สหพันธ์สหภาพ ถึงสภาแรงงานอเมริกา ร้องนายกให้กระทรวงแรงงานหยุดแทรกแซงสหภาพรถไฟ

มักกะสัน

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2559 สหพันธ์สหภาพแรงงานและสภาแรงงานอุตสาหกรรมแห่งอเมริกา (AFL-CIO) ในนามของแรงงานหญิงและชายกว่า 12 ล้านคน ได้างหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขอความช่วยเหลือจากท่านนายกรัฐมนตรี ในการผลักดันให้กระทรวงแรงงานให้การยอมรับและจดทะเบียนคณะกรรมการสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ที่ได้รับการเลือกตั้งอย่างเป็นประชาธิปไตยด้วย

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2559 สหภาพแรงงานรถไฟฯ ได้จัดการประชุมใหญ่ และภายใต้ธรรมนูญของ สร.รฟท. สมาชิกสหภาพฯจะต้องเลือกประธานสหภาพฯ และคณะกรรมการสหภาพฯอย่างเป็นประชาธิปไตย สมาชิกสหภาพฯ กว่า 6,000 คน เข้าร่วมการเลือกตั้งที่มีการแข่งขันสูง แต่เลือกให้คุณสาวิทย์ แก้วหวาน เป็นประธานสหภาพฯคนใหม่ ทีมของนายสาวิทย์ แก้วหวาน ได้รับเลือกให้เข้าเป็นคณะกรรมการบริหารสหภาพฯ 16 คน ในขณะที่ทีมของสหภาพฯชุดเก่าได้รับเลือก 13 ที่นั่ง

ผลการเลือกตั้งดังกล่าวทำให้เห็นว่านายสาวิทย์ แก้วหวานและทีมของเขาได้รับเสียงส่วนใหญ่และควรที่จะได้รับหน้าที่บริหารงานสหภาพฯ แต่กระทรวงแรงงานกลับปฏิเสธการจดทะเบียนของคณะกรรมการชุดใหม่ เป็นเหตุให้ประธานสหภาพชุดเดิมยังคงรักษาการประธานสหภาพฯอย่างไม่มีกำหนด

พวกทราบว่า มีสมาชิก 3 คนจากฝ่ายที่จัดการเลือกตั้งได้ยื่นเรื่องร้องเรียนไปยังกระทรวงแรงงานเพื่อเรียกร้องให้ถอนการเลือกตั้งดังกล่าว โดยกล่าวหาว่ามีผู้บริหารบางส่วนลงคะแนนโหวตในที่ประชุมใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามในระหว่างการประชุมใหญ่นั้น ไม่มีเสียงคัดค้านใดๆในวันประชุมใหญ่ต่อผลของการเลือกตั้ง และฝ่ายตรงข้ามก็ยอมรับผลการเลือกตั้งด้วย ในความเป็นจริงแล้วนั้น ฝ่ายจัดการเลือกตั้งเป็นผู้ที่ดูแลเรื่องรายนามผู้มีสิทธิออกเสียง

กระทรวงแรงงานควรดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อเข้าไปตรวจสอบหากมีการลงคะแนนของฝ่ายบริหารที่เข้ามาออกคะแนนเสียงเพื่อตรวจสอบคะแนนเสียงของพวกเขามีผลกระทบต่อผลการเลือกตั้งอย่างไร กระทรวงแรงงานจะทำการยกเลิกการเลือกตั้งได้หากมีการลงคะแนนเสียงของฝ่ายบริหาร หรือมีคำสั่งให้จัดการเลือกตั้งใหม่  แต่กระทรวงแรงงานปฏิเสธผลการเลือกตั้งโดยที่ไม่ชี้แจงสาเหตุหรือเข้ามากระทำการตรวจสอบใดๆ และให้ทาง สร.รฟท.แก้ไขปัญหาเอง

การกระทำดังกล่าวของกระทรวงแรงงานนั้นทำให้เราได้เห็นว่าลึกๆแล้ว การไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งในครั้งนี้คือการกีดกันไม่ให้นายสาวิทย์ แก้วหวาน และทีมของเขาเข้าดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำของ สร.รฟท. และถือเป็นการกีดกันไม่ให้นายสาวิทย์ แก้วหวาน ลงสมัครเลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ซึ่งจะมีการจัดการประชุมใหญ่และมีการเลือกตั้งในวันที่ 7 ธันวาคม 2559 การกระทำดังกล่าวของกระทรวงแรงงานนั้นถือเป็นการแทรกแซงอย่างรุนแรงต่อกิจการภายในขององค์กรสหภาพแรงงานต่อการดำเนินกิจการของสหภาพแรงงานอย่างเป็นอิสระอย่างเป็นประชาธิปไตย

นายกรัฐมนตรีอาจจะทราบอยู่แล้วว่า เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2559 ทาง AFL-CIO ได้ยื่นเรื่องร้องเรียนไปยังผู้แทนการค้าแห่งสหรัฐอเมริกา (USTR) เพื่อยกเลิกการให้สิทธิประโยชน์ทางการค้ากับประเทศไทยเป็นการชั่วคราวเนื่องจากประเทศไทยยังไม่ก้าวผ่านมาตรฐานแรงงานในระดับสากล ในข้อร้องเรียน GSP พวกเราได้แสดงให้เห็นถึงการละเมิดเสรีภาพในการรวมตัวในกฎหมายแรงงานไทยผ่านการแทรกแซงกิจการภายในต่างๆต่อของสหภาพแรงงาน  ทางผู้แทนทางการค้าแห่งสหรัฐอเมริกายังคงที่จะทำการทบทวนข้อร้องเรียนดังกล่าวและจะเข้าไปดูแลว่าทางรัฐบาลของท่านนั้นดำเนินการแก้ไข้ปัญหาการละเมิดสิทธิด้านแรงงานและแรงงานข้ามชาติตามข้อเรียกร้องหรือไม่ นอกจากนั้นรัฐบาลของทั้งยังเผชิญกับข้อร้องเรียนอีกหลายฉบับที่ยื่นไปยัง องค์การแรงงานระหว่างประเทศ เป็นการยื่นข้อร้องเรียนผ่านสหพันธ์สหภาพแรงงานในระดับสากลทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นจาก IndustriALL หรือสหพันธ์ขนส่งระหว่างประเทศ (ITF) ซึ่ง สร.รฟท. เป็นสมาชิกอยู่

พวกเราขอเรียกร้องให้ท่านในฐานะผู้นำประเทศประสานความร่วมมือกับกระทรวงแรงงานเพื่อยับยั้งการแทรกแซงภายในของ สร.รฟท. การเลือกตั้งของ สร.รฟท.ผ่านมากว่า 7 เดือนแล้ว แต่กระทรวงแรงงานยังไม่ยอบรับผลการเลือกตั้งดังกล่าว พวกเราขอให้กระทรวงแรงงานให้การยอมรับและจดทะเบียนคณะกรรมการชุดใหม่ของ สร.รฟท.ที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาบริหารสหภาพฯอย่างเป็นประชาธิปไตย และขอให้กระทรวงแรงงานเคารพเสียงส่วนใหญ่ของสมาชิกสหภาพฯที่เลือกตั้งให้นายสาวิทย์ แก้วหวาน ดำรงตำแหน่งเป็นประธานสหภาพฯ

ด้วยความเคารพ

ริชาร์ด ทรุมก้า

ทั้งนี้ ได้มีการส่งสำเนาถึง พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพานิชย์ และนายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ