ผู้นำแรงงานจวก รัฐบาลไม่จริงใจ หลังเมินนำอนุสัญญา ILO. เข้าครม.

Untitled-2

คณะทำงานผลักดันอนุสัญญาILO ฉบับที่ 87 และ 98 เข้าพบยื่นหนังสือต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมแถลงการณ์ เตรียมการบุกทำเนียบอีรกรอบย้ำระดมพลเพิ่มคูนสิบเท่า หลังรัฐบาลเพิกเฉยต่อข้อตกลงต่อคนงานในการรับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวเจรจาต่อรองเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.)หลังรับปาก 7 ตุลา

เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2556 คณะทำงานผลักดันอนุสัญญาILOฉบับที่87และ98 ซึ่งประกอบผู้แทนจากคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) องค์การแรงงานแห่งประเทศไทย สหพันธ์แรงงาน กลุ่มสหภาพแรงงาน สภาองค์การลูกจ้างต่างๆ ได้เข้ายื่นหนังสือต่อนายพานิช จิตร์แจ้ง อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานคนใหม่ ตัวแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะทำงานฯและคสรท.กล่าวว่า การมายื่นหนังสือต่ออธิบดีครั้งนี้เป็นการทวงถามถึงความจริงใจของรัฐบาลที่ได้รับปากเป็นลายลักษณ์อักษรเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2556 ในวันงานที่มีคุณค่าว่า จะมีการนำเรื่องอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่าประเทศ (ILO.)ฉบับที่ 87 และ98 เข้าสู้การพิจารณาคณะรัฐมนตรี แต่ปัจจุบันรัฐบาลยังเพิกเฉยไม่นำILO ฉบับที่ 87 และ98 เข้าสู่การพิจารณา ครม. ซึ่งทางกระทรวงแรงงานเองได้ส่งหนังสือถึงครม.เพื่อให้มีการนำเรื่องILOทั้ง 2 ฉบับ เข้าสู่การพิจารณาแล้ว
การกระทำของรัฐบาลที่ออกมารับปากแล้วไมทำตามข้อตกลงของคนงานเรารู้สึกว่าหักหลัง และหากไม่มีการดำเนินการขบวนการแรงงานจะออกมาเคลื่อนไหวใหญ่อีกครั้ง” นายชาลี กล่าว

นายชาลี เล่าอีกว่า ช่วงบ่ายทางอธิบดีฯได้ประชุมเพื่อนำเสนอนโยบาย ซึ่งก็เป็นนโยบายที่สอดคล้องกับทางรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานที่เคยแถลงไป ซึ่งประกอบด้วย นโยบาย คือเรื่องการค้ามนุษย์ และเรื่องยาเสพติดในโรงงาน เรื่องความปลอดภัยในการทำงาน โดยมอบหมายให้ข้าราชการ และผู้นำแรงงานช่วยเป็นหูเป็นตาร่วมทำงานกับข้าราชการด้วย ซึ่งตนเห็นว่ากระทรวงแรงงานนั้นควรทำงานเรื่องสิทธิ และสวัสดิการแรงงานไม่ใช่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายที่ออกมา แต่อยากนโยบายที่ไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตามการเปลี่ยนรัฐมนตรีเพราะทำให้ขาดการทำงานที่ต่อเนื่องด้านการแก้ปัญหา คือ

1 ต้องรับรองอนุสัญญาILO ทั้ง 2 ฉบับ เพื่อให้คนงานจัดตั้งสหภาพแรงงานเข้ามาทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิ สหภาพแรงงานทำหน้าที่ในการดูแลสวัสดิภาพสมาชิกอยู่แล้ว ซึ่งจะเห็นว่าโรงงานที่ไม่มีสหภาพแรงงานจะไม่มีข่าวสาร เพราะใครจะเข้าไปตรวจสอบโรงงานเขาได้อย่างไรเพราะหากเข้าไปก็เจอผักชีโรยหน้าสวยงามส่วนใหญ่ การมีสหภาพแรงงานสามารถทำหน้าที่ตรวจสอบ เป็นหูเป็นตาได้ เพราะเป็นองค์กรของแรงงาน

2 . เจ้าหน้าที่ต้องทำงานเชิงรุกในการเข้าไปแก้ไขปัญหา หากวันนี้ปล่อยปะให้มีปัญหาแล้วถึงแก้ไขปัญหา นโยบายนี้ไม่มีความยั่งยืน เพราะรัฐมนตรีมาใหม่ก็เปลี่ยนทุกครั้ง

3. กรณีเรื่องความปลอดภัยในการทำงานเป็นนโยบายที่ดี แต่ว่ายังไม่มีการปฏิบัติจริงทำให้เกิดปัญหา หากต้องการแก้ไขปัญหาต้องทำงานเชิงรุก เพราะวันนี้จะนั่งโต๊ะรอแก้ปัญหา กฎหมายที่มีต้องบังคับใช้อย่างจริงจังด้วย

Untitled-3

ทั้งนี้หลังจากนายพานิช อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานคนใหม่ รับหนังสือ พร้อมรับจะติดตามเรื่องอนุสัญญาILOทั้ง 2 ฉบับที่สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อให้นำสู่การพิจารณาคณะรัฐมนตรีให้เร็วที่สุด

คณะทำงานผลักดันอนุสัญญาILOฉบับที่87และ98 ได้ออกแถลงการณ์ เตรียมการ…เมื่อรัฐบาลเพิกเฉยต่อข้อตกลงต่อคนงานในการรับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ดังนี้

คณะทำงานผลักดันอนุสัญญาILOฉบับที่87และ98 ซึ่งประกอบผู้แทนจากคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.)สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) สภาองค์การลูกจ้าง 6 แห่ง ที่รวมตัวกันภายใต้องค์การแรงงานไทย(อรท.)ได้เคลื่อนไหวผลักดันเพื่อให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO)ฉบับที่ 87ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว,ฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการเจรจาต่อรองร่วม ซึ่งเป็นอนุสัญญาหลักของ ILO ซึ่งนานาประเทศซึ่งเป็นสมาชิกเกือบทั่วโลกให้การรับรองไปแล้วรวมทั้งในภูมิภาคอาเซี่ยนทุกประเทศยกเว้น “ที่นี่ประเทศไทย”

22222

นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 เป็นต้นมาสถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานเป็นไปอย่างเข้มข้นจากการแข่งขันที่รุนแรงของระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อพี่น้องผู้ใช้แรงงานจำนวนมากขณะที่ประเทศไทยถูกนานาประเทศจัดอยู่ในประเทศที่มีการละเมิดสิทธิแรงงาน การค้ามนุษย์ที่รุนแรงและถูกจับตามองเป็นพิเศษซึ่งจะมีผลกระทบต่อการส่งออกในอนาคตซึ่งประเด็นดังกล่าวนานาชาติจะใช้เป็นเครื่องมือในการกีดกันทางการค้า คณะทำงานฯเห็นถึงผลกระทบต่างๆที่เกิดขึ้นจึงได้พยายามผลักดันให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับ แม้จะมีความก้าวหน้าอยู่บ้างแต่เป็นไปด้วยความล่าช้า

7 ตุลาคม 2556 คณะทำงานฯได้เคลื่อนไหวใหญ่เพื่อผลักดันอีกครั้งจนในที่สุดผู้แทนรัฐบาลโดย พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรีได้เจรจากับแกนนำและได้ลงนามในบันทึกข้อตกลง โดยมีสาระสำคัญคือ “รัฐบาลจะดำเนินการรับรองอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับให้เสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2557 โดยในเดือนตุลาคม 2556 จะนำเข้าให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ และ จะมีการตั้งคณะทำงานทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อร่วมกันเพื่อกำหนดแนวทางให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน” จนถึงขณะนี้คณะทำงานฯและเพื่อนพี่น้องผู้ใช้แรงงานยังไม่เห็นความจริงใจของรัฐบาลในการที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงที่ลงนามโดยรองนายกรัฐมนตรีจนบางคนบางกลุ่มเบื่อหน่ายและเริ่มหมดความอดทนกับรัฐบาล

คณะทำงานฯพยายามขับเคลื่อนภายใต้กรอบแรงงานสัมพันธ์และการเจรจาเพื่อให้รัฐบาลได้เข้าใจและร่วมกันคลี่คลายปัญหาของพี่น้องผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศที่ถูกเอาเปรียบและนับวันจะรุนแรงขึ้น และเชื่อว่าหากรัฐบาลรัฐรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่87 และ 98 จะทำให้ปัญหาต่างๆทั้งในระดับพื้นที่และระดับชาติจะคลี่คลายลงไป เป็นมาตรการวางรากฐานระบอบประชาธิปไตยให้หยั่งรากลึกถึงความเข้าในของประชาชนและคนงาน รวมทั้งได้รับการตอบรับและชื่นชมจากนานาชาติ แต่รัฐบาล เลือก!ที่จะไม่ทำ น่าเสียดายเวลา และโอกาสที่มีค่ายิ่ง ดังนั้นเพื่อตอกย้ำในจุดยืนของคณะทำงานฯในการดำเนินการเคลื่อนไหวทุกวิถีทางเพื่อให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับให้จงได้ จึงขอให้พี่น้องผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วนที่รักความเป็นธรรม รักประชาธิปไตย และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เตรียม!พลังและรอฟังสัญญาณการขับเคลื่อนจากคณะทำงาน..เร็วๆนี้

ด้วยความเชื่อมั่นในพลังของพี่น้องคนงาน
คณะทำงานผลักดันอนุสัญญา ILO 87 และ 98
5 พฤศจิกายน 2556

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน