สหพันธ์แรงงานโตโยต้า วางแผนการทำงาน เพื่อเชื่อมสังคม

เมื่อวันที่ 26-27 พฤศจิกายน 2563 สหพันธ์แรงงานโตโยต้าได้จัดสัมมนาวางแผนงานประจำปี2564 ที่ สตาร์เวล การ์เด้นโฮม รีสอร์ท จังหวัดนครราชสีมา ผู้เข้าร่วมประกอบด้วยกรรมการ ที่ปรึกษาและสมาชิก

ดร.ภูภาร สมาทา ประธานสหพันธ์แรงงานโตโยต้า กล่าวว่า วันนี้สพ.โตโยต้า ได้มีการจัดเพื่อวางแผนงาน และให้ความรู้ เพื่อการมองไปข้างหน้าว่าทิศทางของสหพันธ์จะไปทางทิศทางใดในทุกฝ่าย ซึ่งจะมีการแถลงให้เห็นงบประมาณ และการจัดสรรงบประมาณ เพื่อการกำหนดทิศทางว่าสหพันธ์จะไปทางไหน หนึ่งปีจะมีการกำหนดยุทธศาสตร์การทำงานในอนาคตต่อไป

นายวิชัย นราไพบูลย์ ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ได้บรรยายเรื่อง “แผนการทำงานของสหพันธ์แรงงานโตโยต้า ที่สอดคล้องกับพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย” ว่า การวางแผนงาน เพื่อการสอดคล้องกับพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย และสังคม โดย สหพันธ์ฯควรมีการพิจารณาแผนการดำเนินการทางสังคมด้วย ซึ่งหากดูบทบาทการทำงานของพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยที่ได้ทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงกับสังคม ผ่านการนำเรื่องราวประวัติศาสตร์เพื่อให้ความรู้ถึงคุณค่าแรงงานต่อสังคม ซึ่งมีทั้งนักท่องเที่ยว นักเรียนนักศึกษา และสหภาพแรงงานองค์กรต่างๆที่มาเรียนรู้

หากกล่าวถึง Toyota Way วิถีแห่งโตโยต้า ซึ่งมีการพัฒนาตลอด ที่โดดเด่น และถูกนำมาใช้เป็นวัฒนธรรมในการพัฒนาความคิด ซึ่งการพัฒนาควรเดินหน้า และผลักดันเราไปสู่สิ่งใหม่ๆ ที่ดีกว่า การทำงานร่วมกัน การที่จะทำงานไม่ใช่การเรียนรู้อย่างเดียว หลักสำคัญของการทำงาน คือความเท่าเที่ยมเสมอภาคกัน ซึ่งสหภาพแรงงานต้องมี

สถานการณ์วันนี้ กระบวนการผลิตที่เปลี่ยนไป ด้วยโลกเปลี่ยน ภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลกร้อนขึ้น การปรับตัวของของระบบการผลิตใหม่ๆที่เรียกร้องแรงงานทักษะเพิ่มขึ้น คือแรงงานหนึ่งคนอาจต้องมีทักษะที่มากกว่าเดิม และต้องรับผิดชอบงานที่มากขึ้น การศึกษาการเรียนจึงต้องวางแผนว่าควรเรียนอะไรที่ตลาดแรงงานต้องการ กฎเกณฑ์กฎหมาย การเรียกร้องต่อรอง การคุ้มครองแรงงานจะเป็นอย่างไรเมื่อการจ้างงานเปลี่ยนไป ซึ่งตรงนี้องค์กรแรงงานต้องมีแผนงานในอนาคตข้างหน้า

ในยุโรปเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ขบวนการแรงงานจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำเสนอให้มีการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมต่อผู้ใช้แรงงาน เพราะแรงงานมีส่วนในการได้รับผลกระทบเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเช่นการปรับตัวในเทคโนโลยีใหม่ ขบวนการแรงงานจะเข้าไปมีบทบาทเพื่อการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม แต่ว่า ประเทศไทยยังไม่มีกระบวนการเปลี่ยนผ่านที่มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ผลกระทบที่เกิดขึ้นจึงยังมีปัญหาอยู่เมื่อมีการเลิกจ้างหรือการให้ออกจากงานผ่านโครงการต่างๆ ซึ่งก็รู้อยู่ว่ายังไม่ใช่การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม

ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทำให้ขบวนการแรงงานมีความอ่อนแอลงการเจรจาต่อรองอาจไม่เหมือนเดิม และโควิดที่เกิดขึ้นทำให้เกิดการเร่งการเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยีรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อแรงงานจำนวนมากอย่างเลี่ยงไม่ได้ และวิกฤตการเมืองก็เป็นวิกฤติที่กระทบกับแรงงานในปัจจุบันนี้ จากความคิดต่างทางการเมืองของแรงงานทำให้ขาดการรวมกันขับเคลื่อนทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของแรงงาน เรามีสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรที่เป็นคนแรงงาน

ข้อจำกัดของขบวนการแรงงาน การที่องค์กรแรงงานยังไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ทางการเงินเพื่อการก้าวไปอย่างอิสระ แม้ใช้กฎหมายแรงงานฉบับเดียวกัน แต่ว่า การตีความทางกฎหมายต่างกัน ทำให้เรายังไม่รู้จะใช้จุดร่วมในการขับเคลื่อนเรื่องเดียวกันอย่างไร และวิสัยทัศน์ของขบวนการแรงงานยังไม่ชัดถึงการมองเรื่องรัฐสวัสดิการมองเพียงสวัสดิการของแรงงานเท่านั้น

แรงงานเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ มีจำนวน 38 ล้านคน ประกอบด้วย แรงงานนอกระบบ 22 ล้านคน แรงงานในระบบ 16 ล้านคน เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานแค่เพียง 6 แสนคน การพึ่งพาตนเองยังไม่มี ขบวนการแรงงานยังพึ่งพาทุน มีทั้งพึ่งพาทุนต่างประเทศ ทุนสสส. และทุนของรัฐ ทางรัฐวิสาหกิจก็ต่อรองกับภาครัฐ พึ่งทุนต่างประเทศ ปัจจุบันคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ อาจเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนนโยบาย การปกป้องสิทธิ ร่วมขับเคลื่อนประเด็นทางสังคม ซึ่งมีภาพบนหน้าสื่อมากมาย แต่ก็ไม่สามารถมีเงินทุนขององค์กร หรือพึ่งตนเองได้ สภาองค์การแรงงานยานยนต์ฯเข้ามาทำงานกับพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย และได้ออกมาขับเคลื่อนทางสังคมบ้างแล้ว อย่างเรื่องภาวะโลกร้อนการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม ซึ่งได้มีการลงพื้นที่ดูงานและขับเคลื่อนผลักดันทางนโยบาย ประเด็นโควิด-19 ก็เช่นกันที่มีการผลักดันขับเคลื่อนทางนโยบาย แต่กำลังทุนก็ยังพึ่งตนเองไม่ได้

หากนำกำลังแรงงานจำนวน 38 ล้านคน เทียบกับผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมามีผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวน 38 ล้านคน ซึ่งหากนำแรงงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน 6 แสนกว่าคนมาเลือกตั้งเราก็จะได้สมาชิกสภาผู้แทนรษฎร ผู้แทนแรงงานเข้าสภาอย่างน้อย 5-6 คน แต่ต้องหมายรวมแรงงานทุกกลุ่มที่มีอยู่ในระบบสหภาพแรงงาน โดยไม่แบ่งแยก หากรวมแรงงานนอกระบบเข้าไปเราก็จะได้เป็นรัฐบาลสามารถกำหนดนโยบายที่แรงงานต้องการได้ อย่างตอนนี้ที่มีการกล่าวถึงระบบรัฐสวัสดิการ จากครรภ์มารดาถึงเชิงตระกอน ซึ่งประเทศที่เจริญแล้วเขามีการจัดรัฐสวัสดิการให้ประชากรในประเทศ ซึ่งอยู่ในแถบยุโรป กลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย การจะไปถึงรัฐสวัสดิการได้ ต้องมีการจัดเก็บภาษีแบบก้าวหน้า รัฐสวัสดิการถ้วนหน้าประกอบด้วย การดูแลด้านศึกษา การดูแลสุขภาพ รักษาพยาบาล หลักประกันรายได้ ประกันการมีงานทำ หากตกงานมีเงินใช้ มีบำนาญชราภาพ มีระบบสวัสดิการต่างมารองรับ ซึ่งประเทศที่มีรัฐสวัสดิการทุกคนคือแรงงาน และมีการรวมตัวเป็นสหภาพแรงงาน มีตัวเลขสมาชิกสหภาพแรงงานสูงราว 60%ขึ้นไป มีการสนับสนุนพรรคการเมืองที่มีนโยบายด้านแรงงาน หรือมีพรรคการเมืองของแรงงาน หรือพรรคแรงงาน แต่ประเทศที่มีตัวเลขการรวมตัวเป็นสหภาพแรงงาน จำนวนสมาชิกต่ำกว่า 60% ระบบสวัสดิการจะมีเพียงระบบประกันสังคม เช่นเดียวกับประเทศไทย

การพัฒนาอุตสาหกรรม นำมาซึ่งการเอารัดเอาเปรียบการกดขูดรีดจึงมีการรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงานเพื่อการต่อสู้ด้านสิทธิ เดิมนายจ้างรวมตัวเป็นสหพันธ์นายจ้างระดับอุตสาหกรรม ลูกจ้างจึงมีการรวมตัวเป็นสหภาพแรงงานอุตสาหกรรม สภาแรงงาน เพื่อต่อสู้ทางนโยบาย การรวมตัวของประเทศไทย สหภาพแรงงานจะเป็นแบบเดี๋ยวสถานประกอบการใครสถานประกอบการมัน เรียกร้องสวัสดิการภายในสถานประกอบการ และมีการรวมตัวระดับสหพันธ์ในอุตสาหกรรมเดียวกันแต่ยังไม่ได้มีบทบาทในการต่อรองเชิงนโยบายระดับอุตสาหกรรม มีสหพันธ์แรงงาน 21 แห่ง สภาแรงงาน 15 สภาซึ่งขับเคลื่อนนโยบายปีละครั้งในวันที่ 1พฤษภาคม วันแรงงานแห่งชาติหรือวันกรรมกรสากล

ประเทศไทยการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เพื่อให้เกิดการได้มาซึ่งสิทธิต่างๆด้านแรงงาน โดยเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ซึ่งแรงงานไทยก็มีการรวมตัวเพื่อต่อสู้ด้านสิทธิแรงงาน เพื่อเสรีภาพ แต่เป็นการรวมตัวแบบผิดกฎหมาย แต่เมื่อประเทศมีประชาธิปไตยจึงได้มีการรวมตัวแบบถูกกฎหมายเป็นสมาคมกรรมกรรถรางที่มีการจดทะเบียนเป็นองค์กรแรก แต่การรวมตัวกันกว่า 60 สาขาอาชีพเรียกว่าสหอาชีวะกรรมกร เพื่อต่อสู้อย่างมีพลัง แต่ก็มีการแทรกแซงเมื่อประเทศไทยเข้าสู่ยุคมืดการปฏิวัติ รัฐประหาร มีการแบ่งแยก ความพยายามในการรวมตัวของแรงงานก็มีมาตลอด แม้ว่ารัฐจะมีการเขียนกฎกติกาในการควบคุมการรวมตัวของผู้ใช้แรงงาน

ความพยายามเข้าสู่การเมืองของแรงงานก็มีมาตลอด ตั้งแต่อดีต และในยุคสมัยใกล้ๆก็มีสส.ของเพื่อไทย ที่เป็นผู้นำแรงงานรัฐวิสาหกิจ และปัจจุบันเราก็มีสส.ของแรงงานในพรรคก้าวไกล แต่อดีตการเลือกตั้งเราเคยได้สส.ภายใต้ร่มพรรคแรงงานแต่ไม่ใช่คนของแรงงาน วันนี้เรามีสส.แรงงานแต่ไม่ใช่ร่มของพรรคของแรงงาน เรามีพรรคสังคมประชาธิปไตยไทย ที่ว่าเป็นพรรคของแรงงาน แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งเข้าสู่สภาฯ แล้วพรรคแรงงานควรเป็นแบบไหน

แนวคิดการทำงานเชิงสถาบันแรงงานในช่วง 2-3 ปีที่มีการชักชวนกันมาร่วมมือทำงาน ซึ่งมีทั้งการระดมเงินเพื่อการทำงาน และภารกิจด้านการจัดการศึกษา  การทำงานทางสังคม  การทำงานสื่อสาร การผลิตสื่อของแรงงาน และการทำงานข้อมูลวิชาการ เป็นการทำงานร่วมกับขบวนการแรงงาน เพื่อที่จะสร้างอำนาจสามด้านความรู้การศึกษาอบรม การปรับทัศนคติผ่านงานสื่อสาร การทำงานข้อมูล ซึ่งจะสำเร็จได้ การสร้างความเป็นเอกภาพ การทำงานร่วมกัน โดยมีสำนึกเดียวกันซึ่งการทำงานยุทธศาสตร์แรกคือการทำให้สหภาพแรงงานเข้มแข็ง และต้องมีการสร้างสำนึกให้กับสมาชิก เพื่อให้เข้ามาร่วมกันผลักดันทางสังคม การขับเคลื่อนทางการเมือง การทำงานสร้างเครือข่ายความร่วมมือ แรงงานต้องทำงานทางสังคม ซึ่งมีปัญหามีมากมายอย่างเรื่องเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ระบบการศึกษา ปัญหาที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน ประเด็นสิ่งแวดล้อมโลกร้อน เหมืองแร่ ฯลฯ สหภาพแรงงานต้องเข้าไปร่วมแก้ปัญหาทางสังคมด้วย

ยุทธศาสตร์ทางการเมือง สหภาพแรงงานต้องมีการกำหนดการมืองของแรงงานว่า จะมีทิศทาง สถาบันแรงงานการทำงานร่วมกันคือการสนับสนุนด้านทุนทรัพย์เพื่อการจัดการศึกษา การสื่อสาร การคิดวิเคราะห์ และการจัดการศึกษาสร้างแนวร่วมทางสังคม วันนี้ถึงจุดที่ต้องเปลี่ยนแปลง ขบวนการแรงงานจะเลือกที่จะเดินทางไหน หากหยุดอยู่กับที่เท่ากับถอยหลัง ทางเลือกคือจะเดินทางไหน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ด้านสวัสดิการ ค่าจ้าง การมีงานทำ ความเสมอภาคและเท่าเทียม

ต่อมานายไพรัช พรมจีน นักวิชาการชำนาญการพิเศษ สวัสดิการแรงงาน จังหวัดสมุทรปราการ บรรยายพิเศษ เรื่อง แผนงานทำงานของสหพันธ์แรงงานโตโยต้าที่สอดคล้องกับภาครัฐ การวางแผนต้องกำหนดเป้าหมายให้ดี อดีตบอกอนาคต การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ การที่สหภาพแรงงานจะยืนอยู่ได้ต้องเรียนรู้ สิ่งที่ต้องระวังคือแนวคิดก๊กที่สองในองค์กร หากแรงงานสัมพันธ์ไม่ดี การที่จะอยู่ร่วมกันต้องสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เพื่อการอยู่ร่วมกัน

ดร.ภูภาร สมาทา ประธานสหพันธ์ฯ นำเสนอ แผนงานสหพันธ์แรงงานโตโยต้า ประจำปี 2563 สรุปว่า ที่ผ่านมาระยะเวลา 1 ปี เป็นการทำงานของทุกฝ่ายจนบรรลุผล ที่ทำกิจกรรมที่ผ่านมา แผนงานบริหารงานไปในทิศทางเดียวกับบริษัท และมีความเชื่อมโยงแผนงานกัน โดยมีความคล้ายคลึงกันกับสหพันธ์แรงงานโตโยต้าประเทศญี่ปุ่น โดยมีการแรกเปลี่ยนกัน การได้รับสถานประกอบการแรงงานสัมพันธ์ดีเด่น ซึ่งมีการจัด 2 ปีครั้ง และการประชุมประจำเดือนก็มีการประชุมร่วมกันทุกครั้งเกือบทุกสหภาพแรงงาน มีการจัดกิจกรรมภายในระหว่างสมาชิกด้วย ม

การยกระดับความรู้และการเสริมทักษะให้กับสมาชิกในองค์กร มีการจัดการศึกษา เตรียมความพร้อมประจำปี ซึ่งนำมาซึ่งแรงงานสัมพันธ์ที่ดีไม่มีข้อพิพาทแรงงาน ที่นำไปสู่ความรุนแรง และมีการจัดอบรมจนได้มีบัตรที่ปรึกษาด้านแรงงาน เป็นหลักสูตรวุฒิบัตรที่ปรึกษา การจัดอบรมหลักสูตรต่างๆ มีโครงการอบรมขับขี่ปลอดภัย การป้องกันความเสี่ยงด้านแรงงาน มีการสื่อสาร และมีการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างบริษัท เพื่อให้เกิดการประสานงาน การให้คำปรึกษาแต่ละองค์กรที่มีปัญหา ต้องการปรึกษาหารือเรื่องข้อเรียกร้อง หรือการเจรจาที่มีปัญหาด้านแรงงานสัมพันธ์ การไกล่เกลี่ยแรงงานที่มีปัญหาพิพาทแรงงานเกี่ยวกับข้อเรียกร้อง เพื่อให้เกิดการบรรลุผล โดยมี 2562 มีอยู่บ้าง ในส่วนของแรงงานสัมพันธ์

หลักการวางแผนประจำปี ภารกิจให้สัมฤทธิ์ผลคือ ต้องมีการทำแผนร่วมกัน โดยแบ่งตามฝ่ายเพื่อการช่วยกันวางแผนและดูแล มีการแบ่งกิจกรรมตามแผนงานเพื่อให้บรรลุผล แผนคือว่างแผน และปฏิบัติเพื่อให้บรรลุผล และหากไม่บรรลุจะมีการปรับเปลี่ยนแผนใหม่ เป็นการรีเซ็ต

การกำหนดยุทธศาสตร์แผนการทำงาน อยู่จุดไหนขององค์กร แล้ววิเคราะห์ร่วมกัน จะทำหรือปรับเปลี่ยนอะไรเพื่อให้บรรลุผล การปรับแก้เพื่อบรรลุผลด้วยเช่นกัน

การปฏิบัติต้องสอดคล้องกับแผนที่วางไว้ เพื่อให้สัมฤทธิ์ผล และการนำแผนไปปฏิบัติ มีการวิเคราะห์ความจำเป็น การวางแผนปฏิบัติการ โดยดูกลยุทธ์แผนองค์กร มีการจัดลำดับแผนปฏิบัติการเพื่อความสำเร็จ แผนไหนก่อนหลังต้องมีการจัดลำดับเวลา งบประมาณที่มี การจัดเก็บค่าบำรุงเงินที่มี ใครต้องทำคนที่รับผิดชอบ  ทรัพยากรที่ต้องการใช้ คน งบ เวลา  การประเมินผลสำเร็จ

กรอบการวิเคราะห์ ให้ดูจากแผนปีที่ผ่านมาว่า เป็นอย่างไร มีข้อมูลที่มีการทำไปเพื่อจะได้ทำให้เกิดการประเมินผลแล้ววางแผนไปข้างหน้า โดยเป้าหมาหลัก มีการการสร้างระบบแรงงานสัมพันธ์ในองค์กร มีการเสริมสร้าง สื่อสาร สองยกระดับองค์ความรู้ให้กับองค์กร สมาชิก สามติดตามให้ความร่วมมือในการปกป้องความเสี่ยงของแรงงาน

ด้านมานิตย์ พรหมการีย์กุล ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย กล่าวว่าการวางแผนงานต้องคำนึงถึงการทำงานขับเคลื่อนทางสังคม และการเมืองด้วย การทำงานในบริษัทในรั่วโรงงานเราก็ต้องการที่จะได้ค่าจ้าง และสวัสดิการที่ดี ลูกหลานมีอนาคตที่สดใส มีการศึกษาที่ดีมีงานมีอาชีพที่ดี แต่ว่า เมื่อเราออกจากงานเราก็ต้องการที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีในยามที่สูงอายุ ซึ่งเราได้ยินถึงคำว่า รัฐสวัสดิการ ซึ่งเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานตั้งแต่เกิดจนตาย เราจึงต้องทำงานขับเคลื่อนทางสังคม และร่วมกันขับเคลื่อนเพื่อผลักดันนโยบายรัฐสวัสดิการ โดยต้องไม่มองข้ามการสร้างแรงกดดันทางการเมืองด้วย

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน