บทเรียนโศกนาฏกรรมคนงานเคเดอร์สู่อนุสาวรีย์เตือนใจความปลอดภัยของแรงงาน

20150510_130431

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย จัดเวทีเสวนาเชิงวิชาการครบรอบ 22 ปี “บทเรียนโศกนาฏกรรมคนงานเคเดอร์สู่อนุสาวรีย์เตือนใจความปลอดภัยของแรงงาน เพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์ และเตือนใจทุกฝ่ายร่วมกันดูแลด้านความปลอดภัยไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำอีก วันอาทิตย์ ที่ 10 พฤษภาคม 2558 ณ มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย  มักกะสัน  กรุงเทพฯ

นายสนทยา  เผ่าดี ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง กล่าวถึงเรื่องความปลอดภัยว่า นายจ้างมีบทบาท หน้าที่มีความแตกต่างกันไป เรื่องราวทั้งหมดเหล่านี้เกิดการเรียนรู้อย่างไร และนำไปปรับใช้อย่างไรบ้าง ไม่ใช่การรำลึกอย่างเดียว ก็ไม่อยากให้เกิดคนตาย 188 คน คนเจ็บ 400 คน ย้อนหลังไปเรารู้สึกอย่างไรบ้าง คนงานเขามีครอบครัวไม่อยากให้แค่มารำลึกถ้ามองลึกไปกว่านั้นอาจไม่ใช่แค่กฎหมาย การลงทุนต้องการผลกำไร แต่คนงานก็ต้องการความมั่นคง นายจ้างควรไปดูการปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎหมาย และเปิดโอกาสให้ลูกจ้างเข้ามามีส่วนร่วมในการร่วมกันแก้ไข เจตนาของกฎหมายมองไว้ดี การตรวจสุขภาพประจำปีของพนักงานดีหรือไม่ ควรวางแผนการดูแลสุขภาพของพนักงาน ทุกๆห้าปีเพื่อตรวจสุขภาพว่ามีแนวโน้มป่วยโรคอะไร จะทำอย่างไรส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันการเจ็บป่วยลดการสูญเสียค่ารักษาพยาบาล

20150510_13032820150510_113853

ดร.พงษ์ฐิติ พงศ์ศิลมณี ผู้แทนจากสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กล่าวว่า ย้อนอดีตเหตุการณ์ตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม 2536 ต่อมายังมีอีกหลายๆเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจนเกิดความเสียหายทั้งภาคเศรษฐกิจและชีวิตของแรงงาน สะท้อนให้เห็นว่ามาตรการกลไกของรัฐยังไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ ดังนั้นรัฐต้องเร่งออกมาตรการ ควบคุมการก่อสร้างอาคาร ระบบความปลอดภัยอย่างเข้มงวด ให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ใช้แรงงาน หรือทุกชีวิต ประเด็นเรื่องสุขภาพทั้งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533 พระราชบัญญัติเงินทดแทนพ.ศ.2537  เป็นเรื่องปลายเหตุ ที่กำหนดให้มีสิทธิต่าง ๆ แต่ยังไม่เห็นคนงานสามารถตรวจโรคอันเนื่องมาจากการทำงานได้อย่างแท้จริง ว่าด้วยลักษณะการมีโรงพยาบาลมาเสนอจะเป็นหน่วยบริการเข้ามาตรวจเป็นธุรกิจให้ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้นไม่สร้างความมั่นใจให้ผู้ถูกตรวจโรคได้

เรื่องปอดหาย เจ็บป่วยกะทันหัน ทั้งที่ตรวจสุขภาพประจำปี การตรวจสุขภาพมาตรการเข้มงวดขึ้นตรงลักษณะงานหรือไม่ เรื่องสุขภาพเป็นเรื่องใหญ่  เสนอว่าคนงานควรมีสิทธิเข้าตรวจทุกๆเรื่อง กฎหมายบังคับว่าไปตรวจทุกโรคได้ หลักการคือเอาหมอไปหาคนอย่าเอาคนไปหาหมอ ถามว่าบทเรียนเคเดอร์มีผลที่ภาครัฐ จะเรียนรู้ได้ไหม ไม่สามารถมองได้เลยว่า ไม่มีโอกาสเกิดที่รัฐวิสาหกิจหรอก การจ้างงานค่อนข้างมีความมั่นคง เมื่อเกิดการเสียชีวิตการจ่ายเงินชดเชยกรณีเสียชีวิตนายจ้างให้เกินมาตรฐานกฎหมายกำหนด เลยมองไม่เห็นถึงความต้องตระหนักเรื่องความปลอดภัย

แต่มองภาคส่วนรัฐวิสาหกิจ วิเคราะห์แต่ละประเภท เช่นการขนส่ง รถไฟ ความปลอดภัยต้องเน้นอุปกรณ์ ยานพาหนะที่มีความพร้อม การเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่ขับรถไฟ เขามีสุขภาพพร้อมทำงานหรือไม่ ไม่มีการง่วงหรือไม่สบายเป็นต้น การตระหนักในภาครัฐมีน้อยแม้จะมีการขับเคลื่อนของสหภาพแรงงานรถไฟ อุปกรณ์รถไฟไม่พร้อม อุปกรณ์ป้องกันอุบัติเหตุไม่มีเลย ความเสี่ยงค่อนข้างสูง หรือกรณีของการปีนเสาไฟฟ้า แรงสูง การติดตั้งสายโทรศัพท์ เสาอากาศ เสี่ยงอีกอย่าง อาจมองไม่เห็นบริบทว่าทุกคนต้องให้ความสำคัญมีการละเลยไม่ใส่ใจในการปฏิบัติงานพนักงานมีอุปกรณ์ป้องกันตัวเองหรือเปล่า บางทีการสวมใส่เครื่องมืออาจไม่สะดวก เกิดความมักง่าย เป็นต้น อย่างถุงมือปีนเสาไฟฟ้าแรงสูง เจอไฟรั่วเสียชีวิต  สิ่งนี้ถามว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจให้ความสำคัญหรือไม่ ต้องสร้างความตระหนักให้แก่พนักงานที่ทำหน้าที่ในงานที่เสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัย

นายบัณฑิตย์ ธนชัย ผู้อำนวยการมูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน กล่าวว่า เป็นครั้งแรกที่มีการจัดรำลึกโศกนาฏกรรมคนงานเคเดอร์ที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ที่น่าสนใจอนุสรณ์ไม่ใช่เรื่องใหม่ ที่เราอยากจะให้มีในวันนี้ เป็นเรื่องเก่าที่เรียกร้องมานาน กำเนิดวันที่ 10 พฤษภาคม สืบเนื่องจากโศกนาฎกรรมเกิดเพลิงไหม้ มีคนเสียชีวิตเยอะ บาดเจ็บล้มตาย และก่อนหน้านั้นมีโรงงานทำเสื้อเชิ้ตผู้หญิง เป็นกรณีเกิดไฟไหม้โรงงานที่มลรัฐนิวยอร์ก ไม่มีทางหนีไฟ ยุคปัจจุบันเหมือนเป็นโรงงานนรก ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ และส่วนใหญ่ใช้แรงงานราคาถูก ซึ่งเป็นแรงงานข้ามชาติมากขึ้น เป็นแรงงานเพื่อนบ้านในโรงงานที่มีความเสี่ยงสูงด้านความไม่ปลอดภัย ที่น่าสนใจเป็นอุตสาหกรรมรับจ้างผลิตจากบริษัทข้ามชาติอีกทอดหนึ่ง ตอนนี้สถานการณ์การจ้างงานมีความเข้มข้นมากขึ้น เช่น การค้ามนุษย์ แรงงานราคาถูก ด้วยนายจ้างยังไม่อยากจะไปใช้เครื่องจักรผลิตเพราะใช้ทุนสูง ประเทศไทยยังขายต้นทุนถูก ผลิตบนพื้นฐานแรงงานราคาถูก ความปลอดภัยก็ต่ำ ความมั่นคงต่ำ ค่าแรงต่ำ สวัสดิการต่ำ ทั้งสามประเด็นเหล่านี้เป็นวัฐจักรของการขูดรีดแรงงานในระบบทุนนิยมโลกาภิวัฒน์

บทเรียนบทสรุปกรณีโรงงานผลิตตุ๊กตาเคเดอร์นี้ยังมีกรณีของโรงแรมไฟไหม้ โรงแรมถล่ม โรงงานถล่มอีกที่เกิดขึ้นเป็นสาเหตุให้มีคนตายเพราะไม่มีสัญญาณเตือนภัย ไม่มีการเตรียมความพร้อม การตื่นตัวที่น่าสนใจเคเดอร์มีการก่อตั้งคณะกรรมการรณรงค์เพื่อช่วยเหลือคนงานเคเดอร์ขึ้น การมีส่วนร่วมในการผลักดันในเรื่องของการจ่ายเงินทดแทนไม่ใช่ตามกฎหมายเงินทดแทนก็จ่ายมากกว่าปกติ เป็นกรณีพิเศษ ถือว่าเป็นอุบัติภัยจากโรงงานด้วย ก่อนหน้านี้ โรงงานนี้เคยเกิดไฟไหม้ขนาดเล็ก ก็คนตายแต่ไม่มีการเปิดเผยไม่ให้เป็นข่าวและมีหนังสือเตือนจากกองตรวจความปลอดภัยสามสี่เรื่อง เช่น การตั้งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป.)ในโรงงาน ให้มีระบบการฝึกซ้อมเรื่องอัคคีภัย ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยในสถานประกอบการ ซึ่งเป็นบทเรียนในการรณรงค์ นำมาต่อรองกับนายจ้างให้รับผิดชอบมากกว่ากฎหมายเงินทดแทน ตอนนั้นก็มีการเรียกร้องเรื่องการมีส่วนร่วมการเลือกตั้ง จป.มีการออกกฎกระทรวง ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2536 ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยในสถานประกอบการ(คปอ.) และเป็นชุดแรกที่มีกฎกระทรวงกำหนดให้เกิด แต่ข้อจำกัดของคปอ. ส่วนใหญ่ ไม่มีองความรู้ความรับผิดชอบการประชุมแต่ละครั้งไม่มีข้อเสนอสำคัญสู่การปรับปรุงอย่างแท้จริง

20150510_13044420150510_094853

ประเด็นเรียกร้องให้วันที่ 10 พฤษภาคมของทุกปีเป็นวันแห่งความปลอดภัย ส่วนหนึ่งนายกรัฐมนตรี พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นฝ่ายผลักดันให้มีคณะกรรมการความปลอดภัยแห่งชาติ ซึ่งเรียกว่า คปอ. จนกระทั่งมีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อเดือนสิงหาคม ปีพ.ศ. 2540 กำหนดให้วันที่ 10 พฤษภาคมเป็นวันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ

คุณปรียานันท์  วิจิตรศาล  ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย สำนักงานความปลอดภัยตลิ่งชัน กล่าวว่า 20 ปีที่ผ่านมาก็เป็นเจ้าหน้าที่ ตรวจความปลอดภัยรับเรื่องร้องเรียนจากลูกจ้าง ทางทีมงานจะออกไปดูว่าเกิดขึ้นจริงไหม จะประเมิน ตรวจวัดสภาพแวดล้อมการทำงาน การระบายอากาศ ช่วงจังหวะนั้นมี 20 กว่าโรงงานเราใช้เวลาสองเดือนออกตรวจ 24 กรณี 24 โรงงานและก็ผู้ใช้แรงงานเป็นผู้ให้ข้อมูลทำให้เห็นสภาพความไม่ปลอดภัยในโรงงาน เพราะจำนวนเจ้าหน้าที่น้อยมาก และทำงานไม่เต็มที่แต่ภารกิจอื่นๆ ก็พัฒนาด้านความปลอดภัย เช่น ด้านกฎหมาย เกิดจากลูกจ้างร่วมกันผลักดัน ถ้าทุกคนทำอย่างเต็มที่นายจ้าง ลูกจ้างต่างก็พากันปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัย ถ้าเกิดความเสี่ยงอันตรายให้แจ้งและทำตามกฎความปลอดภัยข้อบังคับ มีหลายครั้งข้อบังคับมีแต่ไม่ปฏิบัติกัน ทั้งนายจ้าง และลูกจ้างที่ไม่ปฏิบัติตามกฎ และเจ้าหน้าที่เองไม่เข้มแข็ง ต้องพยายามที่จะดูแลผู้ใช้แรงงานมากที่สุด แต่เกิดขึ้นจากเอาท์ซอร์ส คือการถ่ายเทความเสี่ยงไปให้คนอีกกลุ่มหนึ่ง อย่างอุบัติเหตุที่เกิดมักจะเกิดจากเอาท์ซอร์สแต่จริง นายจ้างผิด ต้องสะท้อนจริงๆ ทุกคนต้องทำหน้าที่ตัวเองว่ามีหน้าที่อะไร ปัญหาจะถูกการแก้ไข ถ้าไม่สะท้อนปัญหาจะไม่ได้รับการแก้ไข ทุกอย่างต้องเกิดจากความจริงใจและร่วมกันทำ มีระเบียบวาระแห่งชาติปี 2550-2559 ต้องผลักดันให้เป้าหมายของไปให้ถึง ทำไมระบบอาเซียนไปถึง แต่ประเทศไทย ขณะนี้กฎหมายพร้อมแต่ขาดแคลนเจ้าหน้าที่ไม่พร้อมเชิงปริมาณ และเชิงคุณค่า ขณะนี้ เจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานทุกคนไปทำโครงการประมง โครงการด้านทะเลทั้งหมด คอยตรวจเรือว่ามีคนงานเท่าไหร่ บางจังหวัดมีแค่ 4-5 คนนี่คือปัญหาที่ต้องทำเพราะว่า ถ้าไม่ทำ ไม่ผ่านใบเหลืองสถานประกอบการประมงที่เกี่ยวเนื่องไปหมดเลย ผู้ใช้แรงงานจะว่างงานเยอะมาก กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ระบบต่างๆต้องให้ความเข้มแข็ง ตอนที่ตรวจเรื่องร้องเรียน ให้ลูกจ้างเห็นว่าทั้งสองฝ่ายมีความผิดเท่ากัน แต่โดยธรรมชาติเจ้าหน้าที่จะเอนเอียงไปทางลูกจ้างหลายๆครั้งเคยถามว่าทำไมไม่ใช่อุปกรณ์ เขาบอกว่าร้อน ลำคาญ นี่คือการขาดองค์ความรู้และจิตสำนึกซึ่งทั้งสองฝ่ายต้องช่วยกัน ทำงานให้เต็มที่ ในอนาคตเราจะรับอนุสัญญา 187 และขอฝากคปอ. ทำงานให้เข้มแข้ง และช่องทางของรัฐก็มีการรับเรื่องร้องเรียน และฝากงานไว้ที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานดูแลกฎหมายพื้นฐาน ต่อไปคือมีกองทุนความปลอดภัย  นายจ้างทำผิดปรับเข้ากองทุนความปลอดภัย ในปีแรกเราทำระบบมาตรฐานความปลอดภัยเอสเอ็มอี ต้องมีมาตรฐานระบบปลอดภัยตามปี 2549 แต่เราเน้นก่อนเลยว่าต้องป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานและสุดท้ายในระดับดีคือมีการช่วยชาวบ้านอย่าสร้างผลกระทบให้เกิดกับเพื่อนบ้าน เรากำลังเริ่มทดรองใช้ 10 แห่งถ้าดีเราจะบอกรัฐบาล และอีกอย่างเราทำเรื่อง 10 เสี่ยง อุตสาหกรรม 5 เสี่ยง ด้านก่อสร้าง 5 เสี่ยง จะสอนว่าทำอย่างไรลดความเสี่ยง มีการทำหลักสูตร 3 หลักสูตรคือลดการเจ็บปวดจากการทำงานก็อยากให้ติดตามศึกษาเพื่อเป็นองค์ความรู้เพื่อช่วยแรงงานต่อไป

นายยงยุทธ เม่นตะเภา รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เสนอว่า รัฐส่งเสริมการลงทุนเรามีนโยบายอะไรบ้าง ได้บอกนายทุนหรือไม่ ในเชิงนโยบายของรัฐ จิตสำนึกของนายจ้าง เจ้าหน้าที่ และรัฐมีจำกัด ถามว่าสหภาพแรงงานเกิดขึ้นจำนวนมากสหภาพแรงงานเองก็ไม่ตระหนักเรื่องความปลอดภัยก็จะมอง การตระหนักเรื่องความรู้ หลักสูตรการเรียนการเทรนนิ่ง ผมเชื่อว่าตรงนี้จะทำให้ปัญหามันหายไป

นายทวีป  กาญจนวงศ์ ประธานมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย กรณีความปลอดภัยของพนักงานในรัฐวิสาหกิจ ที่ไม่ดูแลเรื่องความปลอดภัยแม้จะมีพระราชบัญญัติความปลอดภัยฯ แต่ละเลย อย่างพนักงานท่าเรือมีคลังสินค้าอันตราย มีสารเคมีระเบิด พนักงานท่าเรือประสบอันตรายเยอะ แต่กระทรวงแรงงานไม่เคยเข้าไปดูแล เพราะฉะนั้นฝากว่ารัฐวิสาหกิจคือตัวสำคัญนอกเหนือจาก เอาท์ซอร์ส การบริการทั้งหลาย ยกให้เอาท์ซอร์ส รับผิดชอบมีเยอะ  อย่างไรก็ตามความอันตรายในรัฐวิสาหกิจสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ

ควรมีมาตรการลงโทษ เหมือนกันทั้งลูกจ้าง นายจ้างและกระทรวงแรงงานเคยสั่งลงโทษนายจ้างไปบ้างหรือยัง หรือลูกจ้างเป็นฝ่ายถูกลงโทษเพียงฝ่ายเดียว ต่อมาท่านพูดถึงการรับรองอนุสัญญา 187 กว่า 30 ปีที่ผ่านมาอนุสัญญา ไม่ค่อยเกิดขึ้น ดังนั้นจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ อนุสัญญา187 ไม่ทราบจะมีการรับรองอนุสัญญา 87 และ 98 ไปด้วยหรือไม่

นางสาวจันทนา เอกเอื้อมณี  มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ กล่าวว่าแรงงานนอกระบบมีจำนวนเพิ่มขึ้นเยอะมาก สำนักความปลอดภัย ปัจจุบันไม่มีการพูดถึงแรงงานนอกระบบเลย อยากทราบว่าสำนักความปลอดภัยมีมาตรการอย่างไรต่อแรงงานนอกระบบ เพราะสถานประกอบการของเขาคือบ้านซึ่งเป็นที่พักอาศัยหลับนอน และส่งผลอันตรายถึงชุมชน สำนักความปลอดภัยมีแผนอะไรต่อแรงงานนอกระบบบ้าง

นายพรนารายณ์  ทุยยะค่าย กลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง จากประสบการณ์การสอบข้อเท็จจริงจากคนงานมาด้วยนโยบายของนายจ้างเกี่ยวกับขนส่ง กำหนดเรตน้ำมันวิ่งงานเพื่อลดค่าใช้จ่าย ใช้วิธีไหน วิ่งลงเขาใส่เกียร์ว่าง ข่าวแบบนี้ออกประจำ แต่เราไม่ได้สะท้อนออกมา ถามว่าประเด็นนี้รัฐเข้ามาควบคุมไหม กรณีนี้ รัฐคิดมุมมองอย่างนี้อย่างไร ประเด็นที่สอง เรื่องโครงสร้างคณะกรรมการความปลอดภัยระดับประเทศและทั้งแหล่งที่มาและตัวคนเป็นคณะกรรมฯ ผ่านการเลือกตั้ง คุณสมบัติ แท้จริงแล้วมีประสบการณ์จริงหรือไม่ แค่ไหน อย่างไร หรือใช้ระบบไตรภาคีเลือกตั้งเข้ามา แล้วจะผลักดันใช้ได้จริง ฉะนั้นเรื่องนี้อาจเป็นวาระที่เราต้องพูดคุยโครงสร้างควรมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ มีกรณีศึกษาในต่างประเทศเกิดเหตุรถชนกันสามคัน ผมรู้สึกว่า ผมไม่เข้าใจเรื้องนี้  เพราะรัฐบาลเขาประกาศเป็นวาระแห่งชาติ เขาสั่งให้หน่วยงานเกี่ยวข้องตรวจสอบ ผลออกมาว่า การก่อสร้างถนนไม่ถูกหลักวิศวกรรม และสั่งรื้อถนนทั้งหมด บ่งชี้ว่าไทยให้ความใส่ใจความปลอดภัยทางทฤษฎีแต่ทางปฏิบัติคนละอย่าง ปีนี้มีคนตายจากการทำงานอยู่ตลอด ซึ่งเกิดจากความไม่ปลอดภัยจากการทำงาน  มาตรการไม่เกิดผล ทั้งหมดอยู่ที่เราด้วย สิ่งเหล่านี้คือการละเลยจากตัวเราและทุกคนจากการทำงานจนกว่าจะมีคนอื่นเข้าชี้แนะจึงจะมองเห็น ดังนั้นรัฐควรใส่ใจมากกว่าการมีวันที่ 10 พฤษภา

นางอภันตรี  เจริญศักดิ์ สหภาพแรงงานอาหารและบริการประเทศไทย ขอสะท้อนอีกมุมมองภาคอุตสาหกรรมมีปัญหาเยอะไม่ว่าจะเป็นการทำงานของพนักงาน ที่เกิดผลข้างเคียงเช่น ผลข้างเคียงเรื่องของการสูดดมแป้งจากการคุกไก่อยู่เป็นประจำ พนักงานคุกไก่สูดดมเข้าไปทุกวันวันละหลายๆ ชั่วโมง ผลข้างเคียงคือมะเร็งทางเดินลมหายใจ พนักงานอายุน้อย บริษัทก็จ่ายแค่ 40,000 บาทต่อปี เป็นมะเร็งต้องรักษาต่อเนื่องหมด ทำงานไม่ได้ รักษาต่อเนื่อง หันมาใช้ประกันสังคมรักษา ก็ไม่เกิดผลไม่หาย สุดท้ายเสียชีวิต ล่าสุดเขาเป็นหัวหน้าครอบครัว แล้วเสียชีวิตบริษัทไม่ได้ให้สวัสดิการอะไรนอกจากเงิน 40,000 บาท ทั้งอายุเพียงแค่ 22 ปีและอีกอย่างคือโรคที่เกิดจากการยกของหนักวันหนึ่งยก กระบะ 20-50 กระบะทำทุกวัน สภาพร่างกายหลังเริ่มงอ ตรงนี้ไม่สามารถเบิกได้อีก ซึ่งดูแล้วโรคที่เกิดจากการทำงานเหล่านี้ภาคบริการของเราถูกละเลย และส่วนพนักงานเก็บตั๋วรถเมล์ รถโดยสาร ต้องอยู่บนรถนานหลายๆ ชั่วโมง เกิดอะไรขึ้นกับสุขอนามัยเขา ตรงนี้มีการละเลย เพราะอาชีพเขาต้องยืนบนรถเมล์ทั้งวัน อยากให้รัฐมีกฎหมายรับรองสภาพชีวิตของเขาบ้าง

นายบุญสม  ทาวิจิตร กลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง กล่าวว่าจากโศกนาฏกรรมคนงานเคเดอร์ มันคือความล้มเหลวการบริหารจัดการของ รัฐ ต่อนายจ้างความล้มเหลวระบบบริหารจัดการ คือมีการขังลูกจ้างไว้ไม่ให้ออกไปได้ เช่น ใส่กุญแจที่ประตูหนีไฟ ตรงนี้จะต่างจากเหตุการณ์ตึกถล่มจะเป็นเหตุสุดวิสัย แต่กรณีไฟไหม้ไม่ใช่เรื่องเวรกรรมแต่เป็นความล้มเหลวการจัดระบบรักษาความปลอดภัยในสถานประกอบการคนงานที่เสี่ยงแบบนี้มีกี่โรงงานเทคโนโลยีสูง ๆ มี กี่โรงงานแยกออกมา แต่มันต้องลงลึกถึงขนาดไหนต้องดูปัจจัยเสี่ยง รัฐมีมาตรการอย่างไร หลายกิจการมีการวิเคราะห์ดูแลบ้างอย่างไร มีกฎหมายที่เกี่ยวกับความร้อน แต่ทุกที่ใช้พีพีอี ปัจจุบันไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับความเย็นใช้บังคับ นายจ้างใช้ความเย็นในห้องทำงานในที่ทำงานเกี่ยวกับอาหาร เช่น โรงงานแห่งหนึ่งมีอุณหภูมิห้องที่ต่ำมาก เย็นเกินไป เมื่อวัดอุณหภูมิห้องจะอยู่ที่ 5 องศาเซลเซียส แต่พนักงานต้องทำงานนานกว่า 8 ชั่วโมง คนงานออกมาป่วยเป็นโรคเนื่องจากการทำงานในลักษณะภูมิอากาศดังกล่าวมีจำนวนเยอะ เคยถามว่า ทำไมไม่มีกฎกระทรวงออกมาควบคุมความเย็นในลักษณะการทำงานที่มีความเสี่ยงสูงแบบนี้บ้าง ถามว่าทำไมไม่มีเกี่ยวกับความเย็น เรื่องจป. แต่ปรากฎว่า จป. เสมือนเป็นลูกจ้างของนายจ้างถ้าจป. ทำงานไม่เป็นไปตามนโยบายของบริษัทก็จะถูกไล่ออก ส่วนใหญ่ จป. เป็นลูกจ้าง ทำงานตามนโยบาย ประชุมทุกเดือน แต่แท้จริงไม่มีการประชุม ไม่มีการตรวจสอบอย่างแท้จริง ถ้าสามารถแก้ไขได้ จป. ควรเป็นหน่วยงานของรัฐมีทุกโรงงาน เหมือนสัตวบาล ที่ต้องประจำอยู่ในทุกโรงงาน

ดร.พงษ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี  ผู้แทนจากสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์  ปัญหาความปลอดภัยประเทศด้อยพัฒนามองเรื่องปากท้องคนความอยู่รอด แต่ประเทศพัฒนาแล้วจะมองเรื่องความปลอดภัยมองคุณภาพชีวิตและพัฒนาให้ดีขึ้น แต่ไทยเราเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือยัง เรายังไปไม่ถึงตรงนั้นเรามักจะให้ความสำคัญเรื่องปากท้องมากกว่า เช่น เรายังพบเห็นคนกวาดถนน ทำอะไรเสี่ยงมาก ต่างประเทศจะไม่เห็น ในขณะมีรถวิ่งเร็ว ปัญหาอีกอย่างคือความไม่รู้เรื่องคุณภาพชีวิตที่ยังดำเนินอยู่ด้วย ภาพรวมนอกจากตัวชี้วัดสิ่งต่างๆ เรื่องความปลอดภัยควรเป็นตัวชี้วัดด้วยกระทรวงการคลังไม่ได้เน้นเรื่องความปลอดภัย แต่เน้นเรื่องประหยัดงบอย่างเดียวและจำกัดจำนวนบุคลากรเจ้าหน้าที่รัฐ เลยทำให้จำนวนคนทำงานน้อยลง และขณะที่เนื้องานคงเดิม ทำให้เกิดความเหนื่อยความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น อันเนื่องจากตัวชี้วัดจากการร้องเรียน เกิดความเหนื่อยล้านำความเสี่ยงตามมา ถ้ามองแง่ พระราชบัญญัติความปลอดภัยฯ เอาท์ซอร์ซต้องได้รับการอบรมการทำงานในที่สูง ซึ่งตรงนี้ไม่มี พอทำงานจริงๆมักจะเกิดข่าวตามหนังสือพิมพ์ เช่นการประสบอุบัติเหตุตกเสาเยอะปีหนึ่งก็หลายรายเหมือนกัน ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนถี่ขึ้น ท้ายสุดส่วนงานยอมจ่ายค่าปรับ ความผิดอยู่ที่ตัวคนเสียชีวิตแล้ว สรุปแค่นี้ในเรื่องของปัญหาความปลอดภัย สามประเด็นหลักๆ ให้ความรู้เรื่องความปลอดภัย ตระหนัก นายจ้างสนับสนุนเรื่องความปลอดภัย

นายสนทยา  เผ่าดี  ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง กล่าวว่าเรามีกรอบที่จะต้องสื่อสารนักลงทุนให้ชัดเจนว่าจะทำธุรกิจที่ใดควรให้ความเคารพประเพณีต่อประเทศนั้น ๆ จากนั้นถัดมาปัจจุบันองค์กรที่มีสหภาพแรงงานมักยื่นเรื่องโบนัส มองว่าทำไมไม่ให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยด้วย ปัจจุบันเราทำงานอยู่วันนี้เรารวมตัวกัน เรียกร้องนายจ้าง เราเคยรวมตัวกันคุยกับภาครัฐหรือไม่ ทำไมเราไม่รวมตัวกันแล้วคุยนายจ้างและลูกจ้างต้องมีบทบาทร่วมกัน และทำอย่างไรให้ภาครัฐช่วยสนับสนุน เราจะบริหารเงินให้กลับมาสู่แรงงานอย่างไร ทั้งในและนอกเอสเอ็มอี นี่คือส่วนหนึ่งที่ทำให้คนรู้บทบาทหน้าที่ของเขา สิทธิของเขา ต้องทำอย่างไร ก็มีบางหน่วยงาน จป.เป็นคนต่างชาติที่ไม่เข้าใจ กฎหมายของประเทศไทย เขาก็ทำงานไม่ถูกต้อง วันนี้การเกิดของมนุษย์น้อย เมื่อเราเกษียณใครจะเลี้ยงเรา เราจะดูแลลูกจ้างผู้หญิงอย่างไรในอนาคตบ้าง ถ้าโรงงานผลักดันให้ผู้หญิงเป็นผู้บริหารได้ก็จะเอื้อต่อการดูแลลูกจ้างผู้หญิงมากขึ้น ในขณะนี้รัฐควรทำอย่างไร  ปัจจัยสามห่วง รัฐ นายจ้าง ลูกจ้างต้องรู้หน้าที่

นายสมพร  ขวัญเนตร  กลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก คนที่จะตรวจสอบว่านายจ้างได้กระทำถูกต้องหรือไม่นั้น ผมยังไม่เคยเห็นอะไรที่เป็นรูปธรรม ทั้งยังไม่มีมาตรการผมมองว่ากฎหมาย อาจจะเขียนไว้แต่สุดท้ายอยู่ที่นายจ้าง ลูกจ้าง การยื่นข้อเรียกร้องของลูกจ้างควรมาคุยเรื่องความปลอดภัย  คิดว่าต้นทุนที่เกิดอาจน้อยกว่าเงินโบนัส แต่ตอนเราแก่ จะมีปัญหาตามมาเยอะ และสุดท้ายปรากฏว่าความบกพร่องเป็นเหตุให้ลูกจ้างเสียชีวิต ต้องมีมาตรการ และถ้าเกิดว่านายจ้างปฏิบัติไม่ได้ตามมาตรการและบีโอไอเห็นว่าควรตัดสิทธิ ก็เอาเงื่อนไขตรงนี้เข้าไปด้วยตัดสิทธิประโยชน์ด้านภาษี เป็นต้น

นายบัณฑิต  ธนชัยเศรษฐวุฒิ  ผู้อำนวยการมูลนิธิอารมณ์พงศ์พงัน กล่าวว่าสถิติการเจ็บป่วยในกองทุนเงินทดแทน เพิ่มขึ้นประมาณ ถ้าคิดแง่ หนึ่งแสน เปรียบเทียบกับลูกจ้าง ถ้าเราดูการประสบอันตรายเราจะจำแนกตามสาเหตุทางกายภาพและโรคเนื่องจากการทำงานพบว่าปี 2556 การประสบอันตรายจำแนกตามความรุนแรงสาเหตุ มีตัวเลขอยู่ที่ แสนหนึ่งหมื่น โดยรวม ความรุนแรงตายกี่คน ทุพพลภาพกี่คน สถิติการตายค่อนข้างเยอะ ถ้าจำแนกตามความรุนแรง จากยานพาหนะเยอะสุด รองลงมาเรื่องของกรณีวัตตุสิ่งของสารเคมีเข้าตา ตกจากที่สูง สถิติ 80 %เรื่องโรคระบบกล้ามเนื้อ โครงสร้างกระดูกจากการยกของเคลื่อนย้าย  ประเด็นสุดท้าย พระราชบัญญัติว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 ได้บังคับใช้มาแล้ว 4 ปี มีหลายประเด็นมีความก้าวหน้าเชิงตัวอักษรพอสมควร ที่น่าสนใจเรื่องที่พึ่งเกิดมีการคุ้มครองลูกจ้าง เป็นพิเศษ กรณีห้ามโยกย้าย หรือเลิกจ้างลูกจ้างผู้ซึ่งได้ให้ข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย เป็นต้น

นางปรียานันท์  วิจิตรศาล ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย กรณีแรงงานนอกระบบ เคยกระจายเป้าหมายที่ศูนย์ความปลอดภัย 12 แห่งให้ความรู้ลงไปติดตาม เจ้าหน้าที่ทุกคนต้องวิ่งทำให้ใน 8 เคส เจ้าหน้าที่มีเป้าหมายว่าเคสที่ทำต้องก็มีการปรับ แต่เป็นสวนหนึ่งของโครงการที่ส่งเจ้าหน้าที่ไปทำ ส่วนใหญ่เป็นเรื่ององค์ความรู้กฤษฎีกาบอกว่าประธานไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐแก้ไขแล้ว แต่ก็ยังยอมรับว่าทุกภาคส่วนของภาครัฐ แล้วผู้บริหาร ช่วงที่ประกาศกฤษฎีกาการบังคับใช้กฎหมาย ยอมรับเรื่องการเพิ่มมาตรการ แต่ขาดการปฏิบัติ มีกฎหมายเยอะ มีงบประมาณส่งให้หน่วยงานของรัฐแต่ละแห่งได้รับไป 41กิจกรรมแต่ละปี ไม่น้อย แต่ทำงานทุกด้านของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ภาครัฐเราทำได้เท่านี้ ตอนนี้ลูกจ้าง มีสิทธิปฏิเสธจะไม่ทำงานที่ไม่ปลอดภัย  กฎหมายกำหนดว่าต้องให้องค์ความรู้ตามปัจจัยเสี่ยง จริงๆกฎหมายกำหนดว่าคุณจะเปลี่ยนงานต้องบอกปัจจัยเสี่ยง สำหรับกรณีเคเอฟซี ต้องตีความว่าบริหารหรือผลิต อย่างนี้เรียกว่าผลิต ก็มองว่าทำไมไม่แก้ที่การตรวจต้องมีระบบการดูดกำจัดที่ดี ทำไมไม่เกิดระบบนี้ อันนี้ต้องมานั่งดูอีกว่า เคเอฟซีคือบริการหรือผลิต แต่มีหลายส่วนที่สื่อสารเข้ามาและหาทางแก้ไข และข้อจำกัดการบริหารประเทศเรื่องงบประมาณค่อนข้างยาก และถูกจำกัด ยอมรับว่าภาครัฐต้องทำอะไรอีกเยอะภายใต้กระบวนการพัฒนาศักยภาพ

นางสาววิไลวรรณ  แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยกล่าวปิดงานเสวนาวันนี้ช่วงบ่ายเป็นการเสวนาวิชาการ ในหัวข้อ บทเรียนโศกนาฏกรรมคนงานเคเดอร์สู่อนุสาวรีย์เตือนใจความปลอดภัยแรงงาน ขอขอบคุณทุกท่านที่ได้เสียสละเวลาอันมีค่าเข้าร่วมงานเสวนาในครั้งนี้ สุดท้ายเราอยากให้ลูกจ้างทุกคนไม่มีการสูญเสียเนื่องจากเกิดอุบัติเหตุในการทำงานอีกและหวังว่าเราควรทำงานอย่างบูรณาการร่วมกันและมองในอนาคตว่าเราจะทำงานร่วมกันอย่างไรเพื่อป้องกันแก้ไขการเกิดอุบัติภัยในการทำงานไม่ให้เกิดขึ้นอีกอย่างยั่งยืน

นักสื่อสารศูนย์แรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่