สหภาพแรงงาน 4.0 /E-union” 

สหภาพแรงงานสยามโตโยต้า วางแผนงบประมาณจัดการศึกษาสหภาพแรงงานยุคใหม่ ภายใต้นโยบายอุตสาหกรรม 4.0 
สหภาพแรงงานสยามโตโยต้าได้จัดโครงการจัดทำแผนงบประมาณประจำปีขึ้นที่วังยาวริเวอริเวอร์ไซค์  รีสอร์ท นครนายก เมื่อวันที่  7-8 มกราคม 2560  ในการจัดการวางแผนงานครั้งทางสหภาพแรงงานเพื่อที่จะได้แผนงานการทำงานที่ครอบคลุมต่อสถานการภาพรวมของการพัฒนาสภาพที่สอดคล้องต่อยุคสมัย 4.0 และได้เรียนรู้ถึงประวัติศาสตร์ในการพัฒนาอุตสาหกรรม และและขบวนการแรงงานทางสหภาพแรงงานจึงได้จัดให้มีการบรรยายเรื่อง “สหภาพแรงงาน 4.0 E-union” โดยนายวิชัย นราไพบูลย์ ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ซึ่งสรุปได้ดังนี้

โดยนายวิชัยได้กล่าวว่า สหภาพแรงงานในปัจจุบันนั้นก้าวไม่ทันยุคสมัย เนื่องจากอดีตสหภาพแรงงานเมื่อ 40 ปีก่อนช่วงที่มีอุตสาหกรรมและการรวมตัวของแรงงานไทยนั้น แรงงานยังทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมยุคแรกนั้นเมื่อแรงงานจะพักอาศัยอยู่รวมกันในหอพักที่นายจ้างจัดให้การพบปะกันระหว่างสหภาพแรงงานกับสมาชิกมีความใกล้ชิดกันมากกว่ายุคนี้ ทำให้การสื่อสารระหว่างสหภาพแรงงานกับสมาชิกทำได้ง่ายผ่านกิจกรรมสัมพันธ์ต่างๆ ทั้งกีฬา กลุ่มศึกษาการให้ความรู้ทั้งเรื่องสิทธิ สวัสดิการ หรือเรื่องแนวคิดทางการเมืองทำได้มากกว่านี้ แม้ว่าจะมีเรื่องการปิดกลั่นทางความคิดอยู่บ้าง ต่างจากปัจจุบันที่โรงงานเป็นเพียงที่ทำงาน เมื่อเลิกงาน แรงงานก็มุ่งที่จะกลับบ้านเพื่อพักผ่อน โดยการบริการรับส่งถึงบ้านด้วยรถรับส่งของบริษัทซึ่งถือเป็นสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้หรือบางสหภาพก็มีการเรียกร้องให้มีรถรับส่งเพื่อลดต้นทุน และเพิ่มความสะดวกในการเดินทางมาทำงานทั้งไปและกลับ ซึ่งการที่สหภาพจะมีการจัดกิจกรรมต่างๆจึงได้รับความร่วมมือน้อยลง ไม่ว่าจะเป็นกิจรรมสันทนาการ การจัดการศึกษาเรื่องแม้แต่การชุมนุมเรียกร้อง หรือชี้แจงประเด็นปัญหาต่าง แม้ว่าการสื่อสารจะมีระบบที่ทันสมัยมากขึ้น แต่ว่าการสื่อสารของสหภาพแรงงานยังคงใช้รูปแบบเดิมคือสื่อสารผ่านบุคคล อาจเพียงเปลี่ยนเป็นระบบที่ทันสมัย อย่างโซเซียบีเดีย แต่ว่าการสื่อสารยังเป็นแบบเดิม ซึ่งการสื่อสารต้องใช้ทั้งคน ข้อมูล ความรู้ความเชี่ยวชาญซึ่งต้องเป็นการทำงานที่มีส่วนร่วมจากทุกส่วนเป็นต้น

อุตสาหกรรมยุคที่ 3.0 เรียกว่ายุคของคอมพิวเตอร์เป็นยุคการพัฒนาที่เปลี่ยนแปลงโลกทั้งใบที่ทำการสื่อสารประสานงานกันแบบไร้พรมแดน ที่มีการใช้ระบบไอที ระบบเทคโนโลยีในการผลิตที่สร้างมูลค่าให้ระบบทุนมากขึ้น เกิดช่องว่างของคนรวยคนจนมากขึ้น มีการใช้ระบบเทคโนโลยีในการเชื่อมโลกทั้งใบ คือการบริหารจัดการเชื่อมโยงระบบการผลิตกันง่ายมากขึ้น การเคลื่อนย้ายของระบบทุนที่แสวงหาการลงทุนเพื่อลดต้นทุนสามารถเคลื่อนย้ายได้รวดเร็วมากขึ้น การบริหารงานไม่จำเป็นที่จะต้องเดินทางไปคุณภาพงานหรือฝีมือไม่ต่างกันมาก โดยระบบเทคโนโลยีในการสื่อสาร ซึ่งขบวนการแรงงานก็พยายามพัฒนาการรวมตัวกันแบบข้ามเครือข่าย ซึ่งในยุโรปการรวมตัวสหภาพแรงงานเขาใช้หนึ่งสหภาพแรงงานหนึ่งอุตสาหกรรมและการทำงานด้วยอุดมการณ์ทางชนชั้นทำให้เขาสามารถรักษาแนวรัฐสวัสดิการให้ดำรงอยู่ได้แม้ว่าปัจจุบันสมาชิกจะลดลง เพราะว่ามีการทำงานทางการเมือง ซึ่งประเทศไทยการรวมตัวของสหภาพแรงงานยังเป็นหนึ่งสหภาพแรงงานหนึ่งสถานประกอบการ แต่ก็มีการความพยายามเช่นกันในการรวมตัวเป็นระบบอุตสาหกรรมทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ

 

แต่ว่าแนวคิดอุดมการณ์ทางชนชั้น หรือการขับเคลื่อนทางสังคมยังคงมีน้อยมาก และยังขาดมุมมองที่เรียกว่าอุดมการณ์ทางการเมืองมีน้อยไปอีก สัมผัสได้จากการเลือกตั้งแต่ละครั้งที่แม้ว่ามีการกำหนดทางขบวนในการสนับสนุนนโยบายพรรคการเมืองแต่เชื่อว่า สมาชิก หรือแม้แต่กรรมการสหภาพแรงงานก็ยังมีความคิดต่าง และเลือกคนละพรรคการเมืองแน่นอน ประเด็นที่คิดว่าสำคัญอีกประเด็นหนึ่งของขบวนการแรงงานทั้งโลกคือความคิดที่ถูกแบ่งขั้ว โดยในประเทศในแถบยุโรปอเมริกา มีความขัดแย้งจากสงครามโลกทั้งครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ทำให้เกิดการแบ่งแยกกันเองเชิงขบวน ซึ่งคนที่ได้ประโยชน์คือระบบทุนที่ไม่เคยแบ่งขั้วกันแบบชัดเจน นายทุนยังคงนำความแตกแยกนี้มาจัดการด้วยแนวคิดชนชั้นนำทางการเมือง ซึ่งใช้นโยบายจัดการลดสวัสดิการทำให้ตอนนี้ในประเทศแถบยุโรป อเมริกามีความเหลื่อมล้ำกับทางรัฐสวัสดิการจะเห็นการอพยพของแรงงาน ผู้ลี้ภัยจากสงครามที่มุ่งไปยังประเทศที่จัดสวัสดิการที่ดีกว่า แม้ว่าจะเป็นแรงงานราคาถูกแต่ก็จะได้รับการดูแลจากภาครัฐ ที่เป็นนักสหภาพแรงงาน เป็นต้น และยังสนองตอบความต้องการของทุนในด้านแรงงานอีกด้วย ซึ่งประเทศไทยนั้นแนวคิดสหภาพแรงงานยังก้าวไปไม่ถึงแนวคิดรัฐสวัสดิการ เนื่องจากมองเพียงการพัฒนาสวัสดิการภายในโรงงาน และยังขาดการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบขบวนแรงงาน แม้ว่าจะมีการรวมตัวในรูปแบบ

ฉะนั้นเมื่อมีการเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0  ซึ่งเป็นยุคที่ใช้อินเตอร์เน็ตที่มาไม่ใช่แค่เรื่องการสื่อสารที่รวดเร็ว และย่อมาไว้ในมือเท่านั้น ปัจจุบันเป็นระบบอินเตอร์เน็ตที่ผสมกับเทคโนโลยีใหม่ ที่การผลิตต่อไปอาจใช้การควบคุมการผลิตโดยเครื่องจักร เป็นการต่อสู้ระหว่างคนกับเครื่องจักร อาจแรงงานในขบวนการผลิตน้อยลง ถามว่าใครที่มีโอกาสที่จะได้รับการจ้างงานกันแน่ ซึ่งประเทศไทยนั้นการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมมีความล่าหลังกว่าประเทศในแถบยุโรปอเมริการกว่า 200  ปี แนวคิดในการพัฒนาคนที่จะเข้าไปควบคุมเทคโนโลยี ซึ่งเราจะเห็นภาพในสื่อมากมายเพิ่มขึ้นที่มีการเผยแพร่ขบวนการผลิตที่แทบไม่มีคนเลย คำถามแล้วสหภาพแรงงานจะรวมตัวกันอย่างไร ในประเทศยุโรปมีแนวการพัฒนาการรวมตัวกันมานานแล้วที่ใช้การรวมตัวกันข้ามสาขาอาชีพ ที่เรียกว่าสหภาพอินดัสเทรียลออล สหภาพแรงงานระดับโลกที่รวมแรงงานทุกสาขาอาชีพที่มีสมาชิกราว 50 ล้านคน และประเทศไทยก็มีแนวคิดในการรวมตัวกัน ซึ่งมีหลายสหภาพแรงงานเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานโลกแล้ว อันนี้ก็เป็นวิธีการการรวมกลุ่มแบบใหม่โดยไม่มีการแบ่งแยกในระดับโลก แต่ว่า แรงงานยังมีความเข้าใจน้อยมากถึงบทบาทและการมีส่วนร่วม การสื่อสารที่ต้องใช้ทั้งเรื่องเครือข่าย ข้อมูล และการทำงานเป็นทีม เพื่อสร้างความเข้าในถึงยุคหน้าที่ต้องวางรากฐานในการพัฒนาร่วมกัน จะเห็นได้ถึงการทำงานของคนยุคใหม่ที่ไม่ได้เข้าไปทำงานในสถานประกอบการโรงงานอีกแล้วตอนนี้การทำงานทำได้ทุกที่ทั้งที่บ้าน และที่อื่นๆ การรวมกลุ่มแบบสหภาพแรงงานนั้นควรต้องเป็นรูปแบบไหนที่ทำให้เกิดความเข้มแข็งแนวสหภาพแรงงานแบบใหม่ที่เรียกว่า E-UNION นั้น คือ หนึ่งต้องประเมินองค์กร สองจัดการระบบข้อมูล   สามสร้างเครือข่ายสื่อสารสี่จัดการเครือข่ายปฏิบัติการ จากนั้นต้องวางแผนการปฏิบัติการข้ามยุคสมัย ดังนี้ เริ่มด้วยการวิเคราะห์  และ สังเคราะห์ข้อมูล นำมากำหนดแผนยุทธศาสตร์การทำงาน จัดทำโครงการนำร่อง ร่วมปฏิบัติการผ่านเครือข่าย หัวใจของการพัฒนาแรกเริ่มไม่ว่าจะเป็นระบบทุน หรือแรงงานก็ต้องพัฒนาคนให้เท่าทันยุคสมัย มีความรู้ มีฝีมือ เริ่มจากการพัฒนาทักษะที่ขาด เสริมความรู้แบบใหม่ เสริมสร้างทัศนคติ สร้างเสริมประสบการ ลงมือทำ

ความรู้ที่คิดว่าจำเป็นต่อการพัฒนาคน แบ่งเป็น 2 ระดับ คือระดับกรรมการสหภาพแรงงาน ต้องเรียนรู้ประวัติศาสตร์ขบวนการแรงงานทั้งไทย และสากล แนวคิดเศรษฐกิจ การเมือง ประมวลกฎหมายแรงงาน อันนี้ต้องรู้ให้จริงและชัด เพราะกฎหมายแรงงานมีหลายฉบับ ส่วนสมาชิกสหภาพแรงงานก็ควรที่จะเรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์แรงงานไทย ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสหภาพแรงงานเพื่อเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อสหภาพแรงงาน เข้าใจถึงที่มาที่ไปของสวัสดิการที่ได้มาผ่านการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เกิดสำนึกทางด้านชนชั้น มีการเรียนรู้สิทธิขั้นพื้นฐาน เพราะเป็นสิ่งที่ต้องรู้แต่หากให้เรียนรู้ทั้งหมดอาจเป็นเรื่องยาก เพราแต่ละความรู้ต้องใช้เวลาในการสะสมเขาเรียนกันหลายปีเราย่อมาหนึ่งวัน สองวันอาจต้องย่อยให้ง่ายๆ

เรื่องทัศนคติในสหภาพแรงงานยุค 4.0 ต้องมีเรื่องของเรื่องสิทธิมนุษยชน เรื่องสิทธิชุมชน ซึ่งต้องเข้าใจด้วยว่าแรงงานคือส่วนหนึ่งในสังคม และชุมชน การทำงานของสหภาพแรงงานต้องดูรอบข้าง ดูความทุกข์ สุขของสังคม ต้องมองสังคมอย่างเข้าใจและมีส่วนร่วมในฐานะสหภาพแรงงานเชิงสังคมด้วย

เรื่องความรู้ กรรมการสหภาพแรงงานต้องคิดวิเคราะห์ ซึ่งตรงนี้ต้องมีข้อมูล มีความรู้  การจัดการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ มีการผลิตสื่อ และสร้างสาร เพื่อการสื่อสาร มีการบริหารแบบมีส่วนร่วม ด้านสมาชิกสหภาพแรงงานก็ต้องมีความเท่าทันสื่อ และเป็นพลเมืองสื่อ คือไม่ใช่เพียงผู้รับสื่อรับสารสารเท่านั้นแต่สื่อสารแบบสร้างสรรค์ได้ด้วย เมื่อมีเทคโนโลยีการสื่อสารแบบ 4.0 ที่ย่อโลกมาอยู่ในมือแล้วหากใช้ไม่ถูกต้องก็เป็นโทษได้ แต่หากใช้แบบเท่าทันก็จะสารถทำประโยชน์อย่างมหาศาลให้กับสหภาพแรงงานยุคใหม่ ที่อาจเป็นนวตกรรมใหม่ของสหภาพแรงงาน หรือขบวนการแรงงานด้วย

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน