คสรท.ประกาศนัดรวมพลพบนายก แก้ปัญหาถูกตัดสิทธิ GSP วันที่ 3 มีนานี้

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย  สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ นัดเครือข่ายเข้าพบนายกรัฐมนตรี วันที่ 3 มีนาคมนี้ ยื่นให้แก้ปัญหาสหรัฐตัดสิทธิ์ GSP หวั่นทำแรงงานตกงานหลายหมื่นคน

โครงการเวทีเสวนา “ทำอย่างไร ไม่ให้ถูกตัดสิทธิ์GSP” วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ห้องประชุมเพทาย โรงแรมบางกอกพาเลส กรุงเทพฯ จัดโดย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ร่วมกับโซลิดาริตี้เซ็นเตอร์ประเทศไทย (SC)

นายสมพร ขวัญเนตร ประธานคณะกรรมการสมานฉัน์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคสรท.ก็ได้มีการเรียกร้องให้มีการรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO) ฉบับที่ 87 และ98ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวเจรจาต่อรองร่วม และที่ผ่านมาประเทศสหรัฐอเมริกาก็มีการจัดลดลำดับประเทศไทยจากเทียร์ 2 เป็นเทียร์ 3 กรณีการค้ามนุษย์ และละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ ประมงทะเล เมื่อมีการตัดสิทธิทางการค้า ห้ามส่งสินค้าไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา จึงมีการแก้ปัญหาและปราบปรามการค้ามนุษย์ และการประมงทะเล ที่มีผลในการดูแลแรงงานข้ามชาติ ล่าสุดสหรัฐอเมริกาส่งสัญญาณที่การตัดสิทธิพิเศษGSP เป็นสิทธิพิเศษด้านภาษีที่ให้สิทธิกับประเทศไทย กรณีการละเมิดสิทธิแรงงานในประเทศไทย และรัฐบาลไทยยังคงไม่มีการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เป็นเวลายาวนานที่คสรท.ได้มีการขับเคลื่อนให้รัฐบาลไทยแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงาน พร้อมทั้งให้มีการรับรองอนุสัญญาILO เพื่อการคุ้มครองสิทธิการรวมตัวจัดตั้งสหภาพแรงาน และการเจรจาต่อรองร่วม แต่ว่ายังไม่มีการรับรองอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว และวันนี้คสรท.จัดประชุมกันเพื่อที่จะเอาจริงทางการขับเคลื่อนเพื่อให้รัฐบาลแก้ไขปัญหา และวันนี้แกนนำทั้งประเทศได้มีการมาร่วมกันเพื่อทำความเข้าที่จะขับเคลื่อนด้วยกัน

โดยคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ได้แถลงประเด็นการถูกตัดสิทธิ GSP นั้น ซึ่งจะมีการตัดสิทธิโดยทางสหรัฐอเมริกาในวันที่ 25 เมษายน 2563 ซึ่งเป็นการให้โอกาสกับประเทศไทยในการแก้ไขปัญหาตามที่กำหนดไว้ คสรท.ได้มีการขับเคลื่อนปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงาน และได้เสนอให้รัฐบาลเข้ามาแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังมายาวนานกว่า 20 ปี จึงมีข้อเสนอให้รัฐบาลไทยดำเนินการดังต่อไปนี้

1.รัฐบาลต้องแสดงเจตนารมร์ชี้แจงว่า ได้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องการตัดสิทธิGSP โดยกำหนดแผนที่เกี่ยวข้อง อย่างชัดเจน กับการดำเนินการตามมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ โดยกำหนดแผนงานการดำเนินงาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน พร้อมทั้งให้มีการนำร่าง พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. …. เข้าสู่การพิจารณทั้งนี้คสรท. และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) จะผลักดันให้รัฐบาลมีการพิจารณา พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์โดยให้มีผลบังคับใช้ก่อนการพิจารณาตัดสิทธิ GSP ของประเทศสหรัฐอเมริกา

  1. ตามข้อเสนอของประเทศสหรัฐอเมริกาต้องการให้ประเทศไทยปรับปรุงสาระสำคัญของกฎหมาย ให้ได้ตามมาตรฐานองค์การแรงงานระหว่างประเทศ 7 ข้อนั้น โดยมีการยกร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ที่มีความสอดคล้องตามข้อเสนอของประเทศสหรัฐอเมริกาให้แล้วเสร็จตามที่กำหนด
  2. แก้ไขข้อจำกัดสิทธิเสรีภาพในการสมาคม จัดตั้งสหภาพแรงงาน การเข้าเป้นสมาชิกสหภาพแรงงานของลูกจ้างเหมาค่าแรง และแรงงานข้ามชาติต้องมีเสรีภาพตามมาตรฐานสากลและการรับรองอนุสัญญาILO ฉบับที่ 87 และ98 ฉะนั้นคสรท. และเครือข่ายแรงงานขอประกาสว่า เราจะร่วมกันขับเคลื่อนอย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อให้รัฐบาลเข้ามาแก้ไขปัญหาโดยเร็วในลำดับต่อไป

ทั้งนี้คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยได้ประกาศที่จะมีการเคลื่อนไหวในวันที่ 3 มีนาคม 2563 เพื่อขอพบนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล พร้อมจะมีการลงพื้นที่ให้ความรู้เรื่องการตัดสิทธิGSP จากสหรัฐอเมริกาต่อสมาชิก และเครือข่ายแรงงาน เพื่อการหาแนวร่วมในการเคลื่อนไหวต่อไป

ด้านวงเสวนา เรื่อง ทำอย่างไร ไม่ให้ถูกตัดสิทธิ์GSP

Mr.Robert Pajkovsi ผู้อำนวยการโซลิดาริตี้เซ็นเตอร์ประเทศไทย (SC) กล่าวGPS คือ สิทธิทางการค้า ซึ่งจะให้กับประเทศที่สามเพื่อการแข่งขันทางการค้ากับประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยประเทศที่จะได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีทางการค้านั้นต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขทั้งหมดรวมถึงมาตรฐานแรงงานตามองค์การแรงงานสากลด้วย เช่นอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO) ซึ่ง ปี 2012 มีการร้องเรียนเรื่องประเด็นการละเมิดสิทธิแรงงานในประเทสไทยอย่างมาก และมีความรื้อรังมาหลายปี ดังนั้นAFLCIO ซึ่งเป็นองค์กรแรงงานสหรัฐอเมริกาที่ได้รับเรื่องร้องเรียนการละเมิดสิทธิแรงงานจากประเทศไทย และเฝ้าติดตามเรื่องการแก้ไขปัญหา จึงตัดสินใจในการที่จะยื่นต่อรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เพื่อให้มีการตัดสิทธิทางGSP ประเทศไทย ด้วยไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานแรงงาน ILO  ด้วยมองว่าการละเมิดสิทธิแรงงาน การละเมิดสิทธิมนุษยชน และประเทศที่ได้รับสิทธิทางGSP นั้นเกิดในประเทศที่สาม หรือเป็นประเทศที่ไม่มีระบบประชาธิปไตย หรือความเป็นประชาธิปไตยที่ไม่มั่นคงอยูแล้ว และขบวนการแรงงานในสหรัฐอเมริกาจึงได้กำหนดให้การทำการค้าเสรีต้องมีการดูแลสิทธิแรงงานด้วย และมั่นใจว่าแรงงานจะได้รับประโยชน์จากการค้าเสรีด้วย จึงกำหนดให้ประเทศที่ได้รับประโยชน์ด้านสิทธิพิเศษภาษีทางการค้าเสรี หากไม่ได้รับการดูแลมาตรฐานแรงงานก็มีกระบวนการร้องเรียนด้วย

ข้อร้องเรียนที่ร้องให้ถอดสิทธิทางGSPประเทศไทย คือการละเมิดสิทธิแรงงาน และละเมิดเสรีภาพ แรงงานไทยไม่ได้รับสิทธิในการจัดตั้งสหภาพแรงงาน และการรวมตัวได้ และคำร้องยังมีกรณีศึกษาด้านสิทธิต่างๆของแรงงานด้วย ตั้งแต่ปี 2013 กรณีคำร้องที่ให้ถอดถอนประเทศไทยในการรับสิทธิพิเศษGSP ได้ถูกปรับปรุง และเรายังได้มีการยื่นข้อร้องเรียนร่วมกับขบวนการแรงงาน องค์กรต่างๆด้วย ในการแก้ไขปัญหา และรัฐบาลไทยได้มีการดำเนินการชี้แจงว่า รัฐบาลต้องทำอย่างไรบ้าง ซึ่งรัฐบาลสหรัฐฯได้ให้แนวในการที่แก้ไขปัญหาแรงงานที่ละเมิดสิทธิแรงงาน เช่น มิตซูบิชิ บริษัทธรรมเกษตร การรถไฟแห่งประเทศไทย และอีกหลายแห่งเพื่อให้ได้รับสิทธิตามมาตรฐานแรงงานสากล และรัฐบาลยังมีเวลาในการที่จะแก้ไขปัญหา แต่ว่า ดูรัฐบาลไม่ได้มีแนวทางในการแก้ไขปัญหา และยังมีการละเมิดสิทธิเพิ่มขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมา ซึ่งแย่ลงไปอีก และเมื่อไม่มีการดำเนินการใดๆเกิดขึ้นเดือนเมษายน2563 ประเทศไทยจะถูกตัดสิทธิ มูลค้า 10,300 เหรียญสหรัฐ เดือนเดียว 400 ล้านเหรียญสหรัฐ

ทำไมประเทศไทยจึงไม่แก้ไขปัญหา ซึ่งหากแก้ไขปัญหาก็ไม่สูญเสียใดๆ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นคนงานรถไฟ ธรรมเกษตร แรงงานข้ามชาติ และมิตซูบิชิ ซึ่งการที่ถูกตัดสิทธิGSP จะเห็นทัศนคติของรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานด้วย สิ่งที่จะเกิดขึ้นในเดือนเมษายนนี้ คือการถูกตัดGSP และไม่มีความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นAFLCIO จะมีการกให้สหรับตัดสิทธิGSPเพิ่มอีก หนึ่งในสาม และจะให้มีการทบทวนด้านการตัดสิทธิทางการค้าเพิ่มเติมซึ่งมาจากการค้าเสรี

ตอนแรกที่สหรัฐอเมริกาประกาศที่ตัดสิทธิทางGSP นั้นมันรุนแรงมาก ด้วยเป็นการทำให้ประเทศไทยเสียประโยชน์อาจมีการตอบโต้กลับจากรัฐบาลไทยได้ และการที่มีการออกสื่อของคุณชาลี ลอยสูง ถูกหาว่า ทำให้ประเทศมีปัญหา แต่ต่อมาสื่อมีการสื่อสารเรื่องปัญหาแรงงาน การละเมิดสิทธิแรงงานมากขึ้น ถึงการตัดสิทธิGSP และมาตรฐานแรงงานในประเทศไทยนั้นต่ำมากทั้งที่ประเทศไทยได้รับสิทธิทางGSPมานาน และได้รับจำนวนมากกับกันสิทธินี้ไม่ได้ส่งผลดีกับแรงงานไทยเลย เมื่อวันนี้ประเทศไทยถูกตัดสิทธิทางGSPเราต้องยืนยันให้มีการดูแลสิทธิแรงงาน ด้วยมีการกระทำต่อแรงงานจำนวนมากทั้งการข่มขู่คุกคามสหภาพแรงงาน ใช้ความรุนแรงต่อการชุมนุมของแรงงานเราต้องไม่ลืม การที่เรียกร้องให้มีการรับรองอนุสัญญาILO ฉบับที่ 87 และ98 นี่ถือเป็นโอกาส

Mrs.Vesna Rodic ผู้อำนวยการมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES) กล่าวว่า เนื่องจากประเทศเยอรมันไม่ได้มีการแสดงถึงความขัดแย้งทางการค้าของประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกา ด้วยไม่สามารถที่จะพูดถึงความขัดแย้งในประเทศที่สามได้ จึงของกล่าวถึงความสมานฉันท์ ในฐานที่FES เป็นองค์กรทางการเมือง และคิดว่าสหภาพแรงงานเป็นองค์กรที่พิทักษ์ด้านสิทธิ แรงงาน และให้กับประชาชนทั่วไป แม้เวลา 20 ปีที่ผ่านมาในยุโรปจะสูญเสียสมาชิกมสหภาพแรงงานจาก 12 ล้านคน เหลือเพียง 6 ล้านคน สหภาพแรงงานก็ยังเป็นแกนหลักในการทำหน้าที่ขับเคลื่อนทางสังคม และในการขับเคลื่อนให้นายจ้าง ลูกจ้างมาต่อรองกันด้านสิทธิทางสังคม FES ก็มีการทำงานสนับสนุนองค์กรสหภาพแรงงานมาโดยตลอด รวมทั้งในประเทศไทยด้วยก็สนับสนุนด้านการศึกษา วิจัยข้อมูล  ตลอดเวลาFES เห็นว่าสหภาพแรงงานเป็นเครื่องมือที่แข็งแกรงในการต่อสู้ของสังคม และแรงงาน ซึ่ง FES ขอสนับสนุนการต่อสู้ของขบวนการแรงงาน และเชื่อว่าประเทศไทยอยู่ในสภาพที่ลำบาก และประเทศไทยในการขับเคลื่อนให้การให้สัตยาบันILO ฉบับที่ 87 และ98  และFES ได้ขับเคลื่อนร่วมกับขบวนแรงงานมาโดยตลอด สถานการณ์ปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วความเปลี่ยนแปลงจะบังคับให้เราต้องทำงานร่วมกันรวดเร็วขึ้นดังนั้น ทั้งนายจ้าง และภาครัฐบาลควรมีการปรับทัศนคติเพื่อให้มีการทำงานร่วมกันสหภาพแรงงานมากขึ้น โดยหวังว่าหลังจากวันนี้คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย จะมีการสร้างพันธมิตร ร่วมมือกับแรงงานกลุ่มต่างๆต่อไป ไม่ว่าจะเป็นแรงงานในระบบ แรงงานข้ามชาติ เพื่อให้คุ้มครองด้านสิทธิแรงงานด้วย

กรณีสหภาพยุโรปตัดสิทธิทางการค้าของกัมพูชานั้น ปกติทางสหภาพฯจะลังเลในการที่จะตัดสิทธิ และไม่ปล่อยครั้งที่จะมีท่าทีแบบนี้ เมื่อ 2 ปีที่แล้ว FES มีรายงานฉบับหนึ่งถึงมาตรการการลงโทษทางการค้า เป็นการลงโทษในวงจำกัด มาตรการลงโทษของ EU จะทำให้กระทบกับแรงงานนั้น แต่ว่าหากมาตรการ การลงโทษจะลงโทษเฉพาะบรรษัท ภาครัฐ หรือหน่วยงานที่ทำให้เกิดปัญหาต่อเหตุการณ์การละเมิดสิทธินั้นๆ เท่านั้น เพื่อไม่ให้แรงงานได้รับผลกระทบ หรือกระทบน้อยที่สุด หากมีการลงโทษที่กัมพูชาจริงไม่ควรที่จะเป็นผลกระทบต่อแรงงานหลายแสนคน แต่ว่า อยากเรียกร้องให้ยุโรปลงโทษจำกัดในส่วนของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเท่านั้น เช่นใช้มาตรการการแช่แข็งทางบัญชีการเงิน ของคนกระทำการสร้างผลกระทบเท่านั้นเพื่อไม่ให้กระทบกับแรงงานจำนวนมาก

Mr.Mark Del Greco สมาพันธ์แรงงานข่นส่งระหว่างประเทศ ( ITF-FRN) กล่าวว่า การที่สหรัฐมีการตัดสิทธิ์ GSP จะทำให้ประเทศไทยมีการปรับปรุงทางกฎหมาย ดูจากการที่ประเทศไทยได้ใบเหลืองก็ทำให้มีการปรับปรุงด้านสิทธิแรงงานเรือประมงไทย เรื่องการค้ามนุษย์ ตอนนี้มีการจัดตั้งสมาคมแรงงานสาขาประมง แต่การรวมตัวก็ไม่ใช่เรื่องง่ายด้วยรัฐไทยไม่ได้เคารพสิทธิแรงงาน หรือยอมรับสิทธิแรงงานข้ามชาติ ปัญหาแรงงานประมงยังมีการถูกนายจ้างยึดพาสเปอร์ตไว้ และรวมถึงการดูแลเรื่องความปลอดภัย อาชีวะอนามัย และยังทำให้แรงงานอยู่ในภาวะของแรงงานปลดหนี้ และกฎหมายแรงงานไทยไม่สามารถที่จะคุ้มครองแรงงานไทย หรือแรงงานข้ามชาติได้ไม่ว่าจะอยู่ในสัญชาติใด และยังประสบปัญหาคำตัดสินทางความยุติธรรมไทย ยังไม่เป็นธรรม ยังมีปัญหา ส่งผลให้มีการละเมิดสิทธิแรงงานด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกรณีของรถไฟ หรือการบินไทยที่มีการฟ้องร้องผู้นำแรงงานอยู่ สิ่งที่เราต้องการก็คือให้แรงงานไทย และแรงงานข้ามชาติ หรือแรงงานต่างๆได้รับสิทธิเสรีภาพในการดูแลเรื่องการรวมตัวและเจรจาต่อรองร่วม

สำหรับการคุ้มครองลูกเรือประมง ประเทศไทยได้รับสัตยาบันอนุสัญญา 188 แล้วแต่ว่า ก็ยังไม่ได้ทำตามอนุสัญญาดังกล่าวเท่าที่สมควร จึงอยากให้ประเทศไทยมีการเคารพสิทธิและปฏิบัติตามกฎหมาย อนุสัญญาด้วย และการไม่ยอมรับสิทธิของแรงงานมากเท่าไร จึงต้องมีการเรียกร้องให้รัฐบาลไทยมีการรับรองอนุสัญญาILO และปฏิบัติตามโดยการแก้ไขปัญหา หากไม่มีการแก้ไขการที่สหรัฐฯ มีการตัดสิทธิGSPก็เป็นความสมควรแล้ว

Mr.Pong-Sul Ahn องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) กล่าวว่า ประเด็นGSPมีความสำคัญไม่ใช่รัฐบาลอย่างเดียวแต่มีความสำคัญต่อทุกคน GSPเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ หากไม่มีGSP การส่งออกก็น้อยลง และกระทบกับแรงงานแน่นอน ผลกระทบจากGSPต่อแรงงาน ซึ่งเมื่อ 3 วันทีผ่านมายุโรปประกาศจะตัดสิทธิพิเศษทางการค้ากับทางกัมพูชาด้วยประเด็นการละเมิดสิทธิต่างๆ และส่งผลกระทบทางการส่งออกหมื่นพันล้านยูโร ซึ่งการตัดสิทธิทางการค้าจะส่งผล 12 สิงหาคม2563เป็นต้นไป ผลที่จะกระทบต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอ ประเทศกัมพูชาเป็นคู่ค้าใหญ่กับยุโรป และส่งสินค้าไป 5.2 หมื่นล้านยูโร ขบวนการสหภาพแรงงานจึงต้องตรวจสอบสถานประกอบการด้านการละเมิดสิทธิแรงงาน และองค์กรการค้าโลก (WTO)ที่ตั้งขึ้นมาปี 2014

WTO มีข้อมูลว่า ประเทศไทยมีการค้ากับประเทศต่างๆ เมื่อมีข้อตกลงการค้าเสรีก็จะมีการลงทุน และเปิดกิจการในประเทสไทยก็จะมการส่งผลด้านสิทธิแรงงานเมื่อมีการมาลงทุน จะสังเกตได้ว่า เวลาประชุมWTO จะมีภาคประชาสังคม และแรงงานจัดประท้วงใหญ่เพื่อให้รับลรู้เรื่องการลงทุนที่มาเอาเปรียบ หรือละเมิดสิทธิในประเทศ WTO ไม่ใช่องค์กรที่จะมีความรู้ด้านสิทธิแรงงาน จึงได้มีการหาผู้เชียวชาญ หรืออ้างไปที่ILO เมื่อมีการทำข้อตกลงการค้าเสรี ในข้อตกลงทุนฉบับจะมีหมวดว่าด้วยสิทธิแรงงาน ว่าให้บรรษัทที่ไปลงทุนในประเทศกำลังพัฒนาต้องมีการดูแล และนำข้อปฏิบัติในมาตรฐานแรงงานของประเทศตนเองด้วย แต่ปัญหาคือไม่ได้มีการนำไปปฏิบัติจึงเป้นปัญหา ILO มีแนวปฏิบัติทางแรงงาน สังคม ข้อกำหนดในปฏิญญาให้บรรษัททำตามไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม มาตรฐานแรงงาน ILOครบ 100 ปีได้มีการเสนอให้บรรษัททำตามข้อแนะว่าด้วยมาตรฐานแรงงาน การที่จะให้มีการลงทุนเพื่อสร้างงาน และพัฒนาที่ยั่งยืน และส่งเสริมความเสมอภาคมากขึ้น การลงทุนทางการค้างต้องลงทุนด้านสิทธิแรงงาน และมาตรฐานด้านสิทธิแรงงานด้วย

ดังนั้นการค้าการลงทุนต้องเคารพสิทธิแรงงาน และสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงานด้วย และการค้าเสรีที่เกิดนั้นไม่มีระบบที่ทำให้แรงงานได้ร่วมร่างเลย ประเด็นสุดท้ายทางสหประชาชาติสนับสนุนSDGs ว่าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และเคารพสิทธิแรงงานด้วย

นายชาลิ ลอยสูง รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า ส่วนของคสรท. และสรส.ก็มีการทำงานรับปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานส่งไปให้กับทางเครือข่ายต่างประเทศเพื่อมีการกดดันให้มีการแก้ไขการละเมิดสิทธิแรงงาน และGSP นั้นประเทศที่ได้รับคือประเทศที่ด้อยพัฒนา โดยเงื่อนไขที่ได้รับมี 6 ข้อ มีอยู่หนึ่งข้อว่าด้วยการพัฒนาประเทศ และประเทศทีมีค่าหัว 6,610 เหรียญ ยังอยู่ในเงื่อนไข และการไม่ละเมิดสิทธิทางปัญญา และข้อของการคุ้มครองด้านสิทธิแรงงาน และข้อกำหนดนโยบายที่ชัดเจนทางการค้า และการสนับสนุนอเมริกาในเรื่องการต่อการร้าย ซึ่งประเทศไทยในการละเมิดสิทธิแรงงานยังคงมีอยู่ตลอดไม่ได้มีการแก้ไข และผลกระทบกับสินค้าที่จะถูกตัดสิทธิ 573 รายการ และใน บางรายการไม่ได้ส่งไปที่อเมริกา ส่งอยู่ 321 รายการ ที่ส่งอยู่ ตอนนี้ที่กระทบเพียง 4 หมื่นล้านบาท ทำให้รัฐบาลมองว่า ไม่กระทบกับทุนมากนัก โดยสินค้าที่กระทบประกอบด้วย อุปกรณ์ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ เหล็กกล้า พลาสติก อาหารปรุงแต่ง ยานยนต์ และเรือยนต์ ดอกไม้ประดิษฐ์ เครื่องสุขภัณฑ์ แผงควบคุมไฟฟ้า เป็นต้น รวมถึงอาหารปรุงแต่งก็ไม่ให้เติมน้ำตาลลงไป

แล้วรัฐบาลมีการทำอะไรบ้าง การที่จะถูกตัดสิทธิจีเอสพีวันที่ 25 เมษายน 2563นี้ หากไม่มีการส่งออกไปอเมริกาจะมีการปลดออกเลิกจ้าง 4 หมื่นคน แต่การตัดสิทธินั้น สินค้าส่งได้ แต่ว่าไม่ได้รับส่วนลดจากภาษีทำให้เราต้องส่งออกสินค้าแพง และคนอาจไม่ซื้อของประเทสไทย ด้วยเขาซื้อเพราะสินค้าเราราคาถูก หากแพงเขาก็ซื้อของประเทศที่พัฒนาแล้ว ทางรัฐบาลไทยมองว่าไม่มีผลกระทบยังส่งออกได้ มาดูกันในอนาคต ซึ่งผลกระทบไม่ใช่แค่แรงงาน 4 หมื่นคนเท่านั้น มีผลกระทบต่อแรงงานที่รับงานไปทำอื่นๆด้วย

การที่ถูกตัดสิทธิด้วยปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงาน ซึ่งน่าอายหากไม่มีการแก้ปัญหาประเทศอื่นๆ ซึงรับรู้ว่ามีการละเมิดสิทธิแรงงาน ซึ่งเกี่ยวกับการรวมตัวเป็นสหภาพแรงงาน การเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานไม่ได้ขอแรงงานเหมาค่าแรง หากสมัครก็จะถูกย้าย และเกี่ยวกับการรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศทั้ง 2 ฉบับ จึงอยากให้ประเทศไทยรัฐบาลต้องแสดงเจตจำนง ในการรับรองอนุสัญญาILO 87 และ98 เพื่อแสดงความต้องการแก้ไขปัญหา เมื่อมีท่าทีแล้วก็จะได้รับการตอบรับที่ดีขึ้นมีการตั้งคณะทำงานร่วมกันทุกภาคส่วนเพื่อปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับอนุสัญญาฯ แรงงานที่มาทำงานในประเทศไทยก็ต้องมีสิทธิในการจัดตั้งองค์กรของเขาเพื่อสร้างอำนาจต่อรอง และแรงงานภาคเกษตร ภาคเกษตรกรต่างๆให้เข้าใจเรื่องการตัดสิทธิด้วยว่า สิ่งที่เราทำไปเพื่อให้เกิดการเคารพสิทธิแรงงานด้วย และเรารู้สึกเจ็บปวดต่อการตัดสิทธิGSP และเราจะไปพบกับนายกรัฐมนตรีในวันที่ 3 มีนาคม2563 และมีการลงพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจเรื่องการตัดสิทธิจีเอสพีถึงที่มาที่ไปเพื่อให้ร่วมมือกันในการขับเคลื่อนให้รัฐบาลมาแก้ไขปัญหาการตัดสิทธิGSPด้วย

นักสื่่อสารแรงงาน รายงาน