แจ้งจับนายจ้างอัลฟ่าฐานทำผิดกฎหมายแรงงานสัมพันธ์

Untitled-1

นายจ้างไม่สนเลิกจ้างแกนนำเพิ่มอีก ส่วนหัวหน้างานที่ให้การสนับสนุนข้อเรียกร้องโดนไปสองราย

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2557 ตัวแทนลูกจ้างบริษัทอัลฟ่าอินดัสทรี (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 6 คนได้เดินทางไปที่สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.ปราจีนบุรีเพื่อแจ้งความประสงค์ที่จะดำเนินคดีกับทางนายจ้างที่เลิกจ้างตัวแทนการเจรจาข้อเรียกร้องในระหว่างการเจรจา การไกล่เกลี่ย ข้อเรียกร้อง โดยทางนิติกรของสำนักงานฯได้พาลูกจ้างทั้งหมดไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรอำเภอศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรีขณะนี้อยู่ระหว่างการนัดผู้เสียหายทั้งหมดมาให้ปากคำซึ่งยังขาดอีก 2 ปากเนื่องจากทางพนักงานสอบสวนยังไม่ว่างจึงเลื่อนการให้ปากคำจากวันที่ 25 มีนาคมเป็นวันที่ 26 มีนาคมเวลา 10.00 น.

Untitled-3Untitled-2

ในขณะที่ตัวแทนลูกจ้างชุดใหม่ถูกเลิกจ้างอีก 1 รายคือน.ส.พรศิริ เกตุสุวรรณ อายุ 27 ปีในข้อหาแสดงอาการหยาบคาย ก้าวร้าว หรือกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชา ใช้เวลาทำงานของบริษัทฯเพื่อกิจธุระส่วนตัวหรือเพื่อบริษัทฯอื่น ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานให้กับบริษัทฯ และจงใจทำให้บริษัทได้รับความเสียหายสำหรับข้อความที่โพสมีเนื้อหาปลุกเร้าให้คนงานฮึกเหิมไม่กลัวต่อมาตรการกดดันของนายจ้าง รักสามัคคีและร่วมกันทำให้ข้อเรียกร้องสำเร็จนอกจากนี้ยังมีหัวหน้างาน 2 คนที่ให้การสนับสนุนข้อเรียกร้องของฝ่ายลูกจ้างถูกเลิกจ้างไปแล้ว

นายสมศักดิ์ สุขยอด เลขาธิการสหภาพแรงงานฟอร์ดและมาสด้าประเทศไทยได้กล่าวว่าบริษัทอัลฟ่าฯเป็นผู้ผลิตชิ้นงานส่งบริษัทฟร์อดมาสด้าซึ่งตามจรรยาบรรณทางการค้า ซึ่งทางบริษัทฟร์อดฯได้กำหนดไว้ว่า จะไม่รับงานจากบริษัทที่มีการละเมิดสิทธิแรงงาน สหภาพแรงงานฯคงต้องไปพูดคุยกับทางผู้บริหารของฟร์อดถึงพฤติกรรมการของบริษัทฯต่อไปดังนั้นจึงอยากให้ทางบริษัทอัลฟ่าฯรีบรับตัวแทนเจรจาทั้ง 6 คน กลับเข้าทำงานโดยเร็ว

nono

ด้านนายยงยุทธ เม่นตระเภา ประธานที่ปรึกษาสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทยได้กล่าวต่อผู้ชุมนุมว่า บรรยากาศในการไกล่เกลี่ยไม่ค่อยดีเนื่องจากนายจ้างยังคงยืนยันไม่รับตัวแทนทั้ง 6 คน เข้าทำงานและขอตรวจสอบจำนวนลายมือชื่อที่สนับสนุนข้อเรียกร้องการกระทำของนายจ้างถือว่า ผิดกฎหมายพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา31 คือ การเลิกจ้างตัวแทนการเจรจาข้อเรียกร้องมีความผิดตามมาตรา136 พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์กำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับมีการไปแจ้งความจับนายจ้าง พร้อมทั้งรณรงค์ไปทางองค์กรแม่ที่ญี่ปุ่นเพื่อกดดันอีกทางหนึ่ง

“ในช่วงของการเจรจาของนายจ้างกับลูกจ้างอัลฟ่าน่าตกใจมาก มีการนำตำรวจในเครื่องแบบพร้อมอาวุธครบมือไปยืนคุมฝ่ายลูกจ้าง เหมือนนักโทษเลยเห็นแล้ว รู้สึกถึงอำนาจรัฐที่เข้าไปคุกคามปราบลูกจ้างเป็นนัยๆหรือไม่ วึ่งก็ทราบข่าวภายในว่าตอนนี้มีนอกเครื่องแบบพร้อมอาวุธเข้าไปคุมในโรงงานด้วย สิ่งที่กระทบต่อสิทธิการรวมตัวลูกจ้างมาก คือการข่มขู่ที่ว่าหากมีลูกจ้างคนไหนออกไปชุมนุมแล้วกล้องวงจรปิดถ่ายได้ก็จะเลิกจ้างทันที เป็นการละเมิดสิทธิการรวมตัวเจรจาต่อรอง ของลูกจ้างอย่างชัดเจน” นายยงยุทธ์ กล่าว

กรณีความคืบหน้าผลการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อเรียกร้องครั้งที่2 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2557 ทางฝ่ายนายจ้างเสนอให้คือ

1. บริษัทฯยินดีจ่ายค่าเดินทางให้พนักงานจากเดิม 35 บาทเป็น 50 บาท

2. เพิ่มค่าอาหารจากเดิม 25 บาทเป็น 30 บาท

3. เพิ่มเบี้ยเลี้ยงสำหรับพนักงานที่ต้องไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ จากเดิมที่ไม่กำหนดเวลาอยู่ที่ครั้งละ 50 บาท เป็น 30 บาทสำหรับในช่วงเวลา18.30 ถึง 17.00น.และ 70 บาทสำหรับช่วงเวลา 08.30 ถึง21.00น.

4. การปรับค่าจ้างนายจ้างเสนอให้เป็นเกรด ดังนี้

A.8 %สำหรับลูกจ้างรายเดือนและ25 บาทสำหรับลูกจ้างรายวัน

B.6 %สำหรับลูกจ้างรายเดือนและ20 บาทสำหรับลูกจ้างรายวัน

C.4 %สำหรับลูกจ้างรายเดือนและ15 บาทสำหรับลูกจ้างรายวัน

D.3 %สำหรับลูกจ้างรายเดือนและ10 บาทสำหรับลูกจ้างรายวัน

Untitled-4

5. การหักเวลากรณีพนักงานมาทำงานสาย(07.53น.หรือมาไม่ทันกิจกรรมการออกกำลังกายประจำวัน) จากเดิมมาสาย1 ถึง 30 นาทีหัก 30 นาที 31นาทีถึง 1 ชั่วโมงหัก 1 ชั่วโมงและมาสายเลย 1 ชั่วโมงหักครึ่งวันและงดการทำงานล่วงเวลา 2 สัปดาห์/ครั้ง หากมาสาย 3 ครั้งจะได้รับการตักเตือนเป็นรายลักษณ์อักษร บริษัทฯยินยอมจะปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย(เวลาทำงานปกติของบริษัทฯคือ08 .00-17.00น.) ซึ่งจะมีการนัดไกล่เกลี่ยครั้งที่ 3 ในวันที่ 31 มีนาคม 2557

สำหรับข้อเรียกร้องของฝ่ายลูกจ้างมีทั้งหมด 12 ข้อยื่นในวันที่10 มีนาคม2557

1.ขอให้บริษัทฯปรับเงินขึ้นประจำปีให้กับพนักงานทุกคน15%และเงินบวกพิเศษตามอายุงาน 300 บาท/ปี

2. ขอให้บริษัทฯจ่ายโบนัสประจำปี ให้พนักงานทุกคน 3 เดือนบวกพิเศษ 15,000 บาท

3. ขอให้บริษัทฯปรับเบี้ยขยันจากเดิม 300 และ400 บาท/เดือนเป็น500,600,700บาท/เดือน

4.ขอให้บริษัทฯจ่ายค่าครองชีพให้พนักงานทุกคน1,500 บาท/เดือน

5.ขอให้บริษัทฯหักเวลาการมาทำงานสายตามเวลาที่มาสายจริง

6.ขอให้บริษัทฯจ่ายค่าเดินทางให้กับพนักงานทุกคน1,500บาท/เดือน

7.ขอให้บริษัทฯจ่ายค่าอาหารเช้า,กลางวันให้ทุกคน1,000บาท/เดือน

7.1 ขอให้บริษัทฯจ่ายค่าอาหารช่วงOT.ให้กับพนักงานทุกคน 30 บาท/มื้อ

7.2 ขอให้บริษัทฯปรับเปลี่ยนการใช้คูปองค่าอาหารและสามารถแลกสินค้าอื่นได้ตามราคาสินค้า

8. ขอให้บริษัทฯจ่ายเงินค่าอายุงานทุกปีเริ่มตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป

9. ขอให้บริษัทฯจัดวันหยุดประเพณีตามที่บริษัทฯได้ประกาศไว้คือ15 วัน/ปี ในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนแปลงวันหยุดจะต้องได้รับความยินยอมจากนายจ้าง

10. ขอให้บริษัทฯจ่ายเงินเบี้ยเลี้ยงสำหรับพนักงานที่ไปปฏิบัติหน้าที่นอกออกไปปฏิบัติงานข้างนอก 300 บาท/วัน

11. ขอให้พนักงานมีสิทธิลาพักร้อนได้ตามที่กฎหมายหมายกำหนด

12. สภาพการจ้างใดก็ตามที่ดีอยู่แล้วให้คงไว้ตามเดิม หากขัดแย้งต่อข้อตกลงให้ใช้ข้อตกลงนี้แทน

*หมายเหตุ*เจรจาครั้งแรก12 มีนาคม 2557 แต่ตกลงกันไม่ได้ทางลูกจ้างแจ้งพิพาทแรงงาน13 มีนาคมไกล่เกลี่ยครั้งแรก 14 มีนาคมครั้งที่ 2 วันที่ 24 มีนาคมครั้งที่ 3 วันที่ 31 มีนาคม 2557

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน