ถกอนาคตแรงงานสัมพันธ์ -อนุสัญญาILO ฉบับที่ 87&98

2016-04-26 22.37.38
คสรท.ชวน”มองอนาคตแรงงานสัมพันธ์ ในบรรยากาศที่มีสิทธิเสรีภาพ ตามหลักอนุสัญญาILO ฉบับที่ 87 และ 98″ นักวิชาการมองขบวนการแรงงานขาดเอกภาพ แม้ว่าจะมีข้อเสนอเดียวกันให้รัฐรับรองอนุสัญญา ขาดพลังต่อรอง จึงเป็นเพียงการร้องขอ
วันอังคารที่ 26 เมษายน 2559 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ได้จัดเสวนา เรื่อง “มองภาพอนาคตแรงงานสัมพันธ์ไทยในบรรยากาศที่มีสิทธิเสรีภาพ ตามหลักอนุสัญญาILO 87&98” สนับสนุนโดย โซลิดาริตี้เซ็นเตอร์ประเทศไทย (SC) ที่ห้องทับทิม โรงแรมรัตนโกสินทร์ กทม.
นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคสรท.กล่าวว่า ภายใต้รัฐบาลชุดนี้ ทางคสรท.ได้ทำหน้าที่ในการที่จะผลักดันให้รัฐบาลให้การรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และ 98 เพื่อสร้างมาตรฐานด้านสิทธิการรวมตัวเจรจาต่อรอง โดยไม่เลือกปฏิบัติ และการร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฉบับใหม่ที่มีการร่างอยู่ต้องสอดคล้องกับอนุสัญญาILO ทั้ง2 ฉบับ ซึ่งภายใต้รัฐบาลชุดนี้ทางคสรท.ก็มีการยื่นหนังสือทวงถามยับยั้งเมื่อเห็นว่าการร่างกฎหมายไม่สอดคล้องกับอนุสัญญา วันนี้เป็นเวทีถกเถียง ประเมินสถานการณ์ และขับเคลื่อน ซึ่งในวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปีขบวนการแรงงาน คสรท.ได้แสดงพลังกันทุกปีเพื่อผลักดันให้รับรองอนุสัญญาILO ฉบับที่ 87 และ98
2016-04-26 22.39.11

Mr Roboert Pajkovski ผู้อำนวยการSC กล่าวว่า เศรษฐกิจที่ดี ต้องทำให้ชีวิตของแรงงานอยู่ได้ และแรงงานต้องการที่จะมีชีวิตที่ดีมีค่าจ้างที่เป็นธรรม และความมั่นคงในการมีงานทำ  ฝันต่อมาคือต้องการมีบ้าน มีรถ มีเงินเก็บเพื่อวางรากฐานขีวิตที่ดีมีคุณภาพรวมถึงการมีชีวิตในช่วงของการเกษียณอายุที่มีคุณภาพ และอยู่ได้ แต่วันหนึ่งเขาก็รู้สึกว่าชีวิตและความฝันไม่เป็นจริง ด้วยระบบที่ไม่รองรับ ไม่ว่าจะค่าจ้าง และอำนาจการต่อรอง หรือการรวมตัว เพื่อทำให้เกิดชีวิตที่ดีได้ ภายใต้รัฐบาลที่ไม่ได้มีมุมมองด้านสิทธิและเสรีภาพของแรงงาน การละเมิดสิทธิแรงงาน การจ้างงานที่ไม่มั่นคง

นายยุทธการ โกษากุล ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงความคืบหน้าของร่างกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ทั้งสองฉบับ ที่ตนเองเคยประเมินว่า ร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. …. ซึ่งขณะนี้มีการร่างไปแล้วและถือว่าเป็นร่างกฎหมายที่ดีกว่ากฏหมายเดิมที่มีมา แต่ทางคสรท.ได้ขอถอนตัวจากการมีส่วนร่วมร่างเสียก่อน ซึ่งคสรท.ได้เสนอให้กระทรวงแรงงานมีการนำร่างกฎหมายแรงงานทั้ง 2 ฉบับ กลับมาทบทวน และนำไปสู่การร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวใหม่ โดยนำมาร่างใหม่แบบมีส่วนร่วมทุกส่วนของแรงงาน นายจ้างและทางข้าราชการก็ต้องดูว่า จะมีความครอบคลุมอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศทั้ง 2 ฉบับหรือไม่
การที่จะรับรองอนุสัญญาILO ฉบับที่87 และ98  การรวมตัวของคนทำงานทุกกลุ่มทางกระทรวงแรงงานก็ต้องดูเรื่องความเป็นไปได้ว่าสิทธิของการรวมตัวของคนทำงานทุกกลุ่มโดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ หรือให้ส่วนของข้าราชการมีสิทธิในการรวมตัวนั้นก็ไม่ทราบว่า จะได้ เพราะว่ากระทรวงแรงงานดูแลแต่แรงงานคำว่า คนทำงานไม่ทราบว่าอย่างไร เพราะคาบเกี่ยวกับคนหลายกลุ่ม การรับรองอนุสัญญาILO ในฉบับที่87 ฉบับนี้ต้องแก้ในส่วนของร่างกฏหมายแรงงานสัมพันธ์น่าจะมีความเป็นจริงเรื่องสิทธิการรวมตัวมากกว่า ส่วนอนุสัญญาฉบับที่ 98 นั้น ในการให้อำนาจการต่อรอง และการคุัมครอง ในความเห็นของตนคิดว่า จะมีความเป็นจริงในการรับรองได้ง่ายกว่า ซึ่งในส่วนของการรับรองอนุสัญญาหรือไม่นั้นทางคสรท.ก็มีการรวมตัวกันในรูปแบบที่ใช้สิทธิเสรีภาพเป็นการรวมตัวแบบไม่ต้องจดทะเบียนซึ่งก็ทำได้อยู่แล้ว“นายยุทธการ กล่าว
 2016-04-26 22.38.44
นายชาลี ลอยสูง รองประธานคสรท.ได้กล่าวถึง การที่ทางคสรท.ได้มีหนังสือในการที่ขอให้ทางกระทรวงแรงงานถอนร่างพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ทั้ง 2 ฉบับออกมาเพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมก่อน แต่ก็ไม่ใช่แค่ส่วนของคสรท.เพียงองค์กรเดียวแต่ไดีมีการประชุมร่วมกัน เนื่องจากร่างกฎหมายยังมีการแบ่งแยก และไม่มีการสนับสนุนเรื่องสิทธิการรวมตัวเจรจาต่อรอง โดยได้รับการคุ้มครอง ทางคสรท.ได้มีการประสานงานองค์กรแรงงานทุกองค์กร รวมถึงนายจ้าง แรงงานรัฐวิสาหกิจ เข้ามามีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อพิจารณาแก้ไขร่างกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ซึ่งจากเดิมแค่ยับยั้ง หลังจากทางคณะทำงานก็ได้ประชุม มีการเสนอใหัทางกระทรวงแรงงาน ถอนร่างออกมาเพื่อเริ่มกระบวนการที่มีส่วนร่างพ.ร.บ.กันใหม่เนื่องจากร่างกฏหมายทั้งสองฉบับไม่ได้สอดคล้องกับอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ การที่มีการร่างกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ใหม่ แม้ว่าจะมีการทำงานร่วมกันมา แต่คสรท.ไม่เห็นด้วยกับที่มีการร่างกฎหมายแรงงานสัมพันธ์แยกระหว่างแรงงานเอกชนกับแรงงานรัฐวิสาหกิจอีก ด้วยมองว่า เป็นการแบ่งแยกแรงงาน ทำให้ขบวนการแรงงานไม่เข้มแข็ง และทำให้เกิดความแตกแยก โดยมองว่าไม่สอดคล้องต่อสิทธิ เสรีภาพในการรวมตัวเพื่อสร้างอำนาจการต่อรอง การทำงานของตนเองเป็นการทำงานโดยมติขององค์กรแม่ คือคสรท.การที่ร่างพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ถูกแยกเป็น 2 ฉบับ เช่นเดิมไม่มีอะไรที่เปลี่ยนแปลง เมื่อนำเข้าที่ประชุมคสรท.จึงมีมติให้ตนในฐานะตัวแทนที่เข้าไปร่วมร่างพ.ร.บ.ถอนตัวทันทีเพราะถือว่า ไม่สอดคล้องตามความต้องการที่ว่าร่างพรบ.แรงงานสัมพันธ์ต้องมีฉบับเดียว เพื่อการรวมตัวกันแบบไม่แบ่งแยกระหว่างคนทำงานไม่ว่าจะเป็นแรงงานเอกชน รัฐวิสาหกิจ แรงงานข้ามชาติ นอกระบบเป็นต้น
นายบัญฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ นักวิชาการมูลนิธิอารมณ์ พงศพงัน กล่าวว่า ที่ผ่านมาการรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ที่อ้างกันคือ ต้องมีการศึกษาข้อมูล และมีการแก้กฎหมายให้สอดคล้องกับอนุสัญญาก่อน แต่ด้วยกฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับระหว่างประเทศต้องมีการให้รัฐบาลพิจารณา หรือว่ากฎหมายที่ส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจการค้าเสรี การอื่นๆก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการรับรองอนุสัญญาILO ฉบับที่ 87 และ98 เลยเท่าที่เข้าใจ
ทำไมการเรียกร้องอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ จึงมีการเรียกร้องให้มีการรับรองอนุสัญญา ฉบับที่87 และ98 ทุกปีตั้งแต่ปี 2535 และทางสภาองค์การลูกจ้างเองก็มีการเรียกร้องด้วยเช่นกัน และมีการบรรจุเป็นข้อเรียกร้องทุกปีตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา ทั้ง 2 ขบวนการแรงงาน ทั้งส่วนของกลุ่มสภาองค์การลูกจ้าง และคสรท. เนื่องจากอนุสัญญาILO ทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวถือว่าเป็นคู่แฝดกันที่ต้องไปด้วยกัน คือหากรับรองต้องรับทั้ง 2 ฉบับ ซึ่งแม้ภาครัฐบอกว่าอาจมีการเลือกที่จะรับรองเพียงบางฉบับก็ตาม เพราะว่าอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับ มีการกล้าวถึงการบริหาร การจัดตั้งที่ได้รับการคุ้มครอง เสรีภาพในการรวมตัวในรูปแบบต่างๆก็ได้ไม่ต้องแจ้งข้าราชการหรือรัฐไม่ต้องมากำหนดตรวจสอบ มีสิทธิในการรวมตัว ในรูปแบบไหนก็ได้ บริหารในรูปแบบใดก็ได้
สาระสำคัญของ87 คือสิทธิและเสรีภาพ ในการปกป้องการรวมตัวกัน คือไม่ว่าจะเป็นใครก็รวมตัวได้โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ มีเสรีภาพ แต่ก็มีประเด็นยกตัวอย่าง กรณีสหภาพแรงงานกรุงเทพ กรุงไทย ศรีอยุธยา ไม่สามารถที่จะมีการรวมตัวกันได้ แม้ว่าจะเป็นธนาคารประเภทกิจการเหมือนกัน พราะว่า กฎหมายในประเภทกิจการแบ่งชาติสามารถรวมตัวกันจัดตั้งรวมตัวกันได้ แยกเป็นรูปแบบว่าเป็นเรื่องความมั่นคงของชาติ และเป็นในรูปแบบรัฐวิสาหกิจ มีกฎหมายเฉพาะ
กฎหมายปัจจุบันก็ไม่ให้มีการจัดตั้งข้ามประเภทกิจการไดั และการที่กฎหมายมีการแบ่งแยกในส่วนของแรงงานรัฐวิสาหกิจกับเอกชนก็มีการแบ่งแยกกัน และไม่สามารถเป็นสมาชิกองค์สภาองค์การลูกจ้างได้ จึงเป็นข้อจำกัดอยู่ ซึ่งองค์กรใดอยากมีการจัดตั้งสหภาพแรงงานได้ โดยไม่มีขีดจำกัด เป็นสิทธิพื้นฐานซึ่งอาจมีการจัดตั้งสหภาพแรงงานขึ้นมาหลากหลายมากกว่าเดิม การที่มีความแตกแยกก็อาจเกิดจากตัวของแรงงานเองไม่ใช่ใครอื่น แต่หากจะมีเพียงองค์กรเดียวก็ได้และมีการสร้างความเอกภาพที่เข้มแข็งให้กับขบวนการแรงงานได้ แต่ก็ต้องคิดเหมือนกันว่าหากมีเสนีภาพในการรวมกลุ่ม องค์กรในรูปแบบต่างๆแล้วจะสร้างเอกภาพและความเข้มแข็งได้จริงหรือว่าทำให้เกิดความแตกแยกมากขึ้น
นายศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา นักวิชาการอิสระด้านแรงงาน กล่าวว่า รัฐยังคงมีข้ออ้างเดิมๆที่กระทรวงแรงงานอ้างโดยตลอดว่า การให้การรับรองอนุสัญญาILO ฉบับที่ 87 และ 98 จะต้องมีการแก้กฎหมายแรงงานให้เสร็จก่อน และต้องมีความสอดคล้องกันก่อน แม้ว่าจะมีทั้งงานทางวิชาการ การศึกษามาหลายรูปแบบและหลายรัฐบาล ซึ่งมีการประชาพิจารณ์ลงความเห็นรัฐบาลมีการรับรองอนุสัญญา แล้วก็ตาม และองค์การแรงงานระหว่าประเทศก็บอกว่าการรับรองอนุสัญญาก่อนได้ แล้วค่อยมาแก้กฏหมายให้สอดคล้องก็ได้ แต่วันนี้กระทรวงแรงงานที่ถือว่าเป็นความหวังของคนงานที่เรียกร้องเพื่อให้มีการดูแลแรงงานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ยังคงยืนยันคำเดิมต่อเรื่องการดูแลคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในการรวมตัวเจรจาต่อรองด้วยการรับรองอนุสัญญา
การที่กระทรวงแรงงานยังไม่มีการรับรองอนุสัญญาหลักทั้ง 2 ฉบับนั้น อาจถูกมองจากนาๆประเทศในการที่ไม่เคารพสิทธิของแรงงาน ไม่เคารพสิทธิในการรวมตัว จึงคิดว่ามีการรับรองอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับ
แต่ด้วยความคิดแบบอำนาจนิยมของประเทศไทยทำให้การพัฒนาระบบความเป็นประชาธิปไตยยังไม่สามารถก้าวไปได้ไกล ยังคงวนเวียนอยู่ในกระแสของการรัฐประหาร การที่ประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของสงครามเย็นทำให้การรวมตัวเจรจาต่อรองถูกมองว่าเป็นฝ่ายซ้าย และการรวมตัวต่อรองของแรงงานถูกมองว่า แรงงานเป็นคนที่ด้อยกว่านายทุน นายจ้างเป็นใหญ่กว่าจะไม่มีความเท่าเทียมในโอกาสในการทีสิทธิในการต่อรอง
ปัญหาภายในขบวนการแรงงานที่ไม่มีความเป็นเอกภาพเท่าที่ควร ทำให้ยังไม่มีเสียงที่ดังเพียงพอในการที่จะกดดันรัฐบาล การที่มีแรงงาน 6 แสนคน แต่ยังไม่ได้รับการจัดตั้งรวมตัวกัน และที่รวมตัวกันอยู่ก็ยังไม่มีการรวมตัวกันอย่างเป็นเอกภาพ สร้างพลังในการที่จะต่อรองอย่างแท้จริง การที่แรงงานไม่มีพลังเพียงพอทำให้ขบวนการแรงงานทำได้แค่การร้องขอต่อรัฐและนายจ้างจัดให้ ไม่มีอำนาจการต่อรองอย่างแท้จริง จึงไม่ใช่การเรียกร้องอย่างมีอำนาจที่เท่าเทียมกันรัฐจึงไม่สนใจ และเพียงจะให้หรือไม่แล้วแต่ความกรุณาปรานีเท่านั้น
นายสาวิทย์ แก้วหวาน  เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) เรื่องการเรียกร้องให้มีการรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO) ทั้ง 2 ฉบับนั้นมานานกว่า 30 ปี แต่ดูว่าจะเคลื่อนไหวของขบวนการแรงงานเท่าไร ธงชัยที่รัฐจะรับรองอนุสัญญาก็ห่างไกลออกไปทุกที เนื่องจากความเข้มแข็งของขบวนการแรงงานมีความอ่อนล้า และทัศนะทางชนชั้นหายไปทุกที ภาวะการณ์รวมตัวมีการแตกตัวกันออกไป ซึ่งหากเป็นระบบทุนนี่คือความก้าวหน้าที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทุน และผลกำไร แต่ว่า แรงงานยิ่งแตกตัวขยายตัวทำให้เกิดความอ่อนแอมากขึ้น ตอนนี้แรงงานแทบไม่มีที่ยืน ตอนนี้การที่มีการเรียกร้องรวมตัวกันก็ถูกเลิกจ้าง การต่อสู้ไม่มีการหนุนช่วยจากขบวนการแรงงานด้วยกัน ที่สู้ก็สู้ไป คนขึ้นรถกลับบ้านก็กลับไปส่งกำลังใจให้กันแบบหนุนช่วยกันไม่มี
ส่วนจุดยืนรัฐและทุนมีความชัดเจนไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง หรือรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร มีจุดยืนชัดเจนมาก เขายืนข้างเดียวคือทุน ผิดกับขบวนการแรงงานที่ยังคงมีการปรับเปลี่ยนไป ขาดอุดมการณ์ทางชนชั้น คนทำงานเพื่อสร้างเอกภาพก็ทำไป คนที่แยกตัวออกไปก็พยายามที่จะไปสร้างใหม่
หลักการใหญ่ของอนุสัญญาหลักขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ภาพของประเทศไทยมีการพูดถึงการรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่111 ที่พูด หรือนึงถึงการมีงานทำ และการจ้างงานที่เท่าเทียมกัน แต่ยังไม่มีการรับรองอนุสัญญา ฉบับที่ 87 และ98 ที่พูดถึงการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพการรวมตัวเจรจาต่อรอง และการร้องเรียนของแรงงานต่อองค์การแรงงานระหว่างประเทศเรื่องการละเมิดสิทธิมีน้อยมาก ตอนนี้มีการร้องเรียนในประเด็นแรงงานข้ามชาติ แรงงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีแต่น้อยมากทั้งที่ที่เราเห็นมีการละเมิดสิทธิจำนวนมากและทุกวันที่มีการพูดถึงการละเมิดสิทธิ แต่เมื่อมีการร้องเรียนประเด็นต่างๆก็ส่งต่อการแก้ไขปัญหาอย่างกรณีที่ประเทศไทยโดนใบเหลืองกรณีการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติในส่วนของประมงทะเล การใช้แรงงานเด็กในประเภทกิจการอาหาร
จึงคิดว่ากลไกสหภาพแรงงานเท่านั้นที่จะทำให้เกิดการหลุดพ้นจากการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ รัฐบาลควรมอง เพราะเขานำเรื่องของการปิดกั้นสิทธิการรวมตัวเจรจาต่อรองมาเป็นประเด็นในการกีดกันทางการค้า การทำงานในส่วนของสหภาพแรงงานก็อย่ารอกฎหมาย อย่ารออนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับ หยุดมองแรงงานข้ามชาติว่าเป็นอื่นไกล เราต้องมีการรวมตัวกันเปิดขบวนการมีส่วนร่วมรวมตัวกันเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งในองค์กร
นักสื่อสารแรงงาน รายงาน