เครือข่ายเพื่อสิทธิผู้ป่วยจากงานเอเชีย ยื่นทูตเกาหลี แก้ปัญหา 15 ชาวอินเดียเสียชีวิตจากโรงงานทำแก้สรั่ว

เครือข่ายเพื่อสิทธิของผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมเอเชีย สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย เครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ยื่นหนังสือต่อสถานทูตเกาหลี แก้ปัญหาชาวอินเดีย 15 รายที่เสียชีวิตจากภัยพิบัติโรงงานแก้สรั่วทำคนตาย และบาดเจ็บจำนวนมาก

วันที่ 8 พฤษภาคม 2566เครือข่ายเอเชียเพื่อสิทธิของผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อม (ANROEV) เครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย และ G Srinivas Rao เลขานุการสมาคมเหยื่อแก๊สโพลิเมอร์บริษัท LG  ได้ยื่นหนังสือนาย ถึง: ยุน ซ็อกยอล ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเกาหลี SHIN HakCheol ประธานบริหารของบริษัท LG CHEM ผ่านทาง เอกอัครราชทูตเกาหลี ประจำประเทศไทย ซึ่งหนังสื่อมีเนื้อหา ดังนี้

เรื่อง  จดหมายเกี่ยวกับปัญหาภัยพิบัติ LG CHEM POLYMERS สาขาอินเดีย เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2020 เมืองวิสาขปัตนัม ประเทศอินเดีย

ผมนาย G Srinivas Rao เลขานุการสมาคมเหยื่อแก๊สโพลิเมอร์บริษัท LG เขียนจดหมายฉบับนี้ในนามตัวแทนของสมาชิกที่เป็นเหยื่อประมาณ 460 รายและเหยื่อรายอื่นๆ รวมทั้งคุณ C Kiran Kumar เหยื่อซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงานของผม

วันนี้ 8 พฤษภาคม 2566 พวกผมมาที่นี่เพื่อแถลงข่าวเกี่ยวกับปัญหาภัยพิบัติ LG ที่หน้าสถานทูตเกาหลีประจำประเทศไทย กรุงเทพฯ  พร้อมด้วยแนวร่วมกว่า 120 คนที่เข้าร่วมประชุมนานาชาติของเครือข่ายเอเชียเพื่อสิทธิของผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อม (ANROEV) ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ทำงานด้านนี้มายาวนานเกือบ 30 ปี เพื่อสิทธิประโยชน์ของผู้ประสบภัยด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคเอเชีย มีสมาชิกกว่า 16 ประเทศ เช่น ไทย อินเดีย ปากีสถาน ศรีลังกา บังคลาเทศ เนปาล อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม กัมพูชา ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง จีน ไต้หวัน มองโกเลีย เกาหลี ญี่ปุ่นและอื่นๆ

เรามาที่นี่เพื่อสะท้อนปัญหาหายนะที่เกิดขึ้นในบริษัท LG CHEM ในอินเดียให้ประชาคมโลกได้รับรู้ถึงโฉมหน้าที่แท้จริงของบริษัท LG CHEM ซึ่งเป็นบริษัทผลิตสารเคมีระดับโลกของเกาหลี

ประการแรก ผมขอเผยใบหน้าของชาวอินเดีย 15 รายที่เสียชีวิตจากภัยพิบัติ LG Chem มีตั้งแต่เด็กหญิงอายุ 6 ขวบ นักศึกษามหาวิทยาลัยแพทย์จนถึงผู้สูงอายุ 70 ปี ภาพคนและสัตว์บางส่วน ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังไม่มีเหยื่อหรือผู้เสียชีวิตคนใดได้รับคำขอโทษและค่าชดเชยจากบริษัทฯ  และมีผู้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหลายร้อยราย และหลายคนต้องทุกข์ทรมานด้วยอาการเรื้อรังที่แตกต่างกัน

ประการที่ 2 ผมมีคำแถลงเกี่ยวกับภัยพิบัติที่น่าเศร้านี้ 2 ฉบับ ดังนี้

1) คำแถลงแสดงความกังวลจากนาย Baskut Tuncak ผู้เสนอรายงานพิเศษของสำนักข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ  เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2020 ว่า (https://www.ohchr.org/en/press-releases/20 20/05/chemical-industry-must-step-human-rights-prevent-more-bhopal-disasters-un)

ผมเป็นกังวลเกี่ยวกับการรับประกันว่า ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจากการสัมผัสสารเคมี ซึ่งเป็นโรคหรือพิการในภายหลังจะได้รับการเยียวยาอย่างมีประสิทธิภาพ” Tuncak กล่าว “ผมขอเรียกร้องให้รัฐอินเดียและเกาหลีใต้ รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้อง หลีกเลี่ยงการเกิดความผิดพลาดแบบเดียวกัน และการใช้กระบวนการยุติธรรมไปในทางที่ผิด ที่ได้ปฏิเสธการมอบความยุติธรรมให้แก่เหยื่อของภัยพิบัติโภปาลซึ่งยังคงทุกข์ทรมานมาจนถึงทุกวันนี้”

ผมขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการรั่วไหลของแก๊สพิษครั้งล่าสุดนี้ เป็นอีกหนึ่งภัยพิบัติที่แท้จริงนั้นป้องกันได้ในภาคอุตสาหกรรมเคมีที่ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานอย่างน่าสยดสยองในหมู่คนงานผู้บริสุทธิ์และชุมชนในอินเดีย และยังเป็นเครื่องย้ำเตือนอีกครั้งว่า ภัยพิบัติจากสารเคมีระดับมินิ-โภปาลยังคงเกิดขึ้นทั่วโลกเรื่อยมาจนน่าตกใจ” ผู้เชี่ยวชาญอิสระกล่าว

2) แถลงการณ์ของเครือข่าย ANROEV เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2020 เครือข่ายอันโรฟ คือแนวร่วมของกลุ่มเหยื่อผู้ประสบภัย สหภาพแรงงาน และกลุ่มแรงงานและสิ่งแวดล้อมทั่วเอเชีย ซึ่งทั้งหมดมุ่งมั่นเพื่อสิทธิของเหยื่อและเพื่อปรับปรุงระบบสุขภาพและความปลอดภัยในสถานที่ทำงานและสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย ดังนี้

เรายังไม่ลืมโศกนาฏกรรมก๊าซเมทิลไอโซไซยาเนต (MIC) รั่วไหลเมื่อเช้าตรู่ของวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2527 ของโรงงานผลิตยาฆ่าแมลง Union Carbide India Limited (UCIL) ในเมืองโภปาล รัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย ซึ่งถือเป็นภัยพิบัติทางอุตสาหกรรมที่เลวร้ายที่สุดในโลก ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนกว่า 500,000 คนซึ่งสูดเอาก๊าซเมทิลไอโซไซยาเนตเข้าไป และมีผู้เสียชีวิตทันที 2,259 คน คำให้การของรัฐบาลปี 2549 ระบุว่า การรั่วไหลทำให้มีผู้คนบาดเจ็บ 558,125 ราย ผู้บาดเจ็บบางส่วนชั่วคราว 38,478 ราย และผู้บาดเจ็บถึงขั้นพิการรุนแรงและถาวรประมาณ 3,900 ราย

จากการติดตามคดีศาลแพ่งและศาลอาญาในสหรัฐอเมริกาและศาลในอินเดียหลายศาลนับหลายต่อหลายครั้ง กระนั้น บริษัทผู้กระทำความผิดและเจ้าหน้าที่ก็ยังไม่ถูกดำเนินคดี เหยื่อไม่ได้รับการชดเชยที่พึงควรได้รับ และสถานที่เกิดเหตุยังคงปนเปื้อนด้วยสารพิษ ประชาชนที่อาศัยระแวกนั้นยังทนทุกข์เป็นเวลา 35 ปี ซึ่งยังไม่รู้จะต้องทนอีกนานเท่าไร

และแล้วโศกนาฏกรรมเกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อสไตรีนรั่วไหลจากโรงงาน LG Polymers ของเกาหลีในช่วงเช้ามืดของวันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม 2563 ในขณะที่หลายครัวเรือนในหมู่บ้านโดยรอบกำลังนอนหลับ โรงงานผลิตสารเคมีแห่งนี้ตั้งอยู่ในหมู่บ้านชื่อไวแสก (Vizag) เมืองวิศาขาปัฏฏนัม  รัฐอานธรประเทศทางตอนใต้ของอินเดีย ได้คร่าชีวิตผู้คนไปอย่างน้อย 10 ราย และมีคนหลายพันคนถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล ซึ่งต่างวิตกกังวลว่าจะมีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก

สารสไตรีนถูกสังเคราะห์มาจากเบนซินและเป็นของเหลวใสไร้สี ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ คือ อาการระคายเคืองต่อผิวหนัง ดวงตา และทางเดินหายใจส่วนบน หากสัมผัสเป็นเวลานานอาจนำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งได้เช่นกัน สไตรีนเป็นสารก่อมะเร็งกลุ่ม 2A จากข้อมูลขององค์กรวิจัยมะเร็งระหว่างประเทศ หรือ IARC สังกัดองค์การอนามัยโลก

โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นซ้ำๆ เช่นนี้ควรยุติลง จากความประมาทเลินเล่อของบริษัท LG Chemicals ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อควรได้รับการชดเชยทันทีและเต็มจำนวน และผู้รอดชีวิตควรได้รับการรักษาและฟื้นฟูอย่างเต็มที่ รวมทั้ง ต้องมีการสอบสวนสาเหตุของภัยพิบัติและตรวจสอบทางชีวภาพของผู้ที่สัมผัสทั้งหมดโดยทันที และต้องตรวจสอบสถานที่ทำงานว่าปลอดภัยหลังจากการปิดเมืองสิ้นสุดลง โดยจะต้องมีกฎระเบียบและระบบความปลอดภัยในสถานที่ทำงานที่เคร่งครัด

ขณะที่เรายังคงต่อสู้กับโศกนาฏกรรมแก๊สรั่วสองครั้ง และการระบาดของโควิดอย่างต่อเนื่อง และต่อสู้เพื่องานที่มีคุณค่า สถานที่ทำงานที่ปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม สมาชิกของเครือข่ายเอเชียเพื่อสิทธิของเหยื่อจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม (ANROEV) สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย (TLSC) สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย (WEPT) พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยยังคง “รำลึกถึงผู้เสียชีวิต และผู้ที่ต่อสู้เพื่อมีชีวิตต่อไป”

ข้อเรียกร้องของเครือข่ายอันโรฟ คือ

1. ต้องจ่ายค่าชดเชยและเงินเยียวยาแก่เหยื่อและผู้ได้รับบาดเจ็บและครอบครัวของพวกเขาโดยทันที

2. ต้องให้ความช่วยเหลือด้านสุขภาพในระยะยาวแก่เหยื่อและประชาชนที่สัมผัสสารเคมี

3. ขอให้มีการสอบสวนสาเหตุของการเกิดแก๊สรั่ว

4. ขอให้ภาคประชาสังคมและตัวแทนเหยื่อมีส่วนร่วมในการสอบสวนหาสาเหตุ

5. ขอให้บริษัท LG Chemicals และผู้เกี่ยวข้องกับการรั่วไหลของแก๊สแสดงความรับผิดชอบ

6. สร้างระบบและออกกฎระเบียบ ข้อบังคับด้านความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน

พวกเรา ณ ที่นี้มาเพื่อรำลึกถึงเหยื่อทุกคนที่ถูกสังหารเมื่อ 3 ปีที่แล้วจากการรั่วไหลของแก๊สพิษของ LG CHEM ในเมืองวิสาขปัตนัม ประเทศอินเดีย  เรามีคำถามที่จะถามบริษัท LG Chem, รัฐบาลเกาหลี และรัฐสภาเกาหลีว่า

ทั้งนี้ทางบผู้ชุมได้แสดงละครเพื่อสะท้อนภาพอันตรายจากภัยพิบัติแก้สรั่วโดยมีผู้ใช้แรงงานจากหลายยประเทศร่วมแสดงที่ท้องถนนหน้าสถานทูตเกาหลี จากนั้นทางสถานทูตได้ส่งผู้แทนมารับหนังสือของเครือข่ายดังกล่าวในครั้งนี้ด้วย