เครือข่ายประชากรข้ามชาติ เสนอเปลี่ยนผู้นำก.แรงงาน เพราะล้มเหลวต่อการแก้ปัญหาค้ามนุษย์

วันที่ 31 ตุลาคม 2564 แถลงการณ์เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ เรียกร้องรัฐบาล “เปลี่ยนตัวผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อแสดงความรับผิดชอบ ต่อความล้มเหลวต่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างชาติทั้งระบบและปัญหาการค้ามนุษย์”

เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2564 ตัวแทนลูกจ้างที่เป็นแรงงานข้ามชาติและเครือข่ายช่วยเหลือผู้ใช้แรงงาน จากสหภาพคนทำงาน (Workers’Union) เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (Migrant Working Group) และเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน (Labour Network for Peoples Rights) ได้เดินทางไปยัง กระทรวงแรงงาน เพื่อยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เรื่อง ติดตามการดำเนินการตามข้อเสนอ เพื่อแก้ไขปัญหาในกลุ่มแรงงานก่อสร้างและแรงงานข้ามชาติระหว่างการระบาดของโควิด 19 รวมทั้งเรียกร้อง ให้มีการแก้ไขปัญหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง อาทิ

การเรียกรับสินบนจากคนงาน ค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากการเข้าสู่ กระบวนการขึ้นทะเบียนตามนโยบายของรัฐที่ขาดความชัดเจน และแนวทางการดำเนินการให้แรงงานข้ามชาติ เข้าสู่ระบบการขึ้นทะเบียนของรัฐตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564 (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่https://m.facebook.com/labornetworkforpeoplesright/posts/398840005277170 )

ในระหว่างที่มีการยื่นหนังสือและหารือกับเจ้าหน้าที่ของกระทรวงแรงงานอยู่นั้น ปรากฎว่ามีพนักงาน ตำรวจ พนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง และกลุ่มชายไม่ทราบสังกัดแต่สวมเสื้อ “รมต.แรงงาน สุชาติ ชม กลิ่น” เข้าตรวจเอกสารแรงงานข้ามชาติพร้อมทั้งถ่ายรูปไว้ภายในบริเวณของกระทรวงแรงงาน จากนั้นได้มี การนำตัวแรงงานข้ามชาติจำนวน 8 ราย ไปที่สน.ดินแดงทันที ซึ่งต่อมาพนักงานตำรวจได้ทำบันทึก ซึ่งจัดทำที่ สำนักตรวจคนเข้าเมือง กล่าวหาว่าแรงงานข้ามชาติ 8 รายที่ถูกควบคุมตัวมีแรงงานจำนวน 7 รายที่ การจับกุม กล่าวหาว่า เป็นบุคคลต่างด้าวเดินทางเข้ามา และอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต

ทั้งนี้ในขณะที่ถูก ควบคุมตัว แรงงานข้ามชาติถูกปฎิเสธสิทธิในการเข้าถึงที่ปรึกษากฎหมายและล่ามที่ตนเองไว้วางใจได้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติและองค์กรภาคี ขอประนามเหตุการณ์จับกุมแรงงานขณะอยู่ระหว่างการยื่นหนังสือต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อหาทางออกถึงปัญหาที่ แรงงานข้ามชาติต้องเผชิญกับนโยบายการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ เพื่อมิให้ตนต้องกลายเป็นแรงงานที่ อยู่ในราชอาณาจักรไทยและทำงานโดยมิได้รับอนุญาต และไม่ให้ถูกแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ทางเครือข่าย ฯ

จึงมีข้อคิดเห็นและข้อเรียกร้องเร่งด่วน ดังนี้

1. กระทรวงแรงงาน ซึ่งเป็นเจ้าภาพของการนำเสนอนโยบายบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติเป็น ระยะเวลาหลายสิบปี ไร้ความจริงจังในการสรุปบทเรียนด้านการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ ให้เกิดความยั่งยืน จนกลายเป็นต้นเหตุให้ประเทศถูกลดการจัดอันดับความน่าเชื่อถือด้านการ ส่งเสริมการย้ายถิ่นอย่างปลอดภัย เป็นต้นทางของการของการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ การค้ามนุษย์ และแรงงานเด็ก เช่น การจับกุมแรงงานข้ามชาติช่วงที่ประเทศไทยประสบวิกฤติ ด้านการเมืองช่วงปี 2557 ที่เกิดจากการที่ผู้นำไม่รู้และไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในการต่อใบอนุญาตทำงาน ให้กับแรงงานข้ามชาติที่วาระการจ้างงานครบกำหนด เป็นเหตุให้แรงงานข้ามชาติเกรง กลัวต่อการปราบปรามจึงต้องเดินทางกลับสู่ประเทศต้นทางนับแสนราย และทำให้ประเทศไทย ถูกลดลำดับในความพยายามตอบสนองต่อการค้ามนุษย์ที่ต่ำสุด (Tier 3-TIP report)

2. จากวิกฤติการบริหารจัดการแรงงานที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2557 รัฐบาลทำเพียงการเน้นไปที่การออก กฎหมายบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ ในปี 2560 แต่การบังคับใช่กฎหมายหรือการกำหนด นโยบายให้เกิดการจ้างงานที่เป็นธรรม ยังไม่ก่อให้เกิดการส่งเสริมการย้ายถิ่นที่ปลอดภัยได้จริง อีกทั้งการกำหนดตัวบุคคคลที่ดำรงตำแหน่งผู้นำกระทรวงแรงงาน ของรัฐบาลชุดปัจจุบัน เครือข่ายฯพบว่า ผู้นำกระทรวงยังขาดวิสัยทัศน์องค์ความรู้และภาวะของการเป็นผู้นำเพื่อการ ยกระดับคุณภาพชีวิตคนทำงาน โดยเฉพาะในช่วงการเกิดวิกฤติของประเทศครั้งสำคัญเนื่องจาก การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 แม้กระทรวงแรงงานจะเป็นเจ้าภาพเสนอแผนแก้ไขปัญหาวิกฤติ การบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ แต่ผู้นำกระทรวงแรงงานไม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดการ จับกุมแรงงานข้ามชาติอันเนื่องมาจากการการได้รับผลกระทบจากการจ้างงานในหลายภาค กิจการ ดังกรณีที่เกิดการจับกุมแรงงานข้ามชาติในบริเวณของกระทรวงแรงงานเอง หรือที่เกิดขึ้น ก่อนหน้านี้กรณีของนางสาวป.ที่ถูกจับกุมตัวโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และต่อมาได้รับการปล่อยตัว ภายหลังการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายจากภาคประชาสังคม (รายละเอียดเพิ่มเติม http://hrdfoundation.org/?p=2649 )

3. เครือข่ายฯ ขอเรียกร้องให้กระทรวงแรงงาน ปล่อยตัวแรงงานข้ามชาติที่ถูกควบคุมตัวไว้ทั้ง 7 รายทันที โดยเร่งแก้ไขปัญหาช่องว่างของการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เนื่องจาก การเสนอแผนด้านการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ โดยการขออนุมัติในที่ประชุม คณะรัฐมนตรี และกระทรวงแรงงานจะต้องเร่งทำงานร่วมกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ใน การเร่งดำเนินการออกประกาศตามที่ได้ระบุไว้ในเอกสารที่เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เช่น ผลการประชุมล้าสุดเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564 ได้อนุมัติในหลักการบนเป้าหมายเพื่อการ บริหารจัดการแรงงานข้ามชาติในภาวะวิกฤติ เพื่อนำไปสู่การเฝ้าระวังป้องกันโรค โดยกำหนด มาตรการผ่อนผันให้แรงงานข้ามชาติที่ทำงานอย่างไม่ถูกต้อง สามารถอยู่และทำงานได้ (https://resolution.soc.go.th/PDF_UPLOAD/2564/P_404607_7.pdf ) ความล่าช้าของ การออกประกาศและการจับกุมแรงงานข้ามชาติที่กระทรวงแรงงานครั้งนี้จนเป็นสาเหตุให้ แรงงานข้ามชาติต้องถูกจับกุม

4. เครือข่ายฯเห็นว่า การจัดการของกระทรวงแรงงาน มีผลต่อภาพลักษณ์และการลงทุนในประเทศ ไทยที่ยังถูกมองว่าไม่ส่งเสริมให้เกิดการย้ายถิ่นอย่างปลอดภัย อันนำไปสู่การแสวงหาประโยชน์ โดยมิชอบ การค้ามนุษย์และแรงงานเด็ก จึงเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาปรับเปลี่ยนผู้ดำรง ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน โดยจัดให้มีการสรรหาผู้นำกระทรวงแรงงาน ที่มี่ วิสัยทัศน์องค์ความรู้และมีภาวะของการเป็นผู้นำเพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตคนทำงานเพื่อให้ เกิดการส่งเสริมการขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ ภายใต้พื้นฐานความเข้าใจเรื่อง เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals-SDGs) และการเคารพสิทธิของแรงงานตามกรอบกฎหมายระหว่างประเทศ และมาตรฐานด้านแรงงานสากล รวมทั้งที่ให้ คำมั่นของการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ โดยไม่เลือกปฏิบัติของผู้แทนรัฐบาลไทยในเวทีต่างๆของ โลก เช่น เวทีประชุมข้อตกลงเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานที่ปลอดภัย เป็นระเบียบและปกติ (Global Compact for Safe, Orderly and Regular Migration-GCM) และเวทีที่เกี่ยวข้องกับการ ปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (National Actional Plan on Business and Human Rights)

แรงงานข้ามชาติ คือแรงงาน สิทธิแรงงาน คือ สิทธิมนุษยชน

เครือข่ายประชากรข้ามชาติ สอบถามเพิ่มเติม คอรีเยาะ มานุชแญ ผู&ประสานงานเครือข9ายประชากรข้ามชาติ

ปภพ เสียมหาญ 0945485306