เมื่อไรคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ – มันคง-ปลอดภัย และเท่าเทียม

แรงงานนอกระบบ คนส่วนใหญ่ที่ทำงานหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจ สังคม แต่กลับไม่ได้รับการดูแลคุ้มครองในฐานะแรงงาน ซึ่งผู้เขียนได้ทีโอกาสเข้าร่วมการสมัชชาแรงงานนอกระบบเมื่อวันที่ 4-5 ตุลาคม 2555 ที่โรงแรมรามาการ์เดนส์ กรุงเทพฯ ในฐานะนักสื่อสารแรงงาน เครือข่ายนักสื่อสารแรงงาน ซึ่งได้เข้าร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านค่าจ้าง สวัสดิการ รวมถึงการดำรงชีวิตของคนทำงานในสถานประกอบการ ก่อนที่จะได้รับการมอบหมายไห้ไปทำงานนั้น คณะผู้จัดงานได้มาเล่าวัตถุประสงค์ ความเป็นมา ของการจัดงานสมัชชาแรงงานนอกระบบระดับชาติ  โดยคุณ มัฌนา โกสุม จากแผนงานคุณภาพชีวิตแรงงาน(สสส.)

ก่อนที่จะปฏิบัติงานนั้นกลุ่มนักสื่อสารแรงงานที่มากันทั้งหมด 8 คน ได้ระดมความคิด แลกเปลี่ยนความคิดเห็น มุมมองของนิยามคำว่า แรงงานนอกระบบ   โดยทั่วไปแล้วคำว่า ผู้ใช้แรงงานนั้นมักจะถูกมองในลักษณะ การทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ หรือ แรงงานในระบบ ก็จะมีค่าจ้าง สวัสดิการต่างๆ ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายประกันสังคม แรงงานในระบบได้รับการดูแลด้านสวัสดิการ จากนายจ้าง และภาครัฐ

ยังมีแรงงานอีกกลุ่มหนึ่ง ที่ใช้แรงทำมาหากินเหมือนกันแต่กลับบอกว่า ไม่ใช่ผู้ใช้แรงงาน กับเรียกว่า อาชีพ เช่น อาชีพชาวนา  อาชีพขับแท็กชี่  อาชีพขับมอเตอร์ไซด์รับจ้าง หรือแม้แต่พ่อค้า แม่ค้า ฯลฯ คนทำงานเหล่านี้เรียกว่า แรงงานนอกระบบ หรือ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และไม่ได้รับการดูแลเหมือนแรงงานในระบบ ทำให้แรงงานนอกระบบเข้าไม่ถึงสิทธิ สวัสดิการต่างๆ ของกฎหมายแรงงาน และนโยบายเพื่อการคุ้มครองการสร้างหลักประกันทางสังคม เช่น ปัจจุบันมี ร่างพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 หลักการคือผู้มีอายุ 15 ปีถึง 60 ปี สามารถเป็นสมาชิกกองทุนและรัฐบาลสมทบกองทุนการออมฯ มีนโยบายชัดเจนแต่รัฐบาลไม่มีการบังคับใช้โดยเฉพาะกระทรวงการคลัง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553 ก็ยังถือว่า การบังคับใช้เป็นความพร้อมของรัฐบาลฝ่ายเดียวและยังไม่มีการใช้บังคับให้เห็นถึงการคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้านอย่างแท้จริง มาตรา.40 พระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533 ยังคงมีความลำบากในการนำส่งสมทบของผู้ประกันตนซึ่งในต่างจังหวัดสำนักงาน และร้านสะดวกซื้ออยู่ไกล ยังมีเงื่อนไขเยอะแยะมากมายในการเข้าถึงสิทธิไม่ถึง รวมถึงภาครัฐอ่อนยังการประชาสัมพันธ์ รัฐบาลยังไม่ได้ทำการหนุนนโยบายด้านแรงงานนอกระบบอย่างจริงจัง เช่นยังมีการกำหนดเงื่อนไขด้านจำนวนคนที่สมัครเข้าสู่ระบบเป็นต้น

การสะท้อนปัญหาแรงงานนอกระบบของผู้เข้าร่วมงานสมัชชาแรงงานนอกระบบระดับชาติ ที่มาร่วมนั้นมาจากหลาย เช่นภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคเหนือ ประกอบด้วยกลุ่มชาติติพันธ์ต่างๆ ที่สะท้อนถึงการใช้ภาษาไทยไม่เก่ง อยู่ห่างไกลเมือง ไม่รู้สิทธิ การเดินทางลำบาก สิ่งที่ผู้เข้าร่วมนำเสนอคือให้ภาครัฐร่วมมือกับองค์กรระดับท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ต่างๆในการร่วมรับภาระ รับผิดชอบในการดำเนินการ ตามกฎหมายข้างต้นที่กล่าวมา ตัวแทนแรงงานนอกระบบในจังหวัดข่อนแก่นได้สะท้อนถึงการใช้สิทธิประกันสังคมมาตรา40 ที่ต้องเดินทางในจังหวัดข่อนแก่นมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางไป สำนักงานประกันสังคม ค่ารถโดยสารรวม 400บาทต่อครั้งเพียงเพื่อส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมมาตรา40 เพียง 100 บาท นั้นไม่คุ้มเพราะรายจ่ายค่าเดินทางแพงและเสียเวลาด้วย ซึ่งตรงนี้ การใช้ส่วนขององค์กรท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดเก็บเงินสมทบจะช่วยให้แรงงานที่ต้องการเข้าสู่ระบบประกันสังคมไม่ต้องเดินทางไปส่งสมทบที่สำนักงาน ซึ่งไกลและค่าใช้จ่ายสูงเกินไป

โดยแรงงานนอกระบบมีข้อเสนอที่เป็นข้อเสนอร่วมต่อรัฐบาลสรุปได้คือ

1 ต้องการอาชีพที่มั่นคง

2 ต้องความปลอดภัยจากการทำงาน

3 อยากให้มีสวัสดิการที่ดี เหมือนแรงงานในระบบ

4 ให้รัฐสนับสนุน ส่งเสริมแรงงานนอกระบบ เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

ซึ่งในการจัดงานครั้งนี้นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้เข้ามาร่วมในการรับข้อเสนอของแรงงานนอกระบบในงานสมัชชาฯ จึงเป็นความคลาดหวังว่าประเด็นต่างๆของแรงงานนอกระบบจะได้รับการตอบสนอง

ธีระวุฒิ เบญมาตย์ นักสื่อสารแรงงานศูนย์สมุทรปราการ รายงาน