สมาพันแรงงานTEAM ถอดบทเรียน ไฮปาร์ค โดนฟ้อง ?

t

เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2558 สมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเลคทรอนิคส์ ยานยนต์ และ โลหะ แห่งประเทศไทย (TEAM) ณ.ที่ศูนย์อบรมไฟฟ้าบางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา มีการจัดสัมมนา เชิงวิเคราะห์ เรื่อง พูดอย่างไรในที่ชุมชนไม่ให้โดนฟ้องหมิ่นประมาท โดยครั้งนี้ได้ยกตัวอย่างจากที่ผู้นำแรงงาน ที่โดนนายจ้างฟ้องหมิ่นประมาทจากถ้อยคำที่ใช้ในเวลาที่ปราศรัยในที่ชุมนุมของลูกจ้าง

จากสถานการณ์แรงงานที่ผ่านมามีความรุนแรง เข้มข้นเป็นอย่างมากในการชุมนุมเรียกร้อง และถูกนายจ้างปิดงาน รวมถึงการถูกเลิกจ้าง โดยมองว่าเป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง อันเป็นการบีบบังคับให้ลูกจ้างจำต้องมีการชุมนุมเกิดขึ้นเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมต่อนายจ้าง หรืออีกในหนึ่งซึ่งเรียกว่า ม๊อบ จึงต้องมีผู้นำแรงงานหลายๆ จำเป็นจะต้องพูดในที่ชุมนุม เหล่านั้น จึงเสี่ยงต้องผู้นำเหล่าอาจจะโดยฟ้องหมิ่นจากบุคคลที่3 หรือนายจ้าง ได้

ทั้งนี้ จากวงสัมมนา วิทยากรได้ให้คือสังเกตว่า จากกรณี ต่างๆ ที่ผู้นำแรงงานโดนฝ่ายนายจ้างได้ฟ้องหมิ่น นั้นจากที่กฎหมายได้กำหนดไว้ ดังนี้

1. หมิ่นประมาท หรือติชมในเหตุที่ไม่เป็นความจริง โทษ จำคุกไม่เกินความจริง จำคุกไม่เกิน 1 ปี

2. หมิ่นประมาทออกสื่อโฆษณา ทีวี สื่อสิ่งพิมพ์ หรือ สื่อออนส์ไลน์ ต่างๆ โทษ จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสน
ความผิดตามกฎหมาย คอมพิวเตอร์ : ไม่ว่าจะเป็น รับ – ส่ง หรือถูกใจ ข้อความ ที่เข้าข่ายหมิ่นประมาท ต่อบุคคลอื่น
โทษ จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสน

นี้คือโทษของกฎหมาย ที่เป็นหนทางของนายจ้างที่จะเอาผิดผู้นำแรงงาน ที่เป็นช่องว่างของกฎหมายที่จะกำราบขบวนแรงงานเพื่อไม่ให้เกิดความเข้มแข็งได้

สรุปจาการสัมมนา การพูดในที่ชุมนุมนั้น คนที่ปราศรัยควรจะมีสติ ก่อนที่จะนำเสนอออกไป ไม่ควรที่กล่าวให้ร้าย หรือสอดเสียดผู้อื่น ผู้พูดควรจะต้องมีทักษะในการนำเสนอพอสมควร ดังคำพูดที่ว่า คำพูดหนึ่งคำเหมือนดาบสองคม หรือ ปลาหมอตายเพราะปาก อนึ่งการที่โลกโซเซียล โลกออนไลน์ ที่มีความรวดเร็วเป็นอย่างมาก จงพึ่งระวังก่อนที่จะส่ง หรือ กดชอบใจ ข้อความต่างๆ ที่เข้าข่ายหมิ่นประมาท เพราะอาจจะย้อนกลับมาทำร้ายตัวผู้นำเสนอ หรือผู้เขียนได้

ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมสัมมนานั้น ได้เสนอให้จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้นำแรงงานที่โดนคดีเหล่านี้ ขี้น เพื่อเป็นทุนในการต่อสู้กับนายจ้างต่อไปในภายภาคหน้าที่อาจจะเกิดขึ้น

นักสื่อสารแรงงาน รายงานฯ