ภาวะโลกร้อน ผลต่อการพัฒนา ภาคการขนส่งที่ใช้ไฟฟ้า และการจ้างงาน

 

             ผลการประชุมลดภาวะโลกร้อน ผลต่อการพัฒนาภาคการขนส่งที่ใช้ไฟฟ้าและการจ้างงาน? ในวงการเสวนา นักวิชากการเสนอแนวทางการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม ฝ่ายผู้ประกอบการ เห็นทิศทางปรับตัวของธุรกิจ เตรียมตัวสู่การเปลี่ยนแปลงในอนาคต ด้านรัฐรอดูนโยบาย ซึ่งเตรียมส่งเสริมและพัฒนาแรงงาน ท่ามกลางสังคมแรงงานสูงวัย

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2562 มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES) ร่วมกับมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย สัมมนาเรื่อง ผลการประชุมลดภาวะโลกร้อน ผลต่อการพัฒนาภาคการขนส่งที่ใช้ไฟฟ้าและการจ้างงาน? ที่ห้องรัชวิภา โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค

ดร.อนุภรณ์ วรรณวิเศษ กองประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (กปอ.) สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บรรยาย “ผลการประชุม COP 24 และแนวทางการทำงานของประเทศไทย “ ประเด็นการบรรยาย: (1) สาระสำคัญโดยรวมของการประชุม COP 24 โดยเน้นที่ปฏิญญาซิเลเซียว่าด้วยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม และปฏิญญาส่งเสริมการขนส่งที่ใช้พลังงานไฟฟ้า (Driving Change Together – Katowice Partnership for E-mobility) และ (2) แนวทางการดำเนินงานต่อไปของไทย

 

สรุปได้ดังนี้

เรื่องโลกร้อนเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ และมีการให้ความร่วมมือในการที่จะแก้ไขปัญหาร่วมกัน และมีการก่อตั้งอนุสัญญา 1992 และเมื่อ 1997 มีการทำพิธีสารเกียวโต ที่มีการกำหนดให้ประเทศที่พัฒนาแล้วในการลดภาวะโลกร้อน และต่อมาปัญหาที่เกิดขึ้นคือสหรัฐอเมริกาไม่ยอมเข้าร่วม และจีนก็ไม่เข้าร่วมเช่นกัน ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่เป็นประเทศที่ปล่อยมลภาวะสูงที่ส่งผลระทบต่อโลกอันดับที่ 1 และ2 ไม่ยอมให้ความร่วมมือ และเข้าร่วมจึงมีการทำข้อตกลงความตกลงปารีส ขึ้นมาโดยให้ทุกประเทศต้องมีการปรับตัวในการลดภาวะโลกร้อนร่วมกัน และต่อมาก็มี COP 24 ปี 2018 ที่มีการตกลงกันมาหลังจากมีข้อตกลงปารีส โดยมีการลงความตกลงเพื่อการเปลี่ยนแปลง ปี 2019 จะมีการประเมินร่วมกันว่า ตั้งแต่มีการลงความร่วมมือแล้วมีการทำไปถึงไหนแล้ว แต่ก็ยังมีเรื่องของการใช้คาร์บอนเครดิต ซึ่งเป็นเรื่องของกลไกตลาดในการทำความร่วมมือด้วย ของประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศที่กำลังพัฒนาในการลดภาวะโลกร้อน โดยการสนับสนุนให้ประเทศที่กำลังพัฒนาเป็นกลไกในการลดภาวะโลกร้อน เช่นเรื่องการปลูกป่า ฯลฯ

ความตกลงปารีส มีการกล่าวถึงการควบคุมภาวะโลกร้อนไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียส และพยายามควบคุมให้ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส และมีผลในข้อตกลงเรียบร้อย และมีผลใช้บังคับแล้ว เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2559 ซึ่งลดก๊าซเรือนกระจกและปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยประเทศพัฒนาแล้วสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนา ด้านการเงิน เทคโนโลยี ประเทศไทยที่กำลังพัฒนาก็ว่าประเทศไม่ได้ปล่อยมาก และต้องการที่จะมีการปรับตัว กลไกการดำเนินงาน คือ

1) เสนอเป้าหมายการลดก๊าซ และการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศของแต่ละประเทศ โดยทบทวนทุก 5 ปี

2) ส่งรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน และการสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาเป็น ระยะ และให้มีกระบวนการทบทวนการดำเนินงานซึ่งกันและกัน

3) ให้มีกระบวนการประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานในระดับโลก (Global stocktake) ทุก 5 ปี เริ่มปี 2023 (2566) และมีความร่วมมือในการดำเนินงาน และมีการวางกรอบความโปร่งใส ในการตรวจสอบการดำเนินงาน ตอนนี้ประเทศไทยอยู่ตรงไหนที่ 2 องศา เราทำถึงจุดไหน ใน 5 ปี เป้าหมายแต่ละประเทศที่ต้องมีส่วนร่วมกัน มีเป้าหมายว่าเราจะลดก๊าซเรือนกระจก

การประชุม COP24 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน – 15 ธันวาคม 2561 ณ เมืองคาโตวีเซ สาธารณรัฐโปแลนด์ ประกอบด้วย

1) การประชุมเตรียมการของกลุ่ม 77 และจีน (G77 preparation meeting)

2) การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่า ด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 24 (COP 24)

3) การประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต สมัยที่ 14 (CMP 14)

4) การประชุมรัฐภาคีความตกลงปารีส สมัยที่ 1.3 (CMA 1.3)

5) การประชุมองค์กรย่อยเพื่อให้คำปรึกษาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 49 (SBSTA 49)

6) การประชุมองค์กรย่อยด้านการดำเนินงาน ครั้งที่ 49 (SBI 49)

7) การประชุมคณะทำงานเฉพาะกิจความตกลงปารีส ครั้งที่ 1.7 (APA 1.7) 5 3.

สรุปผลการประชุม COP 24/CMP 14/CMA 1.3 6 เพื่อหาข้อตกลงร่วมกันในการกำหนดแนวปฏิบัติของความตกลงปารีสภายใต้ Paris Agreement work programme (PAWP) เพื่อน าไปสู่การดำเนินการภายใต้ ความตกลงปารีสอย่างเป็นรูปธรรม

Cop 24 ที่มีการรับรองมาเป็นอย่างไรบ้างว่า ด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ มีการประชุมมีข้อกำหนดในการรับรองแนวปฏิบัติที่อยู่ภายใต้ความตกลงปารีส เมื่อรับรองแล้วต้องมาดำเนินการด้วย หลังปี 2020 โดยเป้าหมายในการกระทำหลังรับรองมามีดังนี้

  1. ข้อมูลที่จะต้องจัดส่งเพื่อสร้างความชัดเจน โปร่งใส และเข้าใจได้ของ NDCs เพิ่มเติมจากข้อตัดสินใจในการประชุม COP 21 อาทิ ปีฐาน สาขา กระบวนการ วางแผนในการจัดทำ NDCs การจัดการเชิงสถาบันภายในประเทศ สมมติฐาน และวิธีการในการจัดทำบัญชีของ NDCs และการสนับสนุนเพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์ของอนุสัญญาฯ และความตกลงปารีส เป็นต้น

ประกอบคือ ฐานที่ลดในการคำนวณจากสาขาอะไรบ้าง ลดจากภาคสาขาไหนซึ่งในประเทศไทยก็อยู่ที่การลดเรื่องของสาขาพลังงาน ลดของเสียและมีการวางแผนอย่างไรในการให้สำเร็จตามเป้าหมาย ประเทศส่งไปถึง ปี 2021-2030 ซึ่งมีการประเมินทุก 5 ปี หรือ 2 ปี แต่ยังคุยกันไม่จบ และจะมีการตรวจวัดกันอย่างไร มีการใช้คู่มือไหนที่เหมาะสม

  1. ลักษณะของ NDCs จะมีการหารือเรื่องนี้ต่อไป โดยมีเรื่องสำคัญ คือ common timeframe คือ การรายงานการปรับตัวการเลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศ ต้องมีการปรับตัว คือ ภาคีอาจรายงานการปรับตัว และข้อมูลประกอบด้วย เช่น ผลกระทบ ความเสี่ยง และการสนับสนุนที่ต้องการ เช่นการกัดเซาะชายฝัง ประเทศต้องการที่จะให้มีการสนับสนุนอะไรบ้างเมื่อเขาดูรายงานก็จะรู้ว่า ประเทศต้องการอะไรในการสนับสนุน
  2. การจัดทำบัญชีของ NDCs เน้นว่าต้องไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ให้มีการรายงานข้อมูลในรายงานความโปร่งใส รายสองปี ให้ใช้วิธีการและรูปแบบตามคู่มือของ IPCC เรื่อง ความโปร่งใส มาดูศักยภาพตามที่ไทยบอกว่า ทำจริงทำได้เท่าไร คือ รายงานความโปร่งใสราย 2 ปี มีการการปล่อยมลพิษสู่ชั้นบรรยากาศเท่าไร และสามารถลดมลพิษลงเท่าไร มีการทำไปแล้วลดภาวะโลกร้อนได้เท่าไร แล้วจะผ่านการทบทวนจากผู้ชำนาญการทางเทคนิค ดูว่า สอดคล้องถูกต้องหรือไม่และประเมิน แล้วเข้าสู่การพิจารณาเพื่อเอื้ออำนวยว่าทำแล้วเป็นอย่างไรเก็บข้อมูลมาถูกหรือไม่ และมีความช่วยเหลือจากที่ไหนบ้าง เพื่อการปรับปรุงเป็นการช่วยเหลือ

รายงานด้านการปรับตัว

ที่ประชุมรับรองข้อตัดสินใจที่เชิญชวนให้ภาคีนำเสนอรายงานด้านการปรับตัว ตามความเหมาะสม โดยมีเนื้อหา อาทิ สถานการณ์ของประเทศ  การจัดการเชิงสถาบัน และกรอบกฎหมาย ผลกระทบ ความเสี่ยงและความเปราะบาง ลำดับความสำคัญในประเด็นด้านการปรับตัว ยุทธศาสตร์ นโยบาย แผน เป้าหมาย และการดำเนินงาน  ความต้องการรับการสนับสนุน/ การสนับสนุนที่มีต่อประเทศกำลัง พัฒนา  ซึ่งการจัดทำรายงานการปรับตัวต้องขับเคลื่อนโดยประเทศเอง ยืดหยุ่น สามารถเลือกรูปแบบการสื่อสารได้ว่าจะจัดส่งเป็นรายงานแยก ต่างหาก หรือผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรายงานการปรับตัวแห่งชาติ เอกสารการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด หรือรายงานแห่งชาติ ต้องไม่สร้างภาระ เพิ่มเติมเกินจำเป็นต่อประเทศกำลังพัฒนา ไม่นำข้อมูลในรายงานไปเป็นพื้นฐานในการเปรียบเทียบระหว่างภาคีและไม่มีการทบทวนรายงานนี้

กรอบความโปร่งใสมีรายละเอียดครอบคลุมการดำเนินงาน ดังนี้ (1) การจัดทำรายงานความโปร่งใสรายสองปี (Biennial Transparency Report) (2) การทบทวนโดยผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค (Technical Expert Review) (3) กระบวนการพิจารณาแบบพหุภาคีอย่างเอื้ออำนวย (Facilitative, multilateral consideration of progress) ทั้งนี้ กำหนดให้ภาคีจัดส่งรายงานความโปร่งใสรายสองปีฉบับแรกและรายงาน บัญชีก๊าซเรือนกระจก (หากจัดส่งเป็นรายงานแยก) อย่างช้าที่สุดภายใน 31 ธันวาคม 2567

รายงานการเงินที่ ประเทศพัฒนาแล้วจะต้องจัดส่งข้อมูลในการให้การสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาใน รายงานความโปร่งใสรายสองปี ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ตามพันธกรณีที่ ประเทศพัฒนาแล้วต้องให้ความช่วยเหลือทางการเงินและระดมเงินแก่ประเทศกำลัง พัฒนา รวมถึงในประเด็นการประมาณการจำนวนเงินที่จะจัดสรรให้ประเทศกำลัง พัฒนา ซึ่งประเทศพัฒนาแล้วจะต้องส่งรายงานฉบับแรกในปี พ.ศ. 2563

➢ กำหนดให้สำนักเลขาธิการจัดทำช่องทางการรายงานข้อมูลแบบออนไลน์ โดยเริ่มการ จัดเตรียมการรวบรวมและการสังเคราะห์รายงานดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2564 และจัดการ ประชุมเชิงปฏิบัติการทุกสองปี โดยในครั้งแรกจัดขึ้นพร้อมกับการประชุม CMA 4 รวมทั้งให้จัดการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านการเงินเพื่อสภาพภูมิอากาศทุกสองปี (biennial high-level ministerial dialogue on climate finance) เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2564

ประเทศที่พัฒนาแล้วต้องช่วยประเทศที่กำลังพัฒนา การพัฒนาประเทศในอดีตในการดูแลการปรับตัวซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้วได้มีการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนมาก่อน แล้วประเทศที่กำลังพัฒนาต้องมาแบกรับ ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้วต้องให้การสนับสนุนช่วยเหลือ

ความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีการใช้กลไกตลาดและไม่ใช้กลไกตลาด โดยหารือเพื่อพัฒนาแนวทาง กฎ รูปแบบ กระบวนการขั้นตอน และร่างข้อ ตัดสินใจที่เกี่ยวข้องสำหรับการดำเนินความร่วมมือระหว่างภาคีที่มีการถ่ายโอนผล การลดก๊าซเรือนกระจกในระดับระหว่างประเทศตามข้อ 6.2 ของความตกลงปารีส การจัดตั้งกลไกที่นำไปสู่การลดก๊าซเรือนกระจกและสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามข้อ 6.4 ของความตกลงปารีส รวมทั้ง กรอบการดำเนินงานที่ไม่ใช้ตลาดตาม ข้อ 6.8 ของความตกลงปารีส

ประเด็นที่ภาคีต้องหารือในรายละเอียดร่วมกัน โดยมีประเด็นหลักที่ประเทศไทยและภาคีอื่น ๆ ร่วมกันผลักดันและให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้มีความ สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ได้แก่  ประเด็นแนวทางการปรับบัญชีโดยภาคีทั้งสองฝ่ายเพื่อหลีกเลี่ยงการนับซ้ำ ระเบียบวิธีการลดก๊าซเรือนกระจก  และประเด็นการถ่ายโอนกลไกภายใต้พิธีสารเกียวโตมาใช้ในบริบทของความตกลงปารีส ที่ประชุมจึงมอบหมายให้SBSTA ดำเนินการพัฒนาแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องต่อไป เพื่อเสนอร่างข้อตัดสินใจต่อที่ประชุมรัฐภาคีความตกลงปารีส สมัยที่ 2 (พฤศจิกายน 2562)

ประเด็นที่ต้องคุยต่อไปในการลดภาวะโลกร้อน และการที่นำคาร์บอนเครดิตไปขายต้องมาลบออก พออยู่ภายใต้ความตกลงปารีสแล้วก็ต้องมาหารือกันต่อปีนี้

แนวทางการประเมินสถานการณ์และการดำเนินงานระดับโลกด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ประชุมกำหนดให้ขั้นตอนการประเมินฯ ดังนี้

1) การรวบรวมข้อมูลและเตรียมการในประเด็นการลดก๊าซเรือนกระจก การปรับตัวและกลไกการดำเนินงานและการสนับสนุน เช่น สถานะ ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผลจากการดำเนินงานตาม NDC การปรับตัว การเงิน เป็นต้น

2) การประเมินทางเทคนิคต่อการบรรลุตามเป้าหมายของความตกลง ปารีส ในรูปแบบของการหารือทางเทคนิค (Technical Dialogue) เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนมุมมอง ข้อมูล ในรูปแบบการประชุมโต๊ะกลม การประชุมเชิงปฏิบัติการ หรือกิจกรรมอื่น ๆ

3) การพิจารณาผลลัพธ์โดยการจัดงานระดับสูง ซึ่งนำเสนอผลการ ประเมินทางเทคนิคและบทวิเคราะห์ จัดทำข้อสรุปเกี่ยวกับโอกาสและ ความท้าทาย เพื่อใช้ยกระดับการดำเนินงานและการสนับสนุน

รายงานพิเศษของภาวะโลกร้อน ณ อุณหภูมิ 1.5 องศาเซลเซียส

ภาคีได้หารือเพื่อหาข้อสรุปร่วมกันต่อการใช้ถ้อยคำในข้อตัดสินใจของที่ประชุมรายงานดังกล่าว โดยประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่เห็นควรให้ใช้คำว่าแสดงความยินดี (Welcome) กับรายงานฉบับดังกล่าว เนื่องจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลด้านการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ได้รับการร้องขอให้จัดทำรายงานดังกล่าวตามข้อตัดสินใจ จากภาคี ในขณะที่สหรัฐอเมริกา ซาอุดิอาระเบีย คูเวต และรัสเซีย เห็นว่าควรใช้คำว่า รับทราบ (Note) รายงานฉบับดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าเนื้อหาบางส่วนของรายงานยังไม่ถูกต้อง และสมบูรณ์ ซึ่งในที่สุดที่ประชุมเห็นชอบให้มีมติยินดีต่อการจัดทำรายงานฯ ที่แล้วเสร็จอย่าง ทันท่วงทีตามที่ภาคีเชิญชวน และเชิญชวนให้รัฐภาคีนำข้อมูลจากรายงานดังกล่าวไปใช้ประโยชน์

กำหนดให้มีการประชุมพิจารณารายงานดังกล่าวต่อ ในช่วงเดือนมิถุนายน 2562 เพื่อเสริมสร้างความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเป้าหมาย 1.5 องศาเซลเซียส รวมถึงสาระ ในการเตรียมการจัดทำรายงานการประเมิน (Assessment Report) ฉบับที่ 6 และ การดำเนินงานตามอนุสัญญาและความตกลงปารีส ตลอดจนขอให้ภาคีสนับสนุนการดำเนินงาน ของ IPCC ต่อไป

โดยพลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าคณะ ผู้แทนไทย ได้กล่าวถ้อยแถลงในนามของประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2561 โดยสาระของถ้อยแถลง มีดังนี้

  1. เน้นถึงการแสดงความตั้งใจของประเทศไทย ที่จะร่วมมือกับทุกประเทศและภาคส่วนในการต่อสู้ กับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  2. หวังให้การประชุมครั้งนี้ประสบความสำเร็จ นำไปสู่ แนวทางการดำเนินงานของความตกลงปารีส ที่ครอบคลุม สมดุลและนำไปปฏิบัติได้จริง
  3. นำเสนอความก้าวหน้าในการดำเนินงาน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ในประเด็นสำคัญ ได้แก

3.1 ความก้าวหน้าในการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ (Nationally Appropriate Mitigation Action: NAMA) จากมาตรการภาคพลังงาน (สามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ร้อยละ 12 จากกรณีปกติ ในปี ค.ศ. 2559)

3.2 การจัดทำ (ร่าง) แผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564 – 2573 (ผ่านการเห็นชอบโดยคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติแล้ว)

3.3 การจัดทำ(ร่าง) แผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (National Adaptation Plan: NAP) (ผ่านการเห็นชอบโดยคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติแล้ว)

3.4 การจัดทำระบบสารสนเทศการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย (Thailand Greenhouse Gas Emissions Inventory System: TGEIS) เพื่อยกระดับการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกโดยใช้ วิธีการคำนวณตามคู่มือของ IPCC ฉบับปี ค.ศ. 2006 (ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลออสเตรเลีย)

การจัดนิทรรศการและกิจกรรมคู่ขนาน กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยประสานงานหลักด้านการเสริมพลังรับมือการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศระดับประเทศ ภายใต้อนุสัญญาฯ ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศไทย จัดแสดงผลการดำเนินงาน นิทรรศการและกิจกรรมคู่ขนาน (side event) ของประเทศไทย ประกอบด้วย การเสวนาและนำเสนอกรณีตัวอย่าง โครงการและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ของไทยจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน นักวิจัย และภาคธุรกิจ Start up

ปฏิญญาซิเลเซียว่า ด้วยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม  โดยให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม (just transition) กับแรงงานที่อาจต้องปรับเปลี่ยน หรือสูญเสียงานเนื่องจากการปรับตัวสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ  มีการพิจารณามิติด้านสังคมของนโยบายของรัฐในการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ เพื่อส่งเสริมการยอมรับทางสังคมในนโยบายนี้เพื่อน าไปสู่ความสำเร็จในการดำเนินการ การส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการเรื่องนี้เข้าสู่นโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับโลก และการ ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของโปแลนด์ ที่ให้ความสำคัญกับแรงงานและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และส่งเสริมค่านิยมของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในระดับสากล

โครงสร้างการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย  มีการตั้งคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (ประธาน: นายกรัฐมนตรี รองประธาน: รมว.ทส. รมว.กต. ) พร้อมคณะอนุกรรมการหลายชุด มีการกำหนดเรื่องการดำเนินงาน จัดทำนโยบายที่เกี่ยวข้องด้านการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาด้าน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกของประเทศ กลไกสนับสนุนทางการเงิน และการประสานท่าที

การกำหนดเป้าหมายไว้มีการทำได้แค่ไหนแล้ว และต้องมีการส่งเป้าหมายใหม่ทุกครั้ง ซึ่งต้องมีการประเมิน และรวบรวมข้อมูล และมีการจัดประชุมผู้แทนระดับสูง เพื่อช่วยให้การคิดและผลักดันกันต่อไป ปีที่แล้วในCOP 24 ก็มีการรายงาน IPCC มาทำรายงาน 1.5 องศา เป็นอย่างไร และที่ 2 องศาเป็นอย่างไร และมีการทำรายงาน 1.5 องศา เพราะหมู่เกาะต่างๆเรียกร้อง และทางหมู่เกาะก็ให้ความร่วมมือ COP 24 ทางประเทศไทยได้มีการรายงานเรื่องการลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศที่จะมีการลด 7-20 ในปี 2020 ในภาคพลังงาน และขนส่ง ซึ่งลดได้ ร้อยละ 12 ซึ่งมากกว่าร้อยละ 7 ซึ่งมากกว่าที่ประเทศไทยประกาศเอาไว้ และมีการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศ ซึ่งครั้งนี้มีการทำโรดแมปในการดำเนินการ เช่นพลังงานลดเท่าไร ขนส่งลดเท่าไร ผ่านการเห็นชอบคณะทำงานแล้ว ตอนนี้อยู่ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ยังมีร่างแผนการปรับตัว เช่นสาธารณะสุขที่มีการปรับตัว โรคอุบัติใหม่ใหม่ การทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกของไทยทำถึงไหนแล้ว เพื่อใช้ในการจัดทำรายงานนี้ มีการจัดนิทรรศการเพื่อการเผยแพร่ให้ประชาคมโลกรับรู้

แผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ รายสาขา  เช่น สาขาพลังงาน สาขาคมนาคมขนส่ง สาขากระบวนการทางอุตสาหกรรมฯ  และ สาขาการจัดการของเสียชุมชน โดยมีการร่าง แผนปฏิบัติการสนับสนุนการดาเนินงานตามแผนที่นาทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ดั่งเช่น 1. วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจก 2. พัฒนากลไกทางเศรษฐศาสตร์เพื่อสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจก 3 พัฒนาและปรับปรุงกฎหมายหรือกฎระเบียบที่สนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจก 4. ตรวจวัด รายงาน และทวนสอบ 5. สร้างการมีส่วนร่วมและเสริมสร้างศักยภาพของทุกภาคส่วนในการลดก๊าซเรือนกระจก

ปฏิญญาเพื่อการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม Just transition  ซึ่งอยู่กับความตกลงปารีสด้วย ประเทศในการพัฒนาแล้วมาใช้ในการปรับฐานสู่คาร์บอนต่ำ ที่มีผลกระทบกับแรงงาน อุตสาหกรรมที่ต้องมีการปรับตัว ซึ่งรัสเซีย เป็นเหมืองถ่านหินเก่าเป็นสัญญาลักษณ์ที่มีการทำถ่านหิน และเป็นเมืองเชิงสัญญาลักษณ์ ซึ่งการเปลี่ยนผ่านต้องมีมติทางสังคม แรงงาน ชุมชนให้ความสำคัญกับมนุษย์ด้วย ซึ่งประเทศไทยได้เข้าไปรับรองด้วย ทางอังกฤษ โปร์แลนด์ ได้ร่วมกัน แต่ประเทศไทยไม่ได้ลงนามด้วย แต่ประเทศไทยก็ไม่ได้ว่าจะไม่ทำแต่จะมีการปฏิบัติอยู่แล้ว มีแนวคิดเรื่องการพัฒนารถไฟฟ้าได้มีการลดก๊าซเรือนกระจก ความร่วมมือในการจัดทำแผนร่วมกับกระทรวงต่างๆ มีการอบรมร่วมกันด้วย การที่จะลดก๊าซเรือนกระจกแล้วมีแผนอะไรบ้าง ซึ่งที่ทำมาตอนนี้แผนปฏิบัติการตัวเลขอยู่ที่ 28 เปอร์เซ็นต์

โครงการศึกษาแนวทางรองรับผลกระทบจากการดำเนินมาตรการตอบสนองด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของต่างประเทศในด้านธุรกิจการค้าและความร่วมมือระหว่างประเทศต่อประเทศไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อศึกษาถึงผลกระทบที่ประเทศได้รับจากมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศคู่ค้าทั้งในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต และจัดทำแนวทางรองรับผลกระทบเชิงลบและเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อย โดยเน้นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญ ศึกษาวิเคราะห์โอกาสทางธุรกิจที่เป็นรูปธรรมที่จะเกิดการปรับกระบวนทัศน์สู่การพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำและสามารถฟื้นตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งสอดคล้องกับวาระพัฒนาของโลกและแผนพัฒนาประเทศสู่ Thailand 4.0 รวมถึงจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อสนับสนุนและเตรียมความพร้อมภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสำหรับโอกาสทางธุรกิจดังกล่าว เพื่อจัดทำข้อมูลสนับสนุนในการเจรจาของประเทศไทยในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการรับมือและจัดการกับผลกระทบเชิงลบจากการดาเนินมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศพัฒนาแล้วภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเพื่อจัดทำสื่อสารสนเทศสาหรับเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้แก่หน่วยงาน

ผลกระทบเชิงลบจากมาตรการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน มาตรการฉลากสิ่งแวดล้อม มาตรฐานประสิทธิภาพพลังงาน (Energy Efficiency) และมาตรฐานอื่น ๆ ของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงาน (Energy Efficiency) และมาตรฐานอื่น ๆ ของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

การปรับตัวจะมีผลในการปรับตัวของเรา ที่ผ่านมาก็มีการร่วมมือกับทางกรมพาณิชย์ ผลกระทบที่มีการการดำเนินการมีอะไรบ้าง ทั้งธุรกิจการค้า ประเทศไทย อุตสาหกรรมใดที่จะต้องมีผลกระทบ และต้องมีการปรับตัวอย่างไร เมื่อทั่วโลกมีการปรับตัว และโอกาสมีอะไรบ้าง ซึ่งเท่าที่มาการทำรายงานก็มีเรื่องการขายคาร์บอน การใช้มาตรฐานประสิทธิภาพพลังงาน และมาตรฐานอื่นๆที่มีการศึกษา เช่นภาคการบินก็จะได้รับผลกระทบเป็นหลัก หากแก้ไม่ได้ก็ต้องมีการซื้อคาร์บอนตรงนี้ สินค้าที่ต้องส่งไปขาย หากสินค้าเราปล่อยมากก็ต้องมีการปรับตัวให้ได้ตามมาตรฐาน และฉลากสิ่งแวดล้อมก็ต้องเป็นมาตรฐาน และต้องมีการปรับตัวเช่นกัน และการผลิตค้าการใช้พลังงาน หากมีการกำหนดก็ต้องปรับตัวตาม

ระบบการซื้อขายใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Trading Scheme: ETS) ซึ่งภาพรวมของผลกระทบจากมาตรการลดก๊าซเรือนกระจก ระบบการซื้อขายใบอนุญาตการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สำหรับการดำเนินมาตรการ ETS พิจารณาเฉพาะการดำเนินมาตรการ EU ETS ในภาคการบิน อาจส่งผลให้ประเทศที่ไม่มีการควบคุมก๊าซเรือนกระจกในระดับที่เท่าเทียมกัน ต้องซื้อใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Allowance) ภายใต้ระบบ ETS ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนในดำเนินการระหว่างประเทศสูงขึ้น ลดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมการบินของไทยไปยังประเทศนั้นๆ ได้

มาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (Border Carbon Adjustments : BCA) อุตสาหกรรมที่จะอาจได้รับผลกระทบมากเป็นพิเศษ คือ อุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานเข้มข้นในการผลิต (Energy Intensive)และมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตสูงเช่น อุตสาหกรรมสารเคมีและเคมีภัณฑ์ ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเหล็กและเหล็กกล้า เป็นต้น โดยผู้ประกอบการของไทยที่ผลิตและส่งออกสินค้าเหล่านี้ไปยังประเทศที่มีแนวโน้มนามาตรการ BCAบังคับใช้ จะได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่จะสูงขึ้น จากการถูกพิจารณาจัดเก็บภาษีคาร์บอนกับผลิตภัณฑ์นั้นๆ นอกจากนี้ ผู้ส่งออกอาจต้องพิจารณาติดฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นต์ เพื่อเปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตสินค้านั้นๆ ตลอดวัฏจักรชีวิตของสินค้าให้ประเทศคู่ค้าที่พิจารณาจัดเก็บ BCAสามารถตรวจสอบค่าคาร์บอนที่เกิดจากการผลิต หรือค่าคาร์บอนที่ลดได้จากการผลิตเป็นฐานในการคำนวณภาษีคาร์บอน อย่างไรก็ตาม หากประเทศคู่ค้าผู้นำเข้าจะเพิ่มความเข้มงวดในการเก็บภาษีคาร์บอนกับอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ เช่น อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป และอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น ผู้ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยดังกล่าวก็อาจได้รับผลกระทบจากมาตรการ BCAเช่นเดียวกัน ขนาดของผลกระทบอาจจะต่ำกว่าอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานเข้มข้น

                มาตรการฉลากสิ่งแวดล้อม โดยมาตรการด้านฉลากสิ่งแวดล้อมเป็นมาตรการแบบสมัครใจภายในประเทศ จึงอาจจะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยในทันที หรือในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านมาตรการต่างๆ ทั้งในรูปแบบสมัครใจ และมาตรการบังคับที่ได้รับการยอมรับและให้ความสำคัญจากประเทศภาคีความตกลงปารีสมีจำนวนมากขึ้น จะส่งผลให้การดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตสินค้าและบริการได้รับการยอมรับมากขึ้น ซึ่งการแสดงฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ จึงเป็นช่องทางการสื่อสารประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมกับผู้บริโภคอีกช่องทางหนึ่ง เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบข้อมูลการให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการแต่ละรายได้ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร และสร้างความโดดเด่นให้แก่สินค้าได้

มาตรฐานประสิทธิภาพพลังงาน (Energy Efficiency) และมาตรฐานอื่นๆ ของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่ประหยัดพลังงานในกระบวนการผลิต และมาตรการด้านความปลอดภัยของสินค้าอุตสาหกรรมเป็นมาตรการที่เป็นข้อกำหนดเพื่อควบคุมการใช้สารเคมี การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการกำจัดซาก โดยมีจุดประสงค์เพื่อระบุมาตรฐานความปลอดภัยของสินค้าต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ ซึ่งมาตรการเหล่านี้เป็นมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการลดการใช้พลังงานลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรฐานทางเทคนิคของผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ และอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่มีมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานของผลิตภัณฑ์จำนวนมากในแต่ละประเทศ

มาตรการและนโยบายอื่นๆ เช่น แนวโน้มการพัฒนาอาคารสีเขียวได้รับความสนใจจากผู้บริโภคมากขึ้น สำหรับอุตสาหกรรมวัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้าง ผู้ประกอบการไทยจึงต้องคำนึงถึงการพัฒนาศักยภาพของการผลิตวัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้างในมีการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ตั้งแต่กระบวนการจัดหาวัตถุดิบ ไปจนถึงการพัฒนาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมการผลิตวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ และสามารถตรวจสอบได้ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการก่อสร้างอาคารสีเขียวในระดับสากล ซึ่งจะส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันในที่สุด

ผู้ประกอบการไทยในธุรกิจการบินอาจจะได้รับผลกระทบบางส่วนจากมาตรการ CORSIAโดยเฉพาะอย่างยิ่งสายการบินที่มีเที่ยวบินระหว่างประเทศเป็นจำนวนมาก เนื่องจากจะต้องดำเนินการลงทุนจัดทำระบบจัดเก็บ ติดตาม ตรวจสอบ ข้อมูลการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของอากาศยาน และยังมีในส่วนของต้นทุนจากการต้องจ่ายค่าชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกินกว่าเป้าหมาย

ผู้ประกอบการไทยในภาคการเดินเรือขนส่งพาณิชย์ อาจจะได้รับผลกระทบจากการดำเนินการที่จะเกิดขึ้นต่อไปภายใต้แผนที่นาทางเพื่อการลดการปล่อยคาร์บอนจากเรือซึ่งได้แก่ การลดและจากัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการขนส่งทางเรือระหว่างประเทศ และการลดความเข้มข้นระดับคาร์บอนที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากการเดินเรือ ผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์

โดย  ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อประเทศไทยรายสาขา มีดังนี้

สาขา ผลกระทบจากมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศคู่ค้าที่อาจส่งผลต่อประเทศไทย
พลังงาน (Energy)     – ผลกระทบสูงเนื่องจากประสิทธิภาพการใช้พลังงานของภาคอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทยยังต่ำกว่าประเทศพัฒนาแล้วซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าหลักของไทย ทำให้มาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานในการผลิตที่มักกำหนดโดยประเทศพัฒนาแล้วมีผลกดดันให้ผู้ผลิตต้องปรับตัวตาม เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ เช่น ฉลากประสิทธิภาพพลังงาน ฉลากลดคาร์บอน ทั้งนี้ มาตรการและแนวทางสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือกของไทยยังมีความไม่แน่นอน ประกอบกับมาตรการการสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนจากต่างประเทศทั่วโลกที่มีความเข้มงวดมากขึ้นเช่น มาตรฐาน CSPO (certified sustainable palm oil)ที่จะส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันปาล์มในตลาดโลก ย่อมส่งผลกระทบต่อแนวทางการผลิตพืชพลังงานในประเทศเช่นกัน นอกจากนี้ ประเทศไทยยังสามารถพัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงานร้อนที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตได้อีกมาก ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ ยังเป็นช่องทางที่ผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวเพิ่มเติมอีกด้วย
อุตสาหกรรม (Industry)      – ผลกระทบปานกลาง-สูง เนื่องจากเป็นภาคอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงรวมถึงใช้พลังงานสูง อีกทั้งยังมีมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกของแต่ละประเทศที่ค่อนข้างเข้มงวด โดยเฉพาะกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน HFCs กระบวนการผลิตอุตสาหกรรมต่างๆ ในแต่ละประเทศแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยได้มีความพร้อมรองรับมาตรการการลดการใช้สาร HFC ดังกล่าวด้วยการสนับสนุนการใช้สารทดแทนความเย็นแล้ว
ขนส่ง (Transport)      – ผลกระทบปานกลาง เนื่องจากผู้ประกอบการขนส่งในประเทศไทยมีจำนวนมาก แต่มาตรการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศคู่ค้าส่วนใหญ่เป็นมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพพลังงานและเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นมาตรการภายในประเทศที่ส่งผลต่อไทย และมาตรการการปรับปรุงมาตรฐานยานยนต์เป็นส่วนมาก ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวเป็นมาตรฐานที่เป็นสากลและมีการปรับปรุงอยู่ตลอด ประกอบกับการพัฒนามาตรฐานยานยนต์เหล่านี้เป็นนโยบายจากทางบริษัทแม่ในต่างประเทศ ที่มีความพร้อมในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้ผู้ประกอบการไทย ทำให้ผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยไม่สูงมากนัก สำหรับอุตสาหกรรมการบินและการเดินเรือ มาตรการต่างๆ ของ ICAO และ IMO ยังอยู่ในช่วงนำร่อง จึงมีผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยในระยะสั้น
เกษตรกรรม (Agriculture)       – ผลกระทบสูงเนื่องจากจานวนผู้ผลิตและแรงงานในอุตสาหกรรมการเกษตรของไทยมีจำนวนมากและเทคโนโลยีการผลิตของสินค้าเกษตรหลายประเภทของไทยยังไม่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่ค้าซึ่งเป็นประเทศที่กำหนดมาตรฐานและมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคเกษตร เช่น สหรัฐฯ สหภาพยุโรป เป็นต้น ทำให้เทคโนโลยีการผลิตและมาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่กำหนดโดยประเทศเหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ส่งออก นอกจากนี้ มาตรการสนับสนุนการผลิตสินค้าเกษตรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำประกอบกับแนวโน้มการบริโภคสินค้าเกษตรที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมสูงขึ้นในประเทศคู่ค้า ย่อมส่งผลกระทบทางอ้อมต่อมาตรฐานการส่งออกสินค้าเกษตรเช่นกัน
ป่าไม้ (Forestry)      – ผลกระทบน้อยเนื่องจากมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกส่วนใหญ่ของแต่ละประเทศเป็นมาตรการที่บังคับหรือควบคุมใช้ในประเทศนั้นๆ ยกเว้นมาตรการ FLEGT ของยุโรปที่บังคับใช้ควบคู่กับ EU Timber Regulation (EUTR) ดังนั้น ผลกระทบจึงอาจตกอยู่กับผู้ผลิตไม้ในไทย และผู้ส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไม้ในไทยไปยังตลาดสหภาพยุโรป หากไทยยังไม่ดำเนินการเข้าเป็นหุ้นส่วนโดยสมัครใจกับ FLEGT
ก่อสร้าง (Building)     – ผลกระทบน้อยเนื่องจากประเทศคู่ค้าหลักของไทยในกลุ่มวัสดุก่อสร้างต่างๆเป็นกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งยังไม่มีมาตรฐานสิ่งแวดล้อมของอาคารหรือสิ่งก่อสร้างที่เข้มงวดมากนัก หรือมีมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกที่กระทบกลุ่มดังกล่าวมาก ดังนั้น ผลกระทบต่อกลุ่มอุตสาหกรรมนี้ยังต่ำ อย่างไรก็ตาม มาตรการลดก๊าซเรือนกระจกหรือมาตรฐานสิ่งแวดล้อมของสิ่งปลูกสร้างในประเทศพัฒนาแล้วจะมีความเข้มงวดและมีความตื่นตัวต่อประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมและการประสิทธิภาพพลังงานมากกว่า ซึ่งผู้ส่งออกไปยังแต่ละประเทศเหล่านี้ จะต้องมีการปรับตัวตามมาตรฐานและเทคโนโลยีใหม่ๆอยู่เสมอเช่นกัน
การกาจัดของเสีย (Waste)        – ผลกระทบปานกลาง ถึงแม้ว่าจำนวนผู้ประกอบการในการบริการที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดของเสียในประเทศไทยจะมีจำนวนน้อยแต่เป็นการบริการที่มีความสำคัญ และสามารถช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้ ดังนั้น มาตรการลดก๊าซเรือนกระจกหรือมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมการผลิตอื่นๆ ในประเทศคู่ค้าที่มีแนวโน้มเข้มงวดขึ้น ย่อมส่งผลให้ความต้องการเทคโนโลยีและกระบวนการกำจัดของเสียในอุตสาหกรรมเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อมที่ต้องปรับตัวในการพัฒนากระบวนการหรือเทคโนโลยีการกาจัดของเสียและการนำกลับมาใช้ใหม่มากยิ่งขึ้นในอนาคต

ผลกระทบของมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกต่อประเทศไทยแบ่งตามรายอุตสาหกรรม มีดังนี้

อุตสาหกรรม ประเทศไทย
คอมพิวเตอร์อุปกรณ์ และอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า •  ผลกระทบปานกลางถึงสูง–ถึงแม้ว่าจะมีจำนวนผู้ประกอบการไม่มากในอุตสาหกรรมนี้ แต่อัตราการใช้พลังงานในอุตสาหกรรมดังกล่าวสูง และประเทศคู่ค้า เช่น ญี่ปุ่นสหรัฐ และสหภาพยุโรป มีการใช้มาตรการฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทต่างๆ และระเบียบมาตรฐานสิ่งแวดล้อมสากลเป็นจำนวนมาก
อาหารเครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์ยาสูบ ผลกระทบสูง -มีการใช้มาตรฐานฉลากสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ประมง และเครื่องดื่ม เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศคู่ค้าในสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ ทั้งนี้ การที่อุตสาหกรรมนี้ มีจำนวนผู้ประกอบการที่มาก มีแรงงานอยู่ในอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก และเป็นอุตสาหกรรมที่มีปริมาณการส่งออกไปยังต่างประเทศที่สูง จึงทาให้ได้รับผลกระทบในวงกว้าง
ยานยนต์และชิ้นส่วน ผลกระทบปานกลาง –การที่มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมถูกบังคับใช้เข้มข้นทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น มาตรฐานยานยนต์ Euro 5 มาตรฐานด้านความปลอดภัยของชิ้นส่วนต่างๆ มาตรการทางด้านภาษีเชื้อเพลิงและการใช้พลังงาน เป็นต้น ย่อมส่งผลกระทบต่อประเทศไทยในฐานะหนึ่งในฐานการผลิตและส่งออกยานยนต์และชิ้นส่วนของโลกอย่างไรก็ดี เนื่องจากผู้ประกอบการในประเทศส่วนใหญ่ดำเนินการพัฒนามาตรฐาน ให้สอดคล้องกับนโยบายจากบริษัทแม่ในต่างประเทศ จึงทาให้โดยรวม อุตสาหกรรมมีการปรับตัวและมีความพร้อมต่อมาตรการต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว
เคมีและเคมีภัณฑ์และพลาสติก ผลกระทบปานกลาง–แม้จะเป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้พลังงานสูง และมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกค่อนข้างสูง แต่มาตรการฯ ที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมนี้ ส่วนใหญ่เป็นมาตรการสมัครใจ อาทิ มาตรการประเภทฉลากสิ่งแวดล้อม เช่น ฉลากลดคาร์บอน และฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เป็นต้น รวมทั้งผู้ประกอบการมีการเตรียมพร้อมปรับตัวโดยเฉพาะ เช่น มาตรการสนับสนุนการใช้สารทดแทนปูนเม็ด เป็นต้น อาจได้รับผลกระทบจากการสนับสนุนสารทดแทน
เหล็กขั้นพื้นฐานและเหล็กแปรรูป ผลกระทบปานกลาง–แม้จะเป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้พลังงานสูง แต่มาตรการฯ ที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมนี้ ส่วนใหญ่เป็นมาตรการสมัครใจ อาทิ มาตรการประเภทฉลากสิ่งแวดล้อม เช่น ฉลากลดคาร์บอน และฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เป็นต้น ประกอบกับผู้ประกอบการมีจำนวนไม่มากนัก
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ผลกระทบน้อยถึงปานกลาง–แม้จำนวนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมมีมาก แต่มาตรการลดก๊าซเรือนกระจกต่างๆ ที่ใช้ในอุตสาหกรรมนี้ เป็นมาตรแบบสมัครใจเกือบทั้งหมด เช่น ฉลากคาร์บอน ฉลากแสดงความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ผลิตต้องให้ความสำคัญกับการดำเนินงานตามมาตรฐานเหล่านี้มากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคมีแนวโน้มให้ความสำคัญกับปัจจัยความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสูงขึ้น
เครื่องจักรและอุปกรณ์อื่นๆ ผลกระทบปานกลางถึงสูง –เนื่องจากอุตสาหกรรมดังกล่าวมีความสำคัญต่อภาคการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอื่น และเป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้พลังงานค่อนข้างสูง ประกอบกับมีเรื่องของมาตรฐานพลังงาน ฉลากสิ่งแวดล้อมกากับจำนวนมาก ทำให้ผู้ประกอบการต้องพัฒนาปรับปรุงเทคโนโลยีอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้มีจำนวนน้อยโดยเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ผลกระทบจึงยังไม่สูง
อุตสาหกรรมอื่นๆ ผลกระทบน้อย–สำหรับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว อุตสาหกรรมการบิน เป็นอุตสาหกรรมที่มีระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่อาจไม่สูงโดยเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นๆ และมีมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกจากต่างประเทศที่หลากหลาย เช่น ระบบ EU-FLEGT ของยุโรป การสนับสนุนการกักเก็บคาร์บอนผ่านการปลูกป่า มาตรการ CORSIA ของสายการบิน

แต่ละสาขาที่จะกระทบ เช่น พลังงาน ซึ่งในภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มีการปรับตัวแล้ว แต่SME ก็จะได้รับผลซึ่งต้องมีการลงไปช่วยเหลือ การขนส่ง ต้องปรับตัว และสินค้าอาหารเครื่องดื่มก็ต้องปรับตัว เรื่องของยานยนต์ก็มีการปรับตัวในภาคชิ้นส่วนมากขึ้น สิ่งทอเช่นกันที่ต้องมีการปรับตัวในตัวสินค้าของประเทศไทยการผลิตอะไรต่างๆแรงงานก็ต้องได้รับการอบรมเพื่อการปรับตัวเข้าสู่สังคมการผลิตคาร์บอนต่ำ ซึ่งตอนนี้มีการทำแผนเสริมสร้างพัฒนาขีดความสามารถการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

สรุปแนวทางการใช้โอกาสจากการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ ดำเนินการวางกลยุทธ์ทางธุรกิจสีเขียว (Green Ocean Strategy) ที่ขับเคลื่อนธุรกิจด้วยการให้ความสำคัญสิ่งแวดล้อมและสามารถสร้างกำไรได้ไปพร้อมๆ กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มผู้เล่นรายย่อย กลุ่มสตาร์ทอัพ ในแต่ละอุตสาหกรรมต่างสามารถเข้าถึงโอกาสนี้ได้  พิจารณาสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในอุตสาหกรรมที่ตนเองเชี่ยวชาญ  ประเมินต้นทุนในการพัฒนาหรือจัดหาบุคลากร และประเมินเทคโนโลยีที่จาเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในแต่ละอุตสาหกรรม  วางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดและการเงิน ประชาสัมพันธ์กับกลุ่มผู้บริโภคหรือลูกค้า ศึกษาข่าวสารและประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม แนวโน้มสำคัญทางเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม นโยบาย/ระเบียบภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนและเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องของไทยในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำไปสู่ Thailand 4.0  มีทั้งข้อเสนอโยสรุป เช่นพิจารณาสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการลงทุนในภาคเอกชน เช่น การยกเว้นภาษีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ การยกเว้นภาษีนาเข้าเครื่องจักรเทคโนโลยีสูงสำหรับการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ สร้างความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเดียวกันในการร่วมมือกันดาเนินโครงการพัฒนาเทคโนโลยีที่สะอาด เช่น การร่วมกันพัฒนาโครงการเพื่อขอรับทุนสนับสนุนจากสถาบันทางการเงิน หรือองค์การระหว่างประเทศ และการถ่ายทอดทักษะในการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร และเทคโนโลยีสะอาดระหว่างอุตสาหกรรม และสร้างความตระหนักถึงช่องทางในการเข้าถึงทุนสนับสนุนโครงการที่เกี่ยวข้องกับการลดก๊าซเรือนกระจก รวมถึงกระบวนการขอรับทุนสนับสนุนให้แก่ภาคเอกชนถ่ายทอดความรู้ และความเข้าใจเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการผลิตและบริการระหว่างผู้ประกอบการในแต่ละภาคอุตสาหกรรมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ  เป็นต้น พร้อมทั้งสร้างความตระหนักเรื่องผลจากการปล่อยของก๊าซเรือนกระจกให้แก่ผู้บริโภค และให้ข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสินค้าและบริการมากขึ้น โดยมีการร่าง แผนการเสริมสร้างขีดความสามารถการดาเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศของประเทศไทยแล้ว

ต่อมา เสวนา เรื่อง “สถานการณ์ปัจจุบันของไทย และแนวทางการดำเนินงานในอนาคต”

คุณอาริยะ ทวนทอง รองประธานฝ่ายพัฒนาบุคลากร กลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การทำงานในส่วนของชิ้นส่วนยานยนต์ ที่การทำงานร่วมกับเอกชนและแรงงาน และรัฐ การเป็นรถยนต์หนึ่งคัน ประกอบด้วยบริษัทประกอบรถยนต์ และกลุ่มบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งต้องเกื้อกูลซึ่งกันและกันรถมีส่วนประกอบจำแนกได้ 9 กลุ่มใหญ่ มีชิ้นส่วนราว 30,000 ชิ้น มีผู้ผลิตชิ้นส่วนมาก เกิดความหลากหลายของตลาด เพิ่มเป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่อง

ภาพรวมของระบบ Supply Chainอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน มี เครื่องจักรกล  เครื่องมือและอุปกรณ์ทางกล แม่พิมพ์ เครื่องมือและอุปกรณ์จับชิ้นงาน กลุ่มผู้ประกอบรถจักรยานยนต์ ประกอบด้วย 8 บริษัท 8 โรงงาน ผู้ประกอบรถยนต์นั่ง และกระบะจำนวน 17 บริษัท และ23 โรงงาน ผู้ประกอบรถยนต์ มี 10,000 คน ผู้แทนจำหน่าย และผู้ให้บริการ 20,000 คน ด้าน ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 368 บริษัท ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ และรถจักรยานยนต์จำนวน 122 บริษัท ผู้ผลิตชิ้นส่วนจักรยานยนต์ 201 บริษัท รวมทั้งหมด 709 บริษัท ผู้ผลิตชิ้นส่วนขนาดกลาง และขนาดเล็ก 1,700 บริษัท รวมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 450,000 คน อุตสาหกรรมสนับสนุนอีก 100,000 คน คือรถยนต์มี 9 กลุ่ม มีโรงงานที่ประกอบรถยนต์ 23 โรงงาน 1700 บริษัทขนาดเล็ก รวมคนงาน 7 แสนคน ยอดการผลิต มีนโยบาย 3 ล้านคัน ผลิตอยู่ที่ 2 ล้านคัน เท่านั้นภาพรวมยอดการผลิต ยอดขายรถยนต์ ปีนี้ก็น่าจะเหมือนเดิม จริงแล้วกำลังการผลิตอยู่ที่ 3 ล้านคัน ตัวเลข 1.0 ล้านๆบาท การพัฒนาหรือการเดินอุตสาหกรรมต้องเน้นที่เทคโนโลยี และคุณภาพจึงจะเดินหน้าไปเทียบเท่าประเทศอื่นๆอย่างเยอรมัน ซึ่งตอนนี้จีนก็ก้าวข้ามเราไปแล้ว และยังมีต่อเนื่อง อุตสาหกรรมบริการ กระจายสินค้าการเงิน การทดสอบ การให้คำปรึกษาเฉพาะด้าน และ โลจิสติกส์อุตสาหกรรมต้นน้ำ เช่น พลาสติก เหล็ก ยาง อิเล็กทรอนิคส์ แก้ว และกระจก สิ่งทอและผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง สารเคมี น้ำมัน สีและการชุบผิว กลุ่มนโยบายที่สนับสนุน ทั้งสถาบันการศึกษา รัฐบาล สมาคม และผู้ประกอบการเป็นต้น

อุตสาหกรรมต้นน้ำ เช่น พลาสติก เหล็ก ยาง อิเล็กทรอนิคส์ แก้ว และกระจก สิ่งทอและผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง สารเคมี น้ำมัน สีและการชุบผิว กลุ่มนโยบายที่สนับสนุน ทั้งสถาบันการศึกษา รัฐบาล สมาคม และผู้ประกอบการเป็นต้น

โดยภาพรวมยอดการผลิต และยอดขาย ผลการทบในทางที่“ดี” คือ ภาครัฐให้ความสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็น ศูนย์กลางในการผลิตรถยนต์ ผลการทบในทางที่“แย่” คือ ปัญหาเศรษฐกิจปัจจุบัน ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก คาดว่าจะฟื้นปี2018

ข้อมูลมูลค่าการส่งออกของคลัสเตอร์ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ของไทย ราว ปี 2558 Total Export Value 1.2 ล้านล้านบาท มูลค่าการส่งออกยานยนต์ & รถจักรยานยนต์ของประเทศไทย 642,529 ล้านบาท และมูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ของประเทศไทย 556,723ล้านบาท

ช่องว่างเชิงยุทธศาสตร์ในการพัฒนาคลัสเตอร์ยานยนต์และชิ้นส่วน ระหว่างประเทศไทย กับต่างประเทศ คือ คู่แข่งเน้นการออกแบ่ง และการสร้างความแตกต่าง และคุณภาพ เทคโนโลยีการออกแบบ ในส่วนของผู้นำ ซึ่งมีความพร้อมทุกด้านรวมถึงทักษะแรงงาน และผลิตภาพ  และผู้ตามการสร้างการได้เปรียบในการแข่งขันคือต้นทุนต่ำ มีตลาดภายในประเทศขนาดใหญ่ต้นทุนต่ำ แรงงานราคาถูกทั้ง ประเทศเวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนิเซีย และประเทศไทย  ซึ่งต้องมีการยกระดับเทคโนโลยี ยกระดับคุณภาพ เพื่อการแข่งขันด้านต้นทุน ซึ่งประเทศไทยจะก้าวข้ามช่องว่างไปได้อย่างไร ต้องมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้มีทักษะเฉพาะด้านที่สูงขึ้น และมีศูนย์ทกสอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ต้องยกระดับเพิ่มระดับ Technical & Skill

แนวทางการพัฒนา ให้ประเทศไทยเป็น Auto-Technopolis ตามนโยบาย Thailand 4.0 คือ

  1. การพัฒนาด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน ขอให้ภาครัฐจัดตั้งศูนย์ทดสอบยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ (Automotive Research and Testing Center : ARTC)  และศูนย์ทดสอบยางล้อ ณ สนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา
  2. การพัฒนาบุคลากรสาหรับอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน ขอให้ภาครัฐสนับสนุนงบประมาณสำหรับการดาเนินงานของสถาบันพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ (Automotive Human Resource Development Academy : AHRDA) ที่สมุทรปราการ และขยายสาขาไปยังระยองและปราจีนบุรี
  3. การพัฒนาระบบ Automation และ Robotic ขอให้ภาครัฐจัดตั้งสถาบันเครื่องจักรกลอัตโนมัติในการผลิต (Manufacturing Automatic and Robotic Institute : MARI) โดยสนับสนุนงบประมาณผ่านสถาบันไทย-เยอรมัน (TGI)
  4. การส่งเสริมด้านการวิจัย พัฒนา และการออกแบบ ขอให้ภาครัฐ จัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาชิ้นส่วนยานยนต์ (Research Development and Design :R&D2) โดยสนับสนุนงบประมาณผ่านสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
  5. การพัฒนาด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน ขอให้การนิคมอุตสาหกรรม (กนอ.) กำหนดพื้นที่การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้อยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กับพื้นที่สนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา
  6. การจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ภายใต้ กอช. ขอให้มีการจัดคณะกรรมการยานยนต์และชิ้นส่วนฯ ภายใต้ กอช. เพื่อกำหนดทิศทางและนโยบายของอุตสาหกรรมให้มีความสอดคล้องกัน

การสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาอุตสาหกรรม S-Curve คือต่อยอด 5 อุตสาหกรรมเดิม และเติม 5 อุตสาหกรรมใหม่  เดิมคือ แปรรูปอาหาร การเกษตรชีวภาพ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และการท่องเที่ยวสำหรับผู้มีรายได้ดี อิเล็กทรอนิคส์อัจฉริยะ และยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรม คือ เศรษฐกิจดิจิทัล  เชื้อเพลิงชีวภาพ การบินโลจิสติกส์  การแพทย์ครบวงจร และหุ่นยนต์ ซึ่งยานยนต์สมัยใหม่ การบินโลจิสติกส์ และ หุ่นยนต์ ถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่นำมาพัฒนาเพื่อสิงแวดล้อม แม้ดูว่ามีต้นทุนแต่ว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า

เทคโนโลยียานยนต์ในอนาคต (TheAutomotive Technology of The Future) ประกอบด้วย รถแบบHybrid เป็นรถยนต์ ที่มีระบบการทำงานของเครื่องยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สองระบบทำงานร่วมกัน โดยทั่วไปแล้วหมายถึงการทำงานร่วมกันระหว่างระบบสันดาปภายในที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงทำงานร่วมกับระบบมอเตอร์ไฟฟ้า รถยนต์ EVคือ รถยนต์พลังไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV หรือว่าจะเป็นพลังงานแบบ Fuel Cell เซลล์เชื้อเพลิง คือ อุปกรณ์ที่ผลิตพลังงานไฟฟ้าผ่านกระบวนการทางเคมีไฟฟ้า โดยการเปลี่ยนโมเลกุลไฮโดรเจนและออกซิเจนให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยไม่ผ่านปฏิกิริยาการเผาไหม้ จึงไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศ จึงเป็นพลังงานสะอาด และยังมีประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่องยนต์ที่ใช้พลังงานจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงถึง 2-3 เท่า

                รถไฟฟ้าที่จะเข้ามา วันนี้ยังไม่รู้ว่าจะเป็น EV หรืออะไรคือยังไม่นิ่ง การผลิตคือรถยนต์นำ และชิ้นส่วนตาม ชิ้นส่วนยานยนต์มี 9 กลุ่ม 1. พาเวอร์เทรน ส่วนส่งกำลัง  ไม่อยู่ 2. แชนชี 3. ตัวถัง 4. ส่วนประกอบภายใน 5. สายไฟ เครื่องเช็ดกระจก 6. ระบบควบคุม 7. พวงมาลัย 8. เบรก 9. อื่น ๆ สวิทกุญแจ ยกเว้นกระจกมองข้าง อาจไม่รอด เพระกระจกมองข้าง

ทักษะพื้นฐาน คือต้องมีSkill common skills คือเรื่องนั้นๆในทักษะที่ควรมี คนที่ทำงานทั้งหมดแรงงานต้องเข้าใจดี จะเป็นคนที่มีคุณภาพบวกSkill ทักษะที่มาสนับสนุน การซ่อมบำรุงก็ต้องใช้แบบนี้

นายอาริยะ กล่าวอีกว่า หลังจากที่มีการทำความตกลงปารีสแล้ว ปี 2559 ก็ได้ไปดูรถไฟฟ้าที่ตึกไทยคู่ฟ้าเลย ในต่างประเทศมี 6 ข้อ คือการส่งเสริมให้มีการผลิตรถไฟฟ้า และสนับสนุนการใช้รถไฟฟ้า พฤติกรรมการใช้รถไฟฟ้าของโลก มีการลงทุนสร้างมาตรฐานเพื่อให้คนใช้ มีการทำอาแอนดี เพื่อที่จะให้มีการจัดทำวัตถุดิบซึ่งจีนคุมอยู่ ประเทศไทยก็มีการหารือ ตั้งแต่ปี 2559 อะไรที่เป็นรูปธรรมก็จะให้ คือรถไฟฟ้าออกมาแล้ว 4 รูปแบบ BEV มี 1,500 คัน รถมอเตอร์ไซค์ และรถบัส สถานีรถไฟฟ้า 100 กว่าแห่ง มีการส่งเสริมการให้มีการใช้ในพื้นที่ อย่างที่มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ที่มีรถไฟฟ้าวิ่งภายใน ซึ่งหากรัฐบาลมีการส่งเสริมก็จะไปได้ไวแน่นอนสำหรับรถไฟฟ้า

“ เราอยู่ในยุคเทคโนโลยีปั่นป่วน การเปลี่ยนผ่าน มั่นใจได้อย่างไรที่รถไฟฟ้าจะไม่เลี่ยนเป็นโดรน การเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ปัญหาคือโปร์ดักส์ โพเสท  Peeper พัฒนาอย่างไร ให้ถึงศักยภาพ การเทรนนิง  การที่จะเออาตัวรอดได้ คือสมาร์ท โพเส สมาร์ทพิเพิล สมาร์ทโปร์ดัก”  อาริยะ กล่าว

คุณสุกัญญา ภู่พัฒนากุล ผู้อำนวยการกองบริหารข้อมูลตลาดแรงงาน กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า กระทรวงแรงงานได้มีการดำเนินการ กองการจัดหางานก็มีการเตรียมการตามนโยบาย ผู้สูงอายุปี 2561 มีทั้งหมดร้อยละ 16 แล้ว เป็นข้อมูลปี 2561 เด็ก 100 คน มีผู้สูงอายุ 96 คน อนาคตอาจจะมากกว่านี้ตามสัดส่วนมีความใกล้เคียงแล้ว และตรงนี้นโยบายต่างๆก็มีการพูดถึงมากขึ้น และคนที่เกษียรไปแล้วก็มีทักษะในการทำงานอยู่ และภาวการณ์ทำงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติ กำลังแรงงาน 38 ล้านคน ผู้มีงานทำ 37 ล้านคน ข้อมูลปี 2561 ภาพทางประชากรยังไม่น่ากลัวอะไรมากหนัก ต่างกันเพียงเล็กน้อย

ผู้มีงานทำ 37 ล้านคน มีกลุ่มนายจ้างผู้ประกอบการที่มีธุรกิจส่วนตัว ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติมีหลากหลาย และในโดยเฉลี่ยผู้ที่อยู่ในแรงงานเอกชน มีจำนวน 13 ล้านคน อายุส่วนใหญ่อยู่ที่ 40-49 ปี หากรวมอายุ 50 ปี อยู่ที่ 4 ล้านกว่าคน ซึ่งการพัฒนาควรอยู่กลุ่มไหน ส่วนใหญ่ผู้ทำงานอยู่ที่อายุ 40-49 ปี ซึ่งการเสริมทักษะจะเป้นอย่างไร  อายุ 30- 40 ปี แต่ละอุตสาหกรรม มีการจำแหนกแล้วปี 2560 ก็มีคนทำงานด้านการเกษตรนั้นมีมากที่สุด การที่จะมีการสื่อสารกันเรื่องรถยนต์นั้นต้องมีการศึกษา  หากจะแบ่งตามอุตสาหกรรม 10 อุตสาหกรรม ก็จะมี 5 แสน 4 คนที่ทำในส่วนของอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมดิจิตอลยังไม่มีตัวเลขที่ชัดเจน ซึ่งก็ยังไม่มากในการที่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการกระจายตัวตามอุตสาหกรรม อายุ 45 ปีลงมากก็เริ่มลดลง จะอยู่ตรงกลางๆมากกว่า การกระจายตัวอยู่ที่อายุ 25-40 ปี รายได้อยู่ที่ เฉลี่ย 14,000 คน อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จะอายุยังน้อย อายุ 40 ปีก็จะหายไป ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีกระจายตัวในการจ้างงาน อายุ 25 ปีจะอยู่ในนอกระบบเกษตร และการท่องเที่ยว

คุณสุกัญญา กล่าวอีกว่า ก็มีการสำรวจจากภาคเอกชน และมีการวางแผนกำหนดนโยบายออกมา ปี 2562 ที่จะมีการจบ คือมีการยกระดับฝีมือแรงงาน ในอนาคต  เพื่อการรองรับการจ้างงานในอีอีซี มีการส่งเสริมเรื่องผู้สูงอายุ  ยุวแรงงาน และคนพิการ และผู้ที่จะพ้นโทษ ก็มีการเชิญในส่วนของผู้ประกอบการทำMOU มีการลงนามร่วมกัน อยู่ และมียุวเยาชน และผู้พ้นโทษในอนาคตที่จะมีการทำMOU ซึ่งในส่วนของการพัฒนาทักษะเพื่อให้เข้าสู่การจ้างงานในอาชีพที่ได้รับผลกระทบซึ่งยังไม่มีข้อมูลที่ได้รับผลกระทบด้านแรงงาน และประกันสังคมที่จะมีการปรับสิทธิประโยชน์เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงให้สอดคล้อง และยังมีเรื่องแรงงานข้ามชาติที่ต้องมีการทำMOU กับ 4 สัญชาติ และยังมีนโยบายการพัฒนาเป็นอีเซอร์วิส และมีการทำศูนย์ข้อมูล การออกกฎหมายค่าจ้างรายชั่วโมง

“ในส่วนของสถาบันการศึกษา ที่จะมีการปรับหลักสูตรใหม่ๆที่เพิ่มมากขึ้นในการจัดการศึกษา แผนนโยบายในการที่จะมาดูเรื่องผลกระทบจะเป็นอย่างไร ด้วยภารกิจของกระทรวงแรงงานมีการดูแลทุกกลุ่ม ซึ่งเราก็มีการให้การฝึกอาชีพเพิ่มเติม หากมีความต้องการในการพัฒนาตัวเองอย่างไร หรือต้องการเปลี่ยนงาน เปลี่ยนทักษะไปเลยก็ได้” คุณสุกัญญา กล่าว

คุณมานิตย์ พรหมการีย์กุล  ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ภาวะโลกร้อน ที่เกิดขึ้นมีผลกระทบต่อทุกคนในโลกนี้ ซึ่งประเทศไทยได้มีแนวคิดในการพัฒนาEEC สนับสนุนการลงทุน 3 จังหวัด ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ให้ใช้เทคโนโลยีระดับสูง ซึ่งรัฐบาลมองว่าจะมีการผลิตรถไฟฟ้า และให้ประเทศไทยผลิตรถไฟฟ้าส่งออก ซึ่งอุตสาหกรรมก็ผลิตEco Car ปัจจุบัน ก็ส่งเสริมรถไฟฟ้า กลุ่มยานยนต์ที่ผลิตรถยนต์ก็กระทบกับภาวะเรือนกระจก และมีแผนในการใช้ฟอสซิสที่ส่งผลกระทบกับสิ่งแวดร้อนตอนนี้ Eco Car รถกะบะจะเป็นไฮบริด ใช้น้ำมัน ผสมกับไฟฟ้า โดยระบบโครงสร้างในประเทศไทยมีการส่งเสริมในการลดภาษีในการดึงดูนักวิจัย นักลงทุน แล้วชาวบ้าน ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ต้องได้รับผลกระทบหรือได้ประโยชน์อะไรจากการอยู่ในพื้นที่ ซึ่งตรงนี้ จากการที่ได้เรียนรู้กับผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ มีการนำถ่านหินมาใช้ในอุตสาหกรรมไฟฟ้าอยู่ สิ่งที่จะกระทบกับแรงงานคือชิ้นส่วนรถยนต์ เช่นหม้อน้ำ ถังน้ำมัน ชิ้นส่วน 3 หมื่นกว่าชิ้นก็จะลดลง กระทบต่อการจ้างงานแนวนอน ซึ่งเราได้ไปเรียนรู้เรื่องรถไฟฟ้าแล้วในประเทศจีน ซึ่งเขาได้มีการผลิตรถไฟฟ้าแล้ว ซึ่งในสายการผลิตนั้นยาวมาก แต่การใช้การผลิต 20 นาที รถวิ่งออกได้แล้ว ประเทศจีนเปลี่ยนรวดเร็วมาก ซึ่งในประเทศจีนปักกิ่งมีอากาศเป็นมลพิษ แต่ตอนนี้ไม่มีแล้วเพราะรถที่เข้าสู่ปักกิ่งเป็นรถไฟฟ้าหมดแล้ว ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีการปรับตัว ซึ่งการที่จะผลิตรถไฟฟ้า จะมีการปรับตัวในการบริหาร ตู้ปลั๊กในการเสียบไฟฟ้ายังไม่มี ซึ่งประเทศจีนเขามีตลอดทุกที่

คนงานมีการคุยกันเรื่องการเปลี่ยนแปลง และมีการนำรถเล็กๆเป็นรถไฟฟ้า เป็นลูปในการยกของ ขนส่งแล้วภายในโรงงาน นี่ก็เป็นการปรับตัว ซึ่งหลายบริษัทมีการปรับตัวในการศึกษาด้านเทคโนโลยีใหม่ในการผลิตแล้วในส่วนของอุตสาหกรรมอาหาร รถไฟฟ้าเราปรับตัวอย่างไรในส่วนของแรงงาน

คุณมานิตย์ กล่าวอีกว่า วันนี้เป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เนื่องจากระบบ Artificial Intelligence (AI) ไม่ของสวัสดิการ ไม่กินไม่เที่ยว และAI มีความแม่นยำ และไม่ต้องลงทุนมาก เป็นการลงทุนครั้งเดียวคุ้มกว่าการจ้างงานคน แล้วคนงานหายไปไหน มีการจ้างงานนักศึกษาฝึกงานเข้ามาทำงาน ได้เงินได้การเรียนรู้แต่ว่ามีปัญหาเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน และการอ้างเอาเอไอมาใช้เพราะเขาต้องการที่จะพัฒนาทางธุรกิจเพื่อให้ทันกลุ่มอื่นๆ ซึ่งคนงานต้องหายไปเป็นครึ่ง หลายที่หลายบริษัท มีการนำคนงานมากองไว้ อยู่ข้างนอกไม่ได้ออกและดูแล แต่เมื่อมีคนออกจากงานเกษียณอายุไม่มีการจ้างงานเพิ่ม ซึ่งทางเราได้มีการยื่นหนังสือต่อรัฐให้เข้ามาดูแลปัญหาคนไม่มีงาน ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงตรงนี้ 30-40 เปอร์เซ็นต์ ในฐานะที่เราเป็นคนงาน รับบาลต้องมีความชัดเจนในการมีมาตรการดูแล และมีการอบรมพัฒนาคน เมื่อประเทศจีนมีการพัฒนาคนแล้ว รถไฟฟ้าที่มณฑลกวางสี เขาไม่ต้อเสียบปลั๊กไฟฟ้าแล้วแค่วิ่งผ่าน 2 กิโลเมตร เติมไฟฟ้าเต็มแล้ว

“การจะเปลี่ยนแปลงอะไร ก็ต้องรอนโยบายรัฐบาลในการมีนโยบาย ซึ่งเมื่อเป็นอย่างนี้แรงงานได้ส่งตัวแทนเข้าสภาแล้ว 2 คน การแก้ไขปัญหาของชนชั้นใดก็ต้องชนชั้นนั้นมาแก้ปัญหา” คุณมานิต กล่าว

รศ.ดร.กิริยา กุลกลการ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า มี 15 รายที่มีแผนในการผลิตรถยนต์ EV แล้ว หากจะมีการเก็บภาษีสีเขียวก็เป็นประเด็นประชาชนไม่พอใจ ซึ่งในส่วนของฝรั่งเศสเราก็เห็นปัญหาประท้วงกันอยู่ในการที่จะมีการจัดเก็บภาษีสีเขียว ที่ประเทศนอเวย์ จะเห็นว่ามีการบริหารจัดการมีความพร้อม เยอรมันก็เริ่มในการปรับตัว มีการช่วยด้วยงบประมาณ มีช่องทางพิเศษให้ด้วย และญี่ปุ่น และก็มีแท่นชาร์หัวแบบเดียวกันชาร์ทได้ทุกที่ มีการลดภาษีให้กับผู้ซื้อรถยนต์EV ประเทศไทยเริ่มมีการส่งเสริมแล้ว และปี 2021 มีเป้าในการผลิต และมีเป้าหมายแล้วในการผลิตรถไฟฟ้า มีการออกกฎหมาย การทำวิจัยเชิงลึก มีการศึกษาวิจัย EVแบตเตอรี่ เป็นอย่างไร ปี 2017 มีการสร้างปั้ม มีอุตสาหกรรมขอการสนับสนุนการสร้างโรงงานรถไฟฟ้า

เหลือชิ้นส่วน 1,500-5,000 ชิ้น ที่จะยังเหลืออยู่เมื่อมีการปรับตัวเป็นรถไฟฟ้า และรถยนต์ไฟฟ้าประกอบใช้เวลาน้อยลง และมีการบำรุงรักษาน้อยลง ซึ่งก็จะเห็นว่ามีผลกระทบต่อการจ้างงานชัดเจน กลุ่มเสี่ยงคือเครื่องยนต์ พาเวอร์เทรน ที่เสียงที่สุด แต่ว่าอาจมีการอัพเกรดเทคโนโลยี และกระทบกับแรงงานเท่าไร มีตัวเลขกระทรวงอุตสาหกรรม 7 แสนคน ชิ้นส่วน 162 รายการ 51 รายการที่กระทบ มีผู้ผลิตชิ้นส่ง 999 บริษัทกระทบแรงงาน 3 แสนกว่าคน 999 บริษัท 55 เปอร์เซ็นต์ที่ส่งกำลัง และแม่พิมพ์ต่อมา และระบบเบรก ต่อมา ส่วนใหญ่อยู่ในส่วนของกลุ่มระบายความร้อน 62 เปอร์เซ็นต์  เชื่อเพลิงก็ถังน้ำมัน

ช่วงล่าง คือ ระบบเบรค และอื่น ที่ได้รับผลกระทบ นอกจากภาคอุตสาหกรรมยังมีผลกระทบมากกว่านั้นอย่างภาคเกษตร ความต้องการน้ำมันลดลง ความต้องการไฟฟ้าสูงขึ้น เป็นต้น

ดร.กริยา กล่าวอีกว่า ประเทศจีน มีการปรับตัวชัดเจนไปแน่ หากประเทศไทยไม่ไปด้วยอาจเสียพื้นที่ในการตลาดด้านรถไฟฟ้า ซึ่งจะไปอย่าไร เป็นการเปลี่ยนผ่านที่กระทบกับโครงสร้าง ที่ทำให้มีทั้งคนที่ได้ประโยชน์และคนที่เสียประโยชน์ การจะอยู่ร่วมกันอย่าไร หากเลือกที่จะไปกับEV Car ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ยังมีแบบเดิมอยู่ด้วยมีสัดส่วนในการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่มีการกระจายผลประโยชน์มีผลได้ผลเสีย ซึ่งต้องมีการจัดการให้คนได้ประโยชน์ดูแลคนเสียประโยชน์ หรือจะเดินไปด้วยกันมีการจัดสรรผลประโยชน์ร่วมกันเพื่อการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม และเพื่อการรักษาผลประโยชน์ทางอุตสาหกรรม

ตอนนี้กระแสความหวาดกลัวการเปลี่ยนแปลง จึงทำให้ประชาชนชาวสหรัฐอเมริกาได้โดนัลด์ ทรัมป์ มาเป็นประธานาธิบดี เนื่องจากความหวาดกลัวของโลกาภิวัตน์ทำให้คนไม่กล้าที่จะเปลี่ยนผ่าน ซึ่งเยอรมันก็เป็นตัวอย่างที่ดีที่จะไม่ยอมทิ้งใครไว้ข้างหลัง มองมิติสังคม การกระจายผลประโยชน์อย่างไร ในส่วนของประเทศไทยแรงงานหลายกลุ่มบางส่วนอาจปรับทักษะได้ และเกิดงานใหม่ๆมาหมุนตลาดแรงงาน  แต่แรงงานบางส่วนก็ไม่สามารถที่จะปรับได้ ซึ่งบทบาทรัฐในการเตรียมความพร้อมตรงนี้ยังไม่ได้มีความชัดเจน ซึงต้องคิดว่าจะสร้างตลาดแรงงาน หรือว่ามีระบบอะไรมารองรับ เพื่อไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังเมื่อมีการพัฒนา

สรุปโดย วาสนา ลำดี