ความปลอดภัยในชีวิตคนงานหลัง 20 ปีโศกนาฎกรรมเคเดอร์

Untitled-2

วันที่ 8– 9 และ10 พฤษภาคม 2556 ได้มีการประชุมเครือข่ายแห่งเอเชียเพื่อสิทธิของผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมหรือแอนโรฟ (Asian Network for the Rights of Occupational and Environmental Victims – ANROEV) ในวาระครบรอบ 20 ปีโศกนาฎกรรมเคเดอร์ ณ ห้องบอลรูมคริสตัลใหม่ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ สีลมถนนสีลมเขตบางรักกรุงเทพฯ โดยเครือข่ายแห่งเอเชียเพื่อสิทธิของผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อม (Asian Network for the Rights of Occupational and Environmental Victims – ANROEV) หรือแอนโรฟ โดยสรุปได้ดังนี้

ปี 2556 นี้เป็นการครบรอบ 20 ปีของโศกนาฏกรรมเพลิงไหม้เคเดอร์ ในวันที่ 10 พ.ค. 2556 พวกเราจะร่วมกับผู้ประสบภัยจากเหตุเพลิงไหม้ที่กรุงเทพฯ รวมถึงเพื่อนๆ และกลุ่มต่างๆ ในประเทศไทยเพื่อรำลึกถึงวาระครบรอบเหตุเพลิงไหม้ที่น่าสยดสยองที่เกิดขึ้นที่โรงงานเคเดอร์ซึ่งคร่า 188 ชีวิตเมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2536 ในปีนี้เช่นเดียวกันก็จะเป็นการครบรอบ 20 ปีของเหตุเพลิงไหม้ชี่ลี่ในประเทศจีน โดยผู้ประสบเหตุและสมาชิกของเครือข่ายแอนโรฟในจีนก็จะร่วมกันรำลึกและยกย่องเหยื่อจากเหตุไฟไหม้ที่ชี่ลี่ด้วยเช่นกัน ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เครือข่ายฯได้ปรับเปลี่ยนจากการขับเคลื่อนเรื่องอุบัติเหตุมาเป็นเรื่องโรคจากการทำงาน และตอนนี้เราก็มีการจัดตั้งในกลุ่มคนงานอิเล็กทรอนิกส์ โรคฝุ่นหินจับปอด และแร่ใยหิน แต่น่าเสียดายที่เหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ในทั้งปากีสถานและบังคลาเทศกลับทำให้เราต้องกลับมาพูดคุยกันเรื่องอุบัติเหตุและการป้องกันเหตุเพลิงไหม้อีกครั้งในปี 2556

P5080011P5080030

ปีนี้จะมีการให้ความสำคัญกับเรื่องการป้องกันเหตุเพลิงไหม้และโรคจากการทำงาน เมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2556 สหประชาชาติได้เปิดเผยผลการศึกษาซึ่งถือเป็นรายงานที่ครอบคลุมที่สุดในเรื่องสารรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อ (EDCs) ในปัจจุบัน รายงานฉบับนี้เน้นความเชื่อมโยงระหว่างการสัมผัสสารเคมีกลุ่มนี้กับปัญหาสุขภาพซึ่งรวมถึงการเป็นไปได้ที่สารเคมีเหล่านี้จะก่อให้เกิดมะเร็งในผู้ชาย ผู้หญิง และเด็ก EDCs สามารถเข้าสู่สิ่งแวดล้อมโดยหลักๆ ผ่านทางของเสียจากอุตสาหกรรมและบ้านเรือน มนุษย์สัมผัสสารเหล่านี้ได้ด้วยการกินอาหาร ฝุ่น และน้ำ การสูดดมก๊าซและอนุภาคในอากาศ และการสัมผัสทางผิวหนัง การสัมผัสสารเคมีในภูมิภาค สูตรผสมของสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรม ขอบเขตและผลกระทบของการสัมผัสนี้ยังไม่ทราบ และสารเคมีเหล่านี้มีผลกระทบอย่างไรต่อคนและสิ่งแวดล้อมก็ยังไม่ทราบแน่ชัด

เครือข่ายแอนโรฟได้ดำเนินโครงการรณรงค์และการจัดตั้งอย่างเข้มแข็งในกลุ่มผู้ป่วยโรคที่เกิดจากแร่ใยหิน โรคฝุ่นหินจับปอด อิเล็กทรอนิกส์ และเหมืองแร่

P5080001

หลังจากมหันตภัยทางอุตสาหกรรมที่เลวร้ายที่สุดในบังคลาเทศ เหตุอาคารถล่มที่ทำให้มีคนงานเสียชีวิตกว่า 380 คนที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ผู้รอดชีวิตจากเหตุไฟไหม้โรงงานทาร์ซีนเมื่อปีที่แล้วในบังคลาเทศ คนงานที่ได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน นักเคลื่อนไหวทางสิทธิด้านความปลอดภัย และผู้นำขบวนการแรงงานไทย และได้ร่วมแถลงข่าวในวันที่ 10 พฤษภาคม 2556 เพื่อรำลึกวาระครบรอบ 20 ปีเหตุเพลิงไหม้โรงงานเคเดอร์ในประเทศไทยซึ่งคร่าชีวิตคนงาน 188 คนซึ่งส่วนมากเป็นคนงานหญิงอายุน้อย เพื่อสะท้อนเรื่องราวจากโศกนาฏกรรมเมื่อพ.ศ. 2536 และสถานการณ์อันย่ำแย่ของอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในภูมิภาคเอเชียในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ศูนย์ทรัพยากรเพื่อการติดตามแห่งเอเชีย (The Asia Monitor Resource Centre – AMRC) และเปิดตัวคู่มือด้านทรัพยากรทางกฎหมายฉบับใหม่สำหรับผู้ทำงานเพื่อเรียกร้องการชดเชยและความยุติธรรมให้กับคนงานที่ได้รับบาดเจ็บและป่วยจากการทำงาน

P5080025P5100102

รศ.ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า วันที่ 10 พฤษภาคม 2536 เป็นวันที่สำคัญหนึ่งในประวัติศาสตร์ของขบวนการแรงงาน เป็นวันครบรอบ 20 ปีของโศกนาฏกรรมเคเดอร์ ในวันนั้นได้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นในโรงงานผลิตตุ๊กตาของเด็กเล่น โครงสร้างของโรงงานเป็นเหล็กเปลือยที่ถูกนำมาประกอบเป็นอาคาร 4 ชั้น ได้พังทลายลงอย่างรวดเร็วหลังเกิดเหตุเพลิงไหม้จากชั้นล่าง ทำให้คนงานส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงเสียชีวิตทันที 188 คน บาดเจ็บกว่า 350 คนและพิการถาวรอีกจำนวนหนึ่ง นับได้ว่าเป็นโศกนาฏกรรมที่ร้ายแรงในประวัติศาสตร์ของการพัฒนาอุตสาหกรรม บริษัทเคเดอร์อินดัสเตรีลย์ (ประเทศไทย) ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากรัฐบาล เป็นการร่วมลงทุนระหว่างกลุ่มทุนในฮ่องกงกับกลุ่มทุนใหญ่ในประเทศไทย เพื่อเข้ามาใช้ไทยเป็นฐานการผลิต ใช้แรงงานราคาถูกเพื่อผลิตสินค้าตามใบสั่งซื้อสินค้าจากบรรษัทข้ามชาติในสหรัฐฯ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อช่วยเหลือคนงานเคเดอร์ได้ถูกจัดตั้งขึ้น 2 วันหลังเหตุการณ์เพลิงไหม้ ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างนักสหภาพแรงงาน องค์กรพัฒนาเอกชนและนักวิชาการเพื่อให้คนงานที่บาดเจ็บและครอบครัวของผู้ที่เสียชีวิตได้เข้าถึงการเยียวยา เข้าถึงสิทธิ เพื่อนำนายจ้างมารับผิดตามกฎหมาย และการชดเชยการสูญเสียชีวิตคนงานอย่างเป็นธรรม 20 ปีนับตั้งแต่โศกนาฏกรรมเคเดอร์ มีคำถามใหญ่ๆอยู่ว่า 1. เราได้เรียนรู้อะไรจากโศกนาฏกรรมเคเดอร์ ซึ่งเป็นความหายนะแห่งมนุษยชาติ ? 2. 20 ปีที่ผ่านมา ขบวนการแรงงานได้ประสบความสำเร็จอย่างไรบ้างใ นการต่อสู้ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และ 3. มีอะไรบ้างที่ยังไม่ได้ทำและจะต้องทำในอนาคตเพื่อไม่เกิดโศกนาฏกรรมฯ

P5080066P5080075

6 เดือนหลังเคเดอร์ เกิดไฟไหม้ที่โรงงานผลิตของเด็กเล่นในเขตเศรษฐกิจพิเศษของจีน ทำให้คนงานเสียชีวิต 62 คน (The Zhili Fire) โรงงานอบแห้งลำไยระเบิดที่สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ คนงานเสียชีวิต 36 คน ฯลฯ ในวันที่ 24 เมษายนที่ผ่านมา ในบังคลาเทศ ตึกที่เป็นที่สถานที่ตั้งของโรงงานทอผ้า 5 บริษัทได้พังถล่มลงมา ทำให้คนงานเสียชีวิตกว่า 900 คนท่ามกลางกองอิฐและฝุ่น เรากำลังเผชิญกับ “ความเสี่ยง” ที่นำมาสู่โศกนาฏกรรมของคนงาน เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นแบบซ้ำซากในสังคมปัจจุบัน มันเป็นความหายนะที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยมนุษย์ด้วยกันและไม่ใช่ธรรมชาติ จึงสามารถป้องกันได้แต่ทำไม จำไม่ป้องกัน และผู้ที่รับเคราะห์และผู้ถูกกระทบส่วนใหญ่คือ คนงาน ครอบครัวของเขาและชุมชนที่อาศัยอยู่รอบๆโรงงาน

เคเดอร์

2 วันหลังจากเหตุการณ์เพลิงไหม้โรงงานเคเดอร์  ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการช่วยเหลือคนงานเคเดอร์ ประกอบด้วยผู้นำแรงงาน องค์กรพัฒนาเอกชนและนักวิชาการ มีการผลักดันให้รัฐบาลจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือคนงานเคเดอร์ขึ้นในพื้นที่ และแต่งตั้งคณะกรรมการเจรจาสิทธิประโยชน์นอกเหนือกฎหมาย ขณะเดียวกัน ก็มีการรวมกลุ่มญาติคนงานที่เสียชีวิตเพื่อทำข้อเรียกร้องในการเจรจากับบริษัทฯ ในเวลาต่อมา ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการรณรงค์สุขภาพความปลอดภัยในการทำงาน ให้รัฐบาลประกาศวันที่ 10 พฤษภาคม  เป็นวันความปลอดภัยแห่งชาติ และให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยแห่งชาติ ฯลฯ แต่กรณีเคเดอร์ ไม่ได้นำมาสู่การจัดตั้ง “องค์กรของผู้ถูกกระทบ” (victim group) ดังเช่น กรณีของโรงงานไฟไหม้ที่ประเทศจีน (Zhili Fire) ที่คนงานหญิงที่พิการได้ลุกขึ้นมารวมกลุ่มตั้งเป็น “องค์กรผู้ถูกกระทบ” เรียกร้องความเป็นธรรมเพื่อให้มีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การแก้กฎหมายเงินทดแทน การฟื้นฟูและเยียวยา

P5080043Untitled-21-copy

ในปัจจุบัน แม้จะมีความพยายามในส่วนของภาคราชการเพื่อให้เกิดโครงสร้างของการทำงานในเชิงการป้องกัน เช่น ให้มี เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ (จป.) และ คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) ในโรงงาน แต่ก็ไม่ได้ให้อำนาจที่จะเข้าไปจัดการกับความไม่ปลอดภัยในโรงงานอย่างแท้จริง ในส่วนของคณะกรรมการความปลอดภัย ยังคงเปิดโอกาสให้นายจ้างเข้าไปมีบทบาทและอิทธิพลสูง

การจัดตั้งสถาบันความปลอดภัย ซึ่งจะเกิดขึ้นโดยมีการกำหนดไว้ในมาตรา 52 ของพ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งในร่างกฎหมายของสถาบันฯ ที่ถูกยกร่างภายใต้การดำเนินการของกระทรวงแรงงานยังคงถูกตั้งคำถามจากผู้ใช้แรงงานเรื่องของความเป็นอิสระในการทำงาน โดยเฉพาะคณะกรรมการบริหารสถาบันที่ไม่ได้มาจากระบวนการการสรรหา การไม่ให้อำนาจกับสถาบันในการเข้าไปในโรงงานเพื่อทำการศึกษา หาข้อมูลความไม่ปลอดภัยในการทำงาน โดยเฉพาะผ่านการรับเรื่องราวร้องทุกข์ และการจัดสรรงบประมาณโดยตรงจากรัฐบาล และกองทุนเงินทดแทนเพื่อให้สถาบันฯสามารถบรรลุภารกิจในการทำงานเชิงการป้องกัน แต่สถาบันความปลอดภัยฯ กลับถูกคาดหวังโดยรัฐบาลให้ทำงานวิจัยและวิชาการ

Untitled-13-copyUntitled-14

ในปัจจุบัน เราอยู่ในสังคมอุตสาหกรรมหรือทุนในยุคโลกาภิวัตน์  ในสังคมสมัยใหม่ การจัดองค์ความรู้ได้ถูกดึงออกไปจากบริบทและความสัมพันธ์ทางสังคมเพื่อไปอยู่ในมือของผู้เชี่ยวชาญ (experts) เพื่อสร้างระบบ มาตรฐาน และกฎเกณฑ์เพื่อให้ทุกคนปฏิบัติตาม ขณะที่ระบบเศรษฐกิจก็วางอยู่บนการแข่งขัน การลดต้นทุนเพื่อแสวงหากำไรสูงสุด ทำให้เกิดความเสี่ยงและโศกนาฏกรรมแห่งมนุษยชาติ (human disaster) ซึ่งมนุษย์เองเป็นผู้สร้าง สามารถป้องกัน หรือ หลีกเลี่ยงได้แต่ก็ไม่ได้ทำ ขบวนการแรงงานจะฝากความหวัง ความไว้เนื้อเชื่อใจกับระบบและ “ผู้เชี่ยวชาญ” หรือ รัฐที่ล้มเหลว (State failure) ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ หรือ ขบวนการแรงงาน และองค์กรผู้ป่วยและผู้ถูกกระทบ จะต้องลุกขึ้นมาจับมือกันและผลักดันให้เกิดมิติต่างๆของการมีส่วนร่วมในการจัดการเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน  รวมทั้งการสร้างความเข็มแข็งการทำงานร่วมกับองค์กรและเครือข่ายในระดับภูมิภาคเพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิตของทุกคน

P5100184P5080061

นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวถึงประเด็นด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในประเทศไทยว่า เหตุการณ์เพลิงไหม้โรงงานเคเดอร์เมื่อ 20 ปีที่แล้วที่คร่า 188 ชีวิต ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความตระหนักด้านมาตรฐานความปลอดภัยในสถานที่ทำงานในประเทศ แม้จะมีการดำเนินมาตรการด้านการป้องกันอัคคีภัยจนในปัจจุบันไม่พบเหตุเพลิงไหม้ในโรงงานบ่อยครั้งและรุนแรงมากเท่าในอดีตแล้ว แต่คนงานไทยยังต้องเผชิญปัญหาด้านชีวอนามัยอื่นอย่างเช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อมในการทำงานของโรงงานอุตสาหกรรม โรงงานจำนวนไม่น้อยยังไม่มีระบบการบำบัดของเสียที่ได้มาตรฐาน นอกจากกระทบโดยตรงต่อคนงานผู้ปฏิบัติงานแล้ว ยังก่อให้เกิดการรั่วไหลของมลพิษออกสู่สิ่งแวดล้อมอันส่งผลกระทบต่อชุมชนและสังคมโดยรอบ อีกปัญหาใหญ่ของคนงานไทยคือ การใช้แร่ใยหินเป็นวัตถุดิบในการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง ก่อให้เกิดผู้ป่วยโรคปอดที่เกิดจากการทำงานที่สัมผัสแร่ใยหินจำนวนมาก โดยไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่ามีสาเหตุมาจากสารนี้โดยตรง

P516054833

จากประเด็นด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยทั้งหมดที่กล่าวไปข้างต้น ขบวนการแรงงานไทยร่วมกับเครือข่ายผู้ป่วยได้ดำเนินการรณรงค์ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านั้น แม้จะประสบความสำเร็จในการผลักดันให้มีการออกพ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในการทำงานขึ้นเมื่อ 2 ปีที่แล้ว แต่การก่อตั้งคณะกรรมการระดับชาติด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยก็ยังอยู่ภายในการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยไม่มีความคืบหน้าเลยว่า จะสามารถนำมาบังคับใช้ได้จริงในอนาคตอันใกล้นี้หรือไม่

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน