สรส.รวมพลังสหพันธ์ฯ ยื่นประธานวุฒิสภาฯถอดถอน กสทช. ทั้งคณะ

P8150637

สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสากิจสัมพันธ์ (สรส.) จับมือสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย (สพร.ท) ยื่นถอดถอนคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ต่อประธานรัฐสภา พร้อมแถลงการณ์ร่วม จุดยืนปกป้องสมบัติชาติ ย้ำ กสทช.ทำให้ 3 องค์กรนี้รอวันล่มสลาย ทำลายเจตจำนงรัฐธรรมนูญ

นายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ (สรส.) กล่าวว่า เรื่องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจนั้นทางสรส.คัดค้านมาโดยตลอด เนื่องจากเป็นหน้าที่สรส.มีจุดยื่นในการปกป้องสมบัติของประเทศเพื่อไม่ให้ประชาชนต้องสูญเสียประโยชน์ การที่มาเคลื่อนไหวเพื่อให้กสทช.ยุติบทบาทในครั้งนี้ก็มาจากที่ประชุมของสมาชิกซึ่งมีการประชุมกันทุกเดือนแล้วสรุปสภาพปัญหาอุปสรรค์ของการทำงานแต่ละองค์กร ซึ่งในส่วนของ 3 องค์กร ประกอบด้วย สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ที โอ ที จำกัดมหาชน และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ที่ได้รับผลกระทบจากกสทช.ทำให้ 3 องค์กรนี้รอวันล่มสลาย ทำลายเจตจำนงของรัฐธรรมนูญที่ต้องการให้ประชาชนซึ่งกำหนดไว้ในมาตรา 47 ซึ่งกำหนดไว้ชัดเจนว่าให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชน ทั้งการศึกษา วัฒนธรรมความมั่นคงของรัฐ ประโยชน์สาธารณะอื่นๆ และการแข่งขันเสรี ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่ของกสทช.ในการกำกับดูแลเพื่อให้การมีบริการที่มีประสิทธิภาพแก่ประชาชนวันนี้ไม่ชัดเจน เหมือนว่าถูกละเลยในการทำหน้าที่ จนกลายเป็นเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่ไม่กี่บริษัท และก่อให้เกิดอุปสรรค์กับการทำงานของ ทีโอที และกสท โทรคมนาคม ทำให้เกิดความเสียหายอ่อนแอลง เปลี่ยนจากการผูกขาดโดยรัฐเป็นการผูกขาดโดยเอกชนแทน สุดท้ายความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์ของประชาชนอาจไม่มี และในส่วนของอสมท.ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่ทำหน้าที่สื่อสารมานานกว่า 60 ปี ภายใต้แนวคิดสังคมอุดมปัญญา สู่แนวคิดสังคมสร้างสรรค์ด้วยปัญญา ทำหน้าที่เสนอข่าวสาร ความรู้ฯลฯคำนึงถึงประโยชน์ และผลกระทบทางสังคมในฐานะสื่อของรัฐ แต่การที่กสทช.กำหนดกติกาให้มีการแข่งขันในการประมูลทีวีดิจิตอลภายใต้กติกาที่ไม่เท่าเทียมกัน โดยการใช้เงินเป็นตัวตั้งทั้งกฎที่ไม่เสถียรเปลี่ยนรายวัน หวั่นผลลัพธ์ต่อทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะไม่ได้ตามหวัง เหตุประมูลแพง แข่งขันสูง จูงใจคนที่มุ่งสร้างผลกำไรมากกว่าให้สาระดีดีกับสังคม

P8150597P8150594

นายสังวร พุ่มเทียน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจกสท.ฯ กล่าวว่า การจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุ โทรทัศน์ของกสทช.ที่มีการออกประกาศการประมูลคลื่น 3 G การสร้างเครือข่ายโทรศัพท์ 3G เป็นสมบัติของเอกชนทั้งที่เป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จำเป็น เพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐทางเศรษฐกิจ เป็นการนำเสาสัญญาณไปใช้โดยที่รัฐไม่ได้ประโยชน์ การประมูลก็มีการใช้บริษัทลูกกับบริษัทแม่มาแข่งขัน เสมือนไม่มีการแข่งขัน รัฐสูญเสียประโยชน์รายได้ที่ควรได้รับ และนำมาพัฒนาประเทศรั่วไหล เอาประเทศไปผูกขาดไว้ในมือเอกชนเพียงไม่กี่ราย รัฐวิสาหกิจไม่ใช่ไม่พร้อมที่จะแข่งขัน องค์กรพร้อม แต่ต้องเป็นการแข่งขันแบบเสรีจริงๆ ไม่ใช่มาใช้เสาของรัฐวิสาหกิจในการติดแผงสัญญาณ 3 G ซึ่งกว่าจะพาดเสาพาดสายทางรับวิสาหกิจต้องทำความเข้าใจกับประชาชนอย่างมาก แบบนี้ไม่เป็นธรรม และไม่ใช่การแข่งขันกันจริงๆและสร้างความเสียหายให้กับรัฐ ประชาชนไม่ได้ประโยชน์จากการแข่งขันกันทางบริการจริง

P8150627P8150697

ดร.พงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ที โอ ทีฯกล่าวว่า ทางทีโอทีได้รับผลกระทบกับการที่เอกชนโดยตรงหลังจากที่มีการประมูล และตั้งข้อสังเกตเรื่องการให้บริการของบริษัทที่ประมูลระบบ 3G เป็นอีกบริษัทแต่อีกบริษัทที่ประมูลไม่ได้กลับโฆษณาชวนเชื่อระบบ 3G ให้ประชาชนโอนย้ายระบบ ซึ่งหากไปใช้ระบบ 3G หมดก็จะสร้างความเสียหายให้กับรัฐ TOT ที่ไม่สามารถส่งเงินเข้าสู่รัฐได้ เป็นการออกกฎออกระเบียบโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติ การ การให้บริการระบบ 3 G เป็นบริษัทภายใต้สัญญาสัมปทานของรัฐ คือดีเทค ทรูมูฟ เอไอเอส แต่การประมูลคลื่นกลับกลายเป็นบริษัทลูกของ 3 บริษัทนี้ ทำไมกสทช.ยอมให้บริษัทเหล่านี้ที่มีผลประโยชน์ทางธุรกิจมาประมูลคลื่นความถี่ได้อย่างไรกัน การที่บริษัทเอกชนที่ไม่ได้ประมูลระบบ 3G ที่ให้บริการลูกค้าในแบบใช้เสียงอย่างเดียวอย่าง2Gเป็นการให้บริการระบบ 3G อย่างนี้รัฐเสียประโยชน์หรือไม่ การที่ออกประกาศว่าจะลดราคาระบบ 3 G เพื่อให้ลูกค้าที่ใช้ระบบ 2 G เปลี่ยนไปใช้ระบบ 3 Gนั้นกระทบต่อตลาด 2 G ใช่หรือไม่ การที่บริษัทลูกที่ให้บริการระบบ 3 G กับบริษัทแม่ใช้แบรนด์เดียวกันในการให้บริการ กสทช.มองไม่ออกหรือว่าเป็นบริษัทเดียวกันหรือไม่ และลูกค้ารู้หรือไม่ว่ากำลังใช้บริการของใครระหว่าง AIS หรือAWNเป็นต้น ด้วยการอาศัยเทคนิคและข้อกฎหมายที่ยังคลุมเครือ เอื้อให้กับเอกชนกอบโกยผลประโยชน์ โดยมีประชาชนผู้ใช้บริการเป็นตัวประกัน ประกาศกสทช.บางฉบับดูเหมือนจะเป็นข้อจำกัดให้กับเอกชนเพียงไม่กี่รายที่จะได้มีโอกาสในการแข่งขัน ซึ่งขัดกับกฎหมายกสทช. ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ให้องค์กรอิสระนี้ทำหน้าที่กำกับดูแล เพื่อให้เกิดการแข่งขันกันอย่างเสรี และเป็นธรรม

นายสุวิทย์ มิ่งมล ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจอสมท.ฯ กล่าวว่า การปฏิรูปสื่อตอนนี้น่ากังวลใจมาก การปฏิรูปสื่อเกิดขึ้นเพราะคำว่าสื่อผูกขาด ของทุนสามาน แต่จุดเริ่มต้นในการปฏิรูปสื่อคือการประมูล เริ่มด้วยทุน ทีวีดิจิตอล คือเกิดขึ้นได้โดยไม่จำกัด แล้วทำไมถึงจำกันแค่ 48 ช่อง หากมาดูกล่องดำที่อยู่ในบ้านที่ติดตั้งกันไว้มีเป็นร้อยช่อง ซึ่งไม่สามารถตอบได้ว่าเท่าไร เพราะว่าไม่มีการควบคลุมขายกันได้อย่างอิสระ ซึ่งมีขายทั่วไป ซึ่งกล่องดำนั้นมีทั้งเนื้อหาดี และไม่ดี ขายยาปลุกเซ็ก เครื่องรางของขลัง ปลุกระดมคนให้มาชุมนุม สิ่งเหล่านี้เป็นหน้าที่ของใครในการที่จะควบคลุมดูแล กสทช.แต่กลับยังไม่ทำ

P8150634P8150639

อสมท.ได้รับรางวัลย์ข่าวและสถานการณ์ดีเด่น 3 ปีซ้อน เพราะยึดมั่นในจรรยาบรรณในความเป็นสื่อมวลชน อสมท.เป็นของประชาชนไม่ใช่ของรัฐบาล ไม่ใช่ของพรรคการเมืองใด ทำอะไรคำนึงถึงประชาชน และอสมท.ไม่ได้โดนล้อม ไม่โดนปิด รถโอบีไม่เคยโดนยึด รถไม่เคยโดนทุบ แต่ อสมท.กลับเป็นช่องเดียวที่ต้องไปประมูลคลื่นความถี่อย่างนี้ถือว่าไม่มีความเท่าเทียมเป็นธรรมสำหรับ อสมท. ประกาศกฤษฎีกาที่ออกมาเรื่องการประมูลทีวีดิจิตอล ในการประมูลหลังจากที่กดแข่งแล้วหากราคาที่ประมูลออกมาเท่ากันจะมีการยืดเวลาออกไปแล้วยังเท่ากันอีก จะใช้วิธีจับฉลาก การทำเช่นนี้จะทำให้ประชาชนได้สื่อที่ดีมาบริโภคหรือ กสทช.ควรมากำกับดูแลให้สื่อผลิตเนื้อหาที่ดีให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดมีทางเลือกไม่ใช่การที่จะมาประมูล โดยใช้ทุนเป็นจุดเริ่มต้น การลงทุนผู้ลงทุนย่อมหวังผลกำไรตอบแทนสูงสุด และประเทศในโลกนี้เปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี ไม่มีใครใช้การประมูล เพราะถือว่าเอื้อประโยชน์ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร กติกาที่เลือกปฏิบัติกับ อสมท.เพียงแห่งเดียวอาจทำให้อสมท.ต้องสิ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจด้านสื่อสารมวลชนของประเทศทีททำงานรับใช้ เคียงข้างประชาชนโดยตลอด ด้วยการเป็นทางเลือกสื่อน้ำดีเสนอรายการที่มีสารประโยชน์ สริมสร้างภูมิปัญญามากกว่ามุ่งเน้นกำไร ทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในการถ่วงดุลให้แก่สังคม

ทั้งนี้ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสากิจสัมพันธ์ (สรส.) และสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย ได้ยื่นถอดถอนคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ต่อประธานรัฐสภา พร้อมแถลงการณ์ร่วม ดังนี้ บริษัท อสมท.จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม  3 รัฐวิสาหกิจ ที่ได้ดำเนินการประกอบกิจการวางรากฐานการให้บริการด้านการสื่อวิทยุโทรทัศน์ และการสื่อสารโทรคมนาคม อันเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศไทยเรื่อยมาในอดีตตามเจตนารมณ์ของผู้ปกครองประเทศในยุคนั่น ที่เชื่อมั่นในหลักการว่า “รัฐจะต้องเป็นผู้บริหารทรัพยากรของประเทศ จึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในชาติ” แต่ด้วยลัทธิเสรีนิยมใหม่ที่เฟื่องฟูในหมู่ประเทศมหาอำนาจ ซึ่งได้ขยายอิทธิพลผ่านทางการขอรับการช่วยเหลือทางการเงินจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศมาพัฒนาประเทศ อาทิเช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF Fund) และองค์การการค้าโลก (WTO) เป็นต้น ที่บังคับให้ประเทศไทยต้องรับเอาแนวคิดแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นการแลกเปลี่ยน ด้วยการลดการผูกขาดในกิจการ และปล่อยให้ทุนหรือเอกชนเข้ามาดำเนินการแทน สร้างตลาดแข่งขันเสรีให้เกิดขึ้น รัฐวิสาหกิจไทยทั้ง 3 องค์กร จึงต้องถูกแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชน ลงสนามแข่งขันกับเอกชนในตลาดแข่งขันเสรี แต่กระนั้นก็ตามรับวิสาหกิจทั้งสามยังต้องแบกรับพันธกิจในการเป็นหน่วยงานของรัฐ ที่ต้องสนองตอบต่อนโยบายของรัฐบาลที่สร้างบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนในทุกพื้นที่ได้เข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม แม้ว่าการลงทุนนั้นจะไม่ได้สร้างผลกำไรให้เกิดขึ้น และเมื่อดำเนินธุรกิจได้ผลกำไรต้องนำส่งผลกำไรนั้นเป็นรายได้แผ่นดิน เพื่อให้รัฐใช้จ่ายในการบริหารราชการแผ่นดิน และเพื่อการพัฒนาประเทศต่อไป และที่สำคัญยังต้องปรับตัวสร้างสมรรถนะความสามารถให้สามารถแข่งขันกับเอกขนได้

P8150689P8150693

ด้วยความคาดหวังว่า คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะเป็นองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ ทำหน้าที่กำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยการดำเนินการต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติ และระดับท้องถิ่น ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ ประโยชน์สาธารณะอื่น และการแข่งขันเสรีอย่างเป็นธรรม แต่ในความเป็นจริง กลับพบข้อเท็จจริงที่ทำให้อาจเข้าใจว่า คณะกรรมการ กสทช. ไม่ได้ปฏิบัติงานในการปกป้องรักษาผลประโยชน์แก่ประเทศชาติ รวมทั้งสร้างกลไกตลาดให้มีการแข่งขันอย่างเสรี และเป็นธรรมอย่างแท้จริง มีดังนี้

1. การออกใบอนุญาตประกอบกิจการโครงข่ายมือถือ 3 G ประเภทที่ 3 ให้กับบริษัทเอกชนสามราย ให้สามารถสร้างโครงข่ายมือถือ 3 G เองได้ อันเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 เพราะโครงข่ายมือถือเป็นโครงข่ายขั้นพื้นฐานของกิจการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ของรัฐอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชน หรือเพื่อความมั่นคงของรัฐ ตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน หรือทำให้รัฐเป็นเจ้าของน้อยกว่าร้อยละ 51 จะกระทำมิได้

2. การละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ในการกำกับดูแลกิจการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ กรณีพบการร่วมมือระหว่างบริษัทภายใต้สัญญาสัมปทาน และบริษัทลูกกระทำการถ่ายโอนลูกค้าจากเดิมที่เคยใช้บริการโทรศัพท์ภายใต้สัญญาสัมปทานไปสู่การให้บริการลูกค้า กระทบรายได้นำส่งรัฐภายใต้สัญญาสัมปทาน ส่งผลทำให้รัฐเสียหาย นอกจากนี้ เมื่อเกิดการไม่เป็นธรรมในการแข่งขันที่บริษัทแม่และลูกต่างใช้แบรนด์สินค้าเดียวกันฮั้วกันให้บริการแทนที่จะแข่งขันกันให้บริการ คณะกรรมการ กสทช.ไม่เพียงแต่เพิกเฉย กลับยังมีมติเห็นชอบให้การดำเนินการนั้นชอบด้วยกฎหมาย อาทิเช่น การออกประกาศเพื่อเพิ่มช่องทางในการโอนย้ายเลขหมายจากลูกค้าภายใต้สัญญาร่วมกับงานไปสู่การให้บริการของบริษัทลูก เช่นการโอนย้ายลูกค้า โดยการส่งข้อความ SMS และการดำเนินการโปรแกรมด้วยวิธี OTA (Over the Air) เพื่อไม่ต้องเปลี่ยน SIM Card

3. การที่คณะกรรมการ กสทช. ออกใบอนุญาตประเภทที่ 3 ที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง แก่ผู้ประมูลคลื่นความถี่ 3G ได้ แถมด้วยการออกประกาศการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกัน เพื่อหวังให้บริษัทลูกที่ชนะการประมูลสามารถใช้โครงข่ายอันเป็นทรัพย์สินของรัฐ ที่มอบให้บริษัทแม่ที่มารับงานตามสัญญาสัมปทานไปแสวงหาผลประโยชน์ที่มีควรได้เป็นการเพิ่มสิทธิให้บริษัทแม่ผู้รับสัมปทานเกินขอบเขตของกฎหมาย และยังเป็นการละเมิดสิทธิในความเป็นเจ้าของทรัพย์สินของรัฐ ทำให้ผู้ให้สัมปทานซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐได้รับความเสียหาย อาจก่อให้เกิดข้อพิพาทเพิ่มขึ้น และจงใจใช้อำนาจในการกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคมไปในทางที่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

4. การออกประกาศคณะกรรมการ กสทช. ซึ่งมีผลบังคับใช้วันที่ 14 สิงหาคม 2556 ระบุขั้นตอนวิธีการประมูลคลื่นในกิจการวิทยุโทรทัศน์ ให้เลือกผู้ชนะการประมูลที่มีราคาสูงสุดเรียงตามลำดับ ในกรณีที่ชนะการประมูลด้วยราคาที่เท่ากันให้ใช้วิธีจับฉลาก ก่อให้บริหารมากที่สุด นอกจากนี้ระบบนี้ยังเปิดโอกาสให้บริษัทเอกชนที่มีการผูกพันกันในเชิงการถือครองหุ้น มาประมูลฮั้วราคากันได้ แต่ในทางตรงกันข้าม อสมท. ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจดำเนินกิจการตรงไปตรงมาไม่มีการแยกจดทะเบียนตั้งบริษัทลูก อันนำไปการเสียเปรียบเมื่อเข้าแข่งขันการประมูล นอกจากนี้การปรับลดสัดส่วนเนื้อหาข่าวสารที่มีสาระต่อธารณะจากเดิมไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 มาเป็นร้อยละ 50 ทำให้ช่องรายการข่าว กับช่องรายการไรริตี้แทบไม่มีความแตกต่างกันเลยทั้งที่ได้มีการท้วงติงมาจากภาคส่วนต่างๆทั้งจากนักสื่อสารมวลชน คณาจารย์ นักวิชาการ รวมทั้งบุคคลในแวดวงการศึกษาแล้วก็ตาม

จากพฤติการณ์ดังกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่า คณะกรรมการ กสทช.ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐจงใจใช้อำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคมไปในทางที่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ดังนั้น สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจทุกแห่งที่มีหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติภายใต้การนำของสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย (สพร.ท) มีความเห็นตรงกันขอให้กรรมการ กสทช.ยุติบทบาทการทำหน้าที่กำกับดูแลด้วยเกรงว่าประเทศชาติจะได้รับความเสียหายเพิ่มมากขึ้น จึงมาร่วมยื่นหนังสือถอดถอนต่อประธานวุฒิสภา เพื่อดำเนินการตามกระบวนการถอดถอนต่อไปตามที่กฎหมายกำหนด

P8150669P8150675

ด้านผู้แทนกสทช.ได้ รับข้อเสนอแนะ และรับว่าจะนำข้อเสนอต่างๆ ของสมาพันธ์แรงงานฯ และสหพันธ์ฯ และอีก 3 สหภาพแรงงาน ส่งให้กับคณะกรรมการกสทช.อย่างแน่นอนส่วนที่เป็นกฎหมายก็ต้องเสนอไปทางรับสภาพิจารณา ซึ่งการที่มีการมานั่งพูดคุยกันเป็นเรื่องที่ดี เพราะหลักเกณฑ์อาจทำให้เกิดการเข้าใจผิดก็จะได้มีการทำความเข้าใจกัน

ส่วนนายสาวิทย์ แก้วหวาน กล่าวว่า น่าเสียดายที่คณะกรรมการกสทช.ไม่ยอมมาพบกับตัวแทนสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบตรงกับการออกกฎ ระเบียบ ประกาศต่างๆ ทั้งนี้ขอให้นัดขอเข้าพบมานานแล้วแต่ไม่ได้รับการสนองตอบครั้งนี้คิดว่าจะได้รับการนัดเพื่อพูดคุยกัน เพื่อหาข้อสรุปในการแก้ไขปัญหา

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน