เวทีสาธาณะ เสียงแรงงานสมัย คสช.

snapshot17 snapshot19

May Day หรือวันแรงงานสากลตรงกับวันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปีซึ่งถูกกำหนดในประเทศออสเตรเลียตั้งแต่ ปี 2399 เพื่อระลึกถึงการเคลื่อนไหวเรียกร้องของผู้ใช้แรงงานที่ต้องการให้ลดชั่วโมงการทำงานลงเหลือ 8 ชั่วโมงต่อวัน หรือที่เรียกว่าระบบสามแปด โดยในหนึ่งวันจะทำงาน 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมงและศึกษาหาความรู้อีก 8 ชั่วโมง เพื่อสวัสดิภาพของผู้ใช้แรงงานทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย สำหรับประเทศไทยมีการกำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันแรงงานแห่งชาติ เริ่มตั้งปี 2499 หรือหนึ่งรอยปีหลังประกาศวันแรงงานสากลด้วยเหตุผลเดียวกันคือการให้ความสำคัญแก่ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ใช้แรงงานรวมทั้งการคุ้มครองสิทธิ์และยกระดับคุณภาพชีวิต ซึ่งถึงวันนี้เสียงแรงงานไทยก็ยังดังไปไม่ถึงคณะผู้ปกครองประเทศอย่างที่หวัง ข้อเรียกร้องสำคัญของขบวนแรงงานช่วงที่ผ่านมาคือ

snapshot20 snapshot24

ขอให้รัฐบาลลงนามในอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศหรือ ILO.ฉบับที่ 87 และ 98 กุญแจสำคัญที่จะทำให้ผู้ใช้แรงงานรวมตัวกันได้โดยเสรีและชอบธรรมทั้งยังเป็นกฎหมายที่คุมครองสิทธิแรงงานที่ต้องการเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพอีกด้วย ซึ่งที่ผ่านมาท่าทีของรัฐบาลต่ออนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับ ยังคลุมเครือไม่มีการรับรองอนุสัญญาอย่างเป็นทางการ ส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อการรวมตัวของขบวนการแรงงานไทยไม่อาจสร้างอำนาจต่อรองกับฝ่ายนายจ้างได้อย่างเสมอภาค ขณะที่กฎหมายแรงงานบางฉบับถึงวันนี้ก็ยังไม่อาจวางใจว่าจะตอบข้อเรียกร้องของผู้ใช้แรงงาน ดังเช่นกฎหมายแรงงานสัมพันธ์และกฎหมายประกันสังคมสำหรับร่างพระราชบัญญัติประกันสังคมฉบับใหม่ หนึ่งในกฎหมายกว่า 30 ฉบับ ที่ถูกหยิบมาพิจารณาแก้ไขปรับปรุงในสมัยรัฐบาลปัจจุบันถือเป็นความคืบหน้าที่ขยายความคุ้มครองสิทธิประโยชน์ให้แก่แรงงานทุกประเภท อย่างไรก็ตามร่างกฎหมายฉบับใหม่ก็ยังถูกมองว่าขาดความโปร่งใสในกระบวนการบริหารจัดการและที่สำคัญยังจำกัดโอกาสการมีส่วนร่วมของฝ่ายแรงงานในการตัดสินใจใช้จ่ายกองทุนที่มีเงินสะสมมากที่สุดในประเทศ ข้อเรียกร้องที่ไม่ได้รับการตอบสนองเท่าที่ควรจากฝ่ายบริหารถูกมองว่าส่วนหนึ่งเป็นผลจากความอ่อนแอและขาดความเป็นเอกภาพของขบวนการแรงงานต่างจากอดีตก่อนปี 2536 ที่อำนาจต่อรองของฝ่ายผู้ใช้แรงงานมากพอที่จะรับมือกับฝ่ายนายจ้างแล้วอะไรคือคำอธิบายในเรื่องนี้ เวทีสาธารณะได้ตามไปพูดคุยกับผู้นำแรงงาน ภาคประชาสังคม นักกฎหมายและนักวิชาการด้านแรงงานที่เห็นการเปลี่ยนแปลงของขบวนการแรงงานในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา

สาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์

ชาลี ลอยสูง รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย

ชินโชติ แสงสังข์  ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย

มนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย

บัณฑิต แป้นวิเศษ เครือข่ายปฏิบัติการแรงงานข้ามชาติ

ณีรมล สุทธิพรรณพงศ์ เครือข่ายแรงงานนอกระบบ

ศาสตราภิชาน แล ดิลกวิทยรัตน์ ผอ.ศูนย์พัฒนาแรงงานและการจัดการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุนี ไชยรส กรรมการปฏิรูปกฎหมาย

snapshot29 snapshot30 snapshot31 snapshot32 snapshot33 snapshot34 snapshot35 snapshot36