ค่าจ้างขั้นต่ำ : ประสบการณ์ยุโรป-ไทย

เมื่อวันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม 2555 มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES) และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ได้ร่วมกันจัดงาน เสวนาเรื่อง  นโยบายค่าจ้างที่เป็นธรรม: แนวคิดและประสบการณ์ของยุโรปและไทย ที่ โรงแรมสยามซิตี้ ถนนศรีอยุธยา กทม.

Mr. Marc Saxer  ผู้อำนวยการมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท กล่าวว่า ค่าจ้างขั้นต่ำของแรงงานในประเทศไทยได้มีการปรับขึ้นซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจการลงทุนของนายจ้างบางส่วน และภายในอีก 2 ปีที่จะมีการเปิดเสรีทางการค้าอาเซียนที่รวมกันกว่า 10 ประเทศ การปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานของประเทศไทยอาจทำให้การแข่งขันแรงงานราคาถูก และสินค้าที่ผลิตสูงขึ้น หรือว่าแรงงานไทยควรมีต่อสู้ด้านประสิทธิภาพสินค้า เช่น กรณีประเทศไต้หวันได้หันไปใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาและแข่งขัน ฉะนั้นประเทศไทยต้องมีการเตรียมตัวในการที่จะแข่งขันด้านผลิตภาพแรงงานเป็นสิ่งสำคัญ

ส่วน Dr. Thorsten Shulten และDr. Reinhard Bispinck สถาบันวิจัยเศรษฐศาสตร์และสังคม ประเทศ เยอรมนี ซึ่งเป็นนักวิจัยอาวุโสมีความเชี่ยวชาญด้าน “นโยบายแรงงานและการเจรจาต่อรองร่วม” และมีผลงานการศึกษาที่เกี่ยวกับประเด็นแรงงานเป็นจำนวนมาก ที่โดดเด่น ได้แก่ เรื่องค่าจ้าง รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างค่าจ้างกับตัวแปรต่างๆทางเศรษฐกิจและการเมือง

Dr. Thorsten Shulten ได้กล่าวถึง ในประเทศแถบยุโรปการกำหนดค่าจ้างมีทั้งที่กำหนดโดยกฎหมาย การทำข้อตกลงร่วมระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และการกำหนดค่าจ้างตามรูปแบบไตรภาคี คือนายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐ กล่าวคือมีค่าจ้างขั้นต่ำระดับชาติอัตราเดียวในฐานะที่เป็นค่าจ้างพื้นฐานระดับสากล แต่อัตราค่าจ้างของแต่ละประเทศจะมีการกำหนดที่แตกต่างกันตามอุตสาหกรรม และอาชีพ และมีกำหนดค่าจ้างเป็นรายชั่วโมง การเจรจาต่อรองร่วมของนั้นมีทั้ง ระดับชาติ ระดับอุตสาหกรรม และสถานประกอบการ

ระบบการเจรจาต่อรองร่วมมีความเข้มแข็ง อยู่ในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย ซึ่งมีสมาชิกสหภาพแรงงานจำนวนมาก สหภาพแรงงานมีการดูแลเรื่องสวัสดิการ ค่าจ้างและเจรจาต่อรองร่วม การกำหนดค่าจ้างในระดับชาติ และสามารถดูแลแรงงานทุกกลุ่ม และที่มีการเจรจาต่อรองกันมากคือสหภาพแรงงานในระดับอุตสาหกรรม การที่สหภาพแรงงานจะมีพลัง มีการรวมตัวสามารถต่อรองร่วมกับนายจ้างเพื่อสร้างฐานค่าจ้างนั้น ต้องได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐด้วย เพราะระบบการเจรจาต่อรองร่วม คืออำนาจของสหภาพแรงงาน หากเจรจาต่อรองได้น้อยลงก็เพราะสหภาพแรงงานมีสมาชิกน้อยลง มีการจ้างงานคนใหม่ๆเข้ามา อัตราการว่างงานสูง ทำให้โครงสร้างของสมาชิกมีการเปลี่ยนแปลงไป แรงงานในระบบอุตสาหกรรมกลายเป็นแรงงานนอกระบบ มีการจ้างงานนอกระบบมากขึ้น

ค่าจ้างแรงงานใน 20 ปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มค่าจ้างของแรงงานในโลกมีความล้าหลัง ค่าจ้างลดลง ผลจากการสำรวจขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ เพราะมีการจ้างงานแรงงานนอกระบบมากขึ้น การแข่งขันกันเองของแรงงาน ในการหางานทำ แรงงานมีรายได้ลดลงหากเปรียบเทียบกับรายได้สหประชาชาติ และรายได้ต่างกันก็ส่งผลถึงความไม่เท่าเทียมในสังคมของแรงงานมีการขยายตัวมากขึ้น ส่งผลให้แรงงานยากจนมีเพิ่มมากขึ้น และแรงงานที่มีค่าจ้างสูงก็จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

Dr. Reinhard Bispinck กล่าวว่า การกระจายรายได้ที่ไม่ดีก็จะส่งผลต่อเศรษฐกิจ ทำให้อำนาจการซื้อการใช้จ่ายลดลงดังที่เกิดปัญหาเศรษฐกิจในประเทศ

ยุโรป และประเทศไทย การที่ในประเทศเยอรมันมีการส่งเสริมค่าจ้างแรงงานต่อเพื่อการแข่งขันกับตลาดภายนอก เกิดความอ่อนแอในเชิงโครงสร้างของตลาดภายใน หากเปรียบเทียบประเทศเยอรมันการส่งออกยังคงขาดดุลการค้า ต่างกับประเทศจีน และประเทศไทยที่ยังมีกำลังการส่งออกสินค้าไปแข่งขันกันในตลาดภายนอกได้ และไม่ขาดดุล เหนือจากต้นทุนต่ำกว่าประเทศเยอรมัน แต่ต่อมาประเทศเยอรมันแก้ปัญหาด้วยการส่งเสริมตลาดภายในให้เติบโตด้วยการสร้างหนี้เพื่อบริโภคไม่ใช่การเพิ่มค่าจ้างแรงงาน การกดค่าจ้างที่แท้จริง ซึ่งในส่วนของประเทศเยอรมันมีการเพิ่มค่าจ้างน้อยมาก มีการลดลง เกิดช่องว่างระหว่างภาคอุตสาหกรรมเรื่องค่าจ้างมากขึ้น มีความไม่เท่าเทียมกันทางรายได้มากขึ้น ความครอบคลุมของอำนาจการต่อรองขององค์กรแรงงานลดลงต่อเนื่อง และไม่มีการกำหนดค่าจ้างพื้นฐานบางภาคส่วนของเศรษฐกิจที่กำลังขยาย

นโยบายของยุโรปในภาวะวิกฤติเงินสกุลยูโร ปัจจุบันค่าจ้างในฐานะตัวที่กลายเป็นตัวแปรกลางของการแข่งขัน และความไม่สมดุลทางเศรษฐกิจในยุโรปโซนจึงมี ยูโรพลัส การแทรกแซงโดยตรงของบางองค์กรต่อกลไกการกำหนดค่าจ้าง องค์ยักษ์ใหญ่ เช่น โชก้า IMF WTO ส่งผลให้มีการแช่แข็งค่าจ้าง การตัดค่าจ้างในหลายประเทศ

ทางเลือกของสหภาพแรงงาน  ในด้านกลับกันของแนวโน้มค่าจ้างที่นำไปสู่ความไม่เท่าเทียมกัน นโยบายค่าจ้างของยุโรปสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันมีการกำหนดค่าจ้างระดับชาติ สนับสนุนการคุ้มใครองแรงงานการจ้างงานระยะสั้น การสนับสนุนทางการเมืองต่อสถาบันค่าจ้าง สร้างความเข้มแข็งเชิงอำนาจ ซึ่งเราเชื่อว่าการมีองค์กรสหภาพแรงงานที่เข้มแข็งเพื่อการกระจายรายได้ที่เท่าเทียม และส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนมากขึ้น

นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยกล่าวว่าค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศไทยที่มีการปรับขึ้นนั้นเป็นการปรับใช้กับแรงงานเข้มข้น แต่กับถูกนำมาใช้กับแรงงานทุกคน ซึ่งประเทศไทยก็มีนโยบายการส่งเสริมการใช้ค่าแรงที่ต่ำเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และเป็นประเทศที่รับจ้างการผลิตเพื่อส่งออกไปขายต่างประเทศไม่ได้เน้นกำลังซื้อภายใน

การเปลี่ยนแปลงการปรับขึ้นค่าจ้างครั้งนี้อาจส่งผลต่อทุนขนาดเล็กที่ไม่ได้เตรียมตัวบ้าง แต่คิดว่าการที่ประเทศไทยแช่แข็งค่าจ้างมาเป็นเวลานานค่าจ้างที่ปรับขึ้นจึงยังตามราคาสินค้า ค่าครองชีพยังไม่ทัน ซึ่งทางคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยได้เคยมีการสำรวจกับแรงงานในเรื่องรายได้ที่จะสามารถทำให้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามหลักอนุสัญญาILOคือแรงงาน 1 คนได้รับค่าจ้างที่สามารถเลี้ยงคนได้อีก 2 คน แรงงานต้องมีค่าจ้างอยู่ที่ 561 บาท และค่าจ้างที่จะเลี้ยงคน1 คนได้ต้องมีค่าจ้างที่ 384 บาท ซึ่งคิดว่าค่าจ้างที่ปรับขึ้น 300 บาทและจะถูกแช่แข็งไปอีกอย่างน้อย 2 ปีนั้นยังไม่สามารถเลี้ยงตัวแรงงานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้แม้แต่คนเดียว แรงงานยังคงต้องทำงานมากกว่า 8 ชั่วโมง การที่จะทำงานในระบบ 3 แปด คือทำงาน 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง และศึกษาหาความรู้ 8 ชั้วโมง คงยังเป็นไปไม่ได้ และการที่จะให้แรงงานพัฒนาศักยภาพเพื่อการเข้าสู่ตลาดฝีมือระดับอาเวียนคิดว่ายังเป็นเรื่องยาก

การทำงานของรัฐบาลต่อการส่งเสริมการรวมกลุ่มแรงงานนั้นน้อยมาก การที่รัฐเยอรมันมีการส่งเสริมบทบาทการรวมตัวและมีการสร้างอำนาจต่อรองทำให้สหภาพแรงงานในประเทศยุโรปมีความเข้มแข็ง นักลงทุนในประเทศยุโรปมีการยอมรับอำนาจต่อรองของสหภาพแรงงาน และการส่งเสริมให้ผู้ใช้แรงงานมีการรวมตัวได้ง่าย ส่วนนักลงทุนต่างชาติที่มาลงทุนในประเทศไทยยังไม่มีการยอมรับสิทธิในการรวมตัวของแรงงานไทย ยังมีการละเมิดสิทธิการเลิกจ้าง และรัฐยังไม่มีการส่งเสริมในการรวมตัวทำให้อำนาจการต่อรองของแรงงานยังไม่มีพลังในการที่จะต่อรองค่าจ้างกันเองได้ทั้งในระบบอุตสาหกรรม หรือสถานประกอบการอย่างเป็นธรรม การที่รัฐบาลยังไม่มีการยอมรับอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO) ฉบับที่ 87และ98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวเจรจาต่อรองร่วม จึงทำให้การจัดตั้งสหภาพแรงงานยังเกิดขึ้นน้อยมาก

รศ. ดร. พอพันธ์ อุยยานนท์ คณะเศรษฐศาสตร์ ม. สุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวว่า การที่ต้องมีการเปรียบเทียบระบบค่าจ้างขั้นต่ำในเมืองกับชนบท และสังคมประเทศไทยเทียบกับประเทศญี่ปุ่น เมื่อสมัยรัชกาลที่5 ปลายทศวรรษที่ 19 นั้น ชนบทประเทศไทยมีรายได้ที่สูงกว่าประเทศญี่ปุ่น ที่ปัจจุบันเป็นสังคมที่มีรายได้สูง เพราะประชากรมีน้อย แม้ว่าผลิตภาพออกมาน้อย แต่ผลผลิตต่อหัวแพง ช่วงที่ค่าจ้างเปลี่ยนไป เพราะการที่มีการจ้างงานในเมืองมากขึ้น ค่าจ้างในเมืองสูงกว่าชนบททำให้แรงงานเคลื่อนย้ายจากชนบทเข้าสู่เมืองทำให้ค่าจ้างชนบทต่ำสูงในการที่จะนำคนเข้าสู่สังคมอุตสาหกรรมมากขึ้น ภาคเกษตรถูกเปลี่ยนแปลงกลายเป็นการผลิตเพื่อขายมากขึ้น แต่รายได้คนต่อหัวลดลง หากเปรียบเทียบกับเกาหลีตอนนี้คือประเทศไทยค่าจ้างต่ำกว่าทั้งที่เดิมเรามีค่าจ้าง และรายได้ที่สูงกว่า

รัฐบาลควรมีนโยบายที่จะลดความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจแบบจริงจัง การปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาทเพียง 7 จังหวัด แต่ไม่ได้หมายความว่าต่างจังหวัดจะมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า และการที่เพิ่ม รายได้ให้กับแรงงานเพียงส่วนหนึ่งไม่ได้หมายความว่า จะลดความเหลื่อมล้ำได้เมื่อเศรษฐกิจชุมชนเกษตรกรรมยังมีความเดือดร้อน และแรงงานชุมชนย้ายเข้าสู่สังคมอุตสาหกรรมเมองที่มีค่าจ้างสูงขึ้น แต่ก็ไม่ได้เกื้อกูลให้ภาคเกษตรมีความเติบโตมีรายได้ที่เพียงพอได้

เรื่องคุณภาพการศึกษาความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษาเดิมมองว่ามหาวิทยาลัยมีน้อย และกระจุกตัว ต้องมีการสร้างเพิ่ม เพื่อให้คนได้ศึกษาในมหาวิทยาลัยเพิ่มมากขึ้น แต่การศึกษาอย่างไรจึงจะตอบสนองตลาดแรงงาน และส่งเสริมการพัฒนาประเทศ  รับจึงควรมีนโยบายในการพัฒนาระดับพื้นที่อย่างจริงจังมากขึ้น โครงการรับจำนำข้าวหากไม่ประสบผลสำเร็จก็ต้องคิดว่าจะมีนโยบายอะไรที่ลดความเหลื่อมล้ำสร้างความเสมอภาคทางรายได้สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนจริง  

รศ.ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ประเทศในแถบยุโรปในเชิงประวัติศาสตร์ คือ มีการต่อสู้ทางการเมืองมาก่อน ทำให้เกิดสิทธิเสรีภาพ เกิดความเข้มแข็ง แต่ประเทศไทยนั้นการต่อสู้แบบก้าวกระโดด สังคมไทยแรงงานต่อสู้กับทุนโดยตรง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงเป็นไปแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการที่ต่อสู้ของยุโรปเป็นการต่อสู้จากชนชั้นกลางกับรัฐ ต้องมีการทำความเข้าใจการต่อสู้ที่มีความแตกต่างกัน ประเทศไทยไม่ได้มีการศึกษาประวัติศาสตร์ของโลก ประเทศที่มีทำการผลิตและมีการตลาดที่ยิ่งใหญ่คือประเทศจีน และสามารถที่จะส่งสินค้าไปตีตลาดโลกได้มากกว่าประเทศไทยและประเทศอื่นๆ

แรงงานในระบบสังคมไทยแนวโน้มการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่คือ การจ้างงานระบบอุตสาหกรรม แต่กำลังแรงงานคนส่วนใหญ่ยังไม่ได้เข้ารสู่แรงงานในภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด ยังมีการจ้างหลายรูปแบบ ทั้งรับเหมาช่วง แรงงานนอกระบบ แรงงานเหมาค่าแรง แรงงานในภาคเกษตร เกษตรกรพันธสัญญา ซึ่งการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานจะเรียกร้องในกรอบแนวคิดของการเจรจาต่อรอง

การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ภายใต้กฎหมาย แต่ไม่ได้ครอบคลุมแรงงานทุกกลุ่มได้ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมมากขึ้น เกิดการจ้างงานแบบยืดหยุ่นมากขึ้น ซึ่งนโยบายปัจจุบันเป็นเพียงนโยบายประชานิยมที่ให้เพียงบางจุด แต่ก็ยังไม่ถึงกับว่าจะสร้างให้เกิดความครอบคลุมทั้งครอบครัว เช่นการใช้หลักประกันสุขภาพ 30 บาทรักษาทุกโรค รับจะทำให้เกิดสวัสดิการที่ทุกคนได้รับการดูแลเท่าเทียมกัน หมายความว่า บริการที่ดีเท่ากัน นโยบายประชานิยม ด้วยเหตุใดรัฐจึงไม่มองไปให้ถึงนโยบายรัฐที่ต้องส่งเสริมให้เกิดรัฐสวัสดิการเพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมด้านสวัสดิการอย่างแท้จริง

ดร.ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย การที่ค่าจ้างแรงงานไทยที่มีการแช่แข็งไม่ถูกปรับขึ้นมานาน เมื่อมีการปรับขึ้นค้าจางแบบก้าวกระโดดอาจส่งผลกระทบที่ทำให้แรงงานที่อาจต้องหลุดออกไปจากระบบ กลายเป็นแรงงานนอกระบบจำนวนมากขึ้น ผลของการปรับขึ้นค่าจ้างอาจสร้างความเหลื่อมล้ำทางค่าจ้างแรงงานมากขึ้น อาจส่งผลต่อภาพรวมการจ้างงาน การเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างภาคการผลิต จากแรงงานที่เป็นทางการคือแรงงานในระบบ สู่แรงงานที่ไม่เป็นทางการ คือแรงงานนอกระบบ

ภาพรวมตลาดแรงงาน มีกลุ่มแรงานนอกระบบ ในส่วนของกลุ่มแรงงานผู้รับงานไปทำที่บ้าน แนวโน้มแรงงานกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดของการจ้างงาน คือ แรงงานที่อยู่ในภาคผลิตที่ไม่เป็นทางการ กลุ่มที่ได้รับค่าจ้างแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ

1. ทำงานในกิจการเอกชนขนาดไม่ถึง 10 คน

2. ทำงานในกิจการเอกชนขนาดตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป

3.  ทำงานภาครัฐบาล และรัฐวิสาหกิจ

อาจตั้งสมมุติฐานได้ว่า กิจการเอกชนขนาดไม่ถึง 10 คน ส่วนมากจะอยู่ในภาคการผลิตที่ไม่เป็นทางการ เพื่อหาหลักฐานในการสนับสนุนสมมุติฐานดังกล่าว เราได้ทำการประมาณการแจกแจงของการเข้าสู่ระบบการจ้าง และการออกจากระบบการจ้างงานด้วยค่าจ้างขั้นต่ำในระดับจังหวัด พบว่าแรงงานที่ได้รับค่าจ้างต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำมีสัดส่วนลดลงในปี 2553

การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำนั้นจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้แรงงานได้มาก ผลกระทบต่อกลุ่มที่ได้รับค่าจ้างในระดับสูงขึ้นไปจะมีลดหลั่นลงไป การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจะไม่มีผลกระทบที่มีนัยสำคัญทางสถิติต่อการจ้างงาน โดยรวมสำหรับแรงงานทักษะต่ำ เมื่อพิจารณาการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างภาคผลิต พบว่าสัดส่วนการจ้างงานในภารกิจเอกชนที่มีคนงาน 10-99 คน ซึ่งเป็นสถานประกอบการขนาดเล็ก โดยเฉพาะในกลุ่มภาคอุตสาหกรรม ลดลงอย่างมาก และมีนัยสำคัญ ส่วนใหญ่แรงงานจะหลุดออกไปอยู่นอกภาคการผลิตที่เป็นทางการ แรงงานนอกระบบ ภาคธุรกิจขนาดเล็ก ภาคเกษตรกรซึ่งไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลการจ้างงานได้ มองว่าเป็นการว่างงานแฝง

กลุ่มแรงงานที่เป็นกลุ่มเคลื่อนย้ายส่วนใหญ่เป็นกลุ่มแรงงานวัยหนุ่มสาว กลุ่มที่จะได้รับผลกระทบในการปรับตัวขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำคือกลุ่มของธุรกิจขนาดเล็กSME และกิจการขนาดใหญ่ ที่อาจมีการปรับส่วนต่างค่าจ้างที่ขึ้นต่างกัน เกิดการย้ายแรงงานระหว่างภาคผลิต การกระจ่ายค่าจ้างของแต่ละจังหวัดก็เป็นตัวแปรสำคัญต่อการเคลื่อนย้ายแรงงาน ฉะนั้นนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ได้ช่วยให้เกิดการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมได้ เมื่อฐานการจ้างงานยังไม่ได้กระจายอย่างเท่าเทียมกัน

นักสื่อสารแรงงาน โครงการการพัฒนาสื่อ รายงาน