รำลึก สืบสานเจตนารมณ์ สืบสานอุดมการณ์ “ตุลา ปัจฉิมเวช”

 

ตุลา T- shirt2DSC00864

เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2556 วัดอ้อมน้อย อ.ทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร กลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ ร่วมกันจัดกิจกรรมรำลึกครบรอบ 1 ปี การเสียชีวิต ตุลา ปัจฉิมเวช อดีตประธานสหภาพแรงงานการยางแห่งประเทศไทย และอดีตผู้นำแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ เพื่อให้ผู้ใช้แรงงาน สมาชิกสหภาพแรงงาน ทราบถึงการทำงานขับเคลื่อนขบวนการแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ผ่านการทำงานของอดีตผู้นำแรงงานอ้อมน้อยและตุลา ปัจฉิมเวช และเพื่อให้ผู้นำแรงงานรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานในอดีตและปัจจุบัน ทำให้เกิดความภาคภูมิใจ และสร้างแรงกระตุ้นในการเข้าร่วมการทำงานขับเคลื่อนแก้ปัญหาแรงงานร่วมกับขบวนการแรงงานDSC00893 DSC00876DSC00882 DSC00866

SAM_3415 SAM_3410

กิจกรรมรำลึก สืบสานเจตนารมณ์ สืบสานอุดมการณ์ ในงานช่วงเช้าพิธีสงฆ์ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับตุลา ปัจฉิมเวช และบัณฑิต จันทร์งาม อดีตผู้นำแรงงานที่ได้ร่วมต่อสู้เรียกร้องสิทธิให้กับผู้ใช้แรงงานในช่วงนั้น โดยมีผู้ร่วมงานกว่า 100 คน การฉายวีดีทัศน์ประวัติ และการอ่านบทกวีสดุดี โดยทวีป กาญจนวงศ์ ประธานมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

นางสาวสงวน ขุนทรง ผู้ประสานงานกลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย – อ้อมใหญ่ กล่าวว่าการจัดงานครั้งนี้ก็เพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณูปการของอดีตผู้นำแรงงานและที่ปรึกษาที่ชื่อ ตุลา ปัจฉิมเวช ในวาระครบรอบ 1 ปีการจากไป คุณตุลา หรือลุงตุลาเป็นถือเป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อขบวนการแรงงานโดยเฉพาะกลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ ที่ผ่านมาได้รับความช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแนะนำตั้งแต่เริ่มตั้งศูนย์อ้อมน้อย ก่อนเสียชีวิตได้มีบทบาทที่สำคัญคือการเข้าร่วมร่างกฎหมายแรงงานหลายฉบับที่สำคัญคือกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายประกันสังคม ฉบับเข้าชื่อของคนงาน จึงมีการจัดงานขึ้นเพื่อสืบทอดเจตนารมณ์และสืบสานอุดมการณ์ต่อไป

หลังจากนั้น เป็นการเสวนา โดยผู้ร่วมเสวนาอาทิ ป้าน้อย แตงอ่อน เกาฎีระ อดีตผู้นำแรงงานรุ่นก่อน นางสังเวียน ปัจฉิมเวช นางสาวสุรินทร์ พิมพา อาจารย์มาลี พฤกษ์พงศาวลี นายสมศักดิ์ โกศัยสุข นายยงยุทธ เม่นตะเภา นางสาวสงวน ขุนทรง นางสุนทรี เซ่งกิ่ง ดำเนินรายการโดย นางสุนี ไชยรส รองอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมาย

DSC00917 DSC00911

DSC00927 DSC00954

จากการเสวนา ผู้ร่วมเสวนาได้พูดถึงความยากลำบากของคนงานมีมาตลอด กระทั่งปี 2516 มีการเดินขบวนโดยเดินเท้าจากสมุทรปราการจนถึงสนามหลวง เป็นเวลา 8 วัน 7 คืน นำสมบัติส่วนตัวไปขายซื้อข้าวสารมาหุงกินกัน ในที่สุดได้ค่าแรงจากวันละ 12 บาท เพิ่มเป็นวันละ 20 บาท คนงานส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจคำว่าสหภาพแรงงาน มีการปิดงานบ่อย ไม่จ่ายค่าชดเชย ผู้นำคนงานถูกจับโดยไม่มีความผิด สุดท้ายก็หนีเข้าป่ากัน

การต่อสู้สมัยก่อนจะสู้แบบสามประสาน คือกรรมกร นักศึกษา และชาวนา รัฐบาลสมัยนั้นเห็นกลุ่มคนงานที่ต่อสู้เป็นคอมมิวนิสต์ และยังไม่มีกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ จนกระทั่งปี 2518 มีกฎหมายแรงงานสัมพันธ์คนงานลุกขึ้นต่อสู้เรียกร้องความเป็น ต่อมาเมื่อปี 2535 รัฐบาลได้มีการแยกขบวนการแรงงานออกจากกันคือแยกรัฐวิสาหกิจออกจากเอกชนโดยใช้กฎหมายเป็นตัวกำหนด

ช่วงที่ตุลามีบทบาทโดยร่วมกับบัณฑิตย์ จันทร์งาม มีการสไตร์คงานตุลาถูกเลิกจ้าง และย้ายที่ทำงานไปตามที่ต่างๆ เช่น อ่างทอง ตุลาไม่เคยเรียนกฎหมายแต่มีความรู้เรื่องกฎหมายและสามารถเข้าถึงปัญหาของคนงานได้อย่างแท้จริง และมองกฎหมายที่มีข้อจำกัดเพื่อนำมาต่อสู้ เพราะเป็นคนที่มีความจำดีสามารถจดจำรายละเอียดได้เป็นอย่างมาก ขับเคลื่อนกฎหมายในสภาและการต่อสู้เพื่อพิทักษ์สิทธิแรงงาน ได้เข้าไปเป็นคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชน ตุลา ได้มองสิ่งที่นอกเหนือกฎหมายในการละเมิดสิทธิจนสามารถเขียนรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชน ออกมาและกล้าที่จะเผยแพร่ คนจนๆที่ไม่ได้เรียนกฎหมายก็สามารถทำได้

ส่วนแรงงานนอกระบบก็ได้รับการช่วยเหลือให้ความกระจ่าง ความชัดเจนในแง่กฎหมายประกันสังคมมาตรา 40 รวมถึงการเข้าร่วมร่างกฎหมาย พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์และกฎหมายประกันสังคม ร่วมกับคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย

นายคงฤทธิ์ งามสง่า อดีตประธานสหภาพแรงงานรวมใจเพื่อนสัมพันธ์ กล่าวว่า เป็นคนงานที่มีโอกาสได้เข้ามาเรียนรู้กับกลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย – อ้อมใหญ่ และสหภาพแรงงานรวมใจเพื่อนสัมพันธ์ได้เข้ามาอยู่ในกลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย – อ้อมใหญ่ ได้รู้จักกับคุณตุลา และเขาได้พยายามชวนคุยว่ารู้จักแรงงานไหม ผมก็ตอบว่าไม่รู้ คุณตุลาก็บอกว่าคนเราต้องรู้จักรักษาสิทธิของตนเอง เวลาแกไปเวทีอบรม สัมมนา ก็จะพาไปด้วยบางครั้งเคยปฏิเสธงานที่แกชวนไป มาวันนี้เสียใจที่ไม่รับโอกาสไว้เพราะอาจจะทำให้ตนได้ความรู้มากกว่านี้ ดีใจที่ได้เป็นลูกศิษย์คนหนึ่ง จะพยายามสืบสานเจตนารมณ์ของพี่ตุลาเท่าที่สามารถจะทำได้

นายมงคล ยางงาม นักจัดตั้ง กล่าวว่า การที่พี่ตุลา พยายามอบรมกฎหมายให้กับแรงงานก็คงจะมีเป้าหมายเพื่อให้พี่น้องได้มีความรู้และเกิดความมั่นใจในการต่อสู้ และการที่พี่ตุลาได้รู้จักกับ คุณยงยุทธ เม่นตะเภา ได้พูดคุยถึงการควบรวมองค์กรก็เพื่อให้เราร่วมกันสร้างความเข้มแข็ง การประชุมกลุ่มต้องเข้าร่วมเพราะถือเป็นบันไดขั้นแรกของการรวมกลุ่มของแรงงาน

100_7478 DSC00962

DSC00988 DSC01038

นางสาวดาวเรือง ชานก ประธานสหภาพแรงงานแอลทียู กล่าวว่า “ลุงตุลา เป็นผู้ให้ทั้งคำแนะนำและคำปรึกษาด้านกฎหมายแรงงานอย่างเอาจริงเอาจังเมื่อปี 2551 ตนถูกเลิกจ้างและไม่ยอมรับค่าชดเชยจึงไปปรึกษากลุ่มย่านอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ โดยมีลุงตุลาเป็นผู้ให้คำแนะนำและชี้ช่องทางการต่อสู้จนสามารถชนะกลับเข้าทำงานได้อีก ที่สำคัญมักจะสอนให้รู้จักรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายและเป็นคนตรงต่อเวลา”

นางสาวคุ้มเกล้า ส่งสมบูรณ์ ทนายอาสากลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ ช่วงปี 2548 – 2549 “เล่าถึงความประทับใจที่ได้มาทำงานที่กลุ่มย่านฯ และได้ทำงานและรู้จักกับลุงตุลา ซึ่งถือว่าตนเป็นลูกศิษย์และถูกมักจะถูกตั้งคำถามจากลุงเสมอ เป็นคำถามให้เราได้คิดและหาวิธีช่วยเหลือคนงานที่ถูกละเมิดสิทธิ จำคำที่ถูกตำหนิอยู่ครั้งหนึ่งว่า เป็นนักกฎหมายต้องไปยื่นฎีกาในวันสุดท้ายคิดว่าทำดีแล้วหรือ คิดว่าเป็นปัญหาของคนงานจึ่งไม่ให้ความสำคัญ ถ้าคิดว่าเงินเป็นตัวสำคัญกว่าปัญหาคนงาน มาทางไหนก็ให้กลับไปทางนั้นซะ ทำให้ต้องนอนคิดทั้งคืน จนสุดท้ายลุงก็เป็นฝ่ายโทรหาว่ามีคนงานที่ต้องการความช่วยเหลืออีกหลายกรณีให้เตรียมตัวไว้”

ตุลานอกจากจะเป็นนักกฎหมายแล้วยังเป็นคนที่ชื่นชอบในบทเพลงเพื่อชีวิตแรงงานอีกด้วย เป็นคนชอบร้องเพลงและสอนให้คนงานร้องเพลง และพูดเสมอว่าเป็นคนงานก็ต้องร้องเพลงที่เกี่ยวกับคนงานให้ได้เพราะเป็นวัฒนธรรมที่ต่อสู้ร่วมกับคนงานตลอดมา

แต่จากอาการเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งลำไส้ ทำให้คุณตุลาต้องหยุดพักรักษาตัวเป็นเวลากว่า ๓ เดือน และเสียชีวิตลงอย่างสงบ ณ โรงพยาบาลเพชรเวช กรุงเทพฯ ในช่วงเช้าของวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๕ โดยฝากร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ (ฉบับที่..) พ.ศ. ….(ฉบับขบวนการแรงงาน) เป็นผลงานชิ้นสุดท้ายที่ร่วมเป็นคณะกรรมการยกร่างกฎหมายไว้ให้กับขบวนการแรงงาน ได้ร่วมขับเคลื่อนผลักดันให้เป็นจริงให้จงได้

บทกวี  กล่าวคำสดุดีคุณตุลา   ปัจฉิมเวช

อันดีชั่วตัวตายเมื่อภายหลัง             ชื่อก็ยังยืนอยู่ไม่รู้หาย

คุณตุลาปัจฉิมเวชทำดีไว้                     ไม่มีวันเสื่อมคลายเลือนหายไป

เป็นความดีที่ไม่มีวันสิ้นสุด                เป็นวีรบุรุษสุดเลื่อมใส

เป็นปูชนียบุคคลตลอดไป                  เป็นนักประชาธิปไตยในแรงงาน

มอบสิทธิอันพึงมีอันพึงได้                  มอบความรู้ด้านกฎหมายให้ลูกหลาน

มอบชีวิตอันสดใสให้แรงงาน             มอบความรู้อันเชี่ยวชาญ  ในงานทำ

ท่านนั้นหรืคือผู้เสียสละ                      ท่านนั้นคือพ่อพระผู้เลิศล้ำ

ท่านเป็นนักผดุงยุติธรรม                    ท่านเป็นผู้แนะนำทำความดี

เหล่าญาติมิตรสหาย  ได้ร่วมกัน         มาทำบุญให้ท่านในวันนี้

เนื่องในโอกาสบรรจบครบรอบปี       ท่านจงมายินดีในผลบุญ

จิตวิญญาณของท่านอยู่ภพใด              ผลบุญนี้จงไปได้เกื้อหนุน

จากแรงใจศรัทธาเนื้อนาบุญ                จงเกื้อกูลสู่สัมปรายิกะภพ สงบเทอญ

โดย  นายทวีป    กาญจนวงศ์

                                              ประธานมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

นักสื่อสารแรงงาน กลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ รายงาน