เสียงจากแรงงานข้ามชาติ ถึง อองซาน ซูจี

13490608_1788175058070193_2960287456944937762_o

แรงงานข้ามชาติระดมข้อเสนอ ส่งเสียงถึงอองซาน ซูจี เพื่อสุข สันติภาพและความยุติธรรม หลังไม่ได้เข้าพบ

วันที่ 23 มิถุนายน 2559  ข้อเสนอต่อนางอองซานซูจีผ่านความร่วมมือกับรัฐบาลไทย เนื่องในโอกาสสำคัญ นางอองซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า และรัฐมนตรีต่างประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ มาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ผ่านเวที “เสียงจากแรงงานข้ามชาติชาวพม่าถึงนางอองซานซูจี เพื่อสุข สันติภาพและความยุติธรรมในประเทศไทย” “Forum on the Voice of Myanmar Migrant Workers Speaking to Aung San Suu Kyi – Seeking Peace and Justice in Thailand” จัดโดย มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN) เครือข่ายความร่วมมือแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย (MUNT) คณะกรรมการสมานฉันท์คุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติชาวพม่าในประเทศไทย (AAC-SCPM) แรงงานข้ามชาติชาวพม่า (สมุทรสาคร) ในประเทศไทย ณ ห้องประชุม มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN) จังหวัดสมุทรสาคร มีแรงงานข้ามชาติชาวพม่าและคนไทยเข้าร่วมมากกว่า 100 คน และผู้สื่อข่าวทั่งไทยและต่างประเทศมากกว่า 10 สำนักข่าว

โดยมีสรุปข้อเสนอต่อนางอองซานซูจีผ่านความร่วมมือกับรัฐบาลไทย

1. การเร่งจัดทำเอกสารสำคัญแสดงตัว (CI) และพิสูจน์สัญชาติแก่แรงงานข้ามชาติทั้งที่จดทะเบียนแรงงานและยังไม่จดทะเบียน พร้อมให้รัฐบาลไทยมีมติคณะรัฐมนตรีจดทะเบียนรอบใหม่แก่กลุ่มประชากรข้ามชาติทุกคน

2. ให้มีกลไกการเข้าถึงการปฏิบัติคุ้มครองสิทธิแรงงานตามมาตรฐานแรงงานไทย และการติดตามตรวจสอบมาตรฐานการคุ้มครองแรงงานที่ดี ต่อกรณี

• การไม่ได้รับค่าจ้างค่าแรง 300 บาท จากผู้ประกอบการบางแห่งอย่างทั่วถึงทั่วประเทศ ให้มีมาตรการเข้มข้นตรวจสอบผู้ประกอบการที่ไม่ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐ

• แรงงานข้ามชาติจำนวนมากที่มีเอกสารหนังสือเดินทางเข้าไม่ถึงสิทธิในประกันสังคม และสิทธิประกันสุขภาพ ให้มีการตรวจสอบกรณีผู้ประกอบการบางแห่งที่ละเลยไม่นำแรงงานเข้าสู่ระบบประกันสังคม

• กรณีผู้ที่เข้าสู่ระบบประกันสังคมก่อนหน้านี้ แล้วมาต่อจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติภายหลังจากหนังสือเดินทางชั่วคราวหมดอายุ เข้าสู่ระบบประกันสุขภาพ อยากทวงถามถึง สิทธิหรือเงินที่จะได้รับคืนจากการจ่ายประกันสังคมที่แล้วมา

• ผู้ประกอบการบางแห่งละเลยการรับผิดชอบในกรณีแรงงานเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานในสถานประกอบการ ให้ผู้ประกอบการปฏิบัติการคุ้มครองแรงงาน รับผิดชอบต่อแรงงานอย่างเคร่งครัด

• การเปลี่ยนย้ายนายจ้างให้เป็นกลไกการแข่งขันอย่างเสรีของผู้ประกอบการ และการมีแนวปฏิบัติที่ดีการใช้แรงงาน หากผู้ประกอบการปฏิบัติไม่ดีตามเงื่อนไขสภาพการจ้างงานที่เป็นธรรม ให้แรงงานสามารถหานายจ้างใหม่ และทำงานต่อได้ทันทีไม่จำเป็นต้องมีการแจ้งออก ซึ่งระบบเดิมอาจทำให้เกิดปัญหาคอรัปชั่นของระบบนายหน้าและเจ้าหน้าที่ภาครัฐบางคน

• ให้มีการทบทวนระบบการนำเข้าแรงงานโดยตรง และการเข้มงวดกับบริษัทจัดหางานส่งออกจากพม่า และนำเข้าในประเทศไทย ในระบบ นำเข้าแรงงานโดยตรง หรือระบบ MOU ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย มีแนวปฏิบัติที่ดีร่วมกับบริษัทและผู้ประกอบการ โดยไม่มีการแสวงหาผลประโยชน์แอบแฝง การเอาเปรียบ กดขี่แรงงาน และสามารถเปลี่ยนย้ายนายจ้างได้กรณี ผู้ประกอบการละเมิดสิทธิแรงงาน

• ให้เพิ่มกลไกการคุ้มครองสิทธิแรงงาน การรับเรื่องร้องทุกข์เพื่อช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติที่ประสบปัญหาทุกรูปแบบ

• กระบวนการเข้าสู่การคุ้มครองของแรงงานภาคประมงนั้น ปัจจุบันมีเงื่อนไขในการจ้างงาน สัญญาการจ้างงานในภาคประมงลูกจ้างแรงงานเมื่อประสบปัญหา สูญหาย ตาย อุบัติเหตุจากการทำงาน หรือเกี่ยวกับค่าจ้างแรงงาน ลูกจ้างหรือแรงงานไม่มีหลักประกันที่จะสามารถนำหลักฐาน เข้าสู่กระบวนการหรือเอกสารการจ้างงาน สัญญาการจ้างงานลูกจ้างหรือญาติของครอบครัวแรงงานไม่ได้ครอง ไว้เพื่อเป็นหลักประกันหรือเป็นสัญญาจ้างที่นายจ้างทำฝ่ายเดียว

• แรงงานก่อสร้างที่มีแรงงานในกลุ่มที่เป็นกรรมกร ยังประสบปัญหาเมื่อนายจ้างหรือสถานประกอบการไม่รับผิดชอบ กลุ่มผู้หาแรงงานหรืสามารถรับเหมางานยังประสบปัญหาในการเข้าสู่กระบวนการเรียกร้องจากนายจ้างที่แท้จริง

• กลุ่มแรงงานที่เคยเข้ามาทำงานที่ประเทศไทยที่มีสถานประกอบการ หรือสถานที่ทำงานนอกราชอาณาจักร ภาคประมง ส่งไปทำงานภาคประมงนอกน่านน้ำ ที่เป็นแรงงานข้ามชาติที่กลับมาแล้วยังไม่ได้รับความเป็นธรรมเกี่ยวกับการรับผิดชอบต่อการคุ้มครองทางกฎหมาย

13528194_616843985156233_1090024828872595452_o

3. สิทธิในการเดินทางของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย และการเดินทางกลับประเทศต้นทางในกรณี แรงงานข้ามชาติที่ถือบัตรใบอนุญาตทำงาน (บัตรสีชมพู) หรือ บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย สามารถเดินทางระหว่างจังหวัดได้ เพราะปัญหาที่ผ่านมาแรงงานไม่เข้าใจระเบียบขั้นตอนการปฏิบัติ เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐบางคนมีช่องทางการเรียกรับผลประโยชน์จากแรงงาน

4. ให้มีสิทธิในการรวมตัวก่อตั้งสหภาพแรงงาน ภายใต้การลงสัตยาบันกับ Convention ILO ฉบับที่ 87,98 และการอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และพัฒนาศักยภาพ ทักษะฝีมือแรงงานไปพร้อมๆ กัน

5. ให้การเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน การคุ้มครองทางสังคมแก่เด็ก และผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติ โดย การจดทะเบียนเด็กข้ามชาติใหม่ทั้งหมด เพื่อรับรู้สถานการณ์ด้านจำนวนและสภาวการณ์ปัญหา เพื่อสามารถวางแผนจัดการการจัดการศึกษาเรียนรู้ และการเข้าถึงสิทธิทางสุขภาพอย่างครอบคลุม และกลุ่มเด็กข้ามชาติสามารถเข้าถึงหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแก่เด็กอายุ 0-15 ปี

6. การส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ โดยการแสดงออกตามสิทธิทางสังคมและพหุวัฒนธรรม ให้แรงงานข้ามชาติมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวัฒนธรรม ภาษา ศาสนา มีพื้นที่สาธารณะ และเน้นให้แรงงานข้ามชาติเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศไทย ผ่านกลุ่มเครือข่ายทางสังคมพี่น้องแรงงานที่มีการรวมกลุ่มเชิงสร้างสรรค์ในประเทศไทย

7. อื่นๆ คือ 1. ให้มีการเข้มงวดกวดขันเจ้าหน้าที่ที่ทุจริตคอรัปชั่นและการแสวงหาประโยชน์จากแรงงานข้ามชาติทุกรูปแบบ อาทิ การตรวจค้นของเจ้าหน้าที่ในเคหะสถานที่พักแรงงานโดยไม่มีหมายค้น และ 2. ให้มีการขจัดกลุ่มนายหน้าทั้งไทยและข้ามชาติที่แสวงหาผลประโยชน์กับแรงงานข้ามชาติและเครือข่ายผู้ที่เกี่ยวข้อง

สมพงค์ สระแก้ว รายงาน