เวทีสิทธิเสนอปฏิรูปสปส.ข้ามชาติต้องได้ 7 กรณี

PB200194

เวที”ประเทศไทยจะก้าวไปทางไหนกับการปฏิรูปประกันสังคม กรณีสถานะของแรงงานข้ามชาติ”นักสิทธิ นักวิชาการ ผู้นำแรงงาน รัฐ ประสานเสียงร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม แรงงานข้ามชาติต้องได้รับการคุ้มครองทั้ง 7 กรณี เพื่อความเท่าเทียมตอนรับAEC

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 ห้องเสวนาชั้น 6 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้มีการจัดเสวนา เรื่อง “ประเทศไทยจะก้าวไปทางไหนกับการปฏิรูปประกันสังคม กรณีสถานะของแรงงานข้ามชาติ” จัดโดยคณะอนุกรรมการด้านสิทธิ และสถานะบุคคล และสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ และแรงงานข้ามชาติ ร่วมกับองค์กรด้านสิทธิแรงงานอีกหลายแห่ง

PB200205PB200199

ศาสตราจารย์อมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชน และประธานอนุกรรมการด้านสิทธิฯกล่าวว่าเมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)แรงงานข้ามชาติที่ข้ามไปมา ทุกคนคือแรงงานในอาเซียนจึงควรได้รับการคุ้มครอง เพราะเมื่อเปิดประชาคมอาเซียนแล้วแรงงานที่ข้ามชาติไปมาคงไม่ใช่เพียงแรงงานพม่า ลาว กัมพูชาเท่านั้น เพราะอาเซียนประเทศสมาชิกมี 10 ประเทศ

การพัฒนาเศรษฐกิจอาเซียนประกอบด้วย 3 เสาหลัก ซึ่งแรงงานอยู่ในเสาวัฒนธรรม ที่จะมาคุ้มคริงความเป็นมนุษยชน และการคุ้มครองทางสังคม การส่งเสริมสร้างและพัฒนาสวัสดิการ หากถามว่าทำไปถึงไหน ก็ตอบว่ายังไม่ไกล และที่ชัดเจนที่สุดในแง่แรงงานข้ามชาติ เสาหลักเขียนไว้ว่าอาเซียนต้องดูแลเรื่องแรงงานในส่วนที่เกี่ยวกับมนุษยชน ก็มีการตั้งตั้งคณะกรรมการสิทธมนุษยชนอาเซียน มีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านเด็กและสตรีเกิดแล้ว แต่คณะกรรมการสิทธิแรงงานข้ามชาติยังไม่เกิดกรรมการชุดนี้เกิดยากมาก

ระบบประกันสังคมของแต่ละประเทศจะดูแลแรงงานที่มีการข้ามชาติมาทำงานได้แค่ไหน ในเมื่อประเทศไทยต้องการใช้แรงงานข้ามชาติก็ต้องดูแลเขาต้องดูแลแรงงานทุกประเทศโดยไม่คำนึงถึงว่าเป็นสัญชาติใด ซึ่งกรอบการพัฒนา และเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่ประเทศไทยผลักดันเพื่อใหเกิดการรับรองเมื่อปี 2554ที่ว่าด้วยการดูและและคุ้มครองทางสังคม ซึ่งระบบประกันสังคมต้องเข้ามาดูแลคุ้มครองแรงงานข้ามชาติซึ่งไม่ใช่แค่แรงงานเพื่อนบ้าน แต่ต่อไปจะใช้คำว่าแรงงานอาเซียน เพื่อให้การคุ้มครองเท่าเทียมกันทุกประเทศที่ต้องมีระบบที่ใกล้เคียงกันด้วย

นายอดิเทพ สุวรรณวัฒน์ ประกันสังคมสมุทรสาคร กล่าวว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาครให้ความสำคัญต่อแรงงานข้ามชาติอย่างมาก โดยได้มีการปรับภาษาเรียกว่าแรงงานเพื่อนบ้าน หลังจากที่มีการประกาศจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ให้แรงงานข้ามชาติที่มาทำงานผิดกฎหมายมาขึ้นทะเบียนทร.38/1 เพื่อให้แรงงานข้ามชาติมีตัวตนและเข้าสู่ระบบประกันสังคม ซึ่งทำให้แรงานเพื่อนบ้านเข้าสู่ระบบประกันสังคมเพิ่มมากขึ้นประมาณ 90,000 ราย ประเด็นที่ยังคงเป็นปัญหาคือเรื่องสิทธิที่ยังมีการกำหนดเวลาเกิดสิทธิ เช่นสิทธิการรักษาพยาบาลที่ระบบประกันสังคมต้องมีการส่งเงินสมทบอย่างน้อย 3 เดือนจึงเกิดสิทธิ ทำใหแรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ไปใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ (สปสช.)ในการรักษาพยาบาลส่งผลให้การรักษาพยาบาลสปสช.ด้วยโรงพยาบาลประกันสังคมเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็กทำให้เกิดผลกระทบเพราะแรงงานข้ามชาติในสมุทรสาครมีจำนวนมาก จึงคิดว่าการปฏิรูปประกันสังคมต้องสร้างแรงจูงใจให้แรงงานข้ามชาติที่ยังไม่เข้าสู่ระบบประกันสังคมให้เข้าสู่ระบบเพื่อการจัดการด้านการคุ้มครองด้านสิทธิ หลังจากมีแรงงานข้ามชาติเข้าสู่ระบบจำนวนเพิ่มขึ้นตามทร.38/1ตั้งแต่ เดือนมกราคม-ตุลาคม2557นั้น กองทุนประกันสังคมประกันสังคมได้ทยอยจ่ายสิทธิประโยชน์ให้กับแรงงานข้ามชาติ 5,356 รายประมาณ 47 ล้านบาท ซึ่งเป็นการให้ความเท่าเทียมกับแรงงาน ซึ่งขณะนี้ทางสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาครได้มีการจ้างล่ามด้านภาษามาเพื่อประสานงานให้แรงงานข้ามชาติได้เข้าถึงสิทธิประกันสังคม ด้วยทางจังหวัดสมุทรสาครมีแนวที่จะดำเนินการเรื่องแรงงานข้ามชาติเป็นจังหวัดนำร่อง

PB200212

นางสุนี ไชยรส รองประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) กล่าวว่าประเทศวันนี้พูดถึงแต่เรื่องการส่งเสริมการลงทุนและยังคงส่งเสริมเรื่องการจ้างแรงงานราคาถูก ทางคปก.กำลังมีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวกับแรงงานหลายฉบับทีทการแก้ไขป้ญหาและการบังคับใช้มีความทับซ้อน และนำเรื่องว่าด้วยสิทธิแรงงานอาเซียน เพื่อให้ได้มาตรฐานเดียวกัน หรือใกล้เคียง รวมถึงระบบประกันสังคมที่ต้องมีกลไกลการคุ้มการคุ้มครองเหมือนกัน

ระบบประกันสังคมมีความสำคัญแต่คนที่เข้าสู่ระบบประกันสังคมยังน้อยอยู่มาก แรงงานในระบบ แรงวานนอกระบบที่เป็นคนไทยเองยังคงมีปัญหาการเข้าถึงสิทธิ แรงงานข้ามชาติที่ต้องเข้าสู่ระบบน้อยมาก เพราะการเข้าถึงสิทธิประกันสังคมยากมากต้องใช้เวลา และการจ้างแรงงานข้ามชาติปัจจุบันมีการจ้างงานในส่วนของเหมาค่าแรง ลูกจ้างนอกระบบ จะเข้าสู่ระบบอย่างไร ทำอย่างไรให้เขาได้รับสิทธิทั้ง 7กรณีเช่นเดียวกับแรงงานไทย การที่แรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานจะอยู่ไม่นาน คือ 2-4 ปีสิทธิกรณีชราภาพจะต้องให้เขากลับไป แต่กฎหมายกำหนดสิทธิว่าต้อง 180เดือนจึงได้สิทธิไม่จำเป็น เขาคงไม่อยู่กับเราจนแก่ เมื่อเขากลับต้องได้รับสิทธิ ซึ่งตรงนี้แรงงานไทยอาจบอกว่าเลือกปฏิบัติแต่อธิบายได้ เพราะเขาไม่เหมือนเราการเดินทาง ควมมห่างไกล การเข้าถึงสิทธิต้องออกแบบให่ง่ายเพื่อสร้างแรงจูงใจ เช่นกรณีรักษาพยาบาล หากทอดเวลาการเกิดสิทธิออกไปใจ่ายเงิสมทบก่อน 3 เดือนได้สิทธิควรสร้างแรงจูงใจมากกว่านี้ ประกันสังคมต้องออกแบบให้แรงงานได้ประโยชน์สูงสุด

การแก้ไขกฎหมายวันนี้ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้าง คณะกรรมการบริหารประกันสังคม (บอร์ด)ยังคงเดิมคือยังเป็นโครงสร้างภายใต้รัฐ อำนาจรัฐมนตรี การแก้ไขด้านสิทธิประโยชน์ต้องทำให้ผู้ประกันตนได้ประโยชน์สูงสุด

กองทุนประกันสังคมยังมีความซ้ำซ้อนกับกองทุนเงินทดแทน กรณีเจ็บป่วย บาดเจ็บ พิการ หรือ เสียชีวิตเนื่องจากการทำงาน ใช้สิทธิประโยชน์จากเงินทดแทน แต่ก็มีการเลี่ยงให้มาใช้ระบบประกันสังคมแทน และแรงงานข้ามชาติหากจะได้รับสิทธิต้องเป็นแรงงานที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ หากเข้ามาผิดกฎหมายก็ไม่ได้สิทธิ ต้องใช้การฟ้งร้องเพื่อเข้าถึงสิทธิทั้งที่เป็นสิทธิที่ทุกคนต้องได้

นายภาคภูมิ แสวงคำ เจ้าหน้าที่วิชาการมูลนิธิรักษ์ไทยกล่าวว่า ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนรวม 7ประเทศมีระบบประกันสังคมอาจมีมาตรฐานแตกต่างกันบ้าง บางประเทศมีการคุ้มครองถึง 9 กรณี ซึ่งต้องดูว่ากรณีสงเคราะห์แรงงานเพื่อนบ้านอย่างไรไม่ให้เป็นภาระ เพราะหากแรงงานข้ามชาติเข้าสู่ระบบประกันสังคม

อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองทางสังคมเกิดขึ้นหลังวิกฤตเศรษญกิจเมื่อปี2541 เพื่อคุ้มครองทางสังคมรูปแบบเพื่อความเท่าเทียม เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาซียน ซึ่งเน้นการดูแล และแบ่งปัน ปัญหาของเราที่ยังดำรงอยู่คือเรื่องของการสื่อสาร ด้วยแรงงานข้ามชาติที่ไม่ได้เรียนเรื่งภาษาเช่นแรงงานที่มาจากภาคเกษตรที่เข้ามาทำงานแกะกุ้งที่อ่านไม่ได้ลย ทำให้เวลาต้องการใช้สิทธิเช่นกรณีคลอดบุตรไม่ทราบเนื่องการเตรียมเอกสาร ที่ต้องแปลภาษาไทยเป็นอังกฤษ และอังกฤษเป็นพม่า จากนั้นแปลเป็นไทยเพื่อรับสิทธิ ซึ่งต้องอาศัยนายหน้าในารประสานงานดำเนินการให้ซึ่งก็เป็นค่าใช้จ่ายอีกมากมายที่แรงงานข้ามชาติต้องจ่าย

PB200223PB200217

นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) กล่าวว่า แรงงานข้ามชาติอยู่รอบๆตัวเรา เขาทำงานอยูในโรงงานเดียวกับเรา แต่แรงงานข้ามชาติไม่ได้รับการคุ้มครอง เช่นคนท้องนายจ้างจะให้หยุดพักงานจนกว่าจะตลอดลูกเขาไม่ได้รับกานคุ้มครอง ตนเห็นว่าสิทธิแรงงานต้องได้เท่าเทียมกัน กรณีปัญหาต่างๆเพราะแรงงานข้ามชาติไม่รู้สิทธิและเข้าไม่ถึงสิทธิที่มี แรงงานต้องช่วยเหลือกัน สื่อสารกัน ทำความเข้าใจเรื่องสิทธิร่วมกัน

ประเด็นสงเคราะห์บุตรของแรงงานข้ามชาติหากภรรยาอยู่ต่างประเทศการตรวจสอบประสานงาน ประกันสังคมต้องเรียกหาเอกสารตรวจสอบนอาจเข้าถึงสิทธิได้ อีกประเด็นที่ต้องคิดคือกรณีว่างงานแรงงานข้ามชาติจะใช้สิทธิอย่างไร ในเมื่อกฎหมายกำหนเว่าเมื่อแรงงานข้ามชาติออกจากงานต้องหานายจ้างภายใน 24 ชั่วโมง ไม่เช่นนั่นต้องออกจากประเทศ

ร่างกฎหมายประกันสังคมที่มีการพิจารณาอยู่จะสร้างความเท่าเทียมให้กับแรงงานข้ามชาติอย่างไรทั้ง 7กรณี ร่างกฎหมายประกันสังคม ต้งปรับเรื่องการเพิ่มสิทธิประโยชน์มห้ผู้ประกันตนได้สิทธิมากที่สุด กรณีชราภาพ เห็นด้วยกับการที่ต้องให้แรงงานข้ามชาติได้รับสิทธิได้โดยไม่ต้องรอเหมือนแรงงานไทยส่วนแรงงานไทยนั้นการได้บำนาญ ต้องได้รับสิทธิเบี้ยยังชีพเพิ่มเพื่อให้ดพรงชีวิตอยู่ได้ด้วยเงินบำนาญชราภาพได้สิทธิน้อยมาก สิ่งที่ตนเรียกร้องมาโดยตลอดคือเรื่องการปรับโครงสร้างบอร์ด โดยผู้ประกันตนต้องมีสิทธิในการลือกตั้งตัวแนเข้าเป็นบอร์ดประกันสังคม เพื่อทำหน้าที่ดูแลเรื่องสิทธิประโยชน์ผู้ประตน

นายอนันท์ ออประเสริฐ รองประธานหอการค้าจังหวัดสมุทรสาคร กล่าวว่า วันนี้แรงงานข้ามชาติไม่ได้เข้าสู่ระบบประกันสังคม เดิมแรงงานข้ามชาติมีมานานแล้วแต่ไม่มีการพูดถึงเรื่องการให้สิทธิและการคุ้มครอง ประเทศไทยมีนักวิชาการ นักวิจัยแต่ขาดนักออกแบบที่เเรียกว่าสถาปนิก เพื่อออกแบบเรื่องการคุ้มครองแรงงาน หรือการทำงานบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติยังขาด การที่คสช.ได้ให้สิทธิแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานผิดกฎหมายซึ่งมีจำนวนมาก ได้ขึ้นทะเบียนเป็นแรงงานที่ถูกกฎหมายเข้าสู่การคุ้มครองในระบบประกันสังคม ซึ่งการขึ้นทะเบียนของแรงงานข้ามชาตินั้นเดิมจะขึ้นปีละ 1 ครั้งภายใต้ควมต้องการของนายจ้างที่ต้องการแรงงานตลอดเวลา ซึ่งนายหน้าจะพาแรงงานมาให้ตามจำนวนที่นายจ้างต้องการ และกลายเป็นเรื่องการค้ามนุษย์และนำมาซึ่งการบอยคอร์ดสินค้า ซึ่งถามว่ารัฐไม่ทราบหรือมีแต่สหรัฐที่ทราบเรื่องนี้หรือ ตนคิดว่าทุกคนรู้เรื่องนี้ แต่ม่มีการแก้ไข ยกตัวอย่างในหลายประเทศมีการใช้แรงงานข้ามชาติแต่ไไม่มีประเทศไหนขึ้นทะเบียนแรงงานข้ามชาติ เช่นมาเลเชียก็ไม่มีการขึ้นทะเบียน แต่ใช้การเก็บภาษี และหลังจากที่คสช.ปิดการลงทะเบียนแล้วเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2557 จากนี้ไปก็จะเป็นการไล่จับแรงงานที่ไม่ถูกกฎหมาย

PB200210PB200216

นายมนัส โกศล กรรมาธิการวิสามัญร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม(ฉบับที่..) พ.ศ. …. กล่าวว่าแรงงานข้ามชาติเข้ามาทำงานตอบสนองความต้องการของนักลงทุน ส่วนต่อมา แรงงานข้ามชาติมาตามข้อตกลงMOUของประเทศเพื่อนบ้านกับรัฐบาลไทย ซึ่งสามารถมาทำงานได้โดยถูกกฎหมายได้ 2 วาระ ครั่งละ 2 วาระ คือ 4 ปี จากนั้นต้องออกไปแล้วประสงค์จะกลับมาทำงานอีกก็ได้หรือบางรายคือกลับไปเลย ซึ่งระบบประกันสังคมที่มีการถกเถียงกัน คือเรื่องสิทธิแรงงานข้ามชาติในกฎหมายประกันสังคม โดยมีการกำหนดสิทธิแล้วในมาตร 36 กรณีสิทธิชราภาพที่พูดถึงกันนั้น ทางกฎหมายให้การกำหนดเป็นกฤษฏีกาได้ ใหแรงงานข้ามชาติสามารถรัยบำเหน็จได้เลยหากต้องการ โดยคิดว่าจะไม่กลับมาทำงานอีก หากกลับมาทำงานอีกสิทธิก็ต่อเนื่องได้

ขณะนี้ร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมนั้นประชุมผ่านมา 3 ครั้งแล้วแต่คืบหน้าไปน้อยมากขณะนี้ประชุมกันอยู่ที่มาตรา 10 ส่วนเรื่องโครงสร้างของบอร์ดในมาตรา 8 มีการแปรญัติกันจำนวนมากจึงแขวนไว้ก่อน ข้อเสนอต่างๆในวันนี้ก็จะนำไปเสนอนที่ประชุมกรรมาธิการฯ กรณีลูกจ้างหากประสบอุบัติเหตุแขนขาดหนืออะไรมีการวินิจฉัยได้รับสิทธิแล้วสามารถทำงานต่อได้อีก กรณีคณะกรรมการแพทย์ที่เดิมมีแต่แพทย์เท่านั้นที่เข้าเป็นกรรมการต่อไปจะมีส่วนของตัวแทนลูกจ้าง และนายจ้างเข้าไปเพื่อดูแลเรื่องสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน

ดร.อารักษ์ พรหมณี รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า การคุ้มครองแรงงานเน้น  หลักความเท่าเทียม หลักความเป็นธรรม แรงงานข้ามชาติเกิดมานาน แต่เพิ่งจะมีการกล่าวถึงเรื่องสิทธิและการคุ้มครองเมื่อปี2539 เอง แบะแรงงานข้ามชาติไม่ได้เกิดขึ้นเพียงในประเทศไทย ประเทศไทยเป็นทั้งผู้ส่งออกแรงงานเอง และเป็นประเทศปลายทางของแรงงานเพื่อนบ้านด้วย และขณะนี้แรงงานข้ามชาติมีมากกว่า 3 สัญชาติ การที่ประเทศไทยขึ้นทะเบียนแรงงานข้ามชาตินั้นเป็นแนวคิดเรื่องความมั่นคงองรัฐ และการดูแลด้านสิทธิความมั่นคงขิงมนุษย์ การที่นายจ้างไม่พาแรงงานข้ามชาติไปขึ้นทะเบียน การพิสูจน์สัญชาติ เพราะความล่าช้าของการจัดการ

จะปฏิรูปปนะกันสังคมอย่างไร หลักการเข้าถึงสิทธิ การระสานงานด้านข้อมูลเพื่อใช้ระบบส่งต่อด้านสิทธิ คือต้องตกลงกัน ป่วยไม่ต้องจ่าย เพราะประกันสังคมจ่ายสิทธิแล้ว การจ่ายสิทธิประโยชน์ความต่อเนื่องของระบบ เช่นตอนนี้กรณีคนต่างชาติชาวยถโรปมาอาศัยในประเทศไทยก็จะมารับสิทธิบำนาญชราภาพที่สำนักงานประกันสังคมในประเทศไทยได้ด้วยการส่งต่อระบบประกันสังคมและสิทธิ การรับเงินสมทบิเพื่อการคุ้มครองให้ได้สิทธิ

การประกันสังคมมีระบบบังคับ กับระบบสมัครใจ ซึ่งคุ้มครองแรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ แล้วแรงงานข้ามชาติจะแบ่งการบริหารจีดการกองทุนอย่างไร คนทำงานที่เดียวกันแต่ค่าจ้างไม่เท่ากัน จะปรับปรุงสิทธประโยชน์หรือใช้สิทธิอย่างไรได้อย่างมีคุณภาพ ทุกคนต้องมีสิทธิและได้รับการดูแล

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน