วิถีชีวิต : คนงานชาวกัมพูชา บนความเหมือน-ต่างเมื่อมาทำงานในไทย

Untitled-4

โดย สวรรยา ผดาวัลย์  นักสื่อสารแรงงาน

การที่คนงานสักคนหนึ่งที่ต้องตัดสินใจเดินทางข้ามประเทศไปทำงานต่างถิ่น ด้วยความอยากมีเงิน มีอนาคต และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของตนเองและครอบครัว ภายใต้แรงกดดันของเศรษฐกิจความยากไร้ เมื่อวันนี้ตัดสินใจมาทำงานที่ประเทสไทย ถิ่นภาษาบางภูมิประเทศที่ติดกันอาจไม่แตกต่างกันนัก พอนหนุ่มกัมพูชา ได้พบกับคนงานข้ามชาติที่ไม่ใช่มาจากประเทศลาว แต่มีชาวเมี่ยนม่า  ทั้งภาษาและวัฒนธรรมที่ต่างกัน แต่เป้าหมายไม่ต่างกันคือค่าจ้าง รายได้ที่ดีเพื่อชีวิตและครอบครัว พอนบอกว่าโชคดีที่นี่มีสหภาพแรงงาน…

นายพอน ชื่อของคนงานชาวกัมพูชา อายุ 20 ปี ได้ตัดสินใจพร้อมกับเพื่อนๆ เข้ามาทำงานที่ บริษัท แห่งหนึ่งในเขตอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี (ประเทศไทย) เนื่องจากฐานะทางบ้านค่อนข้างยากจน นอกจากอาชีพทำนาผ่านไปแล้ว ก็ไม่มีอะไรจะทำ เพราะอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลักของทางบ้าน หลังจากนั้น จึงทำให้ตนเองว่างงาน อยู่มาวันหนึ่งมีคนเข้ามาแนะนำ มีบริษัทแห่งหนึ่งในเขตอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี ผลิตเซรามิค สุขภัณฑ์ในห้องน้ำ รับสมัครพนักงานจำนวนมาก รายได้ดี เริ่มต้นที่ 10,000 หมื่นกว่าบาท มีสวัสดิการ พร้อม โบนัส ,เบี้ยขยัน ค่ารักษาพยาบาล มีที่พักพร้อม ตนเองจึงตัดสินใจ เพราะที่จริงแล้วตนเองก็พอฟังและพูดภาษาไทยนิดหน่อย ตนเองก็หวังลึกๆว่า อนาคตจะมีเงินเก็บ พร้อมที่ฝากไปให้กับทางบ้านได้

หลังจากนั้น เมื่อประมาณเดือนสิงหาคม 2557 ตนเองพร้อมเพื่อนๆ ได้เข้ามาที่บริษัทดังกล่าว ที่พักเป็นแฟลต 5 ชั้น มีคนพักหนาแน่น เต็มไปด้วยผู้คนทุกชั้น พอวันต่อมา ตนเองได้รู้ว่า คนงานที่เข้ามาพัก และ ทำงานในโรงงานแห่งนี้ ไม่ใช่มีแต่คนไทย และ ชาวกัมพูชาเท่านั้น มีทั้งชาวพม่าด้วย สรุปว่าหอพักแฟลตนี้มีคนพัก 3 เชื้อชาติ ตนเองและเพื่อนๆ ก็ระมัดระวังตัวเองตลอด เพราะไม่ใช่บ้านเรา อย่างน้อย ประเพณี วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ก็แตกต่างกัน รวมถึงการกินการอยู่อาหารการกิน ก็ไม่เหมือนกัน พอในวันรุ่งขึ้น ได้มีคนพาเข้าไปอบรมเกี่ยวกับ หน้าที่การทำงาน พร้อมทั้ง เงื่อนไข สวัสดิการ ต่างๆที่จะได้รับ รวมถึงระเบียบการเข้าอยู่ในหอพักแฟลต พร้อมทั้งแจกรองเท้า ชุดพนักงานให้ ต่อมาได้เข้าไปทำงาน เป็นวันแรก ที่ได้ทำงานในโรงงาน ตนเองคิดว่าจะทำไหวรึปล่าวหนอ แต่ถึงอย่างไรก็ต้องอดทน เพราะงานที่ทำต้องยก แบก ลากเข็ญ ทั้งวัน และ มีฝุ่นมาก อีกอย่างต้องอยู่ในระบบกฎระเบียบขั้นตอนตลอด ได้คุยกับเพื่อนๆพวกเราต้องอดทนนะ จะกลับก็ไม่ได้ เพราะติดด้วยสัญญา แต่โชคดีมากที่ได้ทำงานในแผนกเดียวกันกับเพื่อนๆ ที่มาด้วยกัน

นายพอน กล่าวต่อ คิดว่าตนเองโชคดีมาก ปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำงาน หรือ การอยู่ร่วมกัน กับทั้งสามเชื้อชาติ ก็ไม่มีปัญหาอะไร เวลาตนเองเจ็บป่วย ก็จะมีหัวหน้างาน และ เพื่อนๆ คนไทย คอยแนะนำ พาไปหาหมอ และ ได้เข้าร่วมกิจกรรมสัมมนา กับองค์กรสหภาพแรงงานครั้งหนึ่ง เป็นสิ่งที่ดีมาก ที่ได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนปัญหาความเป็นอยู่ของแรงงานกัมพูชา อย่างน้อย ตนเองก็มีความรู้สึกว่าไม่อยู่แบบเดียวดาย ยังมีพี่น้องคนไทย คอยให้คำปรึกษา มาตั้งแต่เริ่มเข้างาน จนถึงปัจจุบัน และ จะตั้งใจทำงานเก็บเงินฝากไปให้กับทางบ้านทุกๆเดือน

ทางด้านนายบุญสม ทาวิจิตร ประธานกลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง กล่าวว่า คำว่าผู้ใช้แรงงาน ไม่ว่าจะเป็นประเทศไหน เชื้อชาติใด ก็คือคนงานเหมือนกัน ถือว่าเป็นพี่น้องกัน เพราะฉะนั้นแล้ว เรา ในฐานะที่เป็นเจ้าของบ้านก็ต้องคอยให้ความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา เวลาที่พวกเขาถูกกระทำ ที่ไม่เป็นธรรม รวมถึงสวัสดิการอื่นๆที่พวกเขาพึงจะได้รับ ถึงแม้ว่าขณะนี้พวกเขายังไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพฯ เราก็ยังคอยให้คำปรึกษา ในเรื่องสวัสดิการหรือสิทธิต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมกีฬาสี ปีใหม่ พวก เขาก็จะเข้าร่วมรวมอยู่กับพวกเราตลอด คิดว่าอนาคตข้างหน้าพวกเขาจะต้องเข้ามาสมัครเป็นสมาชิกสหภาพแน่นอน แต่ต้องอธิบายหรือชี้แจงให้ให้พวกเขาเข้าใจก่อนว่าเป็นสมาชิกสหภาพแล้วได้อะไรเสียอะไรบ้าง ในส่วนเรื่องอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 เสรีภาพในการรวมตัว และ 98 สิทธิในการเจรจาต่อรอง ก็ชัดเจน ในเรื่องข้อดีของการให้สัตยาบันอนุสัญญาทั้งสองฉบับนี้ ต่อไปในปี 2558 ก็จะเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน (AEC) ซึ่งเป็นการเปิดเสรีด้านแรงงาน เป็นที่รู้ๆกันอยู่ทางด้านผู้ใช้แรงงานก็ผลักดันให้รัฐบาลรับรอง เพื่อพี่น้องผู้ใช้แรงงาน

***************