สยท.เดินหน้าจัดเก็บค่าบำรุงแบบก้าวหน้าตามแผนงานฯ

สหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย (สยท.) จัดสัมมนาเชิงวิชาการเรื่อง การจัดเก็บค่าบำรุงแบบอัตรา ก้าวหน้า ไห้สมาชิก สยท. ที่ห้องฝึกอบรมการไฟฟ้าฝ่ายผลิตบางประกง อ.บางประกง จ.ฉะเชิงเทราในวันที่  21 มิ.ย 54 การจัดสัมมนาในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากสมาชิก สยท.ถึง 16 องค์กรสมาชิกจากสมาชิก 42 องค์กร มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 53 คน โดยการสัมมนาในครั้งนี้มีการลงทะเบียนกันเองคนละ 300 บาท งานนี้สยท.ไม่ได้รับการสนับสนุนจากองค์ใดๆทั้งสิ้น เพื่อให้สมาชิกพึ่งพาตัวเองได้ ซึ่งจะทำให้สมาชิก สยท.มีความเข้มแข็งจากภายภายในสู่ภายนอก ตามนโยบายพึ่งพาตัวเอง                               

นาย ยงยุทธ เม่นตะเภา ประธานสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย กล่าวในการเปิดสัมมนาว่า  การจัดเก็บค่าบำรุงของสหภาพแรงงานในประเทศไทยในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่จัดเก็บแบบอัตราคงที่ คือ 20 บาทต่อเดือน 30 บาทต่อเดือน หรือสูงสุดไม่เกิน 100 บาท ต่อเดือน จึงทำให้สหภาพแรงงานในประเทศไทยอ่อนแอ ไม่สามารถจัดการตัวเองได้ ไม่มีอิสระในการบริหาร เพราะว่า ต้องพึ่งพาการสนับสนุนจากองค์กรภายนอก เงินคือส่วนหนึ่งที่ทำให้สหภาพฯบริหารและจัดการองค์กรสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จ

สหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย คิด ทบทวน และประเมิน ในการจัดทำแผนประจำปีที่ผ่านมา ถ้าสหภาพแรงงานยังจัดเก็บค่าบำรุงแบบเดิมๆนี้อยู่ ในอนาคตสหภาพแรงงานไปไม่รอดแน่ การคิดนอกกรอบ  เพื่อขยายฐานสมาชิกของ สยท.ให้จัดเก็บค่าบำรุงเป็นเปอร์เซ็นต์ แบบสากล  สยท.เป็นองค์กรแรกๆที่มีแนวความคิดเรื่องนี้ และเรื่องการสัมมนาในวันนี้ การลงทะเบียนสัมมนาร่วมกัน โดยไม่มีการพึ่งพาองค์กรอื่น

Mr.Sigeru  wada  ผู้เชี่ยวชาญด้านแรงงาน อาวุโส  ไอ แอล โอ กล่าวแลกดเปลี่ยนความคิดเห็นว่าสหภาพแรงงานมีความสำคัญอย่างไร เราต้องการมีสหภาพแรงงานแบบไหน เช่นต้องการให้รัฐควบคุมและแทรกแซง หรือต้องการให้นายจ้างแทรกแซงหรือควบคุมการบิหารงานของสหภาพแรงงาน เราอยากได้ผู้นำออกความคิด โดยที่สมาชิกไม่มีการแสดงความคิดเห็น หรืออยากได้สหภาพแรงงานแบบไม่ทำกิจกรรม เป็นที่น่าเสียดายปัจจุบันมีสหภาพแรงงานแบบนั้นจริงๆ เช่นประเทศ จีน มีแค่  1 สหภาพแรงงาน รัฐบาลจีนขอร้องให้มีการจัดตั้งสหภาพแรงงาน บริษัทรถยนต์ในประจีนเป็นสมาชิกมาก รัฐบาลให้จัดเก็บค่าบำรุง 2 เปอร์เซ็นต์ ของสมาชิกสหภาพแรงงาน และพนักงาน แล้วนำเงินส่วนนี้จัดเก็บเป็นภาษีของรัฐ สมาชิกสหภาพแรงงานไม่มีสิทธ์เลือกผู้แทนของตัวเอง (ผู้นำแรงงาน) รัฐบาลและนายจ้างเป็นผู้คัดเลือกผู้แทนคนงาน ผู้นำกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นพนักงานระดับสูงระดับผู้บริหาร ได้รับสิทธิต่างๆมากมาย

การประท้วงของคนงานในประเทศจีน สหภาพแรงงานไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง คนงานเขารวมตัวกันเอง เงิน 2 เปอร์เซ็นต์ที่เขาจ่าย ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์เพื่อสมาชิกเลย เหตุการณ์อย่างนี้ ไม่ได้เกิดที่จีนอย่างเดียว แต่เมื่อ 10 ปีที่แล้ว

ประเทศอินโดเนียเชีย ประธานาธิบดี ซูนาโต้  ก็จัดเก็บค่าบำรุงสหภาพแรงงาน 1 เปอร์เซ็นต์เข้ารัฐอย่างเดียวเหมือนกัน ย้อนกลับมาดูที่แอเชียใต้บ้าง อินเดีย บังคลาเทศปากีสถาน  บางสหภาพแรงงานตอบสนองให้นักการเมือง (การจัดตั้ง)  นักการเมืองจะเอาสมาชิกสหภาพแรงงานมาร่วมรณรงค์หาเสียง สมาชิกสหภาพแรงงานไม่ได้จ่ายค่าบำรุงสหภาพแรงงาน สิ่งที่เห็นคือผู้นำสหภาพแรงงาน ทำเป็นงานอาสาสมัคร บางคนอายุมาก ก็เอาเงินบำนาญ มาทำงานสหภาพแรงงาน สมาชิกไม่มีสิทธ์มีเสียงหรือแสดงความคิดเห็นต่างๆ เวลาที่จะเปลี่ยนผู้นำที่อินเดียนั้นยากมาก เพราะว่าผู้นำไม่มีค่าตอบแทน  การได้รับสนับสนุนจากองค์กรภายนอก ไม่มีอิสระในการบริหาร หวังว่าพวกท่านทั้งหลายต้องการมีสหภาพแรงงานแบบอิสระ ประชาธิปไตย โปร่งใส สหภาพแรงงานทำงานเพื่อสมาชิก โดยส่วนใหญ่หลักการจัดเก็บค่าบำรุงมีอยู่  3 แบบ

1.  แบบอัตราคงที่

2.  แบบอัตราก้าวหน้า 1 เปอร์เซ็นต์ ถึง  2 เปอร์เซ็นต์

3.  การจัดเก็บแบบอัตราคงที่ + 1 เปอร์เซ็นต์

โดยปกติแล้วการจัดเก็บค่าบำรุงแบบอัตราคงที่นั้น ส่วนมากมาจากสมาชิกที่ค่าแรงต่ำ ส่วนแบบอัตราก้าวหน้า สมาชิกเงินเดือนสูง การจัดเก็บค่าบำรุงสมาชิกมี 2 แบบ

1. เจ้าหน้าที่ หรือกรรมการสหภาพฯเป็นคนเก็บ ข้อดีได้พบปะสมาชิกเดือนละ 1 ครั้ง

2. สหภาพแรงงานมีการเจรจากับฝ่ายบริหาร สั่งจ่ายผ่านบัญชีธนาคาร เป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว

ธีระวุฒิ เบญมาตย์  นักสื่อสารแรงงาน ศูนย์ข่าวสมุทรปราการ  รายงาน