เสวนาแรงงานสัมพันธ์ หวังสร้างสัมพันธ์หลังเปิดตัวกลุ่มทวิสัมพันธ์

Untitled-1

เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2556 มีการจัดเสวนาเรื่อง การบริหารงานแรงงานสัมพันธ์ และแนะนำกลุ่มทวิสัมพันธ์ จัดโดยกลุ่มทวิฯมีผู้เข้าร่วมคือกลุ่มของผู้บริหารทรัพย์กรมนุษย์,ประธานสหภาพแรงงาน และผู้นำแรงงาน ที่ หอประชุมธัมรงค์ บัวศรี มหาวิทยาลัย บูรพา จ.ชลบุรี เวลา 8.30.น มีการแนะนำคณะจัดตั้งกลุ่มแรงงานทวิสัมพันธ์ ทั้งหมด 10 ท่านดังนี้ นายสนธยา เผ่าดี คุณวรดา ชำนายพืช นายธนพนธ์ ศรีทอง นายณรงค์ หน่อสกุล นายเอกธนัช แก้วลา นายสุบิน ธิบุรณ์บุญ นายไพฑูรย์ บางหลง นายชวการ พิมพ์ตะคุ นายวุฒิชัย สุวรรณแก้ว นายจำเริญ อุลาน

นายธีระพงค์ สุนทรวิภาต นายกสมาคมบริหารงานบุคคลภาคตะวันออก กล่าวการตอนรับ ด้วยกลุ่มทวิสัมพันธ์ซึ่งจากการร่วมมือระหว่างกรรมการชมรมผู้บริหารทรัพย์กรมนุษย์ กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน และผู้นำแรงงาน ได้ตระหนักถึงการบริหารแรงงานสัมพันธ์ภายในองค์กรที่อาศัยความร่วมมือร่วมใจที่ตรงกันระหว่างพนักงานและผู้ประกอบการ ซึ่งขบวนการส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือความสัมพันธ์อันดีนนั้นควรตั้งอยู่บนพื้นฐานการบริหารแบบสุจริตใจเพื่อให้เกิดประโยขน์ร่วมกัน การรวมกลุ่มทวิสัมพันธ์จึงได้เกิดขึ้น

Untitled-3

นายยงยุทธ เม่นตระเภา Federation of Thailand Automotive Workers’ Union กล่าวว่า สภาพปัญหาต่างๆที่เกินขึ้นเป็นเหมือนว่า ปัญหาเกิดก่อนแล้วจึงนำมาแก้ไข ทุกครั้งที่เกิดปัญหาขึ้นมีการพูดคุยกันไปแล้ว และไม่ลงเอยกัน ทำไมไม่พูดคุยกันเพราะปัญหาทุกอย่างต้องหาทางออกที่เหมาะสมร่วมกันจึงจะไม่เกิดความรุนแรง เพราะ องค์กรแม่ ก็ต้องมองถึงความเจริญเติบโตและก้าวหน้าเหมือนกัน ดังนั้น บริษัทเองก็ต้องชี้แจงกำไรขาดทุนให้ทราบเช่นเดียวกัน มันจึงจะไว้ใจกันแต่อย่างไรก็แล้วแต่เรามันคนไทย ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ (HR.) ส่วนใหญ่ก็เป็นคนไทย คุยกันมันน่าจะรู้เรื่องมากกว่า มีเรื่องอะไรอยากให้สหภาพแรงงานพูดหรือถามให้ก็ต้องอาศัยกันและกัน นี่สิมันถึงจะไปกันได้ แต่ถ้าสหภาพแรงงานไหน หรือน้องๆที่ทำอะไรไม่ถูกต้องผมเองก็ต่อว่าสั่งสอนเหมือนกัน

12

นายสุบิน ธิบูรณ์บุญ Federation of All Toyota Workers’ Union กล่าวว่า การบริหารแรงงานสัมพันธ์ ให้เรามองตั้งแต่เริ่มมาทำงาน ว่าจะทำลายหรือสร้างสรรค์เขา ต้องวางนโยบายให้ชัดเจนเพราะมันคือคำมั่นสัญญาของแต่ละฝ่าย เพราะถ้ามีผลผลิตออกมาเยอะเยะมากมายแต่ในเรื่องการให้ได้ใจคนคุณไม่มีบริษัทก็ไม่เจริญเติญโต เพราะฉนั้นสร.ได้ใจคน บริษัทได้ผลผลิต ต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ มันจึงจะไปกันได้
ลักษณะสร.ที่ดี ผู้นำต้องใฝ่เรียนรู้ พัฒนาตัวเองให้ได้ สิ่งที่ควรรู้หลังจากมาเป็นผู้นำที่ดี คือ 1. เกิดอะไรขึ้นในบ้านเรา 2. เราเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นอย่างไร 3. เราช่วยอะไรในปัญหาที่เกิดขึ้น และเมื่อมาเป็นสหภาพก็ต้องมองถึง ข้อดีข้อเสียข้อเสียของขบวนการยื่อข้อเรียกร้องทีมีผลต่อการบริหารแรงงานสัมพันธ์

• คุณภาพชีวิตทึ่ดีของพนักงาน
• มองถึงผลสำเร็จร่วมกัน ต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์
• พูดคุยเรื่องโบนัสเงินขึ้นก่อนถึงฤดูยื่นข้อเรียกร้อง

คุณภาพชีวิตของพนักงานทีดีต้องประกอบได้ด้วยรายละเอียดดังนี้.

• การจ่ายค่าตอบแทนที่เหมาะสม เช่นต้องมองไปถึง สามี ต้องสามารถเลี่ยงดูภรรยาและลูกได้
• มีการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในการทำงานให้สะอาดปลอดภัย
• การเปิดโอกาศให้มีการพัฒนาศักยภาพของคนได้อย่างเต็มที่
• งานที่ทำต้องมีกฎเกณฑ์ระเบียบที่เหมาะสม ต้องอยุ่บรพื้นฐานกฎหมายที่เป็นธรรม เช่น การลาคลอดบุตร ภรรยาได้สิทธการลา แต่สามีไม่ได้รับสิทธ
• มีการสมดุลของชีวิต (ทำงาน 8 ชั่วโมง อยู่กับครอบครัว 8 ชั่วโมง)

ดร.พรรัตน์ แสดงหาญ คณะการจัดการและท่องเทียว รายงานวิชาการด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ พนักงานอยู่หรือไป… อะไรคือสาเหตุ ?
สิ่งที่นำเสนอมีอยู่ 2 ส่วนคือ Retention คือฝ่าย HR. และTurnover พนักงาน ฝ่าย HR ต้องพิจารณาว่า เราจะทำอย่างไรให้พนักงานทำเต็มที่ให้เรา ต้องหาวิธี ดังนั้นจึงจำเป็นต้องให้ในข้อนี้คือ Engagement คือ ความผูกพันต่อองค์การ จากนั้นอาจารย์จึงออกตามหาข้อเท็จจริงที่มีพนักงานดีแล้วลาออกไปจำนวน 9 คน จึงค้นพบว่า งานที่ชอบมีอิทธิพลต่อการที่จะอยู่หรือไปมาก เพราะบางคนลาออกไปทำงานที่ตัวเองมีความภาคภูมิใจ เพราะทำงานในภาคเอกชนมีความหลากหลายและตื่นเต้นมากกว่า จากนั้นอาจารย์จึงกลับมาทุ่มเทให้สำหรับคนเก่าที่เก่ง ด้วยการทำแบบสอบถาม ปัจจัยที่ทำให้คนอยู่หรือไป คือ

อันดับที่ 1 บทบาทต่อหัวหน้างาน Supervisor สามารถให้คำปรึกษาได้ ทำงานอย่างตรงไปตรงมา โปร่งใส

อันดับที่ 2 บทบาทการสื่อสาร วัฒนธรรมองค์การ

อันดับที่ 3 ความเจริญเติบโตก้าวหน้าในอาชีพ และมีเรื่องเงิน ทุกคนเห็นตรงกันว่ามีความสำคัญน้อยกว่า 3 อันดับนี้เพราะ คนที่จะเข้าทำงานเท่านั้นจึงจะพิจารณาแต่แม่เริ่มทำงานแล้วเงินไม่เป็นผลให้พนักงานอยู่หรือไป

บทบาทของหัวหน้างาน Supervisor ที่พิจารณาพฤติกรรม

1 ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ พูดเก่ง มีความคิดที่ก้าวหน้า
2 มีพฤติกรรมที่แสดงออกให้เห็น เช่น การขาดงาน การขัดแย้ง การมาร้องเรียนต่างๆ
3 หัวหน้างาน Supervisor มีผลทำให้เขาเป็นอย่างนั้นหรือไม่ อาจารย์ตอบเลยว่า มีผล เพราะถ้า หัวหน้างานมีความสนใจ เอใจใส่ ให้การช่วยเหลือ พูดปกป้อง ทั้งหมดที่กล่าวมาคือ การสร้างความผูกพัน( Engagement)

จากนั้นก็มีการเปิดเสวนาการบริหารแรงงานสัมพันธ์แบบสุจริตใจเพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันในยุคประชาคมอาเซียนโดย คุณพงษ์เดช ศรีวชิรประดิษฐ์ รางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ ม.ธรรมศาสตร์ ผศ.ดร.วิชัย โถสุวรรณจินดา นักวิชาการแรงงานสัมพันธ์ คุณยงยุทธ เม่นตะเภา ประธานที่ปรึกษาสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย คุณสุบิน ธิบูรณ์บุญ ประธานที่ปรึกษาสหพันธ์แรงงานโตโยต้า และคุณสนธยา เผ่าดี ประธานชมรมผู้บริหารงานบุคคล กลุ่มธุรกิจยานยนต์และชิ้นส่วน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน กล่าวโดยสรุปคือ การบริหารโดยสุจริตใจ คือ การบริหารต้องสัมผัสได้ด้วยจิตใจ โดยการศึกษาวัฒนธรรมองค์กร การสื่อสารที่ชัดเจน แม้แต่น้ำเสียงเองก็ต้องชัดเจน การตัดสินใจ บางเรื่องต้องอาศัยเวลาศึกษาข้อมูลที่เป็นจริง สร้างค่านิยม มีความซื่อสัตย์ สุจริตใจ ทักษะต้องพัฒนาอยู่เลื่อยๆ ต้องเรียนรู้เรื่องภาษา คอมพิวเตอร์ การใช้ความคิด ให้เข้าไปถามอาจารย์กรู อยู่บ่อยเรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เราจะคิด จะทำอะไร ลองถามความคิดนั้นกลับมาที่เราก่อนว่าถ้ามาทำกับตัวเรา เรารับได้ไหมถ้าดูแล้วรับไม่ได้ก็อย่าไปทำมันดีกว่า เลิกเสวนาเวลา 16.30 น.จึงมีการถ่ายรูปเป็นที่ระลึกร่วมกัน

อรรถพล พรมหา นักสื่อสารแรงงาน รายงาน