คลื่นลูกที่ 2 ร่วมวางยุทธศาสตร์ พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

20150222_155539

องค์กรแรงงานร่วมว่างยุทธศาสตร์พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย เสนอระดมทุน พร้อมกำหนดเป้าระดับสหภาพ การใช้บริการ การเรียนรู้ประวัติศาสตร์หวังรับรู้รากเหง้า

วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2558 มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีครั้งที่ 19 / 2558 ณ โรงแรมอีสติน มักกะสัน กรุงเทพฯ และได้มีการมอบเงินสนับสนุนให้มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย โดยผู้เข้าร่วมประกอบด้วย องค์กรระดับสภาองค์การลูกจ้าง สหพันธ์แรงงาน กลุ่มสหภาพแรงงาน องค์กรพัฒนาเอกชน และรัฐวิสาหกิจ

นายทวีป กาญจนวงศ์ ประธานมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย กล่าวว่าวันที่ 1 ธันวาคม 2534 เป็นวันประวัติศาสตร์ที่ต้องจารึกไว้ที่มีเจตนารมณ์ที่ชัดเจนที่ได้ก่อตั้งมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย และเพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติผู้นำที่ได้ร่วมกันจัดตั้งมา และผู้ใช้แรงงานทั้งหมดเป็นสมาชิกของมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย จึงได้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวรวมถึงการใช้ในการประชุมสัมมนาขององค์กรแรงงาน และมีการร่วมกันสานต่อการทำงานมาจนถึงบัดนี้และวันนี้ก็ต้องวางแผนการทำงานของมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ต่อไป จากนั้นคณะกรรมการมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ได้รายงานผลการดำเนินกิจกรรมในรอบปีที่ผ่านมา

การเสวนายุคคลื่นลูกที่ 2 ของมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย เจตนารมณ์และการมีส่วนร่วมของผู้นำรุ่นใหม่ในภารกิจทางประวัติศาสตร์ ดำเนินรายการโดย ดร.นภาพร อติวานิชยพงศ์ ได้พูดถึงช่วงคลื่นลูกที่ 1 คือการก่อตั้งมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย และอาจารย์นิคม จันทรวิทุร เป็นประธานการก่อตั้งมูลนิธิฯ และช่วงต่อมาก็จะเป็นรุ่นของคุณวิชัย นราไพบูลย์ ,คุณสุมาลี ลายลวด ,คุณภัชรี ลายลวด เจ้าหน้าที่ และตนเองที่เข้ามาช่วยกันทำงาน ซึ่ง 22 ปีที่ผ่านมามีการทำงานกันมากมายหลายเรื่องและในวันนี้ก็จะมีประเด็นให้ผู้เข้าร่วมได้นำเสนอ 3 ประเด็น คือ

1.ท่านเคยใช้ประโยชน์อะไรจากมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

2.ท่านต้องการให้มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย มีบทบาทหรือทำอะไรให้สังคมบ้าง

3.ท่านจะมีส่วนร่วมสนับสนุนการทำงาน ( ในข้อ 2 ) ของมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ได้บ้าง

ผู้เข้าร่วมได้แสดงความคิดเห็น

1.เคยใช้ประโยชน์อะไรจากมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

1.1 เข้ามาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของแรงงานในอดีตว่ามีการต่อสู้กันมาอย่างไร

1.2 พากรรมการมาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของแรงงาน

1.3 มีการเข้ามาใช้ห้องประชุม

20150222_09590520150222_100101

โดยสรุปดังนี้ จากขบวนการแรงงานทั้งหมดกว่า 1,300 แห่ง มีสหภาพแรงงานทำงานในการเคลื่อนไหวราว 300 แห่ง มีส่วนเข้ามาใช้ประโยชน์น้อยมากราวร้อยละ 5 ซึ่งเข้ามาอบรมเรียนรู้ประวัติศาสตร์แรงงาน เข้าอบรมเรื่องสื่อ การบริหารจัดการสหภาพแรงงาน ใช้บริการห้องประชุม แถลงข่าว พาสมาชิก กรรมการมาเยี่ยมชม

1.4 ได้ประโยชน์จากการเข้าร่วมอบรมการตัดต่อวีดีโอ สามารถตัดต่อวีดีโอให้องค์กรในการกิจกรรมประชุมใหญ่ได้

2.ต้องการให้มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย มีบทบาทหรือทำอะไรให้สังคมบ้าง

2.1 มองว่าการทำงานของพิพิธภัณฑ์ฯได้ให้บริการต่อสังคมได้ดีอยู่แล้ว ทั้งด้านการให้ความรู้เรื่องคุณค่าของผู้ใช้แรงงาน บทบาทของแรงงานในการฝ่าฟันอุปสรรค์การต่อสู้ด้านสิทธิสวัสดิการ จนส่งผลต่อผู้ใช้แรงงาน หรือคนทำงานในปัจจุบันที่ได้รับประโยชน์ ทั้งการคุ้มครองทางด้านกฎหมาย สิทธิประโยชน์ด้านการต่อสู้ทางสังคม ที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยมีการร่วมรวมจัดแสดง ถือเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ควรบรรจุไว้ในระบบการศึกษา

2.2 พิพิธภัณฑ์ฯได้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ด้านแรงงานให้กับ ประชาชน นักท่องเที่ยวทั้งในประเทศ และชาวต่างประเทศ ได้เรียนรู้และเข้ามาเยี่ยมชมจำนวนมาก รวมทั้งสื่อมวลชนก็เข้ามาทำข่าว และหรือใช้สถานที่ทำข่าว

2.3 พิพิธภัณฑ์แรงงานฯทำหน้าที่ในการเป็นศูนย์เรียนรู้ต่อนักศึกษาหลายสถาบัน นักเรียนจำนวนมากที่เข้ามาศึกษา ทำรายงาน ซึ่งทำให้เด็กได้เรียนรู้คุณค่าของการใช้แรงงาน

20150222_10023520150222_102444

3.ท่านจะมีส่วนร่วมสนับสนุนการทำงาน (ในข้อ 2) ของมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยได้บ้าง สรุปได้ดังนี้

3.1 พิพิธภัณฑ์แรงงานฯถือเป็นของแรงงานทุกคนที่ควรช่วยกันรักษาดูแล เพื่อให้ทำงานบริการ ทำหน้าที่สื่อสารให้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์แรงงานต่อขบวนการแรงงาน สังคม นักท่องเที่ยว ฯลฯ ต่อไป

3.2 ในส่วนของขบวนการแรงงานในระดับต่างๆต้องมีการทำงานประชาสัมพันธ์กับสมาชิกให้รับรู้ถึงความสำคัญของการมีพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย มีการรับบริจาคจากสมาชิกทุกระดับ ระดับสภา สหพันธ์ กลุ่มสหภาพ

20150222_10235020150222_153301

3.3 ส่งเสริมให้มีการจัดการศึกษา อบรม เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แรงงานฯ เพื่อสร้างสำนึกร่วม ให้มีการบริจาคเงินอุดหนุน สนับสนุนเป็นรายเดือน (1,200บาท)/ปี (12,000 บาท) โดยมีการกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ร่วมกัน เช่นตอนนี้ทางเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ฯได้มีข้อเสนอต่อสหภาพแรงงาน องค์กรแรงงานที่บริจาค หากบริจาคแล้วสมารถใช้บริการของพิพิธภัณฑ์ฯได้ดังนี้ เช่น อบรมการทำสื่อ การผลิตสื่อ เป็นต้น ซึ่งก็เป็นการทำงานเชิงรุกต่อการทำงานสนับสนุนขบวนการแรงงานด้วย โดยยุทธศาสตร์ขบวนต้องช่วยกันกำหนดเพิ่มยอดการมีส่วนร่วมบริจาคและใช้บริการ คือ จากร้อยละ 5 ที่ใช้บริการ เพิ่มเป็นร้อยละ 10 ร้อยละ 20 จนกว่าจะเต็ม100% ของสหภาพแรงงานที่ทำงานอยู่(300 แห่ง)

3.4 ขบวนการแรงงานต้องมีอาสาสมัครเข้ามาร่วมทำงานในส่วนของพิพิธภัณฑ์ฯ เพื่อการขับเคลื่อนทางประวัติศาสตร์จากรุ่นสู่รุ่น ขณะนี้เป็นการผ่อนถ่ายคลื่นลูกที่หนึ่ง ผู้สร้างสรรค์ประวัติศาสตร์แรงงานไทย เป็นพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพให้กับขบวนการแรงงานที่มีความแตกแยกในอดีต ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงมีความแตกแยก ให้ถือเป็นจุดร่วมที่ขบวนการแรงงานสร้างขึ้นร่วมกัน เพื่อส่งต่อคลื่นลูกที่สอง คือผู้นำแรงงานรุ่นใหม่ขณะนี้ เพื่อการสานต่อจึงต้องเข้ามามีส่วนร่วมเป็นอาสาสมัครช่วยกันทำงาน เพราะพิพิธภัณฑ์แรงงานแห่งนี้เป็นของเราผู้ใช้แรงงาน

20150222_10251420150222_092817

ทั้งนี้ผู้นำแรงงานที่เข้าร่วมเสวนายังกล่าวว่า ความเป็นพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยนั้นเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ที่เชิดชูคุณค่าผู้ใช้แรงงานให้สังคมคนรุ่นหลังได้เรียนรู้ ในฐานะคนสร้างเศรษฐกิจ สร้างความเจริญเติบโต และทำหน้าที่เรียกร้องสิทธิสวัสดิการให้กับสังคม คนทำงานได้กินอยู่อย่างมีศักดิ์และศรี

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยอาจมีมูลค่าสำหรับนักธุรกิจ แต่สำหรับสังคม คนใช้แรงงาน พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยนั้นมีคุณค่าควรรักษาไว้ และเราจะรักษาพิพิธภัณฑ์ฯนี้ให้ทำงาน ทำหน้าที่ต่อไปร่วมกัน

กรณีพื้นที่นั้น พวกเราคิดว่ามักกะสันเป็นพื้นที่มีประวัติศาสตร์การต่อสู้ของผู้ใช้แรงงาน เป็นหนึ่งรากเหง้าด้านสวัสดิการแรงงาน การที่จะมีการพัฒนาใดๆควรมีเราพิพิธภัณฑ์ฯอยู่ที่นี่….

เพื่อให้ทางพิพิธภัณฑ์แรงงานฯสมารถทำงานได้ ได้มีหลายองค์กรมีการบริจาคเงินในการประชุมใหญ่ครั้งนี้ เช่นมูลนิธิอนุรักษ์-ศึกษากล้วยไม้ป่า และสมุนไพรไทย 1 แสนบาท สหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย 12,000 บาทต่อปี (เดือนละ 1,200บาท) สหภาพแรงงานไทยคาร์บอนแบลค 5,000 บาท เป็นต้น

นายทวีป กาญจนวงศ์ในฐานะที่ได้มีโอกาสสานต่อประวัติศาสตร์ในวันนี้ฟังแล้วมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ในอนาคตมีความมั่นคงอย่างแน่นอนเพราะทุกท่านนำเสนอในวันนี้ และสิ่งสำคัญต้องการให้รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณมูลมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย เช่นเดียวกันรัฐต้องมองเห็นความสำคัญ หากรัฐให้ความสำคัญแรงงานเองก็ต้องเห็นความสำคัญด้วยเช่นกัน

นักสื่อสารศูนย์แรงงานอ้อมน้อย – อ้อมใหญ่ รายงาน