นักวิชาการชี้ ชนชั้นนำในเอเชียใช้ระบบอุปถัมภ์ ปกครองแรงงาน


เสวนาวิชาการ เรื่อง “ชนชั้นนำและแรงงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ :องค์ประกอบ โครงสร้าง และพลวัตในยุคเปลี่ยนผ่าน” จัดโดย ศูนย์แม่โขงศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2561 ณ ห้องประชุมจุมภฎ-พันธุ์ทิพย์ ชั้น 4 อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รองศาสตราจารย์ ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของสังคมนั้นส่วนใหญ่เป็นการเปลี่ยนแปลงโดยชนชั้นนำ และด้วยมีความพร้อมทางปัจจัย ทั้งที่ความเป็นจริงกลุ่มของคนที่มีความสำคัญอย่างประชาชนส่วนใหญ่ที่เป็นแรงงานที่มีผลได้ผลเสียในการที่จะเห็นหรือไม่เห็นด้วยกับกลุ่มชนชั้นนำ แต่ว่าด้วยยังไร้อำนาจในการที่จะรวมตัวกันเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ แต่ทีมวิจัยก็เลือกที่จะทำวิจัยกับคนชั้นแรงงานที่มีการรวมตัวอยู่ และมีการเคลื่อนไหวทางสังคมที่ตรงกันข้ามกับชนชั้นนำอย่างชัดเจน จึงคิดว่า การสะท้อนทั้งสองภาพจะทำให้เกิดความชัดเจนต่อการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น

นายอุกกฤษ์ ปัทมานันท์ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า หากชนชั้นนำเป็นเพียงคนกลุ่มน้อย และมีคนกลุ่มใหญ่ที่อยู่ในส่วนของแรงงาน ซึ่งได้ถูกบีบคั่นจากความเหลื่อมล้ำทางนโยบาย การบริหารจัดการงานวิจัยดังกล่าวเพื่อการศึกษาสังเคราะห์ วิเคราะห์ออกมาให้เห็นถึงความเป็นชนชั้น โดยมีการนำเสนองานวิจัยออกมา ในบริบทของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เห็นถึงองค์ประกอบพลวัตในยุคการเปลี่ยนผ่าน ซึ่งมีความเข้มข้นและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ในส่วนของผู้ใช้แรงงานจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนให้เกิดมุมมองที่ชัดเจนด้านการพัฒนา

ศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ธรรมศาสตราภิชาน วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์กล่าวว่า หากมองชนชั้นนำและแรงงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากจะหาประวัติศาสตร์แรงงานในสังคมนี้คงไม่มี ที่เห็นและมีการศึกษามีแต่ประวัติศาสตร์ชนชั้นนำในชาตินั้นๆ พิพิธภัณฑ์ของชนชั้นนำ แต่ตรงกันข้ามหากจะพูดถึงประวัติศาสตร์แรงงานจะไม่กล่าวถึงประวัติศาสตร์ชนชั้นนำไม่ได้ ด้วยแรงงาน ในภูมิภาคนี้เมื่อพ้นจากชนชั้นนำ ก็เกิดรูปแบบงานอิสระ หรือแรงงานไร้ฝีมือคนกลุ่มแรกที่ถูกสร้างมาในชุมชน ก็เพื่อตอบสนองชนชั้นปกป้องที่ดินงานฝีมือในชุมชนแหล่งทรัพยากร ด้วยอดีตไพร่ ทาสเป็นสิ่งที่ยึดครอง ซื้อขายได้ แต่ในเอเชียมีความเป็นทาสต่างกันกับยุโรป ด้วยในเอเชียเป็นระบบอุปถัมภ์ เมื่อมีการยุบเลิกระบบทาส รูปแบบทาสมีการเปลี่ยนแปลงจากยุโรป ด้วยประเทศในเอเชียมีการปรับตัวในการเลิกทาสเช่นกัน รูปแบบการใช้ไพร่ ทาสในการผลิตสินค้าการเกษตร และอุตสาหกรรมแบบซื้อขาย

เดิมการผลิตแบบเกษตรกรรม ระบบไพร่ที่มีในไทยก็เป็นการมีเพื่อให้ควบคุมปัจจัยการผลิตด้านเกษตรกรรมไว้ เพื่อไม่ให้ตกเป็นของการล่าพื้นที่ของระบบทุน และคงการเกษตรไว้ให้ยาวนานที่สุด ด้วยแถบพื้นที่ใกล้เคียงโดนล่าอาณานิคมไปหมด และอยู่ในระบบภายใต้การถือครองของประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส

ภายใต้ชนชั้นนำ ระบบการขูดรีดที่เกิดขึ้น อำนาจรัฐและรัฐบาลยังมีความเข้มแข็งในการควบคลุมชนชั้นกรรมกรในการที่จะไม่ให้เข้ามีส่วนในการกำหนดนโยบายของประเทศได้เลย ทั้งอดีตอำนาจอยู่ในมือของชนกลุ่มน้อยที่เป็นชนชั้นนำ ปัจจุบันปัจจัยการผลิต อำนาจการบริหารก็ยังคงอยู่ในมือชนชั้นนำ โดยที่กรรมกรที่เป็นคนส่วนใหญ่ยังไม่มีอำนาจต่อรองไม่มีส่วนร่วมในการการกำหนดนโยบาย และเอสเอ็มอี วิสาหกิจชุมชน เศรษฐกิจรายย่อย ยังเป็นการผลิตที่ไม่ได้รวมกลุ่ม เป็นย่อมๆเท่านั้น ผู้ผลิตในโลกต้องเป็นผู้ที่มีอำนาจต่อรองกับรัฐบาล เป็นผู้กำหนดนโยบาย ระบบทุนนิยมเติบโต แต่ประเทศไทยก็ยังเป็นทุนที่อยู่ภายใต้รัฐบาล รูปแบบการมีส่วนร่วมไม่เกิดเลยในเอเชียด้วยรูปแบบการจัดการด้วยรัฐ ชนชั้นแรงงานเป็นทุกอย่างในการที่มีส่วนการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่หากยังให้แรงงานใช้ชีวิตแบบค่าจ้างต่ำกินขนมจีนกับน้ำปลา รูปแบบทรัพย์สินยังถูกยึดครอง อนาคตข้างหน้าก็คงไปไกลกว่านี้ไม่ได้ ด้วยเศรษฐกิจไม่อาจเติบโตได้
สุดท้าย ข้อวิเคราะห์ของมาร์กซิสต์ที่มีการกล่าวถึงแรงงานที่เป็นแรงงานอิสระในเอเชีย

คำถามมีเสรีตรงไหน คือไม่ต้องผูกมัดกับเจ้าของทาสและไม่มีกรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิต ส่วนนี้หายไปหมดที่ขาดไม่ได้คือ มีระบบเครือญาติ การที่มาร์กจะอธิบายเอเชียได้ แต่การที่จะอธิบายเศรษฐกิจแบบชุมชนของเอเชียตะวันตก ทั้งหมดที่รัฐยังไม่เอื้อต่อการเจริญเติบโต กรณีประเทศไทยที่เกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง แรงงานที่ถูกลอยแพจำนวนมาก แล้วไปอยู่ไหน กลับสู่ชนบท ด้วยระบบทุนยังไม่ได้ทำลายส่วนของชุมชนชนบททั้งหมด จึงทำให้แรงงานเมื่อตกงานยังมีที่พักพิงไม่ทุกข์ยากมากนัก กรณีแบบนี้จะใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างไรในการฟื้นคืนขึ้นมาได้ รูปแบบการปกครองแบบไพร่ ทาส แต่เป็นการปกครองที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจชุมชนที่ดินอยู่ได้

นางปรางค์ทิพย์ ดาวเรือง นักวิจัย และผู้สื่อข่าวอิสระได้นำเสนอเรื่อง ธนกิจการเมือง ในเครือข่ายชนชั้นนำในมาเลเซีย ว่า การเปิดตัวเพื่อการเลือกตั้งของมาเลเชียที่ผ่าน ทำให้เกิดการต่อรองของประชาชนกับชนชั้นนำ บรรยากาศที่เปิดทางประชาธิปไตยมากขึ้นทำให้เปิดให้ประชาชนได้สร้างอำนาจต่อรอง ซึงก็เป็นผล

ธนกิจการเมือง การที่จะเข้าใจมาเลเชียต้องเข้าใจ สองเรื่องคือตั้งแต่พรรคอัมโนมา ต้องเข้าใจการเมืองแบบอำนาจนิยม และปัจจัยต่อมาคือปัจจัยพื้นฐาน สองเศรษฐกิจเชื้อชาติ นิยมคือ มีส่วนของ จีน มาลายู ซึ่งมาลายูนั้นมีจำนวนประชากรมากที่สุดในประเทศมาเลเซีย และคนมาลายูมีความรู้สึกว่า คนเชื้อชาติอื่นๆคือ แรงงานที่อังกฤษนำมาใช้ในยุคของการล่าอาณานิคม พรรคอัมโน ใช้การหาเสียงทางการเมืองโดยชูว่า มาลายูอยู่เนื่องอื่นใดเป็นเรื่องเชื้อชาติ และเวลาอัมโนประชุมพรรคก็แต่งชุดมาลายู ประกาศยกย่องชนชาติมาลายูเสมอ พรรคอัมโนมีกลไกทางการเมืองของตนเอง ถึงขนาดมีกลุ่มเอ็นจีโอที่มาเดินขบวนเพื่อทวงพื้นที่คืนจากคนมาเลเซียที่มีเชื้อสาย จีนและอื่นๆ ซึ่งพรรคในมาเลเชียเป็นการตั้งขึ้นมาบนพื้นฐานเชื้อชาติตลอด

อีกระบบ คือระบบเศรษฐกิจที่มีทุนเข้ามาร่วมในการกุมอำนาจและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับนักการเมืองตลอด ซึ่งอาจเป็นต้นต่อที่ทำให้เกิดต้มยำกุ้งด้วยและน่าศึกษาประเด็นนี้มากเช่นกัน
พรรคอัมโนได้สถาปนามาในการใช้เชื้อชาติเพื่อการเข้าสู่อำนาจ และจัดวางเศรษฐกิจให้พวกพ้องทางเชื้อชาติเพื่อให้ผลประโยชน์กลับมาให้มือของพรรคการเมืองของตนต่อ การที่มีการจลาจลทางเชื้อชาติทำให้รัฐบาลมีการออกกฎหมาย กำหนดนโยบายเพื่อคนมาลายู โดยอ้างเพื่อการลดช่องว่างทางความจน ทำมาแผนเรื่องการลดภาษีให้ สิทธิพิเศษในการซื้อบ้านที่อยู่อาศัยเป็นเวลา 5 ปี แต่ว่าแผนนั้นก็ไม่ได้ยกเลิกยังใช้ยาวมาเรื่อย จนทำให้คนมาลายู่รู้สักว่า หากยกเลิกสิทธิพิเศษนี้ คนมาลายูจะอยู่อย่างไร โดยเป็นนโยบายเศรษฐกิจใหม่ให้สิทธิพิเศษกับคนมาลายูรากหญ้ามากขึ้นบางหลายก็ยกระบบมาเป็นชนชั้นกลาง และมีเครือข่ายธุรกิจกลุ่มภูมิบุตรได้ประโยชน์ที่สุด ชาวอินเดียได้สิทธิพิเศษและได้ผลประโยชน์จนมั่งคั่ง และเครือข่ายนักการเมืองก็ได้ประโยชน์มากขึ้น และกลุ่มคนจีนที่มีอยู่ราว 20%ไม่พอใจมากขึ้น และว่า ทำไมคนมาลายู และกลุ่มภูมิบุตรได้สิทธิในการลดภาษี แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มนี้เองก็ไม่มั่นใจในการมีชีวิตอยู่หากว่าไม่มีนโยบายนี้

ด้านมหาเธร์ โมฮัมหมัด เข้ามาก็มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และมีการโอนทรัพย์สิน ให้กลุ่มภูมิบุตรในการถือครอง และมีบริษัทใหญ่ๆเกิดขึ้นมา แบบใหญ่โตมหาศาล และมีการโอนเงินสนับสนุนพรรค และเป็นการรวมศูนย์ภายใต้อัมโน และคนที่รวยที่สุดคือ กลุ่มภูมิบุตร และรัฐบาลสามารถที่จะถือหุ่นเอกชนได้ และพรรคการเมืองเป็นเจ้าของธุรกิจได้ ซึ่งการที่สื่อมวลชนไม่วิจารณ์รัฐบาลเพราะว่านักการเมืองเป็นเจ้าของสื่อมวลชน จึงทำให้สื่อไม่กล้าวิจารณ์รัฐบาลหรือนักการเมืองได้ในยุคนั้น

ช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง มาเลเชียก็มีปัญหา และรัฐบาลได้เข้าไปซื้อเพื่ออุ้มธุรกิจเอกชนจำนวนมาก ซึ่งมีการสะสมทรัพย์สินจำนวนมาก กระทรวงการคลังสามารถไปซื้อหุ้นในตลาดหุ้นได้ และสามารถควบคลุมตลาดหุ้นได้ และกระทรวงการคลังคือนายกรัฐมนตรี ซึ่งนาจิบ ราซัค จากพรรคอัมโน ที่มีอำนาจเหนือกระทรวงการคลังจึงมีการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเงินกองทุนวันเอ็มดีบี และเงินที่ไหลไปเพื่อการฟอกเงินจำนวนมาก ซึ่งตอนนี้มีการตรวจสอบ และอาจทำให้อดีตนายกมาเลเชียและภรรยาอาจติดคุก

ชนชั้นนำปี 2561 ของมาเลเชีย ซึ่งเสียงประชาชนได้เรียกร้องให้มีการปรับให้เอกชนบริหารจัดการเองโดยรัฐไม่มาควบคุม เพื่อความเป็นอิสระ แต่ก็ต้องจับตาดูกัน ว่าหลังจากมหาเธร์เข้ามาบริหารประเทศจะมีการเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพยงใด ด้วยประชาชนเองก็ใช้โซเซียลมีเดียในการติดตามและเฝ้าระวัง และคิดว่าสื่อมวลชนเองก็คงมีการปรับตัว

ดร.ดิเรก หงษ์ทอง นักวิจัยกล่าวถึงระบอบสมเด็จฮุนเซนว่า ใช้ระบบอุปถัมภ์ในการบริหารประเทศ จึงทำให้อยู่รอดได้ และยังใช้ระบบอุปถัมภ์กับผู้ใช้แรงงาน คือ แรงงานในระบบอุตสาหกรรมนั้น มีจำนวนมากและมีสิทธิออกเสียงในการเลือกตั้ง นอกจากเป็นฐานเสียงที่สำคัญให้กับรัฐบาลแล้ว ยังอาจกลายเป็นภัยคุกคามทางการเมืองได้ด้วย และในทางการเมืองผู้ใช้แรงงานสามารถที่จะโน้มน้าวครอบครัวในการเลือกตั้ง และปี 2013 แรงงานมีการเดินชุมนุมประท้วงจำนวนมาก เพื่อเรียกร้องเรื่องสวัสดิการ ค่าจ้างแรงงานเป็นต้น

การทำงานของฮุนเซน อีกอย่างคือการกำจัดฝ่ายค้าน ทำให้ต้องลี่ภัยไปประเทศฝรั่งเศส และจับกุมคุมขัง นอกจากจะใช้มาตรการต่างๆแล้ว ยังทำให้ภาพฝ่ายค้านเป็นผู้ร้าย เป็นกบฏ และฝ่ายค้านไม่ให้มีการลงทุน การลงไปพบปะแรงงานสมเด็จฮุนเซนก็จะอ้างบุญคุณต่างๆที่ทำให้แรงงานรวมถึงเรียกแรงงานว่า หลานๆ คนที่สนับสนุนผู้ใช้แรงงานในมีชีวิตที่ดีคือพรรคของตนเป็นต้น

การซักชวนให้มีการลงทุนในประเทศกัมพูชาโดยมีมาตรการ การยกเลิกภาษีให้นักลงทุนจาก 5 ปี เพิ่มเป็น 9 ปี มีการเปลี่ยนชัยภูมิ เป็นพื้นที่ค้าขาย และให้เพื่อที่สู้รบเป็นพื้นที่ในการพัฒนา มีการแก้ไขปัญหาโฆษณาผ่านสื่อ และมีการพบปะกับแรงงานตลอด ด้านการสื่อสารจะมีการสร้างความใกล้ชิดกับแรงงานอย่างมากจึงทำให้ได้ใจ เฟซบุ๊กมีคนคิดตามกว่า 10 ล้านคน

ผลประโยชน์ที่ให้กับแรงงานทั้งด้านที่พักอาศัย พอใกล้วันเลือกตั้งก็จะมีการประกาศจัดสรรประโยชน์ให้ ด้วยแรงงานคือฐานเสียงทางการเมือง เช่นจะขอไม่ให้ขึ้นค่าเช่าบ้าน การรักษาฟรี และกรณีบำนาญชราภาพ จะให้กับแรงงานในปี 2562เป็นต้น

นายสุภลักษณ์ กาญจนขุนดี นักวิจัย เรื่อง พรรคคอมมิวนิสต์ กับชนชั้นนำในเวียดนาม ได้นำเสนอว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจในเวียดนามของรัฐบาลเวียดนามนั้น ไม่ได้เป็นการขายรัฐวิสาหกิจอย่างหลายประเทศ แต่เป็นการแปรรูป เพื่อให้รัฐครอบครองได้มากขึ้น แปรรูปเพื่อเข้าสู่ระบบตลาด เป็นการแสวงหากำไรมากขึ้น การศึกษาได้มีการกล่าวถึงตัวบุคคลและมีลักษณะแบบอนุรักษ์นิยม กับสายปฏิรูป ซึ่งประสม ประสานกันอยู่ ไม่สามารถแบ่งได้อย่างชัดเจน และมีการศึกษารูปแบบพื้นเพ ถิ่นกำเนิด สานอาชีพ รุ่นเก่า และรุ่นใหม่ เป็นต้น

พื้นเพภาคเหนือไม่มีประสาบการณ์ในการตลาด ภาคกลางยากจนอดอยากและต่อสู้ ส่วนภาคใต้เป็นภาคที่อุดมสมบูรณ์ในการพัฒนาประเทศ
สิ่งที่เกิดขึ้น คือ มีการกระจายรัฐวิสาหกิจ และพรรคคอมมิวนิสต์ส่งคนมาบริหารรัฐวิสาหกิจ มีการสร้างสมดุลย์โดยขายให้กับอดีตผู้บริหารเดิม แต่พรรคยังเข้าไปตรวจสอบได้ กองทัพมีลักษณ์ควบคุมอำนาจ ด้านหนึ่งรักษาความมั่นคง และอีกด้านในการพัฒนาเศรษฐกิจด้วย ที่มีความสำคัญคือ มีรัฐวิสาหกิจเป็นของตนเอง ควบคุมทุกชนิดตั้งแต่ธุรกิจเกษตรจนถึงบันเทิง การปฏิรูปตามอำนาจเศรษฐกิจอยู่ในมือของกองทัพเวียดนาม

ดร.มุกดา ประทีปวัฒนะวงศ์ จากมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การใช้โซเซียลมีเดียในเวียดนามส่งผลอย่างไรในเวียดนาม ด้วยการสื่อสารในปัจจุบัน ไม่ใช่แค่พรรคการเมืองเท่านั้น ประชาชนในสังคมก็สามารถสื่อสารได้ผ่านระบบโซเซียลมีเดีย และประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรที่เข้าถึงระบบดังกล่าวได้ และมีเพิ่มขึ้นเรื่อย และประชาชนก็ใช้โต้ตอบทางการเมืองในสังคมได้ด้วย และสามารถสร้างข่าวสารของตนเองได้อีก ไม่ใช่แค่แชร์ข่าวสารให้เพื่อนในกลุ่มได้เท่านั้น และรัฐบาลก็ตั้งคนมากลุ่มหนึ่งโต้ตอบคนที่ต่อต้านรัฐบาล แต่ก็ไม่ค่อยมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้

นายอดิศร เสมแย้ม นักวิจัย กล่าวถึงเครือข่ายชนชั้นนำในประเทศสาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่า การเมืองของลาวเกิดและพัวพันกันในระบบครอบครัว มาจากเรื่องที่แบ่งออกมาหลายกลุ่มหลายตระกูล การศึกษาของสจ๊วต พ๊อก พบว่า ลาวเป็นสังคมของการอุปถัมภ์ แต่หากดูบริบทการเมืองก็เป็นปิรามิค ในการบริหาร และการทับซ้อนของรัฐบาล และมารองรับรัฐบาลแห่งชาติทำให้อย่างทุกหน่วยงานทุกกระทรวงเหมือนกันหมด และบางคนที่เป็นเจ้าแขวงก็เป็นผู้บริหารหรือกรรมการพรรค โดยพรรคเป็นผู้กำหนด มีการกำหนดเป็นชั้นๆ พรรคจึงมีความสำคัญค้อนข้างมาก ลักษณะการบริการแบบปิรามิค บริหารพรรคแบบครอบครัว การแบ่งกลไกเพื่อการรักษาฐานอำนาจ ทั้งหมดต้องเป็นสมาชิกพรรค และไม่ค่อยมีปัญหามาก และบุตรหลานของพรรคของผู้นำพรรค ตอนนี้เป็นรุ่นที่ 2 รุ่นลูกหลานอยู่ในกระทรวงที่สำคัญ มีองค์กรที่เป็นแขนขาทางการเมืองที่สำคัญ โดยเด็กที่อายุเกิน 17 ปีต้องเป็นสามาชิกพรรค องค์กรชาวนา องค์กรแม่หญิงลาว

ส่วนสหพันธ์กรรมบาลลาว องค์กรกรรมบาลมีการจัดตั้งช้ากว่าองค์กอื่นๆ เนื่องจากการลงทุนยังน้อย มีการปลูกฝังหรือจัดตั้ง เด็กค่อนข้างสูง โดยใช้ระบบอุปถัมภ์ แบบรู้บุญคุณเมื่อมีการตั้งรัฐบางจะเอาคนรุ่นหลังลูกหลานผู้นำในอดีตมาเป็นรัฐบาลด้วย การเข้าเป็นสมาชิกพรรค ลูกหลานจะไปเรียนในเขตปลดปล่อย พื้นที่ปลอดภัย ในประเทศต่างๆอย่างกงสี ประเทศจีน รัฐเซีย มีการก้าวขึ้นมาเป็นระดับ และมีลักษณะที่เป็นคนที่มีความสามารถ และความสัมพันธ์ของเครือญาติ ใช้การแต่งงานกันในกลุ่มเดียวกันรุ่นลูกรุ่นหลาน การขัดแย้งเชิงผลประโยชน์ในส่วนของผู้นำรุ่นเก่ายังมีบทบาท ซึ่งจากความสัมพนธ์ ก็ทำให้มีปัญหาด้านการคอรับชั่น ก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจจากเดิมมีการลงทุนแบบธุรกิจครอบครัว ตอนนี้ได้เปิดให้มีการลงทุนอย่าง เหมืองแร่ การก่อสร้าง ต่อมาก็มีการโรงแรมและการบริการ

นายณัฐพล ต้นตระกูล นักวิชาการและนักวิจัย ล่าวถึงโครงสร้างชนชั้นนำใหม่ ในประเทศเมียนมา ว่า ธุรกิจยังอยู่ในมือของอิทธิพลของทหาร หลังจากนั้นการที่เปิดให้มีการลงทุนทางธุรกิจกลุ่มผลประโยชน์ที่ทำงานร่วมกับรัฐบาล โครงสร้างอำนาจจึงเป็นแบบพึ่งพากันระหว่างธุรกิจ กับการเมืองรัฐบาลเมี่ยนมา ปี 2010 มีการเลือกตั้งทำให้เปลี่ยนพื้นที่ทางการเมือง ในการจัดตั้งพรรคการเมือง มีการปล่อยคนที่เกี่ยวกับการเมือง ลดการปราบปรามการประท้วง มีการปฏิรูปเศรษฐกิจมีการลงทุนมากขึ้น มีการเอื้อให้มีการลงทุนของทุนต่างประเทศ

ทำไมกองทัพถึงเปลี่ยน หลักประกันสำคัญ คือรัฐธรรมนูญที่มีการกำหนดให้ทหารเข้าไปมีอำนาจในรัฐบาลร้อยละ 25 และมีสภาความมั่นคง ผู้บัญชาการสูงสุดมีอำนาจสูง การบริหารจัดการภายในของกองทัพเองที่ทำให้รัฐบาลมายุ่งเกี่ยวไม่ได้ จากเดิม กองทัพจะปกป้องรักษารัฐธรรมนูญ กลไกของกองทัพมี วิสาหกิจ ธุรกิจของตนเอง 2 บริษัท และไปถือหุ่นกับบริษัทอื่นๆ เช่น เมี่ยนมามีบริษัทผลิตเบียร์ครึ่งหนึ่งเป็นของกองทัพ การลงทุนของกองทัพเพื่อนำผลกำไรมาจ่ายเป็นสวัสดิการให้กับกองทัพ

โครงสร้างที่กองทัพจะมาสู่ชนชั้นนำ คือพรรคการเมือง แน่นอนว่า มีพรรคของอองซาน ซูจี ซึ่งNLDก็มีอำนาจ และเป็นคะแนนนิยมกับประชาชน ปัญหาต่อมาคือ การสืบทอดทางการเมือง แต่ก็มีความพยายามในการปรับโครงสร้างการบริหารพรรคการเมือง โดยเอากรรมการบริหารพรรคไปอยู่ข้างบน โครงสร้างอำนาจของพรรคการเมืองก็ง่อนแง่นเหลือเกิน ผิดกับกองทัพที่ดูจะมีความมั่นคงมากขึ้น พลเรือนก็มีทั้งในส่วนการตั้งพรรคการเมือง และกลุ่มแรงงานที่เริ่มมีบทบาทในการขับเคลื่อน ชุมนุมประท้วง และล่าสุดทำให้มีการกำหนดเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำเป็นต้น

การปฏิรูปทำให้กลุ่มผลประโยชน์ที่ได้คือนักธุรกิจกลุมเดิมที่เติบโตขึ้น และมีการปรับตัวอย่างมาก จากเดิมมีการทำธุรกิจกับทหารก็ปรับไปร่วมทุนกับต่างชาติแทน และเล่นการเมืองด้วย ทิศทางการขับเคลื่อนประเทศอยู่กับทุนพวกนี้และไม่ได้แนบแน่นกันมาก รัฐ กองทัพ และกลุ่มธุรกิจ และแรงงานเองก็ยังไม่มีอำนาจพอในการที่จะเรียกร้องมากหนัก
นายศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา นักวิชาการด้านแรงงาน และนักวิจัย กล่าวว่า ภูมิภาคนี้มีแรงงาน 350 ล้านคน เป็นแรงงานกลุ่มใหญ่ แต่กลับมองไม่เห็นแรงงาน และทุนที่หลื่นไหลในภูมิภาคนี้ เรื่องของคนส่วนใหญ่หายไป การที่คนส่วนน้อยปกครองเท่ากับว่า คนส่วนใหญ่มีอำนาจไม่เพียงพอ ภาคเกษตรกรรมกับภาคบริการเป็นแรงงานกลุ่มใหญ่และมีอำนาจต่อรองน้อย และถูกทำให้ออกไปสู่แรงานนอกระบบเพิ่มมากขึ้นอีก และการจัดตั้งรวมตัวยากมาก แต่การรวมตัวน้อยมาก โดยแรงงานไปอยู่นอกระบบสูงมากถึงร้อยละ 65 อีกทั้งสถานประกอบการที่อยู่ร้อยละ 99 คือ SME จัดตั้งยากอีก และมีการจ้างงานร้อยละ 51-97 แต่อ่อนแอที่สุดของฝ่ายงแรงงาน ทั้งที่มีแรงงานมาก

องค์กรแรงงานITUC (สมาพันธ์แรงงานสากล)ระบุว่า ในอาเซียนละเมิดสิทธิแรงงานสูงสุด 10 อันดับแรก และมีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงด้านการปกครองโดยคนส่วนน้อยเป็นผู้มีอำนาจปกครอง แต่คนส่วนใหญ่ไม่มีอำนาจถ่วงดุล รัฐกับการจัดการด้านแรงงานสัมพันธ์ ทำให้การสะสมทุนดำเนินต่อไป โดยคนส่วนใหญ่ไร้อำนาจต่อรอง และกลยุทธ์ที่ใช้ระบบแรงงานสัมพันธ์หลายประเทศเป็นอาณานิคมมาก่อน อังกฤษเข้าไป แบ่งแยกและปกครอง เพื่อทำลายขบวนการแรงงาน กดไว้ไม่ให้มีอำนาจ ร่วมกันเรียกร้องเอกราช แต่ประวัติศาสตร์ไทยแม้ไม่ได้เป็นเมืองขึ้น แต่ก็ไม่ยอมรับเรื่องแรงงาน ทั้งที่มีแรงงานจีนในไทยยุคแรก เอานโยบายความมั่นคงมาจับ ระบบแรงงานสัมพันธ์ในอาเซียน แบ่งเป็นยุคอาณานิคม , ยุคสงครามเย็น , เสรีนิยมใหม่และการเมืองแบบอุปถัมภ์ ส่งเสริมอำนาจนิยมส่งเสริมเศรษฐกิจการตลาดและส่งเสริมการลงทุน โดยอาเซียนเชื่อเรื่องเผด็จการที่ให้ตลาดทำงานสุดโต่ง เอาใจฝ่ายทุน และจำกัดบทบาทสหภาพแรงงาน ควบคุมไม่ให้ขัดแย้ง เกิดข้อพิพาทแรงงาน บริหารแบบให้สิทธิพิเศษฝ่ายทุนเต็มที่เพื่อดึงนักลงทุนเข้ามาลงทุนแบบเสรี

แต่แรงงานสัมพันธ์อำนาจอยู่ที่รัฐและทุน สิทธิการรวมตัวและเจรจาต่อรองไม่เป็นที่ยอมรับ การที่รัฐไม่ให้สัตยาบันอนุสัญญองค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO) ฉบับที่ 87 และ98 เพื่อให้เกิดการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพการรวมตัว และเจรจาต่อรองร่วม ของรัฐไทย ผลคือ การรวมกลุ่มเป็นสหภาพแรงงาน เพื่อสร้างอำนาจต่อรองมีน้อยไม่เข้มแข็งเพียงพอที่จะต่อรองทางการเมือง อำนาจต่อรองอยู่เพียงระดับสถานประกอบการเท่านั้น แต่องค์กรแรงงานในยุโรป ใช้การอำนาจการรวมตัวเจรจาต่อรองทั้งประเทศ ทั้งอุตสาหกรรม แรงงานในประเทศไทย และอาเซียนยังเสียเปรียบ ขบวนการแรงงานอ่อนแอ และขบวนการแรงงานในประเทศไทยเองก็ยังไม่เป็นเอกภาพ การกำหนดนโยบายระดับชาติน้อยมาก

ในประเทศเวียดนาม ขบวนการแรงงานเป็นส่วนหนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์ แต่สหภาพแรงงานยังไม่ได้มีอิสระมากพอ แม้ประธานสหภาพแรงงานเป็นกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์ ทำให้ต้องใช้อำนาจอื่นในการต่อรองเพื่อปรับสภาพการจ้างและสวัสดิการ
องค์กรนายจ้างมีบทบาทน้อย และไม่เชื่อในระบบแรงงานสัมพันธ์ ไปใช้สภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้า สถานประกอการขนาดเล็ก มีอำนาจการต่อรองน้อย โดยเน้นการส่งออก และส่งเสริมลงทุนจากต่างชาติ ไปกดค่าแรง และสิทธิเรื่องแรงงาน เพื่อสร้างแรงจูงใจให้นักลงทุน ห่วงโซ่การผลิตระดับโลกแผ่ขยายมากขึ้น เช่น การประกาศเขตเศรษฐกิจพิเศษสำหรับนักลงทุนได้ประโยชน์สูงสุด ปลอดการจัดตั้งสหภาพแรงงาน หรือทำให้แรงงานอยู่นอกระบบ ทุนใหญ่ขึ้นแรงงานเล็กลง
อาเซียนกำเนิดมาจากการเชื่อในตลาด สร้างความเชื่อว่าสหภาพแรงงานจะบิดเบือนตลาด แนวคิดอาเซียนคนละเรื่องกับ EU ที่รัฐแทรกแซงได้ แต่อาเซียน คือ เสรีทุนในการเคลื่อนย้าย ทำให้ประชาคมเศรษฐกิจครอบงำการเมือง สังคมวัฒนธรรม ทำให้ขบวนการแรงงานอ่อนแอ ไม่มีอำนาจการต่อรอง แม้อาเซียนบอกว่า มีกรอบกติกา แนวปฏิบัติแรงงานต่างๆ แต่มีไว้อย่างนั้น เหมือนโรงงานมีแต่ไม่ปฏิบัติ เพราะแรงงานมีส่วนร่วมกำหนดน้อยมาก โดยอาเซียนมุ่งลงไปสู่การควบคุมข้างล่าง เพื่อให้ทุนได้ประโยชน์สูงสุด โดยรัฐปฏิเสธสิทธิการรวมตัว ให้สิทธิในการรวมตัวเป็นสหภาพแรงงานขนาดเล็กในสถานประกอบการเท่านั้น

อุตสาหกรรมวางโดยระบอบเผด็จการและทุน ทำให้องค์กรแรงงานมีขนาดเล็ก และเน้นเรียกร้องแค่เรื่องปากท้องเท่านั้น สหภาพแรงงานต่อต้านโลกภิวัฒน์น้อยมาก ถูกครอบงำโดยกรอบเสรีนิยมที่อยู่ด้วยกันได้เท่านั้น แต่ไม่ได้ให้ต่อรองมาก

โดยมองอำนาจ 4 อย่าง จะมีการต่อรองได้ คือ อำนาจเชิงโครงสร้าง หยุดระบบเศรษฐกิจ อำนาจการรวมตัว อำนาจเชิงสถาบัน อำนาจเหนือสถาบันที่มีอำนาจตัดสินใจต่างๆ เช่น รัฐบาล สภา พรรคการเมือง ไตรภาคี

1. อำนาจทางสังคม เกิดจากการทำงานเชื่อมโยงกับภาคประชาสังคม

2. อำนาจเชิงโครงสร้าง การหยุดการผบิต หรือรัฐรัฟังการประท้วง ลดลน้อยลง สหภาพแรงงานสถานประกอบการทำได้ยากมาก

3. อำนาจการรวมตัว จำกัด ไม่ครอบคลุม ไม่คุ้มครอง ซึ่งในประเทศเวียดนามเยอะที่สุดถึงร้อยละ 50 ของแรงงาน แต่ไม่เป็นอิสระจากพรรคการเมือง รูปแบบการจ้างงานในอาเซียนอยู่นอกระบบ จัดตั้งสหภาพแรงงานยากมาก องค์กรแรงงานขาดความเป็นอิสระ

4. อำนาจเชิงสถาบัน เครื่องมือสำคัญไตรภาคี แต่วางกรอบขอบเขตมาก ใช้ได้จำกัด แต่แรงงานอ่อนแอ จึงไม่มีอำนาจในการต่อรอง

ซึ่งอำนาจเชิงสังคม ขบวนแรงงานยังถูกแยกจากภาคประชาสังคม ไม่สามารถร่วมกันได้ ประเด็นแรงานยังไม่ได้รับความสนใจในสังคม คือสังคมยังไม่เข้าใจเรื่องแรงงานและสหภาพแรงงานก็ยังไม่เป็นขบวนการแรงงานเพื่อสังคมได้

สุดท้าย รัฐ และนายจ้างผ่านกติกาต่างๆ เพื่อเอื้อให้ทุนได้ประโยนน์สูงสุด
ด้วยอำนาจต่อรองต่ำมากในภูมิภาค การเชื่อมร้อยในภูมิภาคของแรงานมีน้อย แม้มีความพยายามทำงานแรงงานอาเซียน สภาแรงงานลูกจ้างภาคบริการอาเซียน แต่เน้นเรื่องอำนาจเชิงสถาบัน ทำให้แรงงานมีอำนาจหยุดการผลิต มีการจัดตั้งแรงงานภาคประมงอันดามัน แต่ก็ทำได้น้อยหรือยากมาก

ภูมิภาคนี้สร้างวงจรอุบาท์อำนาจนิยม และความเหลื่อมล้ำ ใช้ระบบอุปถัมภ์สร้างจารีตปกครองขึ้นมา เชื่อมตลาด เปิดการค้าเสรี ให้สิทธิพิเศษต่างๆกับนายทุน ใช้การพึ่งพิงตลาดการส่งออก การทำให้แรงงานไม่มีปากเสียงรวมตัวไม่ได้ ทำให้ทุน หรือชนชั้นนำซึ่งเป็นคนส่วนน้อยมีอำนาจสูงสุด ซึ่งถ้าแรงงานยังรวมตัวกันไม่ได้ ผลประโยชน์ก็จะเอื้อและตกอยู่กับคนส่วนน้อยกลุ่มชนชั้นนำเท่านั้น

ศาสตราภิชานแล ดิลกวิทยรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า คน 2 กลุ่มในอาเซียน ซึ่งจะเห็นกลุ่มชนชั้นนำ กับแรงงาน ความสัมพันธ์ของคน 2 กลุ่มนี้ ทำให้เห็นตัวระบบแรงงานว่า การต่อรองคนข้างล่างไม่มีเลย เพราะมีการผสมผสานระหว่างภาคเกษตรกับภาคอุตสาหกรรม สหภาพแรงงานที่เข้มแข็งมักเกิดจากภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ โดยตัวสถาบันไปกดเรื่องความเป็นไพร่ เป็นคนชั้นต่ำ แม้กระทั่งผู้ใช้แรงงานยังไม่อยากใช้คำว่ากรรมกร เพราะรู้สึกเป็นคำต่ำ เป็นการถูกกดในเชิงวัฒนธรรมด้วย ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจ
พอเกิดเรื่องความเป็นขบวนการแรงงานจริงๆ แต่ทุนมาจากข้างนอก ขบวนการแรงงานก็มาจากข้างนอก ทำให้แรงงานเป็นคนอื่น

อย่างในอดีตมีการใช้แรงงานจากการล่าอาณานิคม อย่างประเทศไทยแรงงานรุ่นแรกคือแรงงานจีนที่เข้ามารับจ้าง ถูกมองว่า แรงงานไม่ใช่ชาวสยามด้วยซ้ำ การที่รัฐต้องออกกฎหมายคุ้มครอง ก็กลายเป็นการออกกฎหมายมาเพื่อควบคุมด้านความมั่นคงของประเทศ และรัฐ

หากมองไปที่ตัวรัฐในอาเซียนเข้มแข็ง เป็นชนชั้นในตัวมันเอง คือ ชนชั้นเจ้านายขุนนางศักดินา รัฐคือคนต่างชาติสำหรับรัฐที่ตกเป็นเมืองขึ้น มองพลเมืองถูกมองว่า เป็นคนอื่น แรงงานที่ทำงานจึงกลายเป็นอื่น และไม่ได้คุ้มครองดูแล
โดยรัฐสมัยใหม่มี 2 ส่วน คือ พยายามพัฒนาผ่านกระบวนการทุนนิยม ด้วยการอาศัยทุนจากต่างประเทศ ซึ่งต้องใช้วิธีการล่อให้มาลงทุนผ่านการส่งเสริมการลงทุน ที่กดต้นทุนค่าแรงให้ต่ำที่สุด ไม่สนับสนุนให้แรงงานมีการรวมตัวเป็นสหภาพแรงงาน ที่จะมาเรียกร้องสิทธิสวัสดิการค่าจ้างต่างๆ สามารถควบคุมแรงงานได้อย่างแน่นอน รัฐสมัยใหม่คุมแรงงานให้ส่งเสียงเรียกร้องให้อยู่นิ่งๆในการดูแลของรัฐ

การใช้อำนาจตลาดผูกขาดไปผูกอำนาจรัฐ ซึ่งการสิ้นสุดระบบสังคมนิยม ใช้กลไกตลาดกลายเป็นรัฐที่เข้มแข็ง แรงงานต่อรองไม่ได้ ซึ่งในประเทศเวียดนามยิ่งชัด แรงงานไม่มีเสรีภาพ รัฐ คือ รัฐของชนชั้นแรงงาน

อย่างสหภาพแรงงานเวียดนามห้ามชุมนุมสไตรส์ ที่สไตรส์ คือ แถวภาคใต้ที่มีการลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศเท่านั้น หากเป็นทุนในประเทศทำไม่ได้ เช่นในรัฐวิสาหกิจห้ามสไตรส์ และมีการไฟเขียวจากพรรคด้วย

จากการศึกษาทำให้เห็นว่า บทบาทของทุนต่างชาติที่มีต่อรัฐที่กำลังพัฒนา มีอิทธิพลต่อการออกฎหมายกำหนดนโยบายด้านแรงงานด้วย