นายกฯ อภิสิทธิ อึ้งคาดไม่ถึง เจอป้ายดีแต่พูด งาน 100 ปี วันสตรีสากล

ผู้ใช้แรงงานกลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย – อ้อมใหญ่  ประมาณ  30  คน เข้าร่วมกิจกรรมในวันที่  6  มีนาคม  2554  ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ( ท่าพระจันทร์ ) ตึกอเนกประสงค์ชั้น  3  เครือข่าย  37  องค์กรร่วมจัดงานครบรอบ  100  ปีวันสตรีสากล  โดยมีผู้เข้าร่วมราว 200คน นายอภิสิทธิ์   เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวปาฐกถา  ให้ความสำคัญประเด็นของผู้หญิง  โอกาสในการทำงานของผู้หญิง  ต้องผลักดันให้มีนโยบายสวัสดิการตั้งแต่เกิด – ตาย  โครงการการดูแลแม่และเด็ก  มีมาตรการเรื่องศูนย์ดูแลเด็กเล็กโดยได้เชิญชวนองค์กรภาคเอกชนเข้าร่วมโครงการฯ มีการสำรวจศูนย์ดูแลเด็กเล็กทุกจังหวัด จะให้มีครบทุกตำบล   ผลักดันให้ผู้ชายลาเพื่อดูแลบุตรได้  โดยให้ภรรยาเป็นผู้เซนต์รับรองให้ลางานเพื่อดูแลบุตรจริง  โครงสร้างของสังคมมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนค่าจ้างต้องมีการเปลี่ยนโครงสร้างเพื่อให้ค่าจ้างสูงขึ้นเศรษฐกิจจะได้แข็งแรง  ต้องไม่หวังพึ่งทุนต่างประเทศ  จากนั้นคณะทำงานได้ยื่นหนังสือข้อเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรี

นางสุนี   ไชยรส   ที่ปรึกษากลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี  ได้อ่านบทกวี  ในการต่อสู้ของสำราญ  คำกลั่น  กรรมกรหญิงกระทุ่มแบน  

เมื่อความเลวร้ายเข้าครองโลก              ความวิโยคก็เข้าเยือนทุกหย่อมหญ้า

คนกับคนที่เคยอยู่คู่กันมา                       คนกับคนก็หันหน้าฆ่ากันเอง

อำนาจความเลวร้ายในวันนี้                                  อัปยศกดขี่และข่มเหง

เหมือนยักษ์มารไม่เคยกลัวไม่เคยเกรง                  คอยแต่เร่งให้ร้อนรุมทุ่มให้แบน

เธอตายเพื่อจะปลุกให้คนตื่น                                  เธอตายเพื่อผู้อื่นอีกหมื่นแสน

คือดินก้อนเดียวในดินแดน                      แต่จะหนักและจะแน่นเต็มแผ่นดิน

ชมวีดีทัศน์  100  ปี การต่อสู้ของผู้หญิงตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันกับระบบสาม แปด  คือทำงาน  8  ช.ม.  พักผ่อน  8  ช.ม. ศึกษาหาความรู้  8  ช.ม.

นางศิริวรรณ   ตัวแทนกลุ่มแรงงานนอกระบบ  กล่าวถึง  ค่าจ้างในการมทำงานได้เพียงน้อยนิดอยู่แล้ว  ค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น  เศรษฐกิจไม่ดีของใช้แพง  

ข้อเสนอ ต้องการสวัสดิการจากรัฐ  – ด้านสิทธิในการรักษาพยาบาลและสวัสดิการด้านอื่นๆ

นางสมบุญ   สีคำดอกแค  ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯ  กล่าวถึงการต่อสู้ของคนงานทอผ้ากรุงเทพ ที่ป่วยเป็นโรคฝุ่นฝ้ายจากการทำงาน  มา  15  ปี  

เพิ่งได้รับสิทธิในปี  2553  เรียกร้องกฎหมาย  พ.ร.บ.สถาบันความปลอดภัยฯ มา  16  ปี วันที่ 17  มกราคม  2554  ได้ลงพระปรมาภิไธย  มีผลบังคับใช้  วันที่  17  กรกฎาคม  2554  การรวมตัวในการต่อสู้เป็นสิ่งที่ดีทำให้เกิดความสำเร็จ

นางจิตรา   คชเดช  อดีตประธานสหภาพแรงงานไทร์อัมพ์   กล่าวถึงเวลาที่นายทุนหนีหนี้  มี  POL  รองรับและให้เป็นหนี้เสีย  ส่วนคนงานหนีหนี้ต้องออกจากงานไม่มีอะไรมารองรับชีวิตยิ่งแย่ไปกว่าเดิม  ต้องมีรัฐสวัสดิการ  ค่าจ้างต้องสามารถให้คนงานอยู่ได้  ต้องมีเสรีภาพในการรวมตัวและนายกอย่าดีแต่พูด ให้ลงมือแก้ไขปัญหาแรงงานอย่างจริงจัง ทั้งการปรับค่าจ้างตามที่ขบวนการแรงงานโดยคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยเรียกร้อง 421 บาท โดยไม่ต้องรอให้เป็นนายกอีกครั้ง ข้อเสนอนายกหากข้าราชการไม่ตอบสนอง กรณีปรับค่าจ้าง 250บาท หรืออีก 300บาทหากได้รับเลือกตั้งถูกต้านโดยข้าราชการบางท่านหากนายกไม่ดีแต่พูดก็จัดการได้เลยเพื่อให้ข้าราชการต้องทำงานอย่าดีแต่พูด

นางอารียา   แก้วประดับ  สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์  กล่าวถึง  รัฐวิสาหกิจจะมีการยุบหลายหน่วยงาน กลุ่ม แรงงานหญิงต้องตกงานอีกมาก  

ลูกจ้างของหน่วยงานรัฐที่ทำงานแบบยั่งยืนยังมีรายได้เพียงน้อยนิดขาดการดูแลจากรัฐ  เช่น  ลูกจ้างในโรงพยาบาลของรัฐ  ลูกจ้างในกระทรวงสาธารณสุข  สวัสดิการขั้นพื้นฐานยังไม่ได้รับการเหลียวแลยังเป็นแรงงานชั้น  2  การแบ่งแยกเป็น  2  ระบบ

นางนุชนาท   แท่นทอง   ตัวแทนเครือข่ายสลัม  4  ภาค  กล่าวถึงการต่อสู้เรื่องที่อยู่อาศัย  ถูกไล่ที่  รื้อถอนที่อยู่อาศัยให้ไปอยู่บ้านเอื้ออาทร  แต่ไม่มีคุณสมบัติในการซื้อบ้าน  เช่นรายได้  สินทรัพย์  สลิปเงินเดือน  การต่อสู้การกระจายถือครองที่ดินเพื่อให้คนในชุมชนได้มีที่ดินอยู่อาศัย   ต้องแก้ปัญหาที่โครงสร้างให้รัฐจัดสรรที่อยู่อาศัยให้ประชาชนอย่างถ้วนหน้า  ผู้หญิงต้องไม่ทำแค่เลี้ยงลูกต้องลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อลูกหลานในอนาคต 

นางสาวซาซูมิ   มาเยอะ   มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์  ตัวแทนผู้หญิงภาคบริการ  กล่าวถึงการกวาดล้างของเจ้าหน้าที่ทำให้ผู้หญิงทำงานด้วยความหวาดระแวง ว่าจะถูกจับเข้าวันไหนบางครั้งวิ่งหนีจนเกิดการบาดเจ็บหลายครั้งถ้าเป็นแรงงานต่างด้าวยิ่งกลัว   เรื่องความปลอดภัยในสถานบันเทิงนายจ้างยังขาดความเอาใจใส่  – ประตูหนีไฟมีแต่ถูกปิดไว้  – เสียงเพลงที่ดังเกินมาตรฐาน  – สาวอาโกโก้เต้นโดยไม่มีเสาให้รูดแต่ต้องใส่รองเท้าส้นสูงไม่มีความปลอดภัยในการทำงาน  – ไม่มีประกันสังคม  – ลูกจ้างส่วนมากไม่ขึ้นทะเบียน

นางสวาท   ประมูลศิลป์   สมาคมเพื่อความก้าวหน้าอาชีพคนตาบอดแห่งประเทศไทย   กล่าวถึงอาชีพของคนพิการ   มีคนพิการที่จบปริญญาตรีทำงานแต่ได้รับเงินไม่ตรงตามวุฒิ   นวดคนปกติได้  150  บาท  คนตาบอดนวดได้  50  บาท  พ.ร.บ. การไม่เลือกปฏิบัติการจ้างงานคนพิการ  นายจ้างส่วนใหญ่ปฏิเสธผู้หญิง  จะเลือกจ้างผู้ชายมากกว่า 

 ข้อเสนอ  – รัฐต้องจัดสวัสดิการให้คนพิการ   – ต้องมีทางเลียบสำหรับคนพิการ   – ให้มีการจ้างงานในอัตราส่วนที่เหมาะสม  ให้นายจ้างส่งพนักงานที่พิการจากการทำงานไปฟื้นฟูสมรรถภาพและสามารถกลับมาทำงานได้  โดยให้นายจ้างหางานที่เหมาะสมให้ทำ  ไม่ใช่พิการแล้วเลิกจ้างจ่ายเงินค่าชดเชย  กลายเป็นคนว่างงานขาดรายได้

ผู้ดำเนินรายการ  โดย  นางอารีวรรณ   จตุทอง  เครือข่ายผู้หญิงผลิกโฉมประเทศไทย

ทั้งนี้ ในวันเดียวกันยังมีเด็กจากศูนย์เลี้ยงเด็กราว 10 คนมายืนถือป้ายให้รัฐต้องจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กให้เพียงพอ พร้อมทั้งมอบดอกช่อดอกไม้ให้กำลังใจ พร้อมทั้งมีชาวบ้านพีมูบมายื่นหนังสือเพื่อให้นายกได้มีการแก้ไขปัญหาหลังจากที่ได้มาชุมนุมในครั้งนี้ด้วย

 

 ดาวเรือง   ชานก  นักสื่อสารแรงงาน  ศูนย์สื่อสารแรงงานอ้อมน้อย – อ้อมใหญ่