คสรท.เสนอรัฐบาล แก้ปัญหาการคุกคามการละเมิดสิทธิแรงงานต้นต่อถูกตัดสิทธิGSP

 

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เปิดเวทีเสวนา “การคุกคามการละเมิดสิทธิแรงงานต้นต่อถูกตัดสิทธิพิเศษทางการค้าทางออกอยู่ที่ไหน” เตรียมประเด็นผลักดันให้รัฐแก้ปัญหาเร่งด่วน ย้ำยังมีเวลาก่อนสหรัฐตัดสิทธิGSP

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) จัดประชุมใหญ่-วางแผนงานประจำปี 2563 เมื่อวันที่ 18-19 มกราคม 2563 ณ บ้านไม้ธารารีสอร์ท แอนด์ วอเตอร์สปอร์ต ต.คลองโคน อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม โดยมีการจัดเวทีเสวนา เรื่อง “การคุกคามการละเมิดสิทธิแรงงานต้นต่อถูกตัดสิทธิพิเศษทางการค้าทางออกอยู่ที่ไหน” ดำเนินรายการโดย ยงยุทธ์ เม่นตะเภา ที่ปรึกษาคสรท.

นายสมพร ขวัญเนตร ประธานคสรท.กล่าวว่า คสรท.ทำงานขับเคลื่อนเชิงนโยบาย และการคุ้มครองสิทธิแรงงาน โดยการทำงานผ่านยุทธศาสตร์หลักๆซึ่งปีที่ผ่านมาคสรท.มีการขับเคลื่อนทางการเมืองอย่างหนักโดยการสนับสนุนพรรคสังคมประชาธิปไตยไทย มีการรณรงค์หาสมาชิกจนสามารถส่งผู้แทนลงสมัครได้ การเคลื่อนไหวเรื่องการคุ้มครองสิทธิแรงงาน ทั้งแรงงานไทย แรงงานข้ามชาติ เรื่องประกันสังคม รณรงค์ให้ รัฐบาลให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO)ด้านสิทธิแรงงานซึ่งหลักๆคือ อนุสัญญาILOฉบับที่ 87 และ98 เป็นต้นและปี 2563 คงต้องมีการกำหนดแผนร่วมกันว่าจะเดินไปในทิศทางใดบ้างประเด็นไหนที่เร่งด่วนต้องรีบทำรีบแก้ปัญหา อย่างประเด็นสหรัฐอเมริกาตัดสิทธิทางGSPประเทศไทย เนื่องจากปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานที่รัฐบาลไทยไม่ยอมแก้ไข ซึ่งยังเหลือเวลาไม่มากนัก

Mr.Robert Pajkovsi ผู้อำนวยการโซลิดาริตี้ เซ็นเตอร์ประเทศไทย (SC) กล่าวว่า GSPนั้นคือ การส่งเสริมทางการค้าของประเทศที่กำลังพัฒนาเข้าถึงสิทธิทางการค้า และAFL CIO ก็มีการเรียกร้อให้การส่งเสริมทางการค้าต้องมีกลไกให้คนงานได้รับประโยชน์ทางการผลิตภายในประเทศด้วย AFL CIOได้มีการต่อสู้ให้นำมาตรฐานหลักของILO มาใช้ด้วย และมีเงื่อนไขอื่นๆ แต่ต้องการให้ประเทศที่รับสิทธิGSP ต้องมีการพัฒนาด้านสิทธิแรงงานด้วยไม่ใช่การใช้เพียงมาตรฐานการส่งออกเท่านั้น และบางประเทศมีการพัฒนาด้านสิทธิแรงงาน แต่บางประเทศก็ไม่ทำจนมาถึงการสูญเสียGSP อย่างบังกาลาเทศ หรือเบลาลูสที่มีการตั้งสหภาพแรงงานก็ถูกล้ม ซึ่งถูกตัดGSP

ส่วนในประเทศไทยก็มีประเด็นว่า ประเทศไทยยังไม่มีการปรับปรุงกฎหมายแรงงาน ด้านแรงงานสัมพันธ์ และ 10 ปีที่ผ่านมามีการละเมิดสิทธิแรงงานจำนวนมากและไม่มีการแก้ไข ซึ่งต่อมาได้มีการประกาศที่จะตัดสิทธิGSP ในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่รับสิทธิมากที่สุด และไทยไม่ได้มีการทำอะไรเลยเพื่อให้เกิดการคุ้มครองสิทธิแรงงาน และข้อร้องเรียนGSP ได้มีการวิเคราะห์ปัญหากการละเมิดสิทธิแรงงานไว้ รวมถึงการละเมิดสิทธิการเจรจาต่อรอง ซึ่งหลายคนมีความเกี่ยวข้องต่อการละเมิดสิทธิแรงงานเรื่องการเจรจาต่อรองซึ่งปี2015  มีผู้แทนจากรัฐบาลไทยที่เข้าไปซี้แจงเป็นระยะต่อการละเมิดสิทธิแรงงาน โดยรัฐบาลไทยมีการไปโต้แย้งว่าได้ให้ความคุ้มครองสิทธิแรงงานอย่างดี โดยมีการพาผู้นำแรงงานบางท่านไปร่วมชี้แจงด้วย

 

ปีต่อมารัฐบาลก็ต้องไปให้การอีกครั้งเรื่องการละเมิดสิทธิแรงงาน แต่คราวนี้มีการเปลี่ยนจากที่ว่าไม่มีการละเมิดสิทธิแรงงาน เป็นให้การว่า มีการร่างกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ฉบับใหม่ ซึ่งทางสหรัฐอเมริกาได้มาร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ฉบับใหม่ว่า แย่กว่าเดิม และรัฐบาลไทยได้ส่งผู้แทนไปในปีที่ผ่านมาว่า เขาไม่จำเป็นต้องทำอะไร ซึ่งเวลาใกล้กันคือ มีการตัดสิทธิกรณีของรัฐวิสาหกิจรถไฟออกมา และอีกหลายกรณี คนที่มาตรวจสอบขอพบกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่มาจากUNHCR เป็นผู้แทนคือรูอีส ซึ่งเป็นผู้แทนระดับสูงของUNHCR และทุกอย่างก็แย่ลงไม่ว่าจะเป็นธรรมเกษตร ที่มีการฟ้องร้องกัน เดือนกันยายน ได้มีการส่งคำแนะนำว่าจะมีการตัดสิทธิหรือไม่ไปที่ทำเนียบขาว แต่พอคำตัดสินออกมาตอนเดือนตุลาคม 2562 จึงเป็นเรื่องที่น่าตกใจ ว่า ภายในเดือนเมษายน 2563 จะมีการระงับสิทธิพิเศษประเทศไทยที่ต้องสูญเสียประมาณ 3 หมื่นล้านบาท และช่วงเวลา 6 เดือนที่รัฐบาลจะมีการแก้ไขปัญหาแรงงานที่ถูกละเมิดสิทธิทั้งหมด ซึ่งรัฐบาลเสียเวลาในการเล่นเกมซ์ที่ไม่ยอมแก้ปัญหาแรงงาน ช่วงเดือนธันวาคม 2562 ทางสหรัฐฯมีความสนใจและถามเรื่องปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานซึ่งทางคสรท.มีผู้แทนเข้าไปเป็นทีมที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ การแรงงานสภาผู้แทนราษฎร 2 ท่าน หากรัฐบาลไทยไปกล่อมประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ให้ยอมคืนสิทธิเรื่องGSP โดยไม่ต้องแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานซึ่งหากได้คืนมารัฐบาลไทยคงไม่ทำอะไรให้ดีขึ้น และคิดว่า เดือนเมษายน 2563 ประเทศไทยคงถูกตัดสิทธิGSP

UNHCR ที่มีการตัดสิทธิทางการค้าของไทยนั้นเกิดขึ้น ด้วยผู้แทนทางการค้าเขามีการสืบสวนอย่างเป็นระบบ และกระบวนการที่ทำมานานต้องทำอย่างเป็นระบบ รัฐบาลไทยมีการปลุกกระแสชาตินิยมทำให้แรงงานไทย ออกมาต่อต้านแรงงานข้ามชาติด้วยการใช้คำพูดว่า สหรัฐอเมริกาต้องการให้ไทยดูแลแรงงานข้ามชาติดีกว่าแรงงานไทย แม้ว่าการต่อสู้แรงงานข้ามชาติให้ได้สิทธิ แต่การดูแลแรงงานไทยให้ได้รับการคุ้มครองก็มีนิดเดียว จึงคิดว่าหากแรงงานไทยได้รับการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติก็ได้รับการคุ้มครองด้วยเช่นกัน ซึ่งคิดว่า ตอนนี้เป็นโอกาสที่ดีในการที่จะกดดันรัฐบาลให้แก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงาน และการรับรองอนุสัญญาILO องค์กรแรงงานในยุโรป จะมีการให้ผู้แทนแรงงานหยิบประเด็นปัญหาแรงงานในประเทศไทยพูดในสภาฯเช่นกัน และเวทีสากลอาจไม่เข้าใจเรื่องการละเมิดสิทธิแรงงานในประเทศไทย และเราเองก็มีความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับองค์กรแรงงานสากล ทั้งอเมริกา ยุโรป ฯลฯ และทุกอย่างอยู่ที่ขบวนการแรงงานไทยว่า จะขับเคลื่อนอย่างไร ต้องเคลื่อนไหวผลักดันไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล หรือกรรมาธิการการแรงงานในรัฐสภาฯก็ต้องไป ต้องต่อสู้เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งของขบวนการแรงงาน และเป็นช่วงที่ดีที่จะมีการเรียกร้องให้มีการแก้ไขปัญหาแรงงาน และสหรัฐอเมริกาจะมีการเลือกตั้งใหม่อีกครั้งในเดือนมีนาคม 2563นี้

รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ คณบดีสถาบันเศรษฐศาสตร์ วิทยาลัยรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และโลกาภิวัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ประเทศที่ไทยส่งออกหลักรายใหญ่คือ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น และประเทศไทยคือประเทศทุนนิยมหน้าด่านยันอยู่กับประเทศที่มีแนวคิดสังคมนิยม ประเทศไทยจึงได้ถูกพัฒนาเพื่อให้เป็นประเทศที่พัฒนา และได้รับสิทธิพิเศษในการส่งออก และอเมริกาเป็นผู้ให้ ซึ่งจะมีเงื่อนไขอย่างไรขึ้นอยู่กับผู้ให้กำหนด ซึ่งการให้จะมีเงื่อนไขเสมอ ไม่ว่าจะอเมริกา ญี่ปุ่น หรือยุโรป แล้วแต่ใครจะกำหนดอะไร อย่างในแถบยุโรป หรืออเมริกานั้นจะคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน สิทธิแรงงาน โดยยุโรปแรงงานจะเป็นผู้ปกครองประเทศ มีพรรคของแรงงานในการลงสมัคร และแรงงานเป็นฐานเสียงในการเลือกตั้งทำให้AFL CIO มีฐานเสียงอย่างมาก และพรรคการเมืองทุกพรรคเลยฟังเสียงของแรงงาน แต่บ้านเราไม่มีใครฟังเสียงแรงงานเลย และไม่มีใครสนใจว่า ผู้ใช้แรงงานเป็นเสียงส่วนใหญ่ของประเทศ และผู้ใช้แรงงานก็ไม่คิดเช่นนั้นอีกด้วย ทำให้แรงงานไม่ได้อยู่ในสายตาของรัฐบาลหรือนักการเมือง การยกเลิก GSP เพราะว่านายทุนกระทบจึงมีการลุกขึ้นมาส่งเสียงเขาไม่ได้สนใจเรื่องแรงงาน แต่เขากลัวทุนเสียประโยชน์ ไม่ว่าจะรัฐบาล พรรคการเมือง หรือนักวิชา การจะมองว่า สิทธิแรงงานเป็นเรื่องระดับใหญ่ของโลกทำไม คนที่เอื่อภาษีให้กับทางประเทศไทย คืออะไร อเมริกา มีเรื่องสิทธิแรงงาน เรื่องสิทธิแวดล้อมก็เป็นประเด็นใหญ่

เรื่องที่ 2 คือ เรื่องสิทธิมนุษยชน เรื่องค้ามนุษย์ ซึ่งก็มาเกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิที่ 3 คือสิทธิแรงงาน ซึ่งก็เป็นเรื่องสิทธิมนุษยชนอยู่ด้วย ซึ่งมีเรื่องของมาตรฐานแรงงานอยู่ด้วย หากกล่าวถึงมาตรฐานแรงงาน นักวิชาการ รัฐบาลจะมองไปที่เรื่องมาตรฐานฝีมือแรงงาน ไม่ได้มองเรื่องมาตรฐานด้านสิทธิแรงงาน ที่ ILOกำหนดไว้ 8 ประการ ซึ่งขบวนการแรงงานก็มีสายสัมพันธ์กับขบวนการแรงงานอเมริกา ซึ่งก็ได้ข้อมูลอย่างถูกต้องกับมาตรฐานแรงงานของไทยว่า เป็นอย่างไร เมื่อมาตรฐานที่จำเป็นไทยไม่ได้ปฏิบัติเลย และประเทศไทยได้สิทธิพิเศษทางGSPมานานแล้วท่ามกลางช่วงนี้ ที่สหรัฐอเมริกาเสียเปรียบทางการค้า และไทยก็ไม่ได้มีการดูแลสิทธิแรงงาน 8 ประการ คืออนุสัญญาILOฉบับที่ 29 ว่าด้วยแรงงานบังคับ ซึ่งตอนนี้ดีขึ้นมากแล้วจากเดิมมีจำนวนมาก แต่ตอนนี้น้อยแล้ว อนุสัญญาILOฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคม และการคุ้มครองผู้ก่อตั้งสมาคม ซึ่งเราไม่เข้มแข็งเพราะว่า ข้าราชการ หรือองค์กรอิสระที่รับเงินจากรัฐตั้งสหภาพแรงงานไม่ได้ หรือว่าก่อตั้งได้ก็ถูกปลดออกจากงานอีก จึงเป็นเสรีภาพที่ไม่สมบูรณ์ อนุสัญญาILOฉบับที่ 98 ให้เสรีภาพในการก่อตั้งองค์กรสหภาพแรงงาน แต่ไม่มีอำนาจในการต่อรอง ก็ถือว่าไม่สมบูรณ์ อนุสัญญาILO ฉบับที่ 100 ก็ค่าจ้างระหว่างหญิง และชายยังไม่ได้เท่ากัน แต่ตอนนี้ก็ดีขึ้นมากแล้ว ความเท่าเทียมก็ไม่สมบูรณ์ คือยังไม่มีค่าตอบแทนที่เท่าเทียม สุดท้ายคือการเลือกปฏิบัติระหว่างแรงงานไทยกับแรงงานข้ามชาติ คืออาจให้แรงงานไทยตั้งสหภาพแรงงาน และว่าคนข้ามชาติตั้งสหภาพแรงงานไม่ได้

สรุปว่าใน 8 อนุสัญญาหลัก ยังไม่ได้รับการรับรอง 4 ข้อพอได้ แต่อีก 4 ข้อนั้น ยังขยับไปไม่ถึงสิทธิมาตรฐานนั้น คือต้องมีการศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง ต้องมีพันธมิตร ช่วงหลังไม่ได้มีการทำงานกับพันธมิตรระหว่างประเทศเลย ช่วงแรกของขบวนการแรงงานจะมีการทำงานร่วมกันระหว่างประเทศมีการหยุดงานหนุนกันแต่ละประเทศด้วย ต้องมีพันธมิตรที่เข้มแข็ง และต้องรวมพันธมิตรที่คิดเหมือนกันรวมเป็นกระบวนการต่อรองรัฐบาล ในเมืองไทยต้องสู้สองชั้น คือสู้ทางความคิด กับรัฐบาล นักการเมืองสังคมมนุษย์ส่วนใหญ่คือมนุษย์เงินเดือน คือผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเป็นเสียงส่วนใหญ่ของคนในประเทศ เราต้องมีการทดสอบความพร้อมของแรงงานเพื่อให้มีเสียงในสภาผู้แทนราษฎร แรงงานอยู่ที่ไหนต้องออกเสียงเลือกตั้งได้ที่นั่น เพราะเราทำไม่ได้ หากทำได้เราก็จะมีตัวแทนในสภาฯ พลังของเรามีแต่เราไม่รู้จักการใช้พลัง ตอนนี้ขาดพันธมิตรทางความรู้ และพันธมิตรระหว่างประเทศ และความรวมมือกันในประเทศ

เรื่องที่หนึ่งปัจจัยการตัดสิทธิGSP ที่จะต้องหยิบมาขับเคลื่อนกดดันอย่างเร่งด่วน ใช้แรงกดดันจากต่างประเทศเพื่อให้ได้ประโยชน์กับแรงงาน และเรื่องที่ สอง คือ GSP อาจเป็นเรื่องของบริษัทขนาดใหญ่ แต่เรื่องการปั่นป่วนที่เข้ามาในการใช้เทตโนโลยี และทำให้ผู้ประกอบการขนาดเล็ก และขนาดย่อม กระทบอย่างมากกับสินค้าจากประเทศจีนที่เข้ามาตีตลาดจนอยู่ไม่ได้ และคนตกงานที่เข้าไปสู่ธุรกิจดิจิตอลถูกควบคลุมด้วยจีน อินโดนีเชีย และการซื้อผ่านระบบมือถือ ใช้ระบบดิจิตอลกับหมด เทคโนโลยีปั่นป่วนทำให้คนตกงานมากขึ้น และมีการเคลื่อนย้ายศูนย์การค้ามาอยู่ใกล้บ้านมากขึ้น อาลีบาบาก็มาอยู่ใกล้สั่งปุ้บได้ปั้บ ขบวนการแรงงานต้องร่วมกับผู้ประกอบการรายย่อย โชว์ห่วยนอกจากโลตัส เซนเวนแล้วยังมีเทคโนโลยีเข้ามาถล่มเพิ่ม ต้องช่วยกันทำทั้งระดับนานาชาติ และระดับประเทศ

นายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) กล่าวว่า การต่อสู้ภายในประเทศยังไม่พอ เลยต้องไปหาหนทางในการต่อสู้กับต่างประเทศ การต่อสู้แบบแรงงานเพรียวๆคงไม่ได้เพราะรัฐบาลไม่สนใจ แต่ว่าการต่อสู้ต้องด้านการค้า เหมือนกับกรณีประมง แต่เมื่อได้สิทธิคืนรัฐบาลก็ไม่ได้ทำอะไร เรื่องการตัดสิทธิGSP ที่อเมริกาให้สิทธิมานาน ซึ่งตัด500 กว่ารายการ และส่งผลกระทบราว 4 หมื่นล้านบาท ภายในเดือนเมษายน 2563 ซึ่งยังมีเวลาในการที่จะแก้ไขปัญหา และรัฐบาลได้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาแก้ไขร่วมกัน แต่หากไม่ต้องการแก้ไขประเทศไทยก็ไม่ต้องขายของให้กับสหรัฐอเมริกา หากไม่ขายจะขายของให้ใคร เพราะตลาดใหญ่ที่สุดในการส่งออกของไทย คือ สหรัฐอเมริกา และยุโรป หากไม่ขายจะขายให้ใคร

การต่อสู้ของขบวนการแรงงานได้ต่อสู้ไปยังต่างประเทศ การที่จะทำให้นายทุนเสียหายรัฐบาลจะมาแก้ไขก่อน เรากล่าวถึงการรับรองอนุสัญญาILO รัฐบาลไม่สนใจ แต่ว่า หากการต่อสู้ต้องให้รัฐบาลรับรู้ว่าจะเกิดการเสียหายหากไม่แก้ไขปัญหา การต่อสู้ของแรงงานข้ามชาติในกิจการประมงเราก็สู้กับสมาคมนายจ้างการประมง ให้แก้ไขปัญหา ไม่ใช่การต่อสู้กับนายจ้างสถานประกอบการแล้ว แรงงานข้ามชาติก้าวหน้าด้านการต่อสู้มากกว่าเราแล้ว

ประเด็นใหม่ๆที่เกิดขึ้น ทั้งการปิดกิจการ ล้มสหภาพแรงงาน แต่ว่าเมื่อลงไปดูนี่คือยุค1.0 หรือไม่การต่อสู้ยังเหมือนเดิม ประเทศไทยนั้น แรงงานไทยยังตั้งสหภาพแรงงานไม่ได้ และไม่ยอมที่จะลุกมาต่อสู้เหมือนแรงงานข้ามชาติ วันนี้การส่งเสริมการลงทุนของภาครัฐที่มีการได้รับการลดภาษี ทุนมีการรวมกลุ่มกันได้ไม่มีชนชาติ แต่ว่าแรงงานทำไมไม่รวมกัน พอแรงงานข้ามชาติมีการรวมกลุ่มกันแรงงานไทยกลัวเราจะเอาของGSP มาเป็นประเด็น โดยการเปิดโปงว่าเรื่องเก่ายังไม่ได้แก้เรื่องใหม่ก็เข้ามาอีก ในกรณีการละเมิดสิทธิแรงงาน ตอนนี้การตัดสิทธิGSP คือนายทุนได้รับผลกระทบ อย่างไรรัฐบาลต้องแก้ไขปัญหา แก้วสามดวงตามที่อาจารย์ณรงค์เสนอว่า จะหาพันธมิตรข้างนอก และจะสร้างพันธมิตรภายในสร้างอำนาจอย่างไร และสร้างพลังอำนาจต่อรองทางการเมืองอย่างไร

เรื่องGSP และที่ประเทศไทยไปรับรองเรื่องสิทธิมนุษยชนแล้วไม่ได้มีอะไรก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาเลย เราต้องมีการขับเคลื่อน และสิ่งที่ต้องคิดคือเรียนรู้อะไรกับความสำเร็จ และเรียนรู้อะไรกับความล้มเหลว จะมีความร่วมมือกันอย่างไร กับผลประโยชน์ส่วนตัว ต้องมีการจัดตั้งทางความคิด เราจะสร้างขบวนของเราสู่การเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร

ทั้งนี้ที่ประชุมได้มีการสรุปการดำเนินกิจกรรมปี 2562 ประเมินความสำเร็จและวิเคราะห์แนวทางการขับเคลื่อนประเด็นนโยบายแรงงานปี 2563 ซึ่งการทำงานของคสรท.นั้นมองว่าการมีฝ่ายกฎหมายที่มีการให้ความช่วยเหลือกับผู้ใช้แรงงาน เป็นความคืบหน้าเนื่องจากการเข้าถึงสิทธิของแรงงานผ่านกระบวนการยุติธรรมจำเป็นต้องมีฝ่ายกฎหมายคอยดูแล ซึ่งถือว่าสำเร็จในการให้ความช่วยเหลือและมีการพัฒนาผู้ช่วยที่มีความเชียวชาญมาเป็นทีมให้คำปรึกา เรื่องฝ่ายสตรีที่ช่วยเหลือแรงงานหญิง โดยมีประเด็นการละเมิดสิทธิแรงงานหญิงการเลิกจ้างขณะตั้งครรภ์ และมีแรงงานเข้าร่วมการขับเคลื่อนในวันกรรมกรสากลมากขึ้น การณรงค์เนื่องในวันงานที่มีคุณค่า การรณรงค์เพื่อการทำงานพรรคการเมืองการหาสมาชิก และการส่งผู้แทนลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ และยังจดหมายข่าวอิเล็กทรอนิคTLSCNEWSในการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง

การสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กร คือ การควบรวมสหภาพแรงงาน และการจัดเก็บค่าบำรุงเป็นเปอร์เซ็นต์ และการรณรงค์จนได้สิทธิวันลาคลอดที่เพิ่มขึ้นเป็น 98 วันจากเดิม 90 วัน

ในส่วนของปัญหาคือ เรื่องเวลา และคนทำงานมีการรับงานหลายหน้าที่ ปัญหางบประมาณน้อย การยึดมั่นในการทำงาน เรื่องการสื่อสาร ด้านเพจคสรท.นั้นมีคนเข้าไปดูน้อยต้องมีการช่วยกันทำงานประชาสัมพันธ์ การทำงานที่ยังไม่สำเร็จ กรณีค่าจ้างขั้นต่ำ ด้วยการมาเคลื่อนไหวเป็นกลุ่มคนที่ได้ค่าจ้างที่สูงไม่ใช่คนที่มีค่าแรงขั้นต่ำ ขาดการสนับสนุนเรื่องค่าบำรุง สถานที่ และคนทำงาน ยังมีเรื่องหน่วยงานรัฐที่เป็นปัญหา ความรับผิดชอบของคนที่มาทำงานเอง ประเด็นสื่อยังไม่เป็นที่ประจักษ์ต่อสังคม

ประเด็นที่ต้องทบทวนคือ การเคลื่อนไหวต้องมีพลัง ทบทวนการแก้ไขกฎหมายต่างๆที่ยังไม่สำเร็จมาทำต่อ ทั้งเรื่อง พรรคการเมืองที่ต้องมีการทำต่อ การจัดตั้งสหภาพแรงงาน การจัดเก็บเงินค่าบำรุง  ต้องมีการทบทวนประเด็นประกันสังคม การสร้างความเข้มแข็งข้ามเครือข่าย โดยมีการเชื่อมร้อยเครือข่ายเข้ามาทำงานร่วมกัน

ประเด็นที่ควรขับเคลื่อนในปี 2563 ประเด็นGSP เพื่อทำความเข้าใจความหมายของGSP สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร ที่ประเทศพัฒนาแล้วให้กับประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนา โดยลดภาษีสินค้านำเข้าให้ เพื่อให้สินค้าจากประเทศเหล่านี้สามารถแข่งขันกับสินค้าจากประเทศพัฒนาแล้วได้ ไทยเองรับสิทธิ GSP จากหลายประเทศ และที่ผ่านมาก็เคยถูกตัดสิทธิ GSP มาแล้วหลายครั้ง โดยต้องรณรงค์ให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานที่ตอนนนี้ยังมีอยู่หลายกรณีทั้งเก่าและใหม่ แนระเด็นการจ้างงานที่ไม่มั่นคง การประกันสังคม มีการจัดตั้งให้แรงงานข้ามชาติเป็นสมาชิกได้ และตั้งสหภาพแรงงานได้ การแก้ไขกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ โดยแรงงานทุกกลุ่มรณรงค์ GSP อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ 87และ 98 ความมั่นคงในการทำงาน การแก้ไขกฎหมายแรงงาน การประกันสังคม ค่าจ้างที่เป็นธรรม การที่รัฐไม่มีการส่งเสริมการรวมตัว การละเมิดสิทธิแรงงาน

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน