ผู้บริหารและพนักงาน Thai PBS ศึกษาดูงานการบริหารงานสหภาพ TAM

เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 54 เวลา 10.30 น. นำโดย ดร.โชคชัย สุทธาเวช นักวิจัยหลักโครงการสมาพันธ์ นายบัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ นักวิจัยรองโครงการสมาพันธ์ และนายจารึก รัตนบูรณ์ ผู้ช่วยนักวิจัยฯ โครงการงานวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายการส่งเสริมบทบาทสมาพันธ์ สสท. และคณะผู้บริหารและพนักงานThai PBS (องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย) ประกอบด้วย ผศ.ดร.จุมพล พูลภัทร์ชีวินกรรมการนโยบายด้านประชาสังคม ดร.กมล กมลตระกูล กรรมการนโยบายด้านประชาสังคม และกรรมการนโยบายอีกหลายท่าน พร้อมทั้งยังมี นายประสพสินธุ์ บุญประสิทธิ์ ประธานสมาพันธ์สสท. และกรรมการสมาพันธ์ ฯลฯ ร่วมเกือบ 30 คน เข้ามาศึกษาดูงานของสหภาพแรงงานชิ้นส่วนยานยนต์และโลหะแห่งประเทศไทย (TAM)  ที่บริษัท เอ็น  เอช  เค  สปริง  ประเทศไทย  จำกัด  ซอย 10 นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์  อำเภอ บางปะกง  จังหวัดฉะเชิงเทรา

โดยมีกรรมการสหภาพแรงงานชิ้นส่วนยานยนต์ฯ (TAM) และคุณพงษ์ศักดิ์ ศรีวานิชภูมิ ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์บริษัทเอ็น เอช เค สปริง ประเทศไทย ได้ให้การตอนรับกับคณะโครงการงานวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายการส่งเสริมบทบาทสมาพันธ์พนักงานใน สสท. ที่มาศึกษาดูงานการบริหารงานของสหภาพแรงงานแบบอุตสาหกรรม ซึ่งช่วงแรกเป็นการนำเสนอข้อมูลของบริษัทฯที่มีความเกี่ยวข้องในการทำงานร่วมกับสหภาพแรงงานตลอดระยะเวลา 32 ปีตั้งแต่มีสหภาพแรงงานทางบริษัทฯและสหภาพฯแทบจะไม่มีเรื่องที่คัดแย้งกันเลย มีก็ส่วนน้อยมากซึ่งถ้ามีปัญหาหนักเช่น พักงานพนักงาน หรือพิจารณาให้พนักงานออกจากงาน ทางบริษัทฯก็จะเชิญสหภาพแรงงานฯ เข้ามาร่วมพิจารณาความเหมาะสมในแต่ละกรณี ผู้บริหารจากบริษัทฯ อื่นที่พนักงานเพิ่งเข้าเป็นสมาชิกกับสหภาพแรงงานชิ้นส่วนยานยนต์ฯ ก็ได้ติดต่อมาว่าพนักงานบริษัทฯเขาได้เข้ามาเป็นสมาชิกกับ TAM คุณพงษ์ศักดิ์ ได้ตอบไปว่าเรากำลังตกที่นั่งเหมือนกัน ไม้แปลกที่บริษัทฯเพิ่งสหภาพแรงงานฯจะมองสหภาพฯเป็นพวกชอบเรียกร้องแต่สำหรับบริษัทฯเราพยายามให้ผู้นำออกไปหาความรู้ข้างนอก หรือทำงานสหภาพฯเต็มเวลา (Full Time)  และทางบริษัทฯจ้างเจ้าหน้าที่ที่ทำงานให้สหภาพฯอย่างเดียวซึ่งในประเทศไทยมีน้อยมากที่มีอย่างนี้ ผมกล้าพูดว่าทุกวันนี้สหภาพแรงงานชิ้นส่วนยานยนต์ไปไกลกว่าบริษัทฯมาก คุณพงษ์ศักดิ์ กล่าว

จากนั้นนำเสนอข้อมูลสหภาพแรงงานแบบอุตสาหกรรม โดยคุณประทีป  เจริญทรัพย์  เลขาธิการ  สหภาพแรงงานฯ ได้กล่าวถึงการทำงานของสหภาพแรงงานชิ้นส่วนยานยนต์ฯว่า เป็นแนวคิดในการทำงานวิสัยทัศน์สหภาพแรงงาน ก่อตั้งสหภาพฯ 8 พ.ย. 1979  ได้รับการจดทะเบียนสหภาพฯ ทะเบียนเลขที่ สป. 34 และเดือนก.พ. 2008  เปลี่ยนชื่อสหภาพฯ เป็น “สหภาพแรงงาน ชิ้นส่วนยานยนต์และโลหะแห่งประเทศไทย (TAM)” โดยเมื่อ ก.พ. 2010 สหภาพแรงงานได้ขอมติควบรวมสหภาพแรงงาน เพื่อรองรับรูปแบบสหภาพแรงงานอุตสาหกรรม เปิดรับสมาชิกที่เป็นคนงานในประเภทกิจการเดียวกัน ซึ่งมีคนงานหลายบริษัทสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน พร้อมปรับเพิ่มอัตราการจัดเก็บค่าบำรุง = 1% ไม่น้อยกว่า 100 บาท ไม่เกิน 300 บาท

จากการทางสหภาพแรงงานฯได้จัดให้มีคณะกรรมการไปร่วมพิจารณาทุกคณะทำให้เราสามารถรู้ปัญหาที่จะเกิดขึ้น และได้ร่วมกับทางบริษัทฯแก้ไข ทั้งในเรื่องของสภาพปัญหาการทำงาน และปรับสวัสดิการให้กับสมาชิกจนถือได้ว่าพนักงานที่ทำงานอยู่ในบริษัทเอ็น เอช เค สปริง ประเทศไทย จำกัด มีสวัสดิการอันดับต้นๆของนิคมฯเวลโกรว์เลยก็ว่าได้นายประทีป  เจริญทรัพย์ กล่าว

พร้อมทั้งเปิดให้มีการแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น ประเด็นที่สำคัญที่ผู้เข้ามาศึกษาดูงานสนใจมากคือ

  1. สภาพแรงงานชิ้นส่วนยานยนต์ฯ (TAM) มีหลายบริษัทฯและแต่ละบริษัทก็อยู่แต่ละจังหวัดมีการบริหารงาน หรือมีการติดต่อประสานงานกันอย่างไรบ้าง
  2. การเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานฯต้องจ่ายค่าบำรุง และการเก็บค่าบำรุงสหภาพฯมีวิธีเก็บอย่างไรบ้างแต่ละบริษัทฯ
  3. มีวิธีการอย่างไรที่จะทำให้สหภาพแรงงานฯเข้มแข็ง

นายประทีป  เจริญทรัพย์ ได้ตอบคำถาม ว่า TAM มีสมาชิก 8  บริษัท  14  โรงงาน ซึ่งอยู่หลายจังหวัด เช่น  ชลบุรี  สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา  นนทบุรี  ระยอง  จะมีรองประธานแต่ละพื้นที่ทำงานส่วนกลางส่วนการจัดเก็บค่าบำรุงสหภาพแรงงานทางบริษัทฯจะหักค่าบำรุงให้โดยผ่านบัญชีสหภาพแรงงานฯ ส่วนสมาชิกที่เพิ่งเข้ามาใหม่ก็เดินเก็บเองก่อน และจะมีการยื่นข้อเรียกร้องให้ทางบริษัทฯหักเงินค่าบำรุงผู้ที่ป็นสมาชิกสหภาพฯให้ช่วงปลายปี ส่วนการทำให้สหภาพเข้มแข็งจะต้องเพิ่มจำนวนสมาชิกให้มากที่สุด ด้วยการที่ถ้ารู้ว่ามีการบรรจุพนักงานจะต้องเอาใบสมัครสมาชิกสหภาพฯไปให้กรอกทันที นายประทีป  เจริญทรัพย์ กล่าว  งานก่อนที่จะพักรับประทานอาหารเที่ยง

ช่วงบ่ายทั้งสหภาพแรงงานฯได้พาคณะผู้บริหารและพนักงาน  Thai PBS ไปเยี่ยมชมศูนย์ฝึกอบรมสหภาพแรงงานฯ ที่หมู่บ้านบูรพาซิต้าบางวัว อำเ ภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีนายวิสุทธิ์ เอี่ยมดีเลิศ อดีตประธานผู้ก่อการสหภาพฯ ได้กล่าวตอนรับ และให้ข้อคิดการบริหารงานสหภาพแรงงานฯให้เข้มแข็ง

 ประเด็นที่น่าสนใจคือ การบริหารงานแบบการมีส่วนร่วมของกรรมการและโครงสร้างการบริหารงานของสหภาพแรงงานฯ จัดให้มีผู้แทนหน่วยงานแต่ละแผนก เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างสมาชิกและสหภาพฯ  ผู้แทนหน่วยงาน  คือ  พนักงานที่ได้รับการเลือกตั้งจากพนักงานประจำของแต่ละหน่วยงานหรือจากหลายหน่วยงานรวมกันตามสัดส่วนของพนักงาน เพื่อเข้ามาเป็นผู้แทนของสหภาพฯ ในการดูแลสมาชิกฯ ในหน่วยงานนั้นๆ

ทั้งนี้พนักงาน Thai PBS ได้จัดตั้งเป็น สมาพันธ์พนักงานทำงานใน สสท.ขึ้นมาได้ประมาณหนึ่งปี มีความสนใจระบบการบริหารงานแบบสหภาพฯ จึงมีการจัดศึกษาดูงานสหภาพแรงงาน

มาโนช  หอมจันทร์  นักสื่อสารแรงงาน ศูนย์ข่าวฉะเชิงเทรา  รายงาน