พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย : ภารกิจทางประวัติศาสตร์


20150104_152342

ประชุมสามัญประจำปี 2558  มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2558 ณ ห้องบอลรูม 1 โรงแรมอีสติน มักกะสัน ราชเทวี กทม.

มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย กำหนดจัดประชุมสามัญประจำปี 2558 เพื่อรายงานผลการดำเนินงานและการเงินในรอบปีที่ผ่านมาตามกฎหมายข้อบังคับ รวมทั้งการประชุมเสวนาเพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการกำหนดแผนการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยต่อไป

ทั้งนี้ ในยุค คลื่นลูกที่ 1 ของพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย นั้น เป็นเจตนารมณ์ร่วมขององค์กรแรงงานต่างๆ ในความพยายามที่ผู้ใช้แรงงานจะเขียนประวัติศาสตร์ของตัวเอง จึงถือว่าผู้ใช้แรงงานทั้งมวลนั้นเป็นสมาชิกของพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยโดยอุดมการณ์ ซึ่งทางมูลนิธิตระหนักอยู่เสมอว่า จะต้องให้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการดำเนินงาน เพื่อให้พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยเป็นสถานที่ที่ตอบสนองแรงงานทุกกลุ่ม ทุกองค์กร ได้อย่างครอบคลุม นอกเหนือไปจากการบริการต่อสังคมเพื่อประโยชน์แห่งสาธารณะ

20150104_152229

กว่า 20 ปีผ่านไป จึงน่าจะเป็นยุค คลื่นลูกที่ 2 ของพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ที่มีเรื่องความท้าทายต่อเจตนารมณ์ดั้งเดิมในภาวะที่องค์กรแรงงานต่างก็มีการปรับเปลี่ยนผู้นำองค์กรสู่คนรุ่นใหม่

การสานต่อภารกิจทางประวัติศาสตร์ โดยการร่วมแสดงเจตนารมณ์และแสดงความคิดเห็นจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานและการคงอยู่ของพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย อันเป็นสถานที่บันทึกประวัติศาสตร์แห่งคุณค่าและศักดิ์ศรีของแรงงานต่อไป

กำหนดการ

09.00 น.           ลงทะเบียน

09.30 น.           การประชุมสามัญประจำปี 2558 มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

วาระที่ 1  นายทวีป กาญจนวงศ์ ประธานมูลนิธิกล่าวเปิดประชุม และแจ้งเรื่องต่อที่ประชุม

วาระที่ 2  รับรองรายงานการประชุมสามัญประจำปี 2557

วาระที่ 3  รายงานงบดุลปี 2557 และแต่งตั้งผู้สอบบัญชี

วาระที่ 4  รายงานผลการดำเนินงานในรอบปี 2557

วาระที่ 5  เรื่องเพื่อพิจารณา และเรื่องอื่นๆ

– การปรับแก้ข้อบังคับเรื่องคณะกรรมการ องค์ประชุม ฯลฯ

10.30 น.           พักอาหารว่าง

10.45 น.           ฉายวีดิทัศน์ เรื่อง “ แรงงานผุ้เขียนประวัติศาสตร์” (7 นาที)

10.55 น.           เสวนา โดยตัวแทนองค์กรแรงงานต่างๆ ในหัวข้อ

                    ” ยุคคลื่นลูกที่ 2 ของพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย : เจตนารมณ์และการมีส่วนร่วมของผู้นำรุ่นใหม่           ในภารกิจทางประวัติศาสตร์ “

12.00 น.           พักอาหารกลางวัน

13.00 น.           ร่วมกำหนดแผนการดำเนินงานปี 2558 ตามแผนยุทธศาสตร์

โดย       – คณะกรรมการมูลนิธิและที่ปรึกษา

– ตัวแทนองค์กรแรงงานต่างๆ

แผนยุทธศาสตร์ 1  เรื่องอาคารสถานที่

แผนยุทธศาสตร์ 2  เรื่องการหารายได้ (การสนับสนุนด้านงบประมาณ)

แผนยุทธศาสตร์ 3  เรื่องการทำงานกับขบวนการแรงงาน

แผนยุทธศาสตร์ 4  เรื่องการตลาด (สร้างจุดขายและการรับรู้)

แผนยุทธศาสตร์ 5  เรื่องบทบาทภารกิจของพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

 

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย : ภารกิจทางประวัติศาสตร์

เสวนาเรื่อง ” ยุคคลื่นลูกที่ 2 ของพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย  เจตนารมณ์และการมีส่วนร่วมของผู้นำรุ่นใหม่ในภารกิจทางประวัติศาสตร์ “

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย : ภารกิจทางประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ของการพัฒนาประเทศไทย มิอาจแยกออกจากประวัติศาสตร์แห่งการสร้างสรรค์ของมวลผู้ใช้แรงงานไทยได้ ผู้ใช้แรงงานจำนวนมหาศาลต้องใช้หยาดเหงื่อและแรงกายตากแดดกรำฝนเพื่อสร้างความสำเร็จให้กับกระบวนการพัฒนาดังกล่าว แต่เรื่องราวของพวกเขากลับกลายเป็นสิ่งลึกลับหายสาบสูญไปจากหน้าประวัติศาสตร์ไทย ไม่ค่อยมีการกล่าวขานยกย่อง นี่คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ใช้แรงงานไทยมีสถานภาพทางสังคมที่ด้อยกว่าคนกลุ่มอื่นๆ

Untitled-2Untitled-3

1 ธันวาคม 2534 ที่ห้องประชุมมูลนิธิฟรีดริคเอแบร์ท การประชุม “โครงการรวบรวมประวัติศาสตร์ และจัดทำพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย” โดยองค์กรแรงงาน องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการด้านแรงงาน นักประวัติศาสตร์ และนักจดหมายเหตุ มีมติร่วมกันให้มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยขึ้นเพื่อเป็นสถานที่รวบรวมและจัดแสดงเรื่องราวของผู้ใช้แรงงานไทย และด้วยการร่วมแรงร่วมใจชนิดช่วยกันคนละไม้คนละมือ ในที่สุดอาคารเก่าแก่ชั้นเดียวที่เคยมีประวัติเป็นสถานีตำรวจรถไฟและที่ทำการสหภาพแรงงานรถไฟ ก็ได้ถูกเนรมิตขึ้นด้วยน้ำพักน้ำแรงของผู้ใช้แรงงานให้กลายเป็นสถานที่บอกเล่าเรื่องราวของพวกเขา อันถือเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกในประเทศไทยที่บอกเล่าเรื่องราวของชนชั้นกรรมาชีพ โดยมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2536 ต่อมาในปี 2543 ปิดปรับปรุงและเปิดดำเนินการใหม่อีกครั้งเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2546

Untitled-4Untitled-5

วัตถุประสงค์

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยก่อตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์ 4 ประการ

ประการที่ 1       เพื่อจัดแสดงเรื่องราว ประวัติความเป็นมา ชีวิตความเป็นอยู่ และการทำงานของผู้ใช้แรงงาน

ประการที่ 2        เพื่อเป็นสถานที่สำหรับศึกษาค้นคว้า รวบรวม และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ แรงงานไทย

ประการที่ 3        เพื่อเป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูล เอกสาร หนังสือ เทปบันทึกเสียงและวิดีโอเทปเกี่ยวกับ แรงงานไทย  สำหรับให้บริการแก่สาธารณชน

ประการที่ 4        เพื่อเป็นศูนย์ศิลปวัฒนธรรมแรงงาน  ที่จัดกิจกรรมเพื่อผู้ใช้แรงงานและสาธารณชน

Untitled-6

การบริหารจัดการ

แรกเริ่ม โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย มี ศาสตราจารย์นิคม จันทรวิทุร เป็นประธาน  เมื่อจัดตั้งพิพิธภัณฑ์แล้ว บริหารโดยคณะกรรมการที่มี นาย บุญเทียน ค้ำชู อดีตประธานสหภาพแรงงานการไฟฟ้านครหลวง เป็นประธานคนแรก และได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ.2539 มีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ให้การสนับสนุนมาเป็นกรรมการกิตติมศักดิ์และที่ปรึกษา

ปัจจุบันมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยมี นาย ทวีป กาญจนวงศ์ อดีตประธานสหภาพแรงงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย เป็นประธานมูลนิธิฯ  นายวิชัย นราไพบูลย์  เป็นผู้จัดการพิพิธภัณฑ์  มีเจ้าหน้าที่ประจำ 2 คนคือ นางสาวสุมาลี ลายลวด และนางสาวภัชรี ลายลวด  มีเจ้าหน้าที่อาสาสมัคร 1 คนคือ นางสาววาสนา ลำดี

รายได้ และ การสนับสนุน

เริ่มแรก มูลนิธิฟรีดริคเอแบร์ท เป็นผู้สนับสนุนในการจัดทำพิพิธภัณฑ์ การดำเนินงานและจัดจ้างเจ้าหน้าที่ ตั้งแต่ปี 2547 ถึงปัจจุบัน  มูลนิธิรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทุกด้าน โดยมีรายได้จากการรับบริจาค การรับผลิตสื่อ การขอทุนทำโครงการ การจำหน่ายของที่ระลึก หนังสือ ซีดี และการจัดกิจกรรมหารายได้ เช่น ทอดผ้าป่า และอื่นๆเป็นครั้งคราว

 

Untitled-1

 

คณะกรรมการกิตติมศักด์ จำนวน 24 คน

  1. นายศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา นักวิชาการด้านแรงงาน
  2. นางรัชนีบูรณ์ โพธิ์อ่าน                ภรรยานายทนง  โพธิ์อ่าน
  3. นางสาวสงวน ขุนทรง กลุ่มสหภาพแรงงานย่านอ้อมน้อยอ้อมใหญ่
  4. นางสาวอรุณี  ศรีโต                     เครือข่ายกลุ่มผู้ตกงาน
  5. นายบุญสม ทาวิจิตร    กลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง
  6. นางวิลาวัณย์ ศรีสติ                   ลูกสาวนายศุภชัย  ศรีสติ
  7. นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย            คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย
  8. นายสาวิทย์  แก้วหวาน               สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
  9. นายยงยุทธ แม่นตะเภา             สหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย
  10. นางสุจิน รุ่งสว่าง                      เครือข่ายแรงงานนอกระบบ
  11. นายชินโชติ แสงสังข์                 สภาองค์การลูกจ้าง สภาแรงงานแห่งประเทศไทย
  12. นายไพทูรย์ สีดา                       กลุ่มสหภาพแรงงานปราจีนบุรี
  13. นางสาวธนพร วิจันทร์                 กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี
  14. นายสุวิทย์ ระวิวงศ์                    สหภาพแรงงานขนส่งสินค้า
  15. นายสมศักดิ์ โกศัยสุข   ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟฯ
  16. นายวิโรจน์ แจ่มแจ้ง                  สหภาพแรงงานไทยคาร์บอนแบล็ค
  17. นางสาวปรีดา ศรีสวัสดิ์             มูลนิธิฟรีดริค  เอแบร์ท
  18. นายประวิทย์ สังข์มี                 สหภาพแรงงานธนาคารทหารไทย จำกัด
  19. นางวัลลภา สลิลอำไพ               อดีตผู้นำแรงงานรัฐวิสาหกิจ
  20. นางสาวเพลินพิศ ศรีศิริ             อดีตผู้นำแรงงานรัฐวิสาหกิจ
  21. นางอำนวย เอี่ยมรักษา              สหพันธ์แรงงานกระดาษและการพิมพ์ฯ
  22. นายเอกชัย เอื้อธารพิสิฐ             ไทยพีบีเอส
  23. นายธนกิจ สาโสภา                  สหภาพแรงงานฮอนด้าประเทศไทย
  24. นางสาวอัปสร กฤษณะสมิต        สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน)

 

ที่ปรึกษามูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย จำนวน 17 คน

  1. นายสกุล สื่อทรงธรรม                      ธนาคารกรุงเทพ จำกัด
  2. นายเอกพร รักความสุข                    นักวิชาการ
  3. นายแพทย์เปรมศักดิ์ เพียยุระ          นักการเมือง
  4. นายสุพจน์ จารุวรรณบำรุง               ที่ปรึกษา สร.ไทยคาร์บอนแบล็ค
  5. นายอดิศร โพธิ์อ่าน                         ลูกชายนายทนง  โพธิ์อ่าน
  6. นางสาวชัญญากานต์  คุ้มดี             บริษัทธิงค์ แอนด์ ดู จำกัด
  7. นายสกลเดช ศิลาพงษ์                  โซริดาซิตี้ เซ็นเตอร์ ประเทศไทย
  8. นายอุดมศักดิ์ บุพนิมิต                    สภาองค์การลูกจ้าง องค์การแรงงานแห่งฯ
  9. นายบัญญัติ กลั่นสุวรรณ                 การเคหะแห่งชาติ
  10. นางวันเพ็ญ เปรมแก้ว                     อดีตผู้นำแรงงานหญิง
  11. นางสาวสุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง          มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล
  12. ดร. วรวิทย์ เจริญเลิศ                      มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  13. นายมงคล ธนกัญญา                      สหภาพแรงงานอีซุซุประเทศไทย
  14. นายสมศักดิ์ สุขยอด                      กลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก
  15. นายอิสระ มุสิกอง                          สหภาพแรงงานเอสโซ่ ประเทศไทย
  16. นายพรมมา ภูมิพันธ์                      สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ
  17. นางสาวชลิดา ศรีสหบุรี                องค์กรพัฒนาเอกชน

รายนามองค์กรแรงงานและบุคคลบริจาคสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม ปี 2557

ที่ องค์กร / บุคคล จำนวนเงิน หมายเหตุ
1. สหภาพแรงงานแรงงานฮอนด้าแห่งประเทศไทย 12,000 ประจำปี
2. สหภาพแรงงานไทยคาร์บอนแบล็ค 5,000 ประจำปี
3. สหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย  จำกัด 6,000 ประจำปี
4. สหภาพแรงงานชิ้นส่วนยานยนต์และโลหะแห่งประเทศไทย 6,000 ประจำปี
5. สหภาพแรงงานธนาคารกรุงเทพ 6,000 ประจำปี
6. สหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานไทยเรยอน จำกัด 5,000 ประจำปี
7. สหภาพแรงงานพานาโซนิคแห่งประเทศไทย 6,000 ประจำปี
8. สหภาพแรงงาน วาย เอส ภัณฑ์ 12,000 ประจำปี
9. สหภาพแรงงานโตโยต้า ประเทศไทย 15,000 สนับสนุนกิจกรรม
10. สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) 70,000 สนับสนุนกิจกรรม
11. คุณวิลาวัลย์  ศรีสติ 200,000 สนับสนุนกิจกรรม
12. องค์แรงงาน / ผู้ใช้แรงงาน / บุคคลทั่วไป บริจาคทอดผ้าป่า 400,000 สนับสนุนกิจกรรม
13. และผู้บริจาคเยี่ยมชม