จี้รัฐบาลขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำกลางปีอีก 5%

เมื่อวันที่ 31มีนาคม 2554 นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงค์  ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวในการเสวนา

ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ: แรงงานไทยดีจริงหรือ?” ที่อาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจัดโดยมูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงันร่วมกับกระทรวงแรงงาน เพื่อดูภาพรวมการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือ เป็นการสร้างหลักประกันให้แรงงานใหม่ ทำให้มีกำลังใจทำงาน แต่จะไปกระทบต้นทุนสินค้าโดยเฉพาะที่ใช้แรงงานจำนวนมากรายได้ของลูกจ้างในกรุงเทพฯเฉลี่ยวันละ 303 บาท แต่กระทรวงแรงงานกำหนดไว้ 215 บาท ส่วนที่เกินมาจากการทำงานล่วงเวลา

นาย ชินโชติ แสงสังข์ ประธานสภาองศ์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวว่าการปรับค่าจ้างขั้นต่ำดีแน่ แต่ต้องครบคุมราคาสินค้าให้ได้ด้วย ไม่เช่นนั้นแรงงานอาจขาดทุนโดยคนที่เกี่ยวข้องกับจ้างค่าขั้นต่ำมี 3 กลุ่ม คือ 1.คนที่รายได้เกินค่าจ้างขั้นต่ำแล้ว 2. คนที่อยู่ในโครงสร้างค่าจ้างโรงงาน หากปรับค่าจ้างขั้นต่ำปรับขึ้นก็ทำให้มีรายได้เพิ่มและ 3. คนแรกเข้าซึ่งต้องรอปรับค่าจ้างขั้นต่ำอย่างเดียว

นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ภาคอุตสาหกรรมมักตกเป็นจำเลย ถูกมองว่าเอาเปรียบ ทั้งที่ร้อยละ 70 ผลิตเพื่อส่งออก ดังนั้นราคาต้องสู้กับคู่แข็งต่างประเทศได้ ซึ่งเมื่อไม่กี่วันก่อนนายกรัฐมนตรีบอกว่าจะปรับอีกร้อยละ 25 ใน 2 ปี ทำให้กังวลอยู่ว่าจะอยู่ได้หรือไม่ แม้จะลดภาษีนิติบุคคลให้ก็ตาม    แต่ไม่อยากได้เพราะอยากเสียภาษี และขอให้รัฐบาลไปดูเรื่องค่าแรงจะดีกว่า

ร.ศ.ด.ร. ณรงค์ เพ็รชประเสริฐ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ควรกำหนดค่าตอบแทนปัจจัยการผลิต เช่น เมื่อต้นทุนได้ค่าตอบแทนร้อยละ 10 บ้าง ซึ้งวันนี้ประเทศไทยมีคนรับค่าจ้าง 17 ล้านคน หากจะปรับค่าจ้างขั้นต่ำอีกครั้งช่วงกลางปี ก็ควรปรับเพิ่มร้อยละ 5 ให้สอดคล้องกับค่าครองชีพและการปรับทุกปีควรอยู่ที่ร้อยละ 10

ประสิทธิ์   วิจิตรไพบูลย์ นักสื่อสารแรงงาน ศูนย์ข่าวสมุทรปราการ  รายงาน