จนเป็นเหตุให้นายอักษรเจ็บป่วยอีกทำให้นายอักษร สูญเสียรายได้และไม่สามารถทำงานกับนายจ้างอื่นได้ การกระทำของจำเลยถือเป็นการประมาทเลินเล่อ (5)

ศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหาย ให้นายอักษร เป็นเงิน 180,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นจนกว่าชำระเสร็จ แต่จำเลยได้อุทธรณ์คดีนี้ต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาพิจารณาแล้ว่าการอุทธรณ์ของจำเลยเป็นการโต้แย้งในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย จึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานกลางและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2552 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง จึงพิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลย โดยศาลให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 7 วันนับจากวันนี้ การต่อสู้คดีของนายอักษร อรรคคติ ใช้เวลาประมาณ 5 ปี คดีนี้เป็นที่สนใจของสังคมผู้ใช้แรงงาน

นางสมบุญ สีคำดอกแค ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทยกล่าวว่า กรณีแบบนี้ยังมีอีกจำนวนมากในโรงงานอุตสาหกรรมทุกๆประเภทที่ใช้แรงคนทั้งชายและหญิงยังถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะสูญเสียความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายจนไม่สามารถขายแรงงานได้อีกต่อไป คนงานจำนวนมากที่ป่วยแล้วทำงานไม่ไหว ไม่รู้สิทธิ ไม่เข้าสู่กองทุนเงินทดแทน ต้องถูกเลิกจ้าง หรือไม่ก็ลาออกงานไปโดยไม่ได้รับการดูแลรักษา กลับไปเป็นภาระครอบครัวและสังคม สิ่งที่รัฐจะต้องเข้ามาดูแลในเรื่องของกฎหมายที่ยัง อ่อนแอล้าหลัง โดยเฉพาะกฎหมายคุ้มครองคนทำงานในโรคเออโกโนมิคส์ โรคโครงสร้างกระดูก ในประเทศไทย ยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองคนงานในโรคนี้เลย จากงานวิจัยของรศ.ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ พ.ศ.2556 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยเฉพาะกระทรวงแรงงานต้องเร่งศึกษาและออกกฎหมายนี้ เพื่อมาบังคับใช้เพื่อคุ้มครองแรงงานให้ได้รับความปลอดภัยโดยด่วน เพื่อการรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมในปัจจุบันต่อไป

“นายอักษร อรรคติ เป็นหนึ่งในสมาชิกสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯ กับอีกหลายพันคน ได้เข้ามาขอปรึกษา เรื่องการเจ็บป่วยและการขอใช้สิทธิกับกองทุนเงินทดแทนมาตลอดและทีแรกนายอักษร ไม่ได้คิดที่จะใช้การต่อสู้ทางกระบวนการยุติธรรม แต่ภายหลังไม่รู้จะแก้ไขปัญหาอย่างไร จึงเข้ามาแจ้งความประสงค์ ว่า ต้องการเรียกร้องความเป็นธรรม จากกระบวนการยุติธรรม คือฟ้องศาล ซึ่งขณะนั้นเป็นเวลาเหลือเพียง 2 วัน จะครบ 1 ปี จะหมดสิทธิการฟ้องร้องตามกฎหมาย สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯ จึงแนะนำให้ไปที่ศาลแรงงานกลางหนึ่งวัน นายอักษร กลับมาบอกว่า ถูกปฺฏิเสธไม่สามารถฟ้องได้ สภาเครือข่ายฯ จึงได้โทรศัพท์ไปขอความช่วยเหลือนายบุญยืน สุขใหม่ ให้เขียนคำฟ้องให้ และ พานายอักษร อรรคติไปยื่นฟ้องที่ศาลแรงงานกลางในวันที่สอง ถึงได้ยื่นฟ้องได้สำเร็จ และค่อยมาหาทนายในภายหลัง การเรียกร้องสิทธิและความเป็นธรรมทำไมถึงยากเย็น จะมีคนงานสักกี่คน ที่ได้เข้าถึงความยุติธรรม อย่างนายอักษร อรรคติ “สมบุญ กล่าว

ขอบคุณ ข้อมูลจากเฟสบุก สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานฯ