ลูกจ้างสวน ไร้การเมืองค่าจ้างไม่ขึ้น

2015-07-26 08.46.02

นักวิชาการชี้ แช่แข็งค่าจ้างยาว ส่งผลกระทบอุตสาหกรรมขนาดเล็กถึงแรงงานไร้ฝีมือหลังปรับแบบก้าวกระโดด  ลูกจ้างโต้ไร้การเมืองไร้ค่าจ้างที่เป็นธรรม ปรับ 300 บาทถือเป็นการชดเชยความเป็นธรรมค่าจ้างถูกกดมานาน

สัมมนาวิชาการสาธารณะ เรื่อง “ค่าจ้างขั้นต่ำ-ข้อเท็จจริง และทิศทางที่ควรเป็นในอนาคต”วันที่ 21 กรกฎาคม 2558ที่โรงแรมเดอะ สุโกศล จัดโดย สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย ร่วมกับมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท

2015-07-26 08.48.10

ดร.ดิลกะ ลัทธพิพัตน์ นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ ด้านการพัฒนามนุษย์ ได้นำเสนอบทความ “มองย้อนหลังการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท” ว่า การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ เพื่อต้องการลดความเหลื่อมล้ำด้านแรงงานและการเคลื่อนย้ายกำลังแรงงาน

ปี 2543 มีการจ้างงานแรงงานระดับประถม และมัธยมค้อนข้างมาก และผลของค่าจ้างขั้นต่ำปี 1986 (2529) มีการจ้างงานในผู้ที่จบวิศวะค่าจ้างน้อยกว่าการกจ้างงานแรงงานในกลุ่มแรงงานไร้ฝีมือและหลังวิกฤติค่าจ้างกลุ่มแรงงานไร้ฝีมือลดลง จากข้อมูลอัตราค่าจ้างขั้นต่ำโดยเฉลี่ยทั่วประเทศในช่วง 25 ปีตั้งแต่ปี 2529-2553 เห็นได้ว่า อัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่แท้จริง ลดลงอย่างต่อเนื่องหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ไม่ได้ปรับขึ้นค่าจ้างด้วยอัตราเงินเฟ้ออย่างแท้จริงโดยปกติอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศไทยจะกำหนดปรับขึ้นโดยใช้ระบบใตรภาคี ประกอบด้วยนายจ้าง ลูกจ้าง และตัวแทนภาครัฐ เป็นคณะกรรมการค่าจ้าง ดังนั้น อัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ลดลงอย่างต่อเนื่องจึงสะท้อนถึงความไม่มีอำนาจในการต่อรองของฝ่ายลูกจ้าง โครงสร้างการจ้างงานสัดส่วนในการทำงานในบริษัทเอกชนลดลง จนปี 2555-2556 นโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เกิดวิกฤติการจ้างงานแต่ในกลุ่มแรงงานทักษะต่ำ ซึ่งเป็นกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบจากการปรับตัวของสถานประกอบการเอสเอ็มอี และกิจการขนาดใหญ่มากที่สุด โดยผลการศึกษาชี้ว่าเมื่อตกงาน แรงงานส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้จะเคลื่อนย้ายไปเป็นแรงงานธุรกิจครัวเรือนสัดส่วนของแรงงาน ซึ่งแรงงานกลุ่มนี้เป็นกลุมแรงงานที่ได้ค่าจ้างต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำลดลงมาอย่างต่อเนื่อง

2015-06-25 14.03.48

ทำให้การจ้างแรงงานแบบใช้ค่าจ้างขั้นต่ำหลุดจากการบังคับใช้กฏหมาย อุตสาหกรรมขนาดกลาง ขนาดใหญ่ ที่มีกำลังการจ่ายค่าจ้างไม่ได้มีผลกระทบ อุตสาหกรรมขนาดกลาง และเล็ก มีผลกระทบบ้าง ด้วยไม่สามารถปรับตัวตามอัตราค่าจ้างที่ก้าวกระโดดได้ โดยสรุป การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอาจส่งผลกระทบกับแรงงานที่มีค่าจ้างต่ำอยู่ ซึ่งบางสถานประกอบการมีการปิดตัว และย้ายฐาน กระทบกับแรงงานที่ไม่มีทักษะฝีมือซึ่งนายจ้างใช้การจ้างงานค่าจ้างขั้นต่ำ แต่สถานประกอบการขนาดใหญ่ หรือกลางที่มีการปรับตัวได้ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใช้และจ่ายจ้างสูงในกลุ่มแรงงานฝีมือไม่กระทบมากนัก สิ่งที่ดูคือ ผลของการจ้างงาน และย้ายแรงงาน ชั่วโมงการทำงาน คนที่ทำงานทักษะต่ำอายุ 15 -65 ปี การจ้างงานในภาคเอกชนขนาดเล็กตั้งแต่ 10-99 คนในภาคอุตสาหกรรมลดลงหลุดออกจากแรงงานในระบบ

การปรับตัวของเอกชน คือมีการนำแรงงานประสบการณ์น้อยออกไป และนำแรงงานที่มีประสบการณ์เข้ามา กลุ่มเด็กมีผลกระทบต่อการจ้างงาน(อายุ 15-24 ปี) เป็นกลุ่มที่ทักษะต่ำอายุน้อย การจ้างงานจะเป็นกลุ่มที่มีความรู้เท่านั้น เป็นกลุ่มแรงงานที่มีทักษะ และมีการศึกษาสูง

หลังมีการประกาศค่าจ้างขั้นตรำ 300 บาทคนออกไปอยู่นอกระบบมากขึ้น และรอผลกระทบนั้นมาช้า กลุ่มแรงงานที่ทักษะน้อยหายไปจากระบบการจ้างงานใช้การจ้างงานกลุ่มแรงงานประสบการณ์ มีทักษะมากขึ้น

2015-06-28 09.18.21

หากเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นร้อยละ1 ผลต่อค่าจ้างพบว่า ผลค่าจ้างมีการปรับขึ้นทั้งระบบคนที่อยู่นอกภาคเกษตร ในภาคเกษตรน้อยมาก ซึ่งตอนนี้เรามีข้อมูลไม่พอว่าสถานประกอบการมีการนำเครื่องจักรมาใช้แทนแรงงานหรือไม่ สถานประกอบการขนาดใหญ่เท่านั้นที่อยู่รอดได้ในภาวะปัจจุบัน สิ่งที่พบในประเทศไทยแรงงานมีชั่วโมงการทำงานมีเพิ่มขึ้น แบ่งเป็นกลุ่มคนที่มีทักษะและไม่มีทักษะ พร้อมทั้งอายุน้อยอายุมาก ซึ่งมีความต่างหากมีการนำเครื่องจักรมาใช้ คนที่มีทักษะจะสามารถทำปรับตัวให้ได้รับการจ่างงานได้ดีกว่าคนที่ไม่มีทักษะ ก่อนวิกฤติค่าจ้างขั้นต่ำ ในระยะยาวที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ซึ่งรัฐควรมีการสนับสนุนเพื่อให้เกิดการแข่งขันทางธุรกิจ ผลทำให้เกิดคนที่มีทักษะจะมีค่าจ้างที่สูงขึ้นซึ่งอาจทำร้ายกลุ่มแรงงานไร้ฝีมือให้ไม่มีงานทำ

จากนั้นได้มีการอภิปราย “ค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมในบริบทสังคมไทย”

นางเพชรรัตน์ สินอวย ผู้ช่วยปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ปี 2556-2558 กรณีการเลิกจ้างคนงานซัมซุงที่จังหวัดนครราชสีมา ที่มีแนวโนมจะปิดกิจการย้ายฐานการผลิตไปเปิดที่ประเทศเวียดนาม จากตัวเลขผู้ประกันตนมาตรา 33 กฎหมายประกันสังคมลดลง แต่ตัวเลขการย้ายระบบเข้าประกันคนมาตรรา 39 เพิ่มขึ้น ส่วนการมามัครประผู้ประกันตนมาตรา 40 ยังน้อยในส่วนของแรงงานนอกระบบหรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งตัวเลขของการเคลื่อนย้ายจากมาตรา 33 ไปมาตรา 39 เป็นตัวชีวัดฐานการกลับไปอยู่บ้านของแรงงานที่อยู่ในระบบเอกชน แต่ไม่ได้หมายความว่าเป็นผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้าง หรือการเลิกจ้างแรงงาน อาจเป็นความต้องการที่จะกลับไปการพัฒนาภาคเกษตร ตามกระแสสังคมที่เน้นความยั่งยืนของภาคเกษตรมากขึ้น เพราะการที่เข้ามาทำงานในโรงงานของแรงงานปัจจุบันที่ต้องการค่าแรงที่สูงขึ้น มีระบบสวัสดิการที่ดี แต่เห็นว่ามีความไม่มั่นในการทำงานเลยไม่มีความสุขในการทำงานในระบบอุตสาหกรรม จึงเปลี่ยนเป้าหมายกลับสู่ชนบท เพื่อพัฒนาระบบเกษตรแนวใหม่ตามกระแส

ปรัชญาค่าจ้างขั้นต่ำ คือ ใช้กับคนที่มีความรู้น้อยไม่มีทักษะให้ได้รับค่าจ้างอย่างมีมาตรฐานรองรับขั้นต่ำ หากไม่มีมาตรฐานนี้อาจมีการเอาเปรียบของสถานประกอบการในการจ้างแรงงานได้ และยังเป็นการใช้ค่าจ้างในการแข่งขันทางการค้า เพื่อไม่ให้มีการใช้ฐานค่าจ้างเป็นการเาอเปรียบทางการค้า คือใช้ค่าแรงที่กดไว้ให้ต่ำเพื่อเอาเปรียบกันทางการค้า

2015-07-26 08.47.12

ค่าจ้างที่เป็นธรรมคือ กลุ่มค่าจ้างขั้นต่ำเป็นกลุ่มแรงงานที่มีการศึกษาน้อยเป็นแรงงานที่แรกเข้าทำงาน หลักเกณฑ์การกำหนดค่าจ้างถือเป็นกลไกในการคุ้มครองแรงงานที่แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี มีการกำหนดการปรับขึ้นค่าจ้างโดยใช้ระบบไตรภาคี มีการกระจายอำนาจในเสนอการปรับขึ้นค่าจ้างด้วย ผ่านอนุกรรมการค่าจ้างรายจังหวัดซึ่งเป็นระบบไตรภาคี อำนาจหน้าที่คณะกรรมการค่าจ้างคือ เสนอความคิดเห็น และให้คำปรึกษาแนะนำต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบาย และการพัฒนาค่าจ้าง และรายได้ มีอำนาจหน้าที่กำหนดแนวทางในการพิจารณาของนายจ้างในการปรับค่าจ้างตามภาวะเศรษฐกิจและสังคม เสนอกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ ให้คำแนะนำด้านวิชาการ และแนวทางการประสานประโยชน์แก่หน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป หรือปฏิบัติตามกฎหมาย หรือคณะรัฐมนตรีกำหนด หรือรัฐมนตรีมอบหมายเป็นต้น แนวทางต่อไปการกำหนดอัตราค่าจ้างตามฝีมือแรงงานเพื่อให้คนที่มีฝีมือได้รับการปรึบขึ้นค่าจ้างตามฝีมือที่มีการพัฒนาขึ้นให้มากกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ

ค่าจ้างขั้นต่ำต้องดูเรื่องความสามารถในการจ่ายของนายจ้างดูเรื่องเศรษฐกิจของนานาประเทศที่ส่งสินค้าไปขายด้วย ตอนนี้มีการพูดถึงการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งคณะกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำ ได้ให้อนุกรรมการค่าจ้างระดับจังหวัดเสนอตัวเลขของแต่ละจังหวัดเข้ามา โดยยึดหลักอัตราเงินเฟ้อ เศรษฐกิจในท้องถิ่นมีเพียงบางจังหวัดที่ไม่เสนอปรับขึ้นค่าจ้างเลย และขณะนี้คณะกรรมการค่าจ้างอยู่ระหว่างการรวมรวมข้อมูล เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีแนวทางหลักเกณฑ์การพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2559 ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามพื้นที่จังหวัด เนื่องจากพิจารณาแล้วเห็นว่าแต่ละจังหวัดมีค่าครองชีพ และสภาพเศรษฐกิจ สังคมที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับคณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัด จะพิจารณข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพราะอนุกรรมการฯไม่มีอำนาจในการตัดสินใจกำหนดอัตราค่าจ้างจึงมีหน้าที่และเสนอมายังคณะกรรมการฯ และเพื่อไม่ให้เป็นปัญหา และอุปสรรค์ต่อผุ้ประกอบการในการวางแผนการบริหารธุรกิจด้านค่าจ้างเงินเดือน จะแจ้งพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำให้ทราบล่วงหน้าประมาณ 30-60 วันก่อน

2015-07-26 08.47.45

นายสุชาติ จันทรานาคราช รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกล่าวว่า นายจ้างคิดว่า ค่าจ้างเป็นต้นทุนการผลิต ลูกจ้างต้องคิดว่าได้ค่าจ้างนายจ้างได้อะไรตอบแทน ซึ่งนายจ้างต้องคิดอีกว่าค่าจ้างจ่ายไปลูกจ้างพอกินหรือไม่ ลูกจ้างต้องใช้จ่ายอะไรบ้าง นายจ้างต้องคิดด้วยสินค้าหนึ่งชิ้นใช้แรงงานผลิต 3 คนเท่ากับวันละ 900 บาทคุ้มหรือไม่จะเพิ่มหรือปรับตัวเพื่อให้เกิดกำลังการผลิตอย่างไร หากต้องปรับขึ้นค่าจ้างวันละ 360 บาทนายจ้างจะอยู่ได้หรือไม่ คิดว่านายจ้างอยู่ไม่ได้ และขณะนี้ค่าจ้าง 300 บาทอยู่ได้หรือไม่

หลังจากที่รับบาลเข้ามาแทรกแซงการปรับขึ้นค่าจ้างประกาศปรับขึ้น 300 บาท ส่งผลให้โรงงานขนาดเล็กปิดตัวลงจำนวนมาก ต่อประเด็นทำไมโรงงานใหญ่ไม่ได้ปิดตัวหรือเกิดผลกระทบมีกำลังการจ่ายค่าจ้างได้และโรงงานเล็ก ไม่สามารรถจ่ายได้นั้นเป็นเพราะปัญหาผลิตภาพแรงงานหรือกำลังการผลิต (Production capacity)ที่ต่างกัน

การกำหนดปรับค่าจ้างแต่ละครั้งคณะกรรมการค่าจ้างมีหลายมิติที่ใช้เป็นหลักการมีทั้งเศรษฐศาสตร์ คุณภาพชีวิต และฝีมือแรงงาน แต่ในความเป็นจริงการปรับขึ้นค่าจ้างกลับเป็นการใช้อำนาจทางการเมืองเข้ามาแทรกแซง จนส่งผลให้เกิดวิกฤติต่อการบริหารจัดการของนายจ้าง หากถามว่าเห็นด้วยกับการมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำหรือไม่ตนไม่เห็นด้วยในขณะนี้ ควรให้การปรับค่าจ้างเป็นการต่อรองของลูกจ้างกับนายจ้างตามฝีมือแรงงาน

ศาสตราภิชาน แล ดิกวิทยรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอตั้งข้อสังเกตุต่อประเด็นการนำเสนอว่าหลักการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำตามหลักสากลคือ แรงงานหนึ่งคนสามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ คำถามปัจจุบันค่าจ้างขั้นต่ำของแรงงานเลี้ยงตัวเองยังยากต้องทำงานล่วงเวลาจนไม่มีเวลาให้ครอบครัว คำถามการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทำให้การจ้างงานลดลงนั้นเหมือนจะเสนอว่า ฉะนั้นไม่ควรปรับค่าจ้างขั้นต่ำหรือ ตนมองว่า การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำแล้วกระทบต่อสถานประกอบการขนาดเล็กอยู่ไม่ได้จริงๆก็รู้กันอยู่แล้ว ที่ว่าการขยับปรับตัวค่าจ้างขั้นต่ำต้องกระทบต่อต้นทุนการผลิต ในความเป็นจริงต้นทุนค่าจ้างค้อนข้างต่ำไม่ถึงร้อยละ10 และค่าจ้างที่ปรับเป็นเพียงค่าจ้างแรงงานแรกเข้าจริงไม่ใช่หรือ หรือว่านายจ้างใช้เป็นค่าจ้างขั้นต่ำจ้างแรงงานตลอดและธุรกิจก็ไม่ได้ปิดแบบผิดปกติ ซึ่งเป็นธุรกิจที่เจ็บไข้มีปัญหามาก่อนหน้าที่จะประกาศปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ก่อนหน้าแล้ว หากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำส่งผลต่อผู้ประกอบการเป็นอย่างนี้ควรให้ค่าจ้างลอยตัว เป็นอำนาจการต่อรองกันเองตามฝีมือแรงงานหรือ การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ใช่เป็นเพียงมาตรการทางเศรษฐกิจเท่านั้นยังเป็นหลักประกันทางสังคมด้วย ค่าจ้างขั้นต่ำต้องอยู่ได้อย่างเป็นมนุษย์แรงงานในสังคมไทยเป็นสมาชิกของสังคมไทยด้วยไม่ใช่แรงงานเดี่ยวๆ เมื่อมีงานทำต้องมีภาษีสังคมและเป็นรายจ่ายต่อสังคมค่าจ้างจึงไม่ใช่เพียงแค่ต่อลมหายใจเท่านั้น ในแง่เศรษฐกิจต้องทำให้แรงงานทำงานแบบผู้คนไม่ใช่แบบวัวแบบควาย ทำงานแบบสามารถกลับไปดูแลครอบครัวได้ การทำงานไม่ใช่ดูที่โรงงานที่มีงานล่วงเวลา(OT)หรอไม่ หากไม่มีไปหาโรงงานที่มีOTทำ ตัวอย่างหากว่าเงินค่าจ้างพอกินทำไมแรงงานจึงจะมีความสุขหรือความ่ดีใจเมื่อถึงวันหวยออก นั้นหมายความว่า แรงงานยังคงอยู่กับความฝัน และความหวังแบบอุบัติเหตุรอเงินหวย

ในความหมายค่าจ้างขั้นต่ำที่กระทรวงแรงงานกำหนดคือ เชิงเศรษฐกิจเท่านั้น หากจ่ายค่าจ้างตามประสิทธิภาพไม่เท่าค่าจ้างจะให้จ่ายอย่างไร ค่าจ้างแรงงานที่ทำงานมานานนับ10ปีขึ้นไปมีความเชี่ยวชาญชำนาญงาน นายจ้างได้จ่ายให้เขาเกินค่าจ้างขั้นต่ำหรือไม่ อย่างนี้เป็นการเอาเปรียบหรือไม่ ทำไมนายจ้างยังจ่ายค่าจ้างให้เท่ากับค่าจ้างแรกเข้าอยู่ได้ หรือหากเอาประสิทธิภาพไปจับแรงงานแรกเข้าคงไม่ได้ค่าจ้างเพราะว่าทำงานไม่เป็นต้องสอนงาน หรือทำชามก๋วยเตี่ยวแตกสมควรต้องถูกหักเงินด้วยในความเป็นจริงค่าจ้างคือมาตรฐานขั้นต่ำที่ต้องมีเพื่อให้การดูแลแรงงานแรกเข้างาน และการปรับค่าจ้างต้องมองมิติสังคมด้วยไม่ควรมองแบบเศรษฐกิจอย่างเดียว

ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยกล่าวว่า ค่าจ้างขั้นต่ำ คือระบบเศรษฐกิจทั้งสังคม เพราะเมื่อมีการขยับปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ค่าจ้างอย่างอื่นก็ปรับตัวด้วย แม้ว่าค่าจ้างขั้นต่ำจะเป็นระบบไตรภาคีที่มีการดูทั้งเรื่องเงินเฟ้อดูหลายปัจจัยทำให้ค่าจ้างเกิดปัญหาทางการเมืองซึ่งกลายเป็นฝ่ายตรงข้ามกันระหว่างกันนำไปสู่การตกลงตัดสินใจในข้อมูลแต่การปรับขึ้นค่าจ้างยังมาจากปัจจัยทางการเมืองเป็นเพียงการหาข้อเสนอมาแล้วปรับหรือไม่เป็นการตัดสินใจทางการเมือง ซึ่งเป็นปัญหาตามมาเดิมการปรับค่าจ้างขั้นต่ำปรับเพิ่มเพียงเล็กน้อยตามหลังGDP(ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ) ถูกกดให้ต่ำมาโดยตลอด ช่วงก่อนปี 2554 –2555เมื่อมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท จึงก้าวกระโดดแซงGDP แต่การที่ปรับค่าจ้างขั้นต่ำช้าทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น หากค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทครอบคลุมคนหนึ่งคนได้ สองคนหรือสามคน ก็มีปัญหาความยากจน ค่าจ้างขั้นต่ำฟื้นความยากจนหรือไม่ คนที่ครอบครัวทำงานคนเดียวมีร้อยละ37 ที่อยู่ใต้เส้นความยากจน ค่าจ้างทุกวันนี้ไม่ภด้ หากทำงาน สองคน เกือบ เกือบร้อยละ90 ที่อยู่พ้นเส้นความยากจนได้ แระเด็นสำคัญว่าจะกำหนดเท่าไรต้องสำรวจภาวะการมีงานทำมีสถานประกอบการจำนวนมากที่จ่ายค่าต่างไม่ครบ 300 บาท เหลือน้อยมากในปัจจุบันที่จ่ายค่าจ้างไม่เท่ากับกฎหมาย

ความจริงใหม่ค่าจ้างโดยรวมว่าจะสูงขั้นปลายปีหน้าจะดีกว่า แรงงานไร้ฝีมือจะลดลงในปี 2559 เศรษฐกิจฟื้นแรงงานลดลงค่าจ้างต้องสูงขึ้น และต้องเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานต้องมีการเพิ่มเรื่องเครื่องจักร หุ่นยนต์ซึ่งขณะนี้มีการนำเข้าการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอาจทำให้ผลกระทบกับแรงงานกลุ่มหนึ่งเพราะมีการเอาเครื่องจักร หุ่นยนต์ และย้ายฐานการผลิต การปรับค่าจ้างต้องลดความเป็นการเมือง การที่จะใช้ปัจจัย 7-8 ตัวมาใช้แค่ประยตัวฐานค่าจ้างให้ได้และดูเงินเฟ้อบวกกับประสิทธิภาพแรงงานที่ดีขึ้นต้องมีการปรับค่าจ้างขึ้น และไม่จำเป็นที่ต้องมีค่าจ้างเท่ากันทั้งประเทศเพราะเชื่อว่าเงินเห้อไม่เท่ากันทั้งประเทศ ลูกจ้างก็เห็นว่าควรเรียนต่อหรือไม่ นายจ้างก็ปรับตัวได้ว่าจะย้ายฐานหรือแรงงานที่มีความรู้แค่ไหน ไม่ควรนำการเมืองมาใช้ และอยากให้มีการถอยห่างจากการใช้อำนาจต้อรองเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำ ควรมีการใช้การต่อรองน้อยลง

2015-07-26 08.46.40

นายประสิทธิ์ ประสบสุข สหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทสไทยกล่าวว่าบริษัทที่อยู่เหนือการควบคุสของรัฐก็มีมาก นิยามเดิมค่าจ้างจะต้องเลี้ยงชีพครอบครัวได้ด้วย แต่ไปแก้ให้ค่าจ้างขั้นต่ำเลี้ยงเพียงปากท้องแรงงานแค่คนเดียว

ระบบไตรภาคีไม่ได้มีการดูเรื่องGDPเลย เป็นการเอาตัวเลขมานั่งต่อรอง การบอกว่าตัวแทนลูกจ้างเท่านั้น มีทั้งสหภาพแรงงาน และไม่มีสหภาพแรงงาน มีการแช่แข็งค่าจ้างขั้นต่ำตลอด มีการเพิ่มค่าจ้างน้อยมาก ท่ามกลางการปรับขั้นค่าจ้างที่ต่ำกว่า ค่าครองชีพการปรับขึ้นค่าจ้างค่าจ้าง 300 บาทจึง เป็นการชดเชยค่าจ้างที่ปรับน้อยมากเอาเปรียบขูดรีดแรงงานมากว่า 10 ปีแล้ว หากไม่มีการเมืองเข้ามาจัดการ ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำให้ลูกจ้างใครจะมาช่วยให้ลูกจ้างได้ค่าจ้างที่ถูกปล้นไปคืนมา หากปรับค่าจ้างไปดูเส้นความยากจนที่มองลูกจ้างเป็นคนไม่ใช่หุ่นยนต์ก็เห็นด้วย

นายวิชัย นราไพบูลย์ พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยเสนอว่า คนทำงานมา 30 ปีได้ค่าจ้างสูงกว่าขั้นต่ำเพียงเล็กน้อย แรงงานแบบนี้ถือว่ายังเป็นแรงงานไร้ฝีมือหรือ ทั้งที่ทำงานมานาน กับแนวคิดค่าจ้างที่จะปรับไม่เท่ากันทั้งประเทศนั้นจะลดความเหลื่อมล้ำได้อย่างไร เมื่อข้าราชการ พนักงานรัฐวิสากิจค่าจ้างเท่ากันทั้งประเทศ แต่แรงงานกลับถูกมองว่าไม่จะเป็นที่จะต้องมีค่าจ้างเท่ากันทั้งประเทศ ภายใต้ค่าใช้จ่าย ค่าครองชีพที่สูงเท่ากัน ตัวอย่างเช่น หากขับรถไปเติมน้ำมันที่เชียงใหม่ค่าน้ำมันแพงกว่ากรุงเทพปริมณฑลด้วย บวกค่าขนส่งทำให้บางพื้นที่ราคาสินค้าที่แพงกว่า หรือค่าเดินไปทำงานที่สูงกว่าอีก ฉะนั้นการที่จะกำหนดค่าจ้างชั้นต่ำแตกต่างกันหรือควรดูเศรษฐกิจ สังคมด้วย

นักสื่อสารแรงงานรายงาน