สถาบันวิจัยจุฬา เสนอรายงาน ความไม่เป็นธรรมด้านเศรษฐกิจและแรงงาน

วันที่ 15 กรกฎาคม 2555 โครงการพัฒนาความไม่เป็นธรรมทางสังคมเพื่อสังคมสุขภาวะ สถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดเวทีสัมมนารายงานวิจัย เรื่อง “ความไม่เป็นธรรมด้านเศรษฐกิจและแรงงานปัญหาและข้อเสนอเชิงนโยบาย” ณ โรงแรม รอยัล ถ.ราชดำเนิน  กรุงเทพฯ ในการจัดสัมมนาในครั้งนื้ได้มี นักวิชาการ นักเศรษฐศาสตร์ นักกฎหมายแรง แรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติและไร้รัฐ แรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศ นักต่อสู้เพื่อองค์กรแรงงาน ตลอดจนสื่อมวลชน เข้าร่วมงานจำนวนมาก

ผศ. ดร.นภาพร อติวานิชยพงศ์ ผู้อำนวยการ สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เจ้าของผลงานการวิจัยฯ  กล่าวถึงที่มาของการจัดเวทีสัมมนาในครั้งนี้ว่า “หากกล่าวถึงแรงงาน”หรือ “กรรมกร” ในอดีตเมื่อประมาณ 40 ปีที่แล้ว คนทั่วไปมักนึกถึงภาพของผู้ทำงานเป็นลูกจ้างในโรงงานอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบการณ์ด้านการค้าและการบริการ ซึ่งภาพพจน์ของกรรมกรในยุคเริ่มต้นของการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทยเป็นกลุ่มประชากรที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำทั้งในด้านค่าตอบแทน ในการทำงานและอำนาจการต่อรอง

ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 กรรมกรซึ่งเป็นลูกจ้างในสำถานประกอบการณ์มีการรวมตัวจัดตั้งในรูปแบบสมาคมลูกจ้าง และสหภาพแรงงานทำให้มีอำนาจต่อรองสูงขึ้นจากการที่สภาพการและชีวิตทางเศรษฐกิจของแรงงงานซึ่งเป็นลูกจ้างปัจจุบันในสถานประกอบการณ์พัฒนาดีขึ้นโดยลำดับควบคู่กับการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทยแม้ว่าผลประโยชน์จากการพัฒนาจะตกถึงแรงงานน้อยกว่าทุนแต่ก็ทำให้เกิดคำถามว่า แรงงานยังคงเป็นประชากรที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมทางสังคมอยู่หรือไม่เมื่อเปรียบเทียบกับประชากรกลุ่มอื่น ๆ เช่นเกษตรกร พ่อค้า แม่ค้า คนขับรถโดยสารรับจ้าง ฯลฯ

ปัจจุบันแรงงานไทยยังคงเป็นกลุ่มประชากรที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในสังคมและมีปัญหาไม่ปลอดภัยการเข้าไม่ถึงสวัสดิการด้านสุขภาพ เนื่องจากการพัฒนาทุนในยุคโลกาภิวัตน์ ได้ทำให้รูปแบบการจ้างแรงงานมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นแรงงานจึงไม่ใช่ลูกจ้างประจำในสถานประกอบการณ์ในภาครัฐและเอกชนอีกต่อไปแต่ถูกแบ่งย่อยออกเป็นหลายประเภท เช่น แรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติและแรงงานไร้รัฐ แรงงานไทยที่ไปทำงานในต่างประเทศ โดยแต่ละประเทศไม่ได้รับความเป็นธรรมและมีปัญหาด้านสุขภาวะ ในระดับที่แตกต่างกัน

โดยวัตถุประสงค์ในการนำเสนอผลงานการทำวิจัยในครั้งนี้เพื่อ ศึกษาความไม่เป็นธรรม และสุขภาพของแรงงานประเภทต่างๆ รวมทั้งนโยบายในการแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมในระดับต่าง ๆ เพื่อนำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรม และสุขภาพของแรงงานต่อขบวนการแรงงาน กระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนเชิงนโยบายต่อไป

นายศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา นักวิชาการอิสระ กล่าวถึงความสำคัญของงานวิจัยในครั้งนี้ว่าจากการวิจัยปัญหาของขบวนการแรงงานในครั้งนี้ ทำให้ทราบว่า คนงานนั้นมีอำนาจการต่อรองที่ต่ำสภาพการจ้างค่าจ้างสวัสดิการที่ต่ำ และการที่เราจะยกระดับและแก้ไขปัญหาแรงงานอย่างยั่งยืนนั้นก็ต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรสหภาพแรงงาน จึงจะทำให้คนงานสร้างความเข้มแข็งให้กับตนเองได้ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยในครั้งนี้มีอยู่4ประเด็นหลัก คือ

1 ทำให้เข้าใจถึงประเด็นหลักของความอ่อนแอไม่เป็นสหภาพ

2 แรงงานผลกระทบต่อความอ่อนแอของแรงงานและไร้เอกภาพ

3 ต้องการกระตุ้นให้ผลงานวิจัยชิ้นนี้มีส่วนให้รับทราบและรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน

4 หาแนวทางสร้างยุทธศาสตร์เพื่อขบวนการแรงงานที่เข้มแข็งในอนาคตต่อไป

จากการประชุมสมัชชาปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่เมื่อเดือนเมษายน ที่ผ่านมามีมติที่น่าสนใจอยู่ประเด็นหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญที่เราจะต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับขบวนการแรงงาน ที่บอกว่าการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการรวมตัวกันและการเจรจาต่อรอง การเข้าถึงสภาพการจ้างที่เป็นธรรมมีความสำคัญต่อการสร้างความเป็นธรรมความเหลื่อมล้ำของสังคม จากการประชุมดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ขบวนการแรงงานนั้นไม่ได้มีความสำคัญเฉพาะกับคนงานเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อ การเปลี่ยนแปลง สภาพเศรษฐกิจ สังคมและโลกาภิวัตน์ด้วย

การทำการวิจัยในครั้งนี้ทำให้ทราบถึงปัญหาของแรงงานที่ที่แตกต่างกันออกไปคลอบคลุมทุกภาคส่วน ไม่ว่า จะเป็น แรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติและไร้รัฐ   แรงงานไทยที่ไปทำงานยังต่างประเทศ

 ผลการศึกษาปัญหาความไม่เป็นธรรมทางสังคมและแรงงานทำให้ทราบถึงปัญหาที่สำคัญของแรงงานดังนี้

1ความไม่เป็นธรรมที่เกิดจากรูปแบบการจ้างงาน

2ความไม่เป็นธรรมจากการเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการได้ไม่เท่าเทียมกัน

3 ความไม่เป็นธรรมจากระบบค่าจ้างหรือค่าตอบแทน

4 การสร้างอำนาจการต่อรองเพื่อความเป็นธรรมโดยขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของแรงงาน

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันสามารถสรุปได้ว่า แรงงานในสังคมไทยยังคงเป็นกลุ่มประชากรที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในสังคมและมีปัญหาความไม่ปลอดภัยหรือการเข้าไม่ถึงสวัสดิการด้านสุขภาพ เนื่องจากการพัฒนาทุนนิยมในยุคโลกาภิวัฒน์  ได้ทำให้รูปแบบการจ้างแรงงานมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นแรงงานจึงไม่ใช่ลูกจ้างประจำในสถานประกอบการณ์ ในภาครัฐและเอกชนอีกต่อไป แต่ถูกแบ่งออกเป็นหลายประเภทโยที่แรงงานแต่ละประเภทเป็นกลุ่มประชากรที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมและมีปัญหาด้านสุขภาวะที่แตกต่างกันออกไป จากการวิเคราะห์ดังกล่าวได้นำมาสู่การจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมทางสังคมและสุขภาพของแรงงาน เพื่อให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาแก้ไขปัญหาของแรงงานเพื่อให้คนงานได้รับสิทธิเท่าเทียมกันทุกภาคส่วนต่อไป.

กระมนต์  ทองออน นักสื่อสารแรงงาน  รายงาน