ผลพวงโควิด ทำคนท้องตกงาน-ความรุนแรงในครอบครัวเพิ่ม

ผู้นำแรงงานหญิง ย้ำผลพวงโควิดกระทบหนักทั้งระบบ ฉวยเลิกจ้างคนท้อง ไร้การคุ้มครองทางกฎหมาย สส.หญิง เสนอร่วมกันแก้พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานถึงรับรองอนุสัญญาILO ฉบับที่ 87 และ98 จัดสวัสดิการแบบถ้วนหน้า  โควิดซ้ำผลกระทบการปิดเมืองเกิดความรุนแรงในครอบครัวหนักสุดทำร้าย และข่มขืนลูก ด้านองค์กรพัฒนาเอกชนเสนอรัฐต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ฟื้นฟูแรงงานทั้งระบบ โดยเฉพาะในเมืองกระทบมาก ผู้แทนรัฐแจงต้องช่วยกันดูแล แม้มีระบบ มีกฎหมาย แต่ต้องมีคนส่งเสียง จะได้ตรวจสอบ

วันที่ 10 กรกฎาคม 2563 ได้มีเวทีอภิปรายรวมพลังสู่ทางเลือก-ทางรอดของทุกเภศภาพ Gender Co-Solutions EP.1 :วิกฤและทางรอดของแรงงานหญิง VS.โควิด – 19 ณ ห้องประชุมกุมาวิกา โรงแรม สวนดุสิต เพลส เขตดุสิต กทม. จัดโดย สถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายและการพัฒนา สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ อนุกรรมาธิการกิจการ เด็ก เยาวชน สตรี และผู้มีความหลากหลายทางเพศ สภาผู้แทนราษฏร และInternational Republican Institute (IRI)

นางพูลทรัพย์ สวนเมือง ตุลาพันธ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ กล่าวว่าประเทศไทยมีแรงงานนอกระบบมีจำนวน 2 ใน 3 ของกำลังแรงงานทั้งประเทศ ทางโฮมเนทได้ร่วมกับทางสถาบันวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการรวบรวมข้อมูลแรงงานนอกระบบต่างๆในเมืองที่ได้รับผลกระทบ 400 คนช่วงเดือนเมษายน2563 พบว่า เขาไม่มีงานทำ รายได้ลดลง และยืดเยื้อไปหลังโควิด ทั้งกลุ่มที่ผลิตสินค้าพื้นเมือง กลุ่มเย็บผ้า และหมอนวด อีกอย่างที่พบคือ รัฐอย่าคิดว่า แรงงานกลับบ้านต่างจังหวัด ซึ่งจริงแล้วมีเพียง 2% เท่านั้นที่กลับคืนถิ่น ตอนนี้สายป่านมในการดำเนินชีวิตสั้นการจะประคองภาวะเศรษฐกิจครอบครัวอยู่ได้เพียง 3 เดือน ตอนนี้กำลังจะกระทบมากขึ้น และผลกระทบทางรายได้พบว่ามีปัญหาแม้แต่คนขับวิน คนทำงานบ้านก็ยังลดลง ช่างเสริมสวย กับหมอนวด ก็รายได้ลดลงแม้ว่าจะมีการเปิดให้มีการทำงานได้แล้วก็ตาม

ลูกจ้างทำงานบ้านเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์เป็นแรงงานหญิง และสิ่งที่พบคือเดือดร้อน ซึ่งคนที่ทำงานกับต่างชาติ กลุ่มนี้นายจ้างจะให้หยุดเพราะกลัวนำโควิดไปติดกับคนที่บ้าน ทำให้คนงานขาดรายได้อยู่ในภาวะเครียดมาก กลัวตกงาน คนทำพาร์ทไทม์ก็ให้หยุดงานยาว และก็พบว่า มีคนท้องที่มีการถูกเลิกจ้างด้วย ลูกจ้างที่มีงานประจำก็ถูกลดเงินเดือน ลดวันทำงาน ต้องจำยอมไม่กล้าต่อรอง ขาดโอกาสในการหางานใหม่ เพราะไม่มีใครรับในช่วงสถานการแบบนี้ ส่วนแรงงานข้ามชาติท้องก็ถูกเลิกจ้าง นายจ้างจ่ายเงินเดือนสุดท้ายแล้วให้ออกจากงาน ซึ่งลูกจ้างที่ทำงานบ้านที่เป็นแรงงานข้ามชาติได้รับผลกระทบหลายคนกลับบ้านยังไม่ได้ เงินก็ไม่มีหรือมีก็เหลือน้อยเต็มที

การช่วยเหลือกันด้วยความเป็นองค์กรที่รวมกลุ่มกัน มีการช่วยกันในช่วงปิดเมือง คือ มีการช่วยเหลือด้านถุงยังชีพ มอเตอร์ไซค์รับจ้างได้เปิดโครงการตามสั่งตามส่ง เพื่อช่วยกลุ่มทำอาหารและพี่วินมอเตอร์ไซค์และผู้บริโภคให้อยู่ได้ เพื่อหาอาชีพในการทำงาน กลุ่มหมอนวดก็มีการชวนมาผลิตสินค้าจากสมุนไพรธรรมชาติ

มีการสื่อสารช่วงที่ลงทะเบียนให้กับกลุ่มแรงงานนอกระบบที่ไม่วสามารถลงทะเบียนเองได้ เพื่อให้เข้าถึงสิทธิตรงนี้ ไม่ว่าจะเป็นกบลุ่มเกษตรกร กลุ่มแรงงานนอกระบบทุกกลุ่ม ซึ่งจะช่วยในกลุ่มที่เป็นสมาชิก แน่นอนต้องมีกลุ่มคนที่ตกหล่นแน่นอน

กรณีการฟื้นฟูที่มีการกู้เงินมานั้นแม้แรงงานนอกระบบจะเป็นกลุ่มแรกๆที่ได้รับผลกระทบ แต่กลุ่มนี้ก็จะกลับมาเป็นกลุ่มสุดท้าย และยังไม่มีโครงการในการที่จะฟื้นฟูด้วย ทั้งที่แรงงานนอกระบบที่ได้รับผลกระทบหนักอยู่ในเมือง และแรงงานนอกระบบเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวถึง 50 % ผลกระทบส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงเพราะส่วนใหญ่ผู้หญิงดูแลลูกและครอบครัว

ข้อเสนอคือ อย่าทิ้งใครไว้ข้างหลัง ไม่ทำร้ายหรือซ้ำเติม ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในทุกระดับตั้งแต่ปฏิบัติการจนถึงการตัดสินใจในเชิงนโยบาย และคิดว่า รัฐต้องมีการดูแลแรงงานที่เป็นแม้เลี้ยงเดียวเป็นพิเศษกว่าหรือไม่ และการที่จะมีการส่งเสริมเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ คนกรุงเทพฯไม่ได้รับการดูแล เป็นเพราะเราไม่ได้เลือกตั้งในพื้นที่ใช้หรือไม่ ตอนนี้ลำบากมาก ตอนนี้หมอนวดลำบากมากเรื่องที่พักอาศัยและที่ทำมาหากิน และการที่กล่าวถึงNew normal รัฐต้องสิ่งเสริมที่รัฐหรือไม่เพราะเป็นภาระสำหรับแรงงาน รัฐต้องส่งเสริมเรื่องการทำงาน ให้คนมีอาชีพ เรื่องศูนย์เลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน เงินอุดหนุนเด็กทั่วหน้า พ่อ แม่ตอนนี้ไม่มีเงินที่จะดูแล เด็กไม่มีพื้นที่ ในการเรียนรู้ช่วงที่แม้ต้องไปทำงาน ต้องกักขังลูกไว้ในห้องลำพัง ซึ่งรัฐควรมีการดูแล

นางอภันตรี เจริญศักดิ์ รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า คสรท.และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ได้มีการรวบรวม ข้อมูลรับเรื่องราวร้องทุกข์มาตั้งแต่ 7 เมษายน2563 ตอนนี้ขยายถึง 19 มิถุนายน2563 วิกฤตครั้งนี้ทำให้แรงงานทุกกลุ่มได้รับผลกระทบอย่างมาก โดยเฉพาะแรงงานในภาคบริการในระบบการท่องเที่ยวที่หนักม สิ่งที่ได้รับผลกระทบคือ มีการปิดกิจการ เลิกจ้าง ให้หยุดงานจ่ายค่าจ้าง ซึ่งมีทั้งแจ้งและไม่แจ้งภาครัฐ

จากการรวบรวมมีการแบ่งพื้นที่การรับเรื่องราวร้องทุก 14 เขต มีสำนักเขตรับเรื่องราวร้องทุกข์ และได้มีการนำเสนอข้อเรียกร้องต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานแล้ว เช่น ได้เสนอให้ประกันสังคมจ่ายเงินให้กับผู้ประกันตนที่ถูกนายจ้างปิดงาน 75 % หากเป็นการใช้เหตุสุดวิสัย ซึ่งปัจจุบันประกันสังคมจ่าย 62%ก็ได้แต่ว่าที่เหลืออีก 13% รัฐบาลต้องจ่ายเพิ่มเข้ามาเพื่อให้เป็น 75% และวันนี้จำนวนมากยังไม่ได้สิทธิเนื่องจากนายจ้างไม่ยอมแจ้งปิดงานด้วยเหตุสุดวิสัย ซึ่งในส่วนของกิจการโรงแรมก็ได้รับผลกระทบแต่ไม่ได้สิทธิตรงนี้ เกิดการเลิกจ้างว่างงานจำนวนมาก แม้ว่ารัฐบาลจะมีการหาเสียงเสนอนโยบายด้านแรงงาน และสวัสดิการสังคมไว้ จนถึงปัจจุบันยังไม่ได้ทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้ และยิ่งมากระทบจากโควิดยิ่งไม่มีการดูแลแรงงานซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่

ปัญหาใหญ่คือ การเลิกจ้างคนที่ท้อง ที่ได้มีการร้องเรียนมา 30 กว่าคน การที่จะช่วยกลุ่มเปราะบางต้องดูแลมากกว่าคนปกติ ด้วยมีทั้งกลุ่มแม่เลี้ยงเดี่ยว คนท้องแก่ และคนพิการด้วย ซึ่งก็ต้องมีการร้องไปในหลายที่ทั้งกระทรวงแรงงาน กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์(พม.) ฯลฯ เพื่อให้มีการช่วยเหลือแบบเต็มรูปแบบ วันนี้กระทรวงแรงงานบยังไม่ได้ให้คำตอบต่อการแก้ไขปัญหา ซึ่งมีทั้งคนพิการและคนที่ท้อง ซึ่งให้คนที่ท้องเดินทางไปรับเงินพม.จังหวัดเพื่อให้รับเงิน 2 พันบาท ซึ่งคนท้องแก่คงลำบาก

ในช่วงโควิดคสรท. และสรส.ได้มีข้อเสนอ 2020 มี 10 กว่าข้อ ทั้งมีเรื่องโควิดว่า การลาออกเท่ากับการเลิกจ้าง ตอนนี้นายจ้างจะให้ลูกจ้างเขียนใบลาออกมากกว่าการเลิกจ้างทำให้ลูกจ้างเสียสิทธิกรณีว่างงาน  และการเลิกจ้างช่วงนี้ นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย ซึ่งมีจำนวนมากที่เลี่ยงกฎหมาย ในเรื่องความเดือดร้อนทุกคนเท่ากัน จึงควรได้สิทธิเยียวยา 5,000 บาทต่อเดือนด้วย และให้ได้รับสิทธิว่างงานกรณีจากการเลิกจ้าง แม้ว่าจะเป็นการเซนต์ลาออก เนื่องจากเป็นการถูกกระทำให้ต้องเขียนใบลาออก และขอให้แรงงานข้ามชาติได้รับสิทธิในระบบประกันสังคม เช่น เดียวกัน เพราะเขาคือ ผู้ประกันตนเช่นกัน

นางสาวธนพร วิจันทร์ ประธานกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี กล่าวว่า ช่วงโควิดทำให้เป็นตัวเร่งให้สถานการณ์ต่างๆมีผลกระทบเพิ่มมากขึ้น และสังคมวัฒนธรรม ที่ครอบงำทำให้เกิดปัญหาการแก้ไขไม่ตรงจุด โครงสร้างทางการเมืองแบบชายเป็นใหญ่ก็เป็นประเด็นในระดับนโยบาย และการที่ไม่มีผู้หญิงในคณะกรรมการไตรภาคี ชุดต่างๆที่เกี่ยวข้องกับแรงงานทำให้นโยบายที่ออกมาดูแลไม่มีมิติหญิง ชายความแตกต่างในการดูแล นโยบายไม่มีผู้หญิงเข้าไปมีส่วนร่วมกำหนดจึงจะเห็นถึงปัญหาแก้ไม่ตรงจุด เพราะปัญหาของผู้หญิงแตกต่างกับผู้ใช้ความเดือดร้อนของแม่เลี้ยงเดี่ยวที่ตกงานจึงเดือดร้อนหนักกว่า และรัฐเองก็ไม่มีกระบวนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้หญิงอย่างจริงจังอย่างที่แท้จริง เช่น พรบ.แรงงานสัมพันธ์ 2518 ก็ยังไม่มีการแก้ไข รวมถึงการแต่งกายที่ไม่สอดคล้องกับเพศที่หลากหลาย ตอนนี้ก็มีกฎหมายคู่ชีวิต และกฎหมายต้องมีเหตุและผลด้วยอย่างที่มีการสื่อสารเรื่องความรุนแรงที่เกิดขึ้น กฎหมายคุ้มครองแรงงานก็มีปัญหามาก ในการคุ้มครองแรงงาน ไม่มีการดูแลตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมายของนายจ้าง อยากให้กระทรวงแรงงานมีการตรวจสอบการใช้เหตุสุดวิสัยเพราะโควิด ที่ลอยแพแรงงาน และให้แรงงานไปรับสิทธิประกันสังคม 62% หมด ทั้งที่จริงแล้วนายจ้างไม่ได้มีผลกระทบจริงก็แอบมาใช้ตรงนี้ด้วย

ปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรีก็ไม่ชัดเจนมากขึ้นในช่วงโควิด-19ในครอบครัวแรงงาน ซึ่งรัฐมีแต่การเยียวยาเหตุเกิดแล้วเยียวยา แต่รัฐควรมีกฎกติกาในการที่จะป้องกันคุ้มครอง การออกนโยบายมาตรการเยียวยา แรกๆเยียวยา และระยะฟื้นฟูต้องทำให้มีการจ้างงาน ต้องทำให้คนมีงานทำที่ยั่งยืน แต่ว่า โครงการที่มีการเสนอเพื่อการฟื้นฟูกับเป็นเรื่องโครงสร้าง สร้างถนนหนทาง ขุดบ่อ ขุดหคลอง ส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งแผนฟื้นฟูต่างๆยังไม่มีแผนชัดเจน ต้องมีการปรับอย่างไร และการขาดกระบวนการมีส่วนร่วมซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญเรื่องอาชีพ การส่งเสริมจะให้เป็นอย่างไร อาชีพที่หายไป และอาชีพที่ยั่งยืนในอนาคตคืออะไรจะได้มีการส่งเสริมมากขึ้น

กรณีการเลิกจ้างด้วยเหตุตั้งครรภ์ แต่การเลิกจ้างเขาไม่ได้อ้างเรื่องเพราะตั้งครรภ์ แต่ต้องดูกันที่เจตนา เรื่องศูนย์เลี้ยงเด็กก็เป็นปัญหา ที่เป็นศูนย์เลี้ยงเด็กในชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบล แรงงานข้ามชาติที่มีครอบครัวมีเด็กต้องใช้สิทธินี้ได้ด้วย ไม่ใช่มองว่าเด็กข้ามชาติจะมาแย้งทรัพยากรในชุมชนทั้งที่เราก็ต้องการแรงงานพ่อแม่เขา และเขาก็อาจเป็นแรงงานให้ประเทศเราในอนาคตด้วย แม้รัฐบอกว่าประชากรน้อยลงคนสูงอายุมากขึ้น ตรงนี้แม้จะอยากมีลูกกันแต่ว่าการมีลูกหนึ่งคนต้องมีค่าใช้จ่ายสูงมากจึงไม่กล้าที่จะตั้งครรภ์ และตอนนี้ผู้หญิงก็ตัดสินใจที่จะเป็นโสดมากขึ้นด้วย

นางสาววรรณวิภา ไม้สน สส.พรรคก้าวไกล ในถานการณ์โควิดนี้จะแก้ไขปัญหาผู้หญิงอย่างไร … กฎหมายที่มีช่องว่างเรื่องเพศ กล่าวว่า ปัจจุบันเรากำลังที่จะเดินเข้าสู่สังคมสูงวัย แต่เราก็มีการเกิดของเด็กน้อยมากด้วยมุมมองว่าการมีลูกคือการเพิ่มภาระให้พ่อแม่ ด้วยการเลี้ยวดูต้องใช้เงินจำนวนมาก และการเรียนการศึกษาก็ไม่ได้ฟรีจริงมีค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายจำนวนมาก และช่วงสถานการณ์โควิดรัฐบาลก็แก้ไขปัญหาส่วนหนึ่ง ทั้งงบเงินกูและงบเยียวยาพบว่าแรงงานในระบบไม่ได้รับแม้แต่บาทเดียว แต่ต้องใช้หนี้ร่วมกันเพราะเป็นงบที่กู้ของคนทั้งประเทศ แต่ภาระไปตกอยู่ที่ประกันสังคม และประชาชนทั่วไปเองก็ยังไม่ได้รับการเยียวยาอีกทั่วหน้า ซึ่งยังมีคนที่ตกหล่นอีกจำนวนมากของผู้สูงวัยด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆไม่สามารถเข้าถึงได้ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในต่างจังหวัด การแก้ไขปัญหาด้านกฎหมายปัจจุบันก็ไม่ได้มีความสอดคล้องต่อสถานการณืใหม่ๆ ขณะนี้พรรคก้าวไกลได้เสนอแก้พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานซึ่งอยุ่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็น ซึ่งอยุ่ในเว็บไซต์ของสภาผุ้แทนราษฎร ซึ่งมีประเด็นที่เกี่ยวกับวันทำงาน และเพิ่มวันลาคลอดที่มีการเรียกร้องกันมาให้เป็น 180 วัน ขอให้ช่วยกันแสดงความคิดเห็น แม้จะเป็นฝ่ายค้าน แม้ว่านโยบายจะไม่สามารถปฏิบัติได้ทันทีแต่ก็ก็จะใช้ช่องทางเช่นการเสนอพ.ร.บ.หรือตั้งกระทู้ถามญัติต่างๆ เข้าสู่สภาตอนนี้ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานอยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็น

อีกประเด็ฯคือเรื่องการคุ้มครองแรงงานนอกระบบ ซึ่งแรงงานนอกระบบส่วนใหญ่ ที่ไม่ได้เข้าสู่ระบบเพราะว่าไม่เห็นเรื่องสิทธิการคุ้มครองที่ดีพอในระบบประกันสังคม ที่การรักษาพยาบาลก็ไม่ต่างกับการใช้สิทธิ  30 บาทรักษาจึงไม่มีแรงจูงใจที่จะเข้าสู่ระบบประกันสังคม ต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้แรงงานนอกระบบกลับเข้าสู่ระบบ จะมีการอัดงบประมาณเข้าไปเพื่อให้เขาเข้าถึงสวัสดิการเช่นเดียวกับผู้ประกันตนมาตรา 33 ให้ได้ทำไมถึงจะมีการส่งเสริมให้คนเข้าสู่ระบบประกันสังคมเพื่อให้คนทุกคนมีระบบสวัสดิการ ส่วนกฎหมายที่ไม่เอื้อต่อการคุ้มครองต้องช่วยกันในการแก้ไขทั้งรัฐบาล ฝ่ายค้าน และการมีส่วนร่วมของแรงงาน ซึ่งใช้มานานแล้วไม่ว่าจะเป็นกฎหมายคุ้มครองแรงงาน หรือกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวเจรจาต่อรอง เพราะยังไม่มีการให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO)ฉบับที่ 87 และ98 ทำให้แรงงานนอกระบบไม่สามารถใช้สิทธิการรวมตัวเจรจาต่อรองได้

ทั้งนี้อยากเห็นรัฐสวัสดิการทั่วหน้า อย่างเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดทั่วหน้า

นางสาวธนิกานต์ พรพงษาโรจน์ สส.พรรคพลังประชารัฐ เขตบางซื้อ-ดุสิต กทม. กล่าวว่า จากการที่ลงพื้นที่ได้พบว่า มีปัญหาปากท้องเศรษฐกิจ ไม่มีงานทำ หาบเร่แผงลอย ออกมาค้าขายไม่ได้ หมอนวด ทำมาหากินไม่ได้ ยังมีประเด็นสังคมที่คนไม่มีผ้าปิดจมูกรู้สึกไม่ปลอดภัยที่จะออกมา และมีประเด็นสุขภาพ ความปลอดภัยในชีวิตของเขาทั้งใน และนอกบ้าน

ขอกล่าวถึงงบประมาณของรัฐควรมีการเน้นเรื่องผู้หญิงโดยเฉพาะทั้งด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม เพราะมีปัญหามาก และช่วงที่เกิดโควิดมีความรุนแรงในครอบครัวสูงขึ้น ด้วยคนเราอยุ่บ้านมากขึ้น ซึ่งได้ข้อมูลจากศูนย์พึ่งได้กระทรวงสาธารณสุข ตัวเลขที่เพิ่มขึ้น จากการที่โดนทำร้าย 90%เป็นผู้หญิง ซึ่งก็มีบางกรณีที่ไม่ได้แจ้งดำเนินการทางกฎหมาย เข้าสู่กระบวนการสืบค้นเพื่อดูแล ประกอบกับสังคมไทยที่ผู้ชายเป็นใหญ่ มีความอายที่จะมาสื่อสารเรื่องเหล่านี้ กรณีที่โดนพ่อทำร้ายและโดนข่มขืน เป็นผลกระทบมาต่อเนื่องจากที่มีการปิดเมือง มีปัญหาเหล่านี้เพิ่มขึ้น ประเด็นคำถามคือจะทำอย่างไรที่จะช่วยให้แรงงานหญิงที่ว่างงานสามารถมีรายได้ในการดูแลตัวเอง ดูแลครอบครัวได้โดยไม่เครียด และไม่ก่อเกิดความรุนแรงในครอบครัว ประกอบด้วย0 ลูกๆไม่สามารถไปเรียนได้ ต้องมีการดูแลเด็กที่จะเป็นอนาคตของชาติต่อไปจะทำอย่างไร ในฐานะสส.เขตเท่าที่ทำได้นอกจากพ่นยา และหมอเพื่อลงพื้นที่ไปให้ความรู้ว่าจะดูแลกันอย่างไรดูแลครอบครัว ชุมชนคนรอบข้างให้ปลอดภัย และการที่จะสร้างสังคมแบบใหม่ ซึ่งเชื่อว่าปัญหาโควิดหลังจากนี้ไปอาจเจอปัญหาอาชญากรรม ซึ่งมีการเข้าไปรับฟังปัญหา และมีการอบรมทำเพจออนไลน์เพื่อให้เขาสามารถที่จะมีการขายของออนไลน์ ของดีชุมชน ทำงานออนไลน์ได้ด้วย

แม้ว่าจะไม่มีปัญหาโควิด แต่ก็จะมีปัญหาเรื่องของการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีใหม่ที่เข้ามากระทบต่ออาชีพอยู่เช่นกัน จจึงต้องมีการปรับตัวเพื่อที่จะให้มีงานทำ ต้องมีการปรับเรื่องศักยภาพเพื่อการมีงานทำ

ช่วงวิกฤติโควิดผู้หญิงทำงานมากขึ้น อย่างงานบ้านก็ต้องทำแต่ไม่ได้ค่าจ้าง และผู้หญิงที่เข้ามาเป็นกระบอกเสียงในรัฐสภา ระบบโควต้า เราก็อยากได้เพราะเสียงส่วนใหญ่ในสภาเป็นเสียงของผู้ชาย เมื่อเข้ามาทำงานการเมืองก็ต้องเข้มแข็งในการกล้าที่จะยืน และอยากให้มีผุ้หญิงเข้ามาทำงานการเมืองจำนวนมากขึ้น

นายธานี ศิริล้น ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคุ้มครองแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ประเด็นเพศในสถานที่ทำงาน พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มีระบุไว้ในมาตร 15 ซึ่งมีการกำหนดเรื่องความเท่าเทียม เช่นให้นายจ้าง กำหนดการจ้างงานลูกจ้างชาย และหญิงโดยไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งแน่นอนอาจมีการละเมิดบ้าง ซึ่งการตรวจสอบภาครัฐไม่สามารถจะตรวจสอบได้หมดร้อยเปอร์เซ็นต์ และต้องมีการแจ้งเข้ามาจึงจะทราบว่า มีการละเมิดสิทธิแรงงานหญิง หรือมีการเลือกปฏิบัติเกิดขึ้น ซึ่งต้องลงไปตรวจสอบทุกอาทิตย์ ได้เข้าไปดูแล

กระทรวงแรงงาน มีการส่งเสริมเรื่องความเท่าเทียมทางเพศตอนนี้ก็มีผู้หญิงในตำแหน่งบริหารจำนวนมากเกือบครึ่งหนึ่ง และยังส่งเสริมมุมนมแม่ ให้สถานประกอบการ ด้วยมองว่า เด็กแรกเกิดมาต้องการนมแม่ ซึ่งส่งเสริมผ่านทางนายจ้าง ซึ่งแต่ละปีก็มีจำนวนมากที่เข้าร่วมโครงการ และมีการส่งเสริมเรื่องศูนย์เลี้ยงเด็กในสถานประกอบการ และมีส่งเสริมในสถานก่อสร้างด้วย และมีการส่งเสริมการรวมกลุ่มของผู้หญิงในสถานประกอบการ เป็นที่ปรึกษาแรงงานหญิงในสถานประกอบการ ด้วยผู้หญิงเวลามีปัญหาก็ต้องการปรึกษาผู้หญิงด้วยกันมากกว่าผู้ชาย หรือฝ่ายบุคคล ซึ่งกรณีคำถามว่า ผู้หญิงเข้ามาเป็นกรรมการไตภาคีน้อย ก็ต้องบอกว่า ให้มีผู้หญิงเข้ามาเป็นผู้นำแรงงานให้มากๆเพื่อจะได้เข้ามามีสัดส่วนตรงนี้ และกรณีที่ผู้หญิงยุคใหม่ไม่มีครอบครัว ด้วยผู้หญิงมีการทำงานทางสังคมมากขึ้น จึงไม่มีเวลาเพียงพอในการมีครอบครัวซึ่งก็น่าชื่นชม

การจะแก้ไขกฎหมายคุ้มครองแรงงาน 2541มาตรา 16 ห้ามนายจ้าง หัวหน้างาน ผู้ควบคุมงาน หรือผู้ตรวจงานกระทำการล่วงเกินคุกคาม หรือก่อความรำคาญทางเพศต่อลูกจ้าง ต้องมีผู้ที่เกี่ยวข้องที่ต้องการแก้ไขกฎหมายก่อน ข้าราชการแก้เองไม่ได้ ซึ่งอย่างกรณีเหตุสุดวิสัยประกันสังคมกรณี 62% เป็นการเสนอเร่งด่วนโดยสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ต้องการที่จะช่วยเหลือผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด จึงออกเป็นกฎกระทรวง แต่ไม่ได้ผ่านการประชาพิจารณ์เหมือนกฎกระทรวงฉบับอื่นๆ อยากบอกว่า ข้าราชการจะทำงานฝ่ายเดียวไม่ได้ ต้องได้รับการสนับสนุนจากภาคประชาชน และภาคประชาสังคมด้วย สิ่งที่จะทำงานร่วมกันได้ กรมสวัสดิการมั่นใจว่าจะทำงานเพื่อผู้ใช้แรงงาน แต่บทบาทอยู่แต่ละสถานะแต่ละคนก็ทำงานตามหน้าที่

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน