รมว.แรงงาน สุชาติ เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย พร้อมหารือการสนับสนุน

รมว.แรงงาน สุชาติ ชมกลิ่น นำทีมเจ้าหน้าที่รัฐ และที่ปรึกษา ลงพื้นที่เยี่ยมชม พร้อมหารือแนวทางสนับสนุนพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2564 โดยมี นายทวีป กาญจนวงศ์ ประธานมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย นางสุนี ไชยรส รองประธานมูลนิธิฯ นายมานิตย์ พรหมการีย์กุล รองประธานมูลนิธิ นายธนัสถา คำมาวงษ์  เลขานุการมูลนิธิฯ นางสาวสมหมาย สราญจิตร เหรัญญิกมูลนิธิฯ พร้อมด้วยกรรมการมูลนิธิฯ และนายวิชัย นราไพบูลย์ ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ยังมีสหภาพแรงงานอีกหลายแห่ง ร่วมต้อนรับ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย   และนางธิวัลรัตน์ อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน เข้าร่วมในครั้งนี้ด้วย

จากนั้น รมว.แรงงาน และคณะเยี่ยมชมนิทรรศการการจัดแสดง โดยนายวิชัย นราไพบูลย์ ผู้จัดการฯ เป็นผู้บบรรยายเรื่องราวต่างในการจัดแสดงภายในอาคารที่มีห้องจัดแสดงทั้งหมด 7 ห้อง เริ่มด้วยแรงงานในยุคไพร่ ทาส แรงงานรับจ้างรุ่นแรกที่เป็นแรงงานจีน ซึ่งถือเป็นแรงงานข้ามชาติกลุ่มใหญ่ในสมัยนั้น ห้องต่อมาเป็นเป็นเรื่องการปฏิรูปประเทศสมัยรัชกาลที่ 5 ห้องเปลี่ยนแปลงการปกครอง ที่กล่าวถึงสิทธิแรงงานและการรวมตัว การมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครองของขบวนการแรงงาน ถึงการพัมนาเศรษฐกิจ ห้องสงครามโลก กับสงครามเย็น ที่มีการพูดถึงแผนการพัฒนาเศรษฐกิจ ห้องศิลปะวัฒนธรรม จิตร ภูมิศักดิ์ ช่วงต่อมาเป็นห้องร่วมสมัยที่มีการจัดแสดงตั้งแต่สมัยช่วง 14 ตุลาคม 2516 การได้มาของกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ 2518 การเรียกร้องของแรงงานในหลายกรณี อย่างกรณีคนงานฮาร่า การเรียกร้องเพื่อให้ได้สิทธิลาคลอด 90 วัน การได้มาของประกันสังคม การเรียกร้องให้มีกระทรวงแรงงาน เรื่องแรงงานนอกระบบ การใช้แรงงานเด็ก แรงงานยุครสช. แรงงานรัฐวิสาหกิจ กรณีความไม่ปลอดภัยในการทำงานโดยเสนอไฟไหม้โรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ที่ส่งผลให้คนงานเสียชีวิต 188 ศพ บาดเจ็บจำนวนมาก วิกฤติเศรษฐกิจผลกระทบกับแรงงาน

จากนั้นทางกรรมการมูลนิธิฯได้เชิญรมว.แรงงานและทีมราชการและที่ปรึกษาเข้าห้องประชุมเพื่อปรึกษาหารือแนวทางการสนับสนุนพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย โดยมีการสรุปความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย และสภาพปัญหา โดยนายวิชัยผู้จัดการพิพิธภัณฑ์ฯ จากนั้นนายมานิตย์ พรหมการีย์กุล ประธานสภาองคืการลูกจ้างแรงงานยานยนต์ และรองประธานมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย พร้อมกับกรรมการ ได้ยื่นหนังสือเพื่อขอรับการสนับสนุนจากผู้จัดการพิพิธภัณฑ์ฯ และนายทวีป กาญจนวงศ์ ประธานมูลนิธิฯได้มอบหนังสือเป็นของที่ระลึกให้กับทางรมว.แรงงานด้วย

ต่อมา นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน (https://www.mol.go.th/news) “ในวันนี้ผมและคณะได้มาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย เพื่อหารือแนวทางการสนับสนุนช่วยเหลือให้พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยแห่งนี้ ได้ดำเนินต่อไปตามวัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง สำหรับภารกิจทางประวัติศาสตร์ของพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย เกิดขึ้นมาเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2534 โดยองค์การแรงงาน องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการด้านแรงงาน นักประวัติศาสตร์ และนักจดหมายเหตุ มีมติร่วมกันให้มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยขึ้น เพื่อเป็นสถานที่รวบรวมและจัดแสดงเรื่องราวของผู้ใช้แรงงานไทยและด้วยการร่วมแรงร่วมใจช่วยกันคนละไม้คนละมือ อาคารเก่าแก่ชั้นเดียวที่เคยมีประวัติเป็นสถานีตำรวจรถไฟและที่ทำการสหภาพแรงงานรถไฟก็กลายเป็นพิพิธภัณฑ์แรงงานแห่งแรกในประเทศไทยที่บอกเล่าเรื่องราวของชนชั้นแรงงาน โดยมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2536 มีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง 4 ประการ คือ เพื่อจัดแสดงเรื่องราว ประวัติความเป็นมาชีวิตความเป็นอยู่และการทำงานของผู้ใช้แรงงาน เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาค้นคว้า รวบรวม และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์แรงงานไทย เพื่อเป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูล เอกสาร หนังสือ เทปบันทึกเสียงและวีดิโอเกี่ยวกับแรงงานไทย สำหรับให้บริการแก่สาธารณชน และเพื่อเป็นศูนย์ศิลปวัฒนธรรมแรงงาน ที่จัดกิจกรรมเพื่อผู้ใช้แรงงานและสาธารณชน”

ทั้งนี้ ปัจจุบันสถานที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยที่อยู่ในบริเวณพื้นที่สถานีรถไฟมักกะสัน ซึ่งทางการรถไฟแห่งประเทศไทยจะนำพื้นที่ดังกล่าวไปพัฒนาในเชิงธุรกิจเพื่อหารายได้ โยจะมีการส่งมอบพื้นที่ให้กับทุนผู้เช่าภายในเดือนตุลาคม 2564นี้  แต่ในความสำคัญของของพิพิธภัณฑ์ ฯ แห่งนี้ ที่ให้บริการเป็นแหล่งศึกษาให้กับสังคม นักเรียน นักศึกษา สถาบันการศึกษากว่า 40 แห่ง ผู้ใช้แรงงานและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นเป็นรู้จักของชาวต่างประเทศ ซึ่งได้รับการบรรจุในคู่มือการท่องเที่ยวทั้งในไประเทญและอีกหลายประเทศด้วย

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน