เครือข่ายแถลงความคืบหน้าประชุมกรรมาธิการวิสามัญกองทุนเงินทดแทน

เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2554เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานด้านสุขภาพ ความปลอดภัยในการทำงาน เครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย เครือข่ายแรงงานนอกระบบกทม. และกลุ่มสหภาพแรงงานต่างๆ ราว 20 คน ได้เข้ายื่นหนังสือ และมอบดอกไม้ขเพื่อขอให้กรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติเงินทดแทน สนับสนุนการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ในมาตรา 10 ตามข้อเสนอวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2554 โดยมีนายสุกิจ อัถโถปกรณ์ ประธานกรรมาธิการฯมารับหนังสือฉบับและดอกไม้ดังกล่าว

นางสมบุญ สีคำดอกแค ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจาการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย กล่าวว่าตามที่ประชุมในวันดังกล่าวขอให้นำประเด็นนี้ไปพิจารณาต่อในวันนี้ และทางเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน จึงได้ทำหนังสือขอสนับสนุนข้อเสนอที่ให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม ในเรื่องการจัดสรรเงินกองทุนไม่เกินร้อยละ 30 ของดอกผลของกองทุนต่อปี    ที่พิจารณาแก้ไขใหม่เป็นไม่เกินร้อยละ 50 ของดอกผลของกองทุนต่อปี ด้วยเหตุผลดัง คือ งบประมาณดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมเรื่องความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ถือเป็นกระบวนการทำงานเชิงรุกที่เน้นการป้องกันมากกว่าการรักษาและเยียวยา  และเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 เรื่อง การนำดอกผลของกองทุนเงินทดแทนมาจัดสรรให้กับกองทุนความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งกองทุนความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานก็จะจัดสรรงบ ประมาณมาให้สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ดำเนินงานต่อไป ดังนั้นยิ่งจำนวนดอกผลมีอัตราเพิ่มขึ้นยิ่งส่งผลต่อการส่งเสริม การพัฒนา การศึกษาวิจัย และแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานมากยิ่งขึ้นด้วย

ซึ่งทางคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนมีอำนาจจัดสรรเงินกองทุนไม่เกินร้อยละ 50 ของดอกผลของกองทุนต่อปี เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบำบัดรักษาส่งเสริมฟื้นฟูสมรรภภาพในการทำงานของลูกจ้าง และเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมหรือป้องกันเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานและกองทุนความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานและไม่เกินร้อยละ 5 ของดอกผลของกองทุนเงินทดแทนต่อปี เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและเป็นค่าใช้จ่ายตามมาตรา 43" พวกเราจึงขอให้กำลังใจท่านประธานด้วยการมอบช่อดอกไม้ ซึ่งในการประชุมกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณา พ.ร.บ.เงินทดแทน

ทั้งนี้ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญ นพ.อดุลย์บัณฑกุล  หัวหน้าคลินิกโรคจากการทำงาน มาชี้แจ้ง ผมไม่รู้ว่าต้องใช้งบกี่% แต่ผมมีข้อมูลดังนี้คลินิกโรคมีคนงานมาหาก็ปลายเหตุ ถ้ามีสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย ก็ทำงานครอบคลุมการส่งเสริมป้องกัน สถิติการเจ็บป่วย ที่ได้มาจาก 3 แหล่ง เช่น

1.กองทุนเงินทดแทน ต้องป่วยแบบแน่ชัดถึงเข้ากองทุน โรคบางิอย่างก็บอกไม่ได้
2.ระบาดวิทยาให้เจ้าหนาที่หรือกระทรวงสาธารณสุขทำวิจัยปีหนึ่งคนป่วยเกือบแสนคน
3.ประมาณการจากสำนักโรคจากากรประกอบอาชีพกรมควบคุมดรคึ่งข้อมูลส่งไป สปสช.มีสถิติเยอะพอสมควร4-5% มาจากการทำงาน

คุณกาญจนา กานต์วิโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักความปลอดภัย ภาระกิจเชื่อมโยงกับประกันสังคม สถิติจากประกันสังครวมทั้งการเจ็บป่วยและการวางแผนเข้าไปตรวจโรงงาน การทำงานกรมสวัสดิการมีจำกัดแต่ละปีต้องเขียนโครงการเข้าไป
–  จะจัดงานสัปดาห์ความปลอดภัย
–  การทำเครื่องมือให้ความรู้
–  จำนวนคนเจ็บป่วยจากากรทำงานตามความเป็นจริงยังมีอีกมาก
–  ถ้าดำเนินการส่งเสริมป้องกันก็มีเงินดอกผลดีมาก แล้วก็กำหนดเดิม 22%และปรับใหม่ 30%หรือจะจัดสรรงบประมาณ 50% เรา0tมีงบส่งเสริมรณรงค์ป้องกันมากขึ้น กรมสวัสดิการเห็นด้วย
 
รศ.ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ ในฐานะกรรมาธิการผมเห็นว่านำดอกผลมาให้มากกว่านี้เพื่อทำงานป้องกันไว้ก่อนดีกว่ามารักษาแก้ไขปํญหาทีหลัง
 
สมบุญ สีคำดอกแค ในฐานะกรรมาธิการ เสนอว่านำดอกผลมา 50% และให้ระบุชัดเจนว่า ให้ใช้ในกองทุนความปลอดภัย 20%เพราะใน พรบ.ความปลอดภัยหมวด 7 มาตรา 52ต้งอตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอภัยจะได้มีงบลงมาให้สถาบันฯส่งเสริมความปลอดภัยได้บริหารงานด้านส่งเสริมความปลอภัยอย่างเพียงพอ
 
 
วันนี้ก็ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้เนื่องจากที่ประชุมให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กับสำนักวานประกันสังคมไปคุยกันมาก่อน นัดพิจารณาต่อในวัที่ 23 กพ54เวลา 13.30 น.ที่ห้องประชุมกรรมาธิการ 3701 ชั้น 7 ตึกรัฐสภา 3
 
 

นักสื่อสารแรงงาน โครงการการพัฒนาสื่อ รายงาน(ขอขอบคุณข้อมูลจากคุณสมบุญ สีคำดอกแค ประธานสภาเครือข่ายฯ)