เหลียวหลัง…แลหน้า..มองหาอนาคต

PB150178

นักวิชาการแรงงาน ชี้การให้สัตยาบันช้าเพราะข้าราชการกลัวสูญเสียอำนาจการปกครอง ตัวแทนองค์กรต่างประเทศเห็นว่ารัฐบาลไทยมีส่วนร่วมตลอดกับILO การศึกษาเพื่อสัตยาบันจึงเป็นเพียงข้ออ้าง แรงงานเน้นรัฐต้องให้สัตยาบัน เพื่อการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพแรงงาน ลดแรงกดดันทางการค้า ภาครัฐชี้เป็นเพราะรัฐบาลไทยเปลี่ยนแปลงบ่อยจึงศึกษาและประชาพิจารณ์ไม่จบ

วันที่ 15 พ.ย. 57 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)ร่วมกับ โซลิดาริตี้เซ็นเตอร์ประเทศไทย (SC) ได้จัดสัมมนาเรื่อง “เหลียวหลัง…แลหน้า…มองหาอนาคต” จากอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศไทย (ILO) ฉบับที่87 และ 98 ถึงร่างพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฉบับที่ 12,130 รายชื่อ ที่โรงแรมบางกอกพาเลส กทม.

นายชาลี ลอยสูง ประธานคสรท.กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของขบวนการแรงงานเรื่องให้รัฐให้สัตยาบันILOนั้นเกิดขึ้นในปี 2535 หลังจากที่มีการปฏิวัติรัฐประหารและขบวนการแรงงานนำโดยคุณทนง โพธิ์อ่าน ที่ขับเคลื่อนต่อต้านการรัฐประหารที่มีการออกฎหมายแบ่งแยกแรงงานภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจออกจากกัน ซึ่งคุณทนงมองว่าเป็นการแทรกแซงและสร้างความอ่อนแอให้กับขบวนการแรงงานโดยจะเดินทางไปประชุมILO จากการขับเคลื่อนนั้นทำให้คุณทนงถูกอุ้มหายตัวไป ส่งผลให้ขบวนการแรงงานมีการพูดคุยและขับเคลื่อนให้รัฐบาลทุกรัฐบาลให้สัตยาบันนุสัญญาILO ทั้ง 2 ฉบับทุก 1 พ.ค.ของทุกปี และปี 2552 ได้ตั้งคณะกรรมการผลักดันอนุสัญญาILO ฉบับที่ 87 และ98 ประกอบด้วยความร่วมมือกับองค์กรแรงงานทั้งกลุ่มสหภาพแรงงาน คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส)และสภาองค์การลูกจ้างอีกหลายแห่ง โดยให้ตนเองเป็นประธานคณะทำงานฯ แและมีการประชุมร่วมกันและขับเคลื่อนเพื่อให้รัฐบาลให้สัตยาบัน นอกจาก 1 พ.ค. คณะทำงานฯ ได้เคลื่อนในวันที่ 7 ต.ค. ซึ่งเป็นวันงานที่มีคุณค่า ซึ่งล่าสุดได้มีการยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และมีข้อตกลงร่วมกันว่าจะมีการให้สัตยาบัน โดยการสั่งการให้กฤษฎีกาเร่งแก้กฏหมายแรงงานสัมพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ และกฎหมายแรงงานสัมพันธ์เอกชนเพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาILO เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว แต่เมื่อมีการยุบสภาเมื่อ 9 พ.ค.56 การเสนอเรื่องดังกล่าวนี้ต่อคณะรัฐมนตรีจึงตกไป เมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กรมสวัสดิการกระทรวงแรงงานได้ให้ทางกฤษฎีกาเร่งรัดพิจารณาร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับเพื่อเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ส่งร่างพ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับที่ผ่านการพิจารณาให้กระทรวงแรงงานแล้ว และได้มีการยืนยันส่งกลับไปยังกฤษฎีกา ซึ่งประเด็นกฎหมายยังคงมีการแบ่งแยกแรงงานส่วนของรัฐวิสาหกิจ กับแรงงานเอกชน และยังมีการกร่างพ.ร.บ.ข้าราชการใหม่อีก ซึ่งหากนำร่างพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฉบับ 12,130 รายชื่อที่มีการลงลายมือชื่อนั้นมีความครอบคลุมแรงงานทุกกลุ่ม

Mr.Robert Pajkovski ผู้อำนวยการSC กล่าวว่าการก่อตั้งสหประชาชาติ (UN)และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO)เกิดขึ้นหลังสงครามโลก เพื่อแก้ปัญหาให้เกิดความสมดุลย์ระหว่างคนรวยกับคนจน ซึ่งประเทศไทยได้ป็น 1ในประเทศที่ก่อตั้งองค์กรILOด้วย ซึ่งขณะนี้มีอายุกว่า 100 ปี ประเทศไทยรับรู้ถึงถึงการกำหนดอนุสัญญาด้านสิทธิ เสรีภาพในการรวมตัวตามที่ขบวนการแรงงานได้มีการเรียกร้องมานานด้วยเช่นกัน และรัฐบาลไทยทุกชุดก็จะให้คำตอบเดิมๆที่ว่าต้องจัดทำการศึกษา ต้องทำความเข้าใจ และต้องแก้ไขกฎหมายด้านแรงงานให้สอดคล้องกับอนุสัญญา ก็จะศึกษาว่าจะให้สัตยาบันก่อน หรือแก้กฎหมาย่เกี่ยวข้องก่อน

ที่มาของการเคลื่อนไหวนั้นเป็นเรื่องเล็ก เพราะรัฐบาลไทยต้องรู้อยู่แล้วว่าเป็นเรื่องสิทธิและเสรีภาพ เพราะประเทศไทยได้ร่วมลงนามเพื่อก่อตังองค์กรนี้ ซึ่งรัฐบาลไทยเองก็พยายามที่จะบอกถึงความโปร่งใส และเป็นประเทศที่มีเสรีภาพ ด้วยการให้สัตยาบัน แต่รัฐบาลไทยกับใช้วิธีการล็อบบี้แทน สหรัฐแทนเพื่อให้ยอมรับกับสิ่งที่เป็น และมีอยู่กรณีการละเมิดสิทธิแรงงานที่มีการร้องเรียนจนประเทศในแถบอียูบอยคอร์ดสินค้าในประเทศไทย

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ร่วมจัดตั้งILO แต่สหภาพแรงงานในประเทศไทยมีสมาชิกทั้งหทดเพียงร้อยละ 1.5 เท่านั้น ซึ่งในมาเลเซียมีสมาชิกสหภาพแรงงานร้อยละ 8-10 ในประเทศแถบนี้อย่างกัมพูชา บังกลาเทศยังมีสมาชิกมากกว่าประเทศไทย แม้ด้านเศรษฐกิจเติบโตใครได้ประโยชน์ มีคนรวยเพียงร้อยละ 1 เท่านั้นที่ถือครองทรัพย์สินและที่ดินจำนวนมากอาจเป็นร้อยละ 60- 80 แต่ยังไม่ใครทำการศึกษา

PB150182PB150179

ศาสตราภิชานแล ดิลกวิทยรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรมหาวิทยาลัยกล่าวว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศชนะสงคราม จึงเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง ILO ที่เป็นองค์วางแผนการบริหารแรงงานในโลก การออกกฎหมายคุ้มครองแรงงานเกิดขึ้นยากมาก ช่วงอดีตนั้นแรงงานที่ได้รับค่าจ้างเป็นแรงงานจีน รัฐบาลไทยก็มีแนวคิดแบ่งแยกว่า ทำไมต้งออกกฎหมายคุ้มครองแรงงานต่างด้าว กฎหมายคุ้มครองแรงงานเกิดขึ้นหลังจากประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านการปกครอง พ.ศ. 2475 และออกกฎหมายปว.103 พื่อคุ้มครองแรงงานเกิดขึ้นเมื่อปี 2515 การเปลี่ยนแปลงแต่ละครั้งของประเทศไทยเกิดจากกระแสโลกภายนอกกดดันให้เปลี่ยน เราได้กฎหมายมาคุ้มครองแรงงานเป็นระยะเวลาสั้นๆเท่านั้นก็มีการปฎิวัติรัฐประหาร และส่งผลต่อผู้นำแรงงานที่ต่อสู้ด้านสิทธิ เช่นต้องสูญเสียคุณศุภชัย ศรีสติ ที่ถูกยิงเป้า การเคลื่อนไหวกดดันของแรงงานต่อรัฐบาลไทยจึงยาก แต่รัฐบาลไทยจะคล้อยตามเสียงเรียกร้องของผลกระทบต่อทุน การจะให้หรือไม่ให้สัตยาบันจึงไม่เกี่ยวกับนายจ้างเท่าไร แต่เกี่ยวกับแนวคิดรัฐที่ล้าหลัง กลัวเรื่องความไม่มั่นคง กลัวลูกน้องจะรวมตัวต่อรอง เสียการคุ้มครอง เพราะระบบราชการไทยจะปกครองเป็นชั้นๆลูกน้องจะมาหือกับนายรับไม่ได้ที่ลูกน้องจะมาเจรจาต่อรองหรืออาจทุบโต๊ะ เพราะยังมีความเชื่อและอยู่ในวัฒนธรรมเดิมของระบบราชการ

PB150174PB150176

แล้วอะไรที่รัฐบาลไทยกลัวและพร้อมที่จะเปลี่ยน ซึ่งเป็นกระแสผลกระทบต่อผลประโยชน์ของพ่อค้านายทุน มาตรฐานแรงงานไทยที่ลดลง เมื่อยุโรปตัดสินใจที่จะทบทวนการซื้อสินค้าจากประเทศไทยเพราะมีการละเมิดสิทธิแรงงาน ทำให้รัฐบาลไทยมีการพูดถึงการให้สัตยาบันเพื่อสร้างมาตรฐานตรายาง แต่ก็ยังขึ้นอยู่กับว่าจะให้ก่อนแก้กฎหมาย หรือแก้กฎหมายก่อนให้สัตยาบัน แต่วันนี้รัฐบาลไทยก็หันมาทำการค้าขายกับประเทศจีน อินเดียแถบนี้มากขึ้นซึ่งไม่สนใจเรื่องการละเมิดสิทธิเหมือนยุโรป และประเทศในแถบยุโรป อเมริกาก็กำลังซื้อลดลง หรือจนลง แรงกดดันจึงมีน้อยลงเพราะตลาดทางการค้าเปลี่ยน ฉะนั้นต้องพึ่งพลังภายใน ในการกดดันซึ่งก็คือความเป็นหนึ่งเดียวของขบวนการแรงงาน ที่ต้องสร้างความเป็นปึกแผ่นเหนียวแน่นมากขึ้น เพราะกำลังของยุโรปในการบอยคอร์ดสินค้าอย่างเดียวคงไม่พอ

ด้านว่าที่พันตรียุทธการ โกษากุล ผู้อำนวยการกลุ่มงานพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ กล่าวว่าการให้สัตยาบันที่ล่าช้านั้นเกิดจากการที่มีการปรับเปลี่ยนรัฐบาลบ่อย ซึ่งทุกรัฐบาลก็ให้ความสำคัญกับการให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO ทั้ง 2 ฉบับทุกรัฐบาล จึงมีการศึกษาและจัดทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็น แต่ละรัฐบาลก็ต้องมีการเปิดรับฟังจากคนแต่ละฝ่าย และมีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้อง แม้ตอนนี้ร่าวพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ทั้ง 2 ฉบับที่จะใช้กับแรงงานรัฐวิสาหกิจ กับแรงงานเอกชน ตอนนี้กฤษฎีกากำลังแก้กฎหมายราชการเพื่อให้สอดคล้อง ซึ่งอนุสัญญาด้านสิทธิเสรีภาพของข้าราชการมีอีกฉบับคือฉบับที่ 151

การให้สัตยาบันาจทำให้แรงงานรัฐวิสาหกิจซึ่งเดิมมีเพียงสถานประการละหนึ่งสหภาพ ด้วยระบบการแข่งขันการเลือกตั้งแต่ละครั้งก็ได้คนกลุ่มเดิมมาบริหารสหภาพและยังมีบางแห่งร้องเรียนกันอยู่ หากมีการให้สัตยาบันเสรีภาพในการตั้งสหภาพอาจส่งผลให้เกิดสหภาพแรงงานเพิ่มมากขึ้นในสถานประกอบการเดียวกันซึ่งสรส.อาจต้องศึกษาสหภาพแรงงานของเอกชนที่มีมากกว่าหนึ่งสหภาพในสถานประกอบการเดียวกันว่า เขาอยู่กันอย่างไร

การจัดตั้งสหภาพแรงงานของข้าราชการนั้นคงไม่ใช่เรื่องการจัดสวัสดิการไม่ดี แต่เป็นเรื่องของการเลือกปฏิบัติ ถูกกลั่นแกล้ง การเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งมากกว่า และการขับเคลื่อนของขบวนการแรงงานต้องสอดคล้องกับกระทรวงแรงงานด้วยเพื่อสร้างบรรยากาศ

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน