เครือข่ายแรงงาน พบรมว.แรงงาน ให้ชะลอการยกร่างจัดตั้งสถาบันฯ

เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2554 เวลา 10.00 น.-12.00 น. ณ.ห้องท่านเฉลิมชัย  ศรีอ่อน สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย สมัชชาคนจน คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย  โดยคุณบุญสม ทาวิจิตร เลขาธิการคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย  เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน คุณสมเกียรติ ลอยโต กลุ่มผู้ใช้แรงงานอยุธยาและใกล้เคียง คุณเสน่ห์ ชุมหฤทัย กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง กลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง คุณบุญยืน สุขใหม่ สภาองค์การลูกจ้างแรงงานสัมพันธ์แห่งประเทศไทย คุณสุธาสินี แก้วเหล็กไหล โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย รศ.ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาจารย์พรชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ ที่ปรึกษา รวมทั้งคนป่วยจากการทำงาน ได้เข้าพบคุณเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อติดตามการยื่นหนังสือไว้เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2554 ในการดำเนินตามการประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันในงานเวทีสาธารณะ วันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ 10 พฤษภาคม 2554  ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันรำลึก 18 ปี ของเหตุการณ์โศกนาฏกรรมเคเดอร์ คนงานเสียชีวิต 188 ศพ บาดเจ็บ 469 ราย ซึ่งมีเหตุผลสำคัญในการเข้าพบดังนี้
 
1)  ขอให้ชะลอการยกร่างกฎหมายการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ออกไปก่อน เพื่อให้มีการนำร่างสถาบันฯผ่านการรับฟังความคิดเห็นของผู้ใช้แรงงานเนื่องจากในการประชุมยกร่าง 4 ครั้งที่ผ่านมานั้นมีมาตราสำคัญๆที่เป็นหัวใจของการตั้งสถาบันฯที่ผู้ใช้แรงงานผลักดันมากว่า 17 ปีมีการแขวนไว้และไม่สามารถตกลงกันได้ และประธานอนุยกร่างกพยายามใช้วิธีการลงมติซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเกิดความเป็นธรรมได้ เช่น
 
– อำนาจหน้าที่ของสถาบันฯที่อนุฝ่ายผู้ใช้แรงงานต้องการให้มีการรับเรื่องราวร้องทุกข์แต่ฝ่ายราชการว่าเป็นอำนาจซ้ำซ้อน ซึ่งอนุฝ่ายผู้ใช้แรงงานเห็นว่าถ้าจะแก้ปัญหาสุขภาพความปลอดภัยได้สถาบันฯต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลข้อเท็จจริงได้
 
– เรื่องที่มาของรายได้อนุฝ่ายผู้ใช้แรงงานเสนอว่าสถาบันฯจะต้องได้รับงบประมาณสนับสนุนจากดอกผลของกองทุนเงินทดแทนร้อยละ 20 ต่อปีแต่ราชการมองว่าซ้ำซ้อนต้องเขียนเป็นโครงการเสนอต่อกองทุนความปลอดภัย ในแต่ละปีไป
 
-เรื่องที่มาของคณะกรรมการอนุฝ่ายผู้ใช้แรงงานเสนอว่า จะต้องได้มาจากการสรรหาไม่ใช่แต่งตั้งโดยรัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน ต้องระบุองค์กรในการสรรหาไว้ชัดเจนในสถาบันฯและประธานไม่ใช่ราชการแต่ราชการมองว่าต้องเปิดไว้ให้ราชการเข้ามาเป็นประธาน ฯลฯ
2)  ขอให้พิจารณาทบทวนเปลี่ยนโครงสร้างคณะอนุกรรมการยกร่างกฎหมายการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ ใหม่ (ควรให้คณะกรรมการยกร่างดังกล่าวมีอำนาจในการพิจารณายกร่างกฎหมายอย่างรอบด้านเพียงคณะเดียว เพื่อให้เกิดการทำงานที่ไม่ซ้ำซ้อน และเป็นข้อยุติ) รวมทั้งพิจารณาสัดส่วนของคณะกรรมการยกร่างกฎหมายดังกล่าว ในสัดส่วนที่มีความเหมาะสมและเป็นธรรม โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยเฉพาะเครือข่างแรงงานและภาคประชาชน ให้มีสัดส่วนเท่ากันกับฝ่ายราชการ
 
3)  ขอให้ชะลอการยกร่างสถาบันฯในวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๒๖ไว้ก่อน จนกว่าจะปฏิบัติตามข้อหนึ่งสองและจัดทำการประชาพิจารณ์ หรือจัดเวทีสาธารณะ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (นายจ้าง ลูกจ้าง แรงงานที่เจ็บป่วยที่เป็นผู้ผลกระทบ นักวิชาการ ภาคประชาชน ภาคีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง) เพื่อทำให้เกิดกระบวนการการมีส่วนร่วมที่มีความรอบด้านเสียก่อน ก่อนออกกฎหมายการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ 
 
นอกจากนั้นยังมีกรณีคนงานหญิงท้องถูกขู่บังคับให้ลาออกจากงานซึ่งเป็นการทำละเมิดกฎหมาย และคนงานมือขาดจากการทำงานสองคนขอความช่วยเหลือ
 
คุณเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้กล่าวว่า การเข้ามาดำรง ตำแหน่งเจ้ากระทรวงนี้ต้องการมาทำงาน  เพื่อแก้ไขปัญหาผู้ใช้แรงงานจริงๆไม่ใช่การมาเพื่อการสร้างภาพจะเห็นได้ว่ากฎหมายผู้ใช้แรงงาน หลายฉบับรัฐมนตรีรับฟังและพยายามได้เข้าสู่สภา แต่จะบังคับใช้ได้หรือไม่ ก็ต้องพยายามให้เร็วที่สุด  การที่ผู้ใช้แรงงานมาร้องเรียน ท่านรับไว้และจะต้องพิจารณาดูด้วยการสอบถามรับฟังกันทั้งสองฝ่ายและเข้าใจว่าผู้ใช้แรงงานผลักดันเรียกร้องการจัดตั้งสถาบันฯมานานหลายปี  แต่ก็ต้องรับฟังว่าพอจะพูดคุยแก้ไขปัญหาได้หรือไม่ถ้าแก้ได้ก็จะรีบแก้ โดยเฉพาะการชะลอการยกร่างสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาแวดล้อมในการทำงาน
    
สมบุญ สีคำดอกแค ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานแห่งประเทศไทย รายงาน