พนักงานตรวจแรงงานไม่ฟันธงมาตรา11/1 ต้องเสนอกระทรวงแรงงาน

เหมา4หลังมีฎีกาคำพิพากษาศาลแรงงาน ลูกจ้างเหมาค่าแรง รวมตัวยื่นคำร้อง เรียกสิทธิประโยชน์ย้อนหลัง 2ปี

เมื่อประมาณต้นเดือนมิถุนายน2557ทางบริษัทโตโยด้า โกเซรับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งอยู่ในเขตอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ได้ส่งตัวลูกจ้างเหมาค่าแรงงกลับคืนต้นสังกัดไปแล้วประมาณ 50 คน หลังมีผลคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22326-22404/2555 ที่ตัดสินให้ลูกจ้างเหมาค่าแรงมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์เท่าเทียมกับลูกจ้างในสถานประกอบการ

ด้านนายสัพพัญญู นามไธสงประธานสหภาพแรงงานผลิตภัณฑ์ยานยนต์ไทยซึ่งเป็นลูกจ้างประจำของบริษัทโตโยด้า โกเซรับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ชี้แจงต่อนักสื่อสารแรงงานว่า “เดิมบริษัทฯมีลูกจ้างเหมาค่าแรงไม่มากนักแต่พอปี 54-55 บริษัทฯมีการับลูกจ้างเหมาค่าแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆจนมีประมาณ 30% จากพนักงานทั้งหมด เมื่อประมาณต้นเดือนมิถุนายนตนได้รับการร้องเรียนว่ามีการเลิกจ้างพนักงานซับฯและมีคนท้องด้วยโดยบริษัทฯยินดีจ่ายเงินช่วยเหลือให้ทุกคน คนละ15 วัน ผมจึงได้ทำหนังสือขอปรึกษากับทางบริษัทฯเพื่อหาทางแก้ไข เนื่องจากมีพนักงานซับหลายคนทั้งที่ถูกเลิกจ้างและที่ยังทำงานอยู่ไม่พอใจการกระทำครั้งนี้ แต่ทางบริษัทฯกลับไม่ยอมเจรจา เมื่อทางพนักงานซับฯมาปรึกษาผมก็เลยแนะนำสิทธิให้เขาได้รู้ซึ่งก็อยู่ที่เขาจะไปดำเนินการหรือเปล่าผมไม่รู้ แต่ก็มาทราบภายหลังว่ามีพนักงานซับฯทั้งที่ถูกเลิกจ้างและที่ยังทำงานอยู่ไปยื่นคำร้องที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรสาครเพื่อเรียกคืนสิทธิประโยชน์ย้อนหลัง 2 ปี ผมจึงได้สอบถามไปที่เจ้าหน้าที่แรงงานก็ได้รับทราบว่าทางจังหวัดเองก็ยังไม่กล้าวินิจฉัยแต่ได้ทำเรื่องขอปรึกษาไปที่กระทรวงแรงงานแล้วเพื่อให้เกิดความชัดเจนเพราะเป็นกรณีแรกเลยหลังจากที่มีฎีกาออกมา”
เหมา5

หลังจากที่คำพิพากษาศาลฎีกาเรื่องมาตรา11/1 ออกมา มีความเคลื่อนไหวจากทั้งฝั่งลูกจ้างและนายจ้าง เช่นในวันที่13 มิถุนายน 2557 ชมรมบริหารบุคคลธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน(MAC) ได้จัดโครงการอบรมสัมมนา “วิเคราะห์ฎีกา มาตรา11/1 และเสวนาไตรภาคีเพื่อหาแนวทางปฏิบัติ” และเมื่อวันที่16 มิถุนายน 2557 สมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคทรอนิคส์ยานยนต์และโลหะแห่งประเทศไทย (TAEM) ได้จัดสัมมนาเชิงวิชาการเรื่อง ”คำพิพากษาศาลฎีกาตามมาตรา11/1 ให้มีผลทางการปฏิบัติต้องทำอย่างไร? ในการอยู่ร่วมกัน” สรุปแนวทางคำพิพากษา มาตรา11/1ต้องทำอย่างไร สู่ภาคปฏิบัติ และสร้างให้เกิดความเป็นธรรมในการจ้างงาน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ฉบับปรับปรุงแก้ไข พ.ศ.2551 มาตรา 11/1 ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้จัดหาคนมาทำงาน อันมิใช่การประกอบธุรกิจจัดหางาน โดยการทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิด ชอบของผู้ประกอบกิจการ และโดยบุคคลนั้นจะเป็นผู้ควบคุมดูแลการทำงานหรือรับผิดชอบในการจ่ายค่าจ้าง ให้แก่คนที่มาทำงานนั้นหรือไม่ก็ตาม ให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างของคนที่มาทำงานดังกล่าว ให้ผู้ประกอบกิจการดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานในลักษณะเดียว กันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ แต่นายจ้างส่วนหนึ่งที่จ้างงานเหมาค่าแรงยังไม่ปฏิบัติ

นักสื่อสารแรงงานกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก รายงาน