รัฐวิสาหกิจและองค์กรแรงงานกับการพัฒนาภาคใต้

โครงการสืบสานประวัติศาสตร์แรงงานภาคใต้ โดยมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ร่วมกับสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ สนับสนุนโดยสถาบันทิศทางไท วันที่ 17 กันยายน 2560  ห้องประชุมชั้น 2 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้จัดเสวนา เรื่อง “รัฐวิสาหกิจและองค์กรแรงงานรัฐวิสาหกิจกับการพัฒนาภาคใต้” ซึ่งเริ่มจากการแสดงดนตรีโดยวงภราดร และฉายวิดีทัศน์ “ประวัติศาสตร์แรงงานรัฐวิสาหกิจ”  ดำเนินรายการโดย นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย วิทยากรประกอบด้วย

  1. ดร.สินาด ตรีวรรณไชย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
  2. น.พ. สุภัทร ฮาสุววรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ สงขลา (ชมรมแพทย์ชนบท)
  3. ดร.พงษ์ฐิติ ศิลาพงศ์ ประธานสหภาพแรงงาน ที โอ ที จำกัด (มหาชน)
  4. นายปิยะโชติ อินทรนิวาส สื่อมวลชนภาคใต้
  5. นายภาณุมาศ ทันซื่อ องค์กรรัฐวิสาหกิจการเกษตรและสหกรณ์แห่งประเทศไทย

 

นายปิยะโชติ อินทรนิวาส กล่าวว่า โลกหมุนมาทุนมีการเปลี่ยนไปเช่นเดียวกับการพัฒนา ฐานความคิดสื่อมวลชน ให้เห็นอดีต และปัจจุบันมีการเชื่อมโยงกัน หากมองโลก มีเพียง 3 ติ่ง มียุโรป ตะวันออกกลาง อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ อีกติ่ง คือ เอเชีย ซึ่งมีการเชื่อมด้วยคลอง ซูเอส ปานามา  ซึ่งเป้นไปตามความเจริญของโลก ที่เอเชียมีการ มีการกล่าวถึงคลองคอดกะ  แต่ว่ามีช่องแคบต่างๆที่มี แต่ตอนนี้อาจไม่ใช่แบบนั้น และไทยก็มองว่าเราควรขุดคลองหรือไม่ แต่ว่าเอาไว้ การเกิดขึ้นของแนวคิดในการพัฒนาปิโตเคมีแห่งใหญ่ แต่ว่าวันนี้ไม่เพียงพอ มีแนวคิดในการทำระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ มีการสร้างถนนเซาเทริ์นซีบอร์ดไม่เพอ ก้มีการคิดพัฒนาสงขลา ท่าเรือหัวท้าย ถนนมอเตอร์เวย์ เชื่อม 2 ฝั่ง และเราก็ไม่เอาคลองไทย เพราะกลัวเสียดินแดน มีโครงการรถไฟ อุตสาหกรรม แนวทางการสร้างท่าเรือน้ำลึก

พัฒนาสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ เมื่อปี 2536 ซึ่งทับช่องแคบมาละกาอยู่ สิงค์โปร์เป็นศูนย์กลางโลกเพราะว่าการอิงราคาน้ำมัน อยู่ที่สิงคโปร์ และมาเลเชียขอเชื่อมแลนด์บริด แต่ไทยต้องการที่จะเชื่อมแลนด์บริดของไทยเอง ซึ่งการลงทุนกว่าแสนล้านบาทแต่ไม่มีรถวิ่ง มีทั้งท่อก๊าซ และรถไฟ แต่ว่าไม่ได้ใช้ ตอนนี้ที่ลงขลา ก็มีโรงแยกก๊าซ  และมีการเตรียมจะตั้งโรงแยกก๊าซอีกหลายพื้นที่ รวมถึงที่จะนะด้วย นี่คือโครงสร้างพื้นฐานของการพัฒนาอุตสาหกรรม เป็นการนำน้ำมันมาจากตะวันออกกลาง แล้วนำมากลั่นที่ภาคใต้ และนำส่งให้กับประเทศที่ต้องการ ซึ่งร้อยละ 80 ส่งเข้าประเทศจีน ภายใต้ทั่วโลกมีแนวคิดในการที่จะลดการใช้น้ำมัน หรือพลังงานฟอสซิล  เป็นแนวคิดที่ผลิตซ้ำของทุน แบบเดียวกับการพัฒนาอิสเทิร์นซีบอร์ด และซาวเทรินซีบอร์ด คือแนวคิดแบบเดียวกัน การที่เกิดขึ้นภาคใต้คือ แนวคิดการหากินกับฟอสซิสชุดสุดท้ายของทุน  ทุนที่ใหญ่ที่สุดของไทย คือทุนรัฐวิสาหกิจที่จะใช้ในการลงทุน ซึ่งวันนี้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) เป็นคนยึดครองเรื่องผลิตน้ำมันทั้งหมด การสร้างท่าเรือก็เป็นการท่าเรือที่ลงทุนและครอบครองพื้นที่ทางทะเล ประเทศไทยกำลังจะเป็นศูนย์กลางของการผลิตพลังงานฟอสซิสชุดสุดท้ายของโลก ซึ่งการพัฒนาของประเทศไทยทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยคนจนจำนวนมาก ด้วยส่งเสริมเพียงระบบทุน ไม่ได้ให้ความสำคัญทางสังคม เรื่องคุณภาพของคน เรื่องปากท้องความเป็นอยู่ ผลคือความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยคนจนจึงสูงขึ้น

ประเทศไทยติดอันดับต้นในการใช้โซเซียลมีเดีย Facebook มากที่สุด แต่โลกกำลังจะผลิกแล้วในการที่จะพัฒนาจากการใช้พลังงานฟอสซิสเป็นการใช้พลังงานสะอาด เป็นการพัฒนาแบบอาจทำให้สังคมได้รับผลกระทบน้อยที่สุดด้านสิ่งแวดล้อม แต่ด้านแรงงานการพัฒนาอาจมีผลกระทบด้านความมั่นคง ซึ่งหากรัฐใช้การพัฒนาแบบนี้โดยการแปรรูปก็จะส่งผลกระทบต่อประชาชน สังคมด้วย ถามว่า กล้าหรือไม่ในการที่จะแสดงจุดยืนร่วมกันเพื่อให้เกิดการดูแลสิทธิสวัสดิการและเพื่อประชาชน

ดร.สินาด ตรีวรรณไชย กล่าวว่า การพัฒนาการลงทุนต้องเป็นรัฐวิสาหกิจ ด้วยว่าต้องใช้เงินจำนวนมาก เนื่องจากนักลงทุนคงไม่กล้าที่จะลงทุน ซึ่งรัฐวิสหกิจเป็นการลงทุนด้วยรัฐ จึงทำได้ง่ายและรัฐเป็นเจ้าของเกินร้อยละ 50 หรือร้อยเปอร์เซ็นต์แล้วแต่กฎหมายกำหนดแต่ละรัฐวิสาหกิจ และมีบทบาทคือผู้ผลิตและแสวงหาผลกำไรระดับหนึ่งด้วย แต่การบริการต้องการที่จะให้ประชาชนอยู่ดีกินดีได้รับสวัสดิการพื้นฐาน

สาเหตุที่มีรัฐวิสาหกิจ คือต้องการให้ประชาชนได้รับบริการด้านสวัสดิการพื้นฐาน เช่น กรณีไฟฟ้าหากต้องมีการแข่งขันกันหลากหลายบริษัทแบบต่างคนต่างตั้งเสาแต่ละบ้านคงเป็นอะไรที่ระโยงระยางกันเต็มไปหมด แต่ละรายก็ต้องมีการหาลูกค้า และแข็งขันกันให้บริการ และต้องลงทุนสูง ทำให้ต้องขายแพง ทุนใหญ่อาจยืนได้นานในระบบแข่งขันเมื่อสู้ไม่ไหวทุนใหญ่ก็ครองตลาดและเข้าสู่ระบบผูกขาดทำให้ประชาชนต้องใช้ของแพง และส่งผลให้ประชาชนส่วนหนึ่งไม่สามารถเข้าถึงการบริการพื้นฐานนั้นๆ ซึ่งตรงนี้จึงเป็นบทบาทรัฐวิสาหกิจที่ต้องลงทุนผลิตจำนวนมาก เพื่อให้บริการเข้าถึงประชาชนทุกคน ทุกครัวเรือน และการแปรรูปหากเป็นการทำให้ประชาชนรับบริการที่แพงขึ้นด้วยความต้องการแสวงหากำไร ประชาชนคงไม่เห็นด้วย และหากมีการเปิดแข่งขันกันในการลงทุน การแข่งขันก็อาจทำให้ทุกฝ่ายขาดทุน และเป็นภาระให้ประชาชนที่ต้องจ่ายแพง คงไม่เห็นด้วยแน่ หากกล่าวถึงการแปรรูปทำแบบไหนนั้น หากเป็นการแปรรูป เพื่อปรับปรุงแล้วทุกคนได้ประโยชน์ได้รับการบริการที่ดีขึ้น ราคาเป็นธรรมรัฐวิสาหกิจได้ประโยชน์คงดี แต่หากแปรรูปเพื่อขายรัฐวิสาหกิจให้กับนักลงทุน ซึ่งจะทำให้สังคมไม่ได้รับการดูแล ไม่สนองตอบต่อประชาชน ด้วยการลงทุนก็ต้องให้เกิดผลกำไร ฉะนั้นคนที่ต้องการบริการดีก็ต้องจ่ายแพง ซึ่งการพัฒนาของรัฐวิสาหกิจเป็นการลงทุนโดยรัฐ แนวคิดเพื่อประชาชน แต่หากวันนี้การพัฒนารัฐวิสาหกิจเพื่อให้กลุ่มทุนเข้ามาแสวงหากำไรจากประชาชนนั้นคงไม่ใช่แนวคิดการเกิดขึ้นมาของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งส่งผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่

หากกล่าวถึง การพัฒนาจังหวัดสงขลา เดิมเมืองอยู่ที่สงขลาแต่เมื่อมีการพัฒนาสร้างทางรถไฟมาถึงอำเภอหาดใหญ่ ทำให้เกิดการพัฒนาที่หาดใหญ่เป็นการขยายตัวของเมืองใหญ่ด้านเศรษฐกิจ ซึ่งการพัฒนาของเส้นทางรถไฟทำให้มีการขยายของความเจริญ มีไฟฟ้า ประปา โทรคมนาคม แบบถนนไปทุกพื้นที่ มีความเจริญสร้างความสะดวกสบายมากขึ้น ทุกครั้งที่จะมีการขยายสาธารณูประโภคไปทุกที่ รัฐไม่ค่อยมีการศึกษาแบบกว้างๆ ไม่ได้การรับฟังความคิดแบบทั่วถึง ผลการสำรวจออกมาน่าอายมาก เห็นว่าไม่เป็นกลาง และไม่เป็นธรรมต่อชุมชนชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบในการพัฒนา งานนี้คนที่ได้ประโยชน์ คือคนที่ทำการศึกษาด้านผลกระทบ การที่จะให้การศึกษามีคุณภาพต้องผู้ทำการศึกษา จะต้องเป็นผู้ที่ไม่ได้มีผลประโยชน์และมีการเปิดกว้างในการรับฟังข้อเสนอแนะจากพื้นที่จริงๆเท่านั้น ผลการศึกษาจึงจะเชื่อถือได้ และมีคุณภาพ

ท่าเรือที่เกิดขึ้นที่ปากบารา ที่ภาคใต้นั้นมีการตั้งคำถามเรื่องการทำการศึกษา เพราะขาดคุณภาพ ภาคใต้การพัฒนายังมีการทำอย่างต่อเนื่อง การมีแรงงานข้ามชาติเข้ามาทำงานในพื้นที่จำนวนมากเพื่อช่วยพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาส่งผลการจ้างงาน และการทำงานร่วมกันทั้งแรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ และแรงงานรัฐวิสาหกิจ คำถามว่า จะเป็นการพัฒนาที่เป็นธรรมให้แรงงานได้ประโยชน์นั้นควรเป็นรูปแบบไหนที่ทำให้เกิดความเท่าเทียม การรวมกลุ่มกันเพื่อปกป้องสิทธิ การสร้างอำนาจต่อรรองได้อย่างไร หรือว่าจะทำให้เกิดประโยชน์ในการจ้างงานจริงหรือไม่

การที่มารวมกันของคนก็เพื่อต้องที่จะแก้ปัญหาร่วมกัน เมื่อกล่าวถึงการพัฒนาจะทำให้คนในสังคมดีขึ้นหรือไม่ การกระจายไปใครจะได้รับ ใครได้ก่อน หรือได้หลัง การที่ประชาชนมาขัดแย้งกับทิศทางการพัฒนาของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) เพราะว่า ปัญหาด้านความคิดขององค์กรไม่ใช่บุคคล และการพัฒนาที่เสนอตามโลกภายนอกไม่ได้ทำให้การพัฒนาเพื่อให้คนได้รับประโยชน์จริงไหม การศึกษาในมหาวิทยาลัย มีหลายเรื่องมีถึงการพัฒนาพัฒนาที่ทำให้คนได้รับผลกระทบ นโยบายด้านแรงงาน ซึ่งการพัฒนาตอนนี้ต้องได้รับการวิจารณ์แน่นอนเพราะว่า เป็นการพัฒนาภายใต้รัฐบาลทหาร ซึ่งไม่มีระบบประชาธิปไตย แน่นอนว่าประชาชนก็มีปฏิกริยาต่ออำนาจรัฐ แม้ว่าจะไม่ได้แบบเต็มที่ก็ตาม และการพัฒนาของแรงงานในการที่รัฐมีการบีบเข้ามามากๆแรงงานก็จะไม่กลัวที่จะตกงานแน่นอน แรงงานที่มีทักษะที่หลากหลายก็หางานได้ง่ายมากขึ้น ผลกระทบที่จะลดได้หากมีการทำให้คนงานได้พัฒนาทักษะที่หลากหลาย

 

ดร.พงษ์ฐิติ พงษ์ศิลามณี กล่าวว่า การสื่อสารโทรคมนาคมนั้นเกิดขึ้นภายใต้แนวคิด เพื่อการยกเรื่องคุณภาพชีวิตของประชาชน และตอนนี้มีการพัฒนาไปสู่ยุคที่ 4 เป็นยุคดิจิตอลแล้ว และการสื่อสารต่อไปทุกคนต้องเข้าถึง และยุคต่อจากนี้จะอย่างไร เพราะการสื่อสารโทรคมนาคม มีการแปรรูปหรือขายไปแล้วเมื่อปี 2544 เดิมการต้องใช้เครือข่าย แต่ปัจจุบันการใช้ระบบโครงข่าย ไม่ใช่การพาดสายทำให้ไม่ต้องลงทุนที่สูงเหมือนเดิม หากเข้าสู่สังคมดิจิตอลเต็มตัว ซึ่งระบบทุนต้องการที่จะมาลงทุน เอกชนมีการระดมทุนได้ และเมื่อรัฐวิสาหกิจบอกว่าไม่ต้องการที่จะให้มีการลงทุน และด้วยรัฐไม่อยากเป็นหนี้สาธารณะ หากมองแนวคิดรัฐในต่างประเทศจะมีการลงทุนเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการ และเป็นสวัสดิการพื้นฐานทางสังคม แต่ว่าประเทศไทยไม่ได้คิดที่จะให้มีการบริการแบบที่ให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิในการเข้าถึงบริการของรัฐวิสาหกิจ การสื่อสารโทรคมนาคมของภาครัฐ และเมื่อเข้าสู่สังคมดิจิตอลแล้วจะทำให้คนที่อยู่ในต่างจังหวัด ที่ห่างไกลอาจไม่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ต ความหมายของการมีรัฐวิสาหกิจอย่างบริษัททีโอทีนั้นก็เพื่อการให้บริการกับประชาชนในชุมชนที่อยู่ห่างไกล เมื่อเรามีไวเล็ตที่เข้าถึงทุกชุมชนที่ห่างไกลในการใช้ประโยชน์ เป็นการให้บริการที่ไม่ใช่การแสวงหากำไร

บริษัททีโอที กับ CAT ไม่ได้ขาดทุนเพราะบริหารไม่เป็น แต่เป็นเพราะความเชื่องช้าของภาครัฐ และไม่มีความคล้องตัวสู้กับเอกชนได้ ทำให้เกิดความล่าช้า และรัฐเองกลับมองว่า รัฐวิสาหกินทำให้เกิดปัญหาต้องการที่จะแปรรูปและขายไป โดยที่จะให้เป็นรูปบริษัท และมีการโอนย้ายให้ทุนเข้ามาลงทุนและมีการแปรรูปออกไปทำให้เกิดการบริการที่คิดว่า ต้องแพงขึ้น ประชาชนก็จะได้รับผลกระทบมากขึ้นแน่นอน การที่ทุนเข้ามาตรงนี้ทำให้เกิดการพัฒนาแน่นอนแต่การพัฒนานั้น คงไม่ได้ทำให้ทุกคนเข้าถึง แต่อาจทำให้คนจนที่อยู่ห่างไกลไม่ได้รับการบริการพื้นฐาน

หากไม่มีการปรับตัวในองค์กรก็คงลำบากในการที่จะมีการบริหารงานที่ขับเคลื่อนได้ง่ายขึ้น เช่นการทางพิเศษที่มีการระดมทุนผ่านการขายพันธบัตรรัฐบาล เป็นการลงทุนสร้างทางมีการลงทุนที่ส่งผลกำไร และวันนี้มีการนำไปให้ทุนเข้ามาบริหารจัดการแสวงหากำไร ซึ่งในส่วนของบริษัททีโอที ก็มีการคิดที่จะให้บรรษัทไปลงทุนในตลาดหุ้นและมีการออกกฎหมายที่ทำให้การถือหุ้นที่เพิ่มมากขึ้น การถือสิทธิ์ขาดก็จะทำให้ทีโอทีขาดการเป็นรัฐวิสาหกิจและส่งผลกระทบต่อประชาชนในด้านสิทธิขั้นพื้นฐาน การขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการผลักดันค้านนโยบายการแปรรูป

นายภานุมาศ ทันซื่อ กล่าวว่า การพัฒนาภาคใต้ คือเกษตรกรรมเป็นการพัฒนาที่พึ่งต่างประเทศเช่น ยางพารา ปาลน้ำมัน อาหารทะเล ก็พึ่งพิงตลาดต่างประเทศ ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ดูแลเกษตรกรภาคใต้ 7 ล้านกว่าครัวเรือน ซึ่งไม่ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายอะไรที่เกี่ยวกับคนจน หรือด้านเกษตรกรรมจะลงมาที่ธกส. ถามว่า กลัวปัญหาหรือไม่นั้น ด้วยธกส.ถือหุ้นโดยรัฐร้อยละ 90  และธกส.มีการปรับทิศทางกลางน้ำ ปลายน้ำ เพื่อนำสู่เกษตรกร มีการปรับตามกลุ่ม คือกลุ่มขนาดเล็ก แก้หนี้นอกระบบ และนำเกษตรกรสู่สมาร์ทฟาร์มเมอร์ ตามนโยบายเกษตร 4.0 และปรับเข้าสู่ยุค SME เมื่อพัฒนาสู่ผู้ประกอบการภาคเกษตร ซึ่งก็มีการเชิญไปอบรมพัฒนาให้ความรู้เกษตรกร ซึ่งไปดูงานในแต่ละพื้นที่ รวมถึงต่างประเทศ มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้สินเชื่อทุกตัว คือการแปรรูปเพื่อมูลค้าเพิ่ม เช่น หมอนยางพารา รองเท้าเพื่อสุขภาพ เช่นที่จังหวัดพัทลุงก็มีการส่งเกษตรกรที่มีความรู้ไปอบรม แล้วกลับมาพัฒนา ข้าวสังข์ยด ใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาแบร์นสินค้า มีการพัฒนาลูกค้า สินค้า มีการดำเนินทางในการช่วยเหลือเกษตรกรตลอด มีการพัฒนาราคายางทั้งระบบ มีการให้สถาบันเกษตรกร เน้นเรื่องการแปรรูป เป็นการดึงปริมาณยางที่จะส่งออกอย่างเดียวมาผลิตสินค้าเองด้วย

เกษตรกรชาวนา มีการพัฒนาที่เกี่ยวกับนาข้าว หลักที่มีปัญหาประสบอุทกภัย น้ำท่วมก็มีการชลอหนี้สิน ให้สินเชื่อเพื่อการพัฒนาพื้นที่ก่อน และยังมีการรวมเป็นเกษตรแปลงใหญ่ มีการให้ทุนรถไถ่ เป็นการยกคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้กินดีอยู่ดีมากขึ้น มีการพัฒนาเรื่องการเงิน การออมทรัพย์ การใช้เทคโนโลยี ใช้นวตกรรม ใช้แอพพิเคชั่นในการสร้างตลาด และการวางแผนเรื่องการเงิน ธุรกิจ แต่การใช้เทคโนโลยีต้องรู้เท่าทันเทคโนโลยีด้วย

นพ. สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ กล่าวว่า แพทย์คือชนชั้นผู้ใช้แรงงาน ทำงานลงแรงแต่ได้เงินเดือนสูงเท่านั้น ซึ่งแพทย์ส่วนใหญ่ไม่คิดว่าตนเองเป็นแรงงาน แต่ตอนนี้หัวอกเหมือนกัน เรื่องความไม่มั่นคงในอาชีพ คือเผชิญกับทิศทางการพัฒนาประเทศใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นแรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ เกษตรกร ชาวประมง ทิศทางการพัฒนาที่มาชะตากรรมเดียวกัน การโถมเข้ามาของอำนาจทุน และรัฐ ชาวบ้านที่เทพา จังหวัดสงขลา ที่คัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินนั้น การที่มีการศึกษาสภาพแวดล้อมที่ออกมามันไม่สอดคล้องกับความจริงในชุมชนบ้านเทพาที่มีสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์มากมี แต่ผลการศึกษาที่รายงานต่อรัฐ เพื่อให้รัฐอนุมัติสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินได้ คือรายงานว่าที่เทพามีปู ปลา น้อยมาก แถมมีปลาน้ำจืด เป็นการทำEHIAที่ขาดการมีส่วนร่วมเป็นงานที่ไม่น่าเชื่อถือมากๆที่เรียกว่า ขี้ช่อในการทำประชาพิจารณ์ ทำข้อมูล

คำถามต่อประเด็นการแปรรูปรัฐวิสาหกิจว่า แล้วรัฐวิสาหกิจ มีประสิทธิภาพดีจำเป็นต้องแปรรูปหรือ ประเทศในยุโรป เป็นการแปรรูปเพื่อให้ทำงานเพื่อสังคม เช่นโรงพยาบาล จะเป็นการบริหารของมูลนิธิ แสวงหากำไรเพื่อสังคมไม่ใช่เพื่อทุน

ชาวบ้านในปลีกพลังงาน ก็คิดว่าจะไปต่ออย่างไร คือ จะยึดฐานที่มั่นของตนเอง ป่าอานุรักษ์ ทำบ้านให้แข่งแรง ให้อำนาจรัฐ และทุนมาโจมตีให้ยากที่สุด การชูธงเขียวเดินเพื่อสร้างสนามให้พี่น้องได้ออกกำลังกายเพื่อให้เกิดความแข็งแรง จึงนัดกันเพื่อเดินออกกำลังกายทุกเดือน เป็นการวอร์มกำลังให้กล้ามเนื้อแข็งแรง กล้าที่จะเดินหรือไม่ และคิดว่าการแปรรูปรัฐวิสาหกิจรอบนี้น่าจะเผาจริง ซึ่งการอยู่ภายใต้รัฐบาลทหาร ที่ไม่ใช่ระบบประชาธิปไตย คงจัดการได้ง่ายต่อการออกและใช้กฎหมายเช่น มาตรา 44 ก็มาใช้ได้ตลอด การต้องใช้พลังงานสะอาดมีความจำเป็นมาก ต้องมีการพัมนาโรงพยาบาลตอนนี้มีการใช้โซล่าเซลล์แล้ว ตอนนี้ชีวิตแรงงานอยู่ยากมากการใช้ชีวิตจะอยู่ได้อย่างไรภายใต้ค่าจ้างสุดต่ำ อย่าพูดถึงค่าจ้างขั้นต่ำ 700 บาทเลย แค่ค่าจ้างปรับขึ้น 350 บาทก็ยังไม่แน่ใจได้หรือไม่ ตอนนี้ชีวิตแรงงานยอมกินมาม่า เพื่อนำเงินมาเติมมือถือใช้ในการสื่อสาร เป็นเรื่องที่ท้าทายขบวนการผู้ใช้แรงงาน ในการต่อสู้ ซึ่งขบวนการแรงงานในต่างประเทศที่มีการนัดหยุดงานกับเพื่อเรียกร้องสวัสดิการกัน แต่ประเทศไทยนั้น จะมีการเคื่อนไหวอย่างไรท่ามกลาง สถานการที่รุกหนักของรับ และทุนที่กดดันแรงงานอยู่ทุกด้าน

คิดว่า พลังแรงงานมีความสำคัญ และถือว่า เป็นเสาหลักทางสังคมด้วย การที่จะเรียกร้องค่าจ้างอย่างเดียวคงไม่พอ หยุดตรงนั้นมาร่วมกับชาวบ้านในการขับเคลื่อน ต้องเข้าใจว่าเพื่อมีปืน เพื่อนมีกฎหมาย เพื่อมีอำนาจ การที่จะต่อสู้กับระบบนี้ก็ต้องมีกรรวมพลังให้เป็นหนึ่งเดียว แรงงานช่วยสังคม แล้วสังคมช่วยแรงงาน และเชื่อว่าการขับเคลื่อนจากพื้นที่ที่อำนาจรัฐอ่อนกว่ากรุงเทพฯที่แข็ง การเริ่มจากพื้นที่ก่อนให้สำเร็จเพื่อการหนุนช่วยกันในพลังสังคมช่วยเคลื่อนกับประเด็นแรงงาน

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน