ลูกจ้างร้องคสรท.ถูกนายจ้างหักเงินไม่เป็นธรรม

Untitled-13

เวลา 07.50 น. ลูกจ้างบริษัทบริษัทอุปกรณ์ หมวกกีฬาแห่งหนึ่งได้ร้องทุกข์มาที่คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)กรณีถูกนายจ้างหักเงิน ลาคลอด ลาป่วย ลากิจ หักโบนัส แบบไม่เป็นธรรม

นางต้อย (นามสมมุติ) เล่าว่า รู้สึกอึดอัดกับการกระทำของนายจ้างที่หักเงินเพื่อนๆคนงาน รวมทั้งตนเองด้วย รู้สึกหมดกำลังกำลังใจที่ทำงานแล้วไม่มีเงินกลับบ้าน ไม่มีเงินเลี้ยงลูก เนื่องจากนายจ้างหักเงินโบนัสที่คิดว่าจะได้เป็นก้อนเดือนเมษายนนี้ ค่าจ้างก็ไม่เหลือถูกนายจ้างหักไปด้วย

 P3080198PA070507

“ทำงานกันมานานเวลาคนงานลาป่วยนายจ้างก็หักเงิน ลากิจก็หักเงิน ทั้งที่ลาก็ไม่ได้ค่าจ้างอยู่แล้วแต่มาหักเงินที่ทำงานอีก บางครั้งวันเดียวหักเงินเกือบพันบาท เพื่อนลาคลอดบุตรก็ถูกหักเงินโบนัส เรียกว่าหักเงิน เขาหักจนไม่มีกิน ไม่มีเงินซื้อนมให้ลูกกินด้วยพวกเราเริ่มทนไม่ไหวแล้ว เดือนนี้คิดว่าจะมีเงินกลับบ้านไปให้ลูกช่วงสงกรานต์แต่เห็นสลีปเงินเดือนแล้วแถมเป็นลมเพราะไม่เหลือเงินให้กลับบ้าน พวกเรารู้สึกหมดกำลังใจในการทำงานจริงๆ” นางต้อย กล่าว

นายวิสุทธิ์ เรืองฤทธิ์ ประธานสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย ตัวแทนคณะกรรมการสมานฉันท์ในพื้นที่สมุทรปราการ กล่าวว่า ปัญหาเท่าที่คุยเบื้องต้น กับคนงานพบว่ามีการกำหนดว่าเมื่อลูกจ้างลาป่วย 1 วันไม่มีใบรับรองแพทย์ นายจ้างถือว่าขาดงานนอกจากไม่ได้รับค่าจ้างแล้วยังถูกตัดค่าจ้าง หากลูกจ้างลาป่วยเกิน  5 วันต่อปี นายจ้างจะไม่จ่ายโบนัส หากลูกจ้างหญิงลาคลอด จากเดิมนายจ้างจ่ายค่าจ้างให้ 90 วัน ลดเหลือ 45 วัน ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ลูกจ้างที่ลาคลอดไม่มีสิทธิ์ได้โบนัส ตามอายุงาน (1 ปี= 22 วัน มากกว่า 1 ปี เพิ่มปีละ 3 วัน) จากเดิม ลาคลอดมีสิทธิ์ได้รับโบนัสตามปกติ เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณต่อลูกจ้าง และนายจ้างไม่ได้ประกาศให้ลูกจ้างทราบ ซึ่งตนได้ให้คำปรึกษาเบื้องต้น ให้ลูกจ้างไปร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน ล่าสุดทางนายจ้างได้เรียกน้องที่ร้องเรียนและลูกจ้างคนอื่นๆที่ไม่พอใจการกระทำของนายจ้างไปพูดคุย พร้อมทั้งมีการจับตาลูกจ้างกลุ่มนี้ ซึ่งหากมีการกระทำใดๆที่ไม่เป็นธรรมทางตนได้บอกให้ทางลูกจ้างโทรหาพร้อมให้ความช่วยเหลือและพาไปที่สวัสดิการจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อให้ลงมาตรวจสอบกระทำของนายจ้าง ซึ่งอาจมีการออกประกาศย้อนหลังเรื่องหลักเกณฑ์สภาพการจ้างด้งกล่าว อย่างไรอยากให้หันหน้ามาคุยกันดีๆกับลูกจ้าง

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน