คนงานไทรอัมพ์ บุกก.แรงงานทวงค่าชดเชย หลังปิดกิจการตั้งแต่มี.ค.64

สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ ลงทุนปีนเข้ากระทรวงแรงงาน หลังประตูล็อคโซ่ เพื่อเข้าพบรมว.แรงงาน แต่ไร้เงาผู้บริหารรับเรื่อง

วันที่ 20 กันยายน 2564 สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย ได้เดินทางไปกระทรวงแรงงานเพื่อขอพบนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อติดตามทวงถามเรื่อง ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาในวันทำงานค่าจ้างแทนการบอก กล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี โบนัสและเบี้ยขยัน โดยให้นายจ้างจ่ายเงินต่างๆ ที่ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 242,689,862.71 บาท (สองร้อยสี่สิบสองล้านหกแสนแปดหมื่นเก้าพันแปดร้อยหกสิบสองบาทเจ็ดสิบเอ็ดสตางค์) ให้คนงานจำนวน 1,388 คนตกงาน ตามที่ สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย ได้แถลงว่า

ตามที่บริษัท บริลเลียนท์ อัลไลแอนซ์ไทย โกลบอล จำกัด (BRILLIANT ALLIANCE THAI GLOBAL LTD.) เป็นบริษัทข้ามชาติมามีทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท บริษัท รับจ้างตดัเย็บเสื้อผ้าชุดชั้นในสตรียี่ห้อดัง เช่น วิคตอเรียซีเครท (Victoria Secret) ,ทอริด (Torid), LBI, ฯลฯ ตั้งอยู่ในซอย 7 นิคมอุตสาหกรรมบางพลี ต.บางเสาธง อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ ได้ประกาศปิดกิจการเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2564 ทำให้ลูกจ้างจำนวน 1,388 คนตกงานทันทีโดยไม่มีโอกาสทราบล่วงหน้าโดยไม่จ่ายเงิน ค่าชดเชย ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าวันหยุดพักผ่อนประจำปีและเงินอื่นๆที่ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับตามกฎหมาย เมื่อถูกนายจ้างปิดกิจการลูกจ้างได้ไปเขียนคำร้อง คร. 7 พนักงานตรวจแรงงานสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จังหวัดสมุทรปราการ ได้สอบสวนข้อเท็จจริงตลอดจนพยานหลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้องและออกคำสั่งที่ 119/2564 เรื่อง ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาในวันทำงานค่าจ้างแทนการบอก กล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี โบนัสและเบี้ยขยัน โดยให้นายจ้างจ่ายเงินต่างๆ ที่ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 242,689,862.71 บาท (สองร้อยสี่สิบสองล้านหกแสนแปดหมื่นเก้าพันแปดร้อยหกสิบสองบาทเจ็ดสิบเอ็ดสตางค์) พร้อมดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละสิบห้าบาทต่อปีจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น

ขณะนี้นายจ้างยังไม่ปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน สหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นตัวแทนของลูกจ้างได้เข้า พบและยื่นหนังสือต่อพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีนายสุชาติชมกลิ่น รัฐมนตรี กระทรวงแรงงาน (วันที่ 28 เมษายน 2564)ขอให้ดา เนินการช่วยเหลือลูกจ้างโดยมีข้อเรียกร้อง 4 ข้อ ดังนี้

1. ให้รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานนำเงินจำนวน 242,689,862.71 บาท (สองร้อยสี่สิบสองล้านหก แสนแปดหมื่นเก้าพันแปดร้อยหกสิบสองบาทเจ็ดสิบเอ็ดสตางค์) มาจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีโบนัสและเบี้ยขยันให้กับลูกจ้าง ให้ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน

2. ขอให้รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานติดตามนายจ้างมารับผิดชอบนำเงินจำนวนดังกล่าวมาคืน รัฐบาลเพราะเป็นเงินภาษของประชาชนทุกคน

3. ขอให้รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานดำเนินการตามกฎหมายอาญาอย่างเด็ดขาดเพื่อไม่ให้เป็น เยี่ยงอย่างให้นายจ้างรายอื่นดำเนินการ เช่นนี้ กับประชาชนคนไทยอีก

4. ขอให้รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานหามาตรการป้องกันไม่ให้นักลุงทนต่างชาติมาลุงทุนแล้วหอบ กระเป๋าหนีปล่อยลอยแพลูกจ้างเช่นนายจ้างรายนี้

นับจากวันที่ลูกจ้างถูกเลิกจ้างผ่านมา 6 เดือนกว่าลูกจ้างมีความเดือดร้อนอย่างมาก ซ้ำยังต้อง เผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 กลับมาระบาดอีกครั้ง เหตุการณ์การเลิกจ้างครั้งนี้ไม่ได้ส่งผลเฉพาะคนงาน 1,388 คนเท่านั้น คนในครอบครัวเขาเหล่านั้นก็ได้รับผลกระทบด้วยหลายพันคน ลูกจ้างทุกคนอยู่ในวัยทำงานมีภาระที่ต้องรับผิดชอบ เช่น ลูกเรียนหนังสือ ดูแลพ่อแม่ที่ชรา ผ่อนบ้านผ่อนรถ ค่าอาหารในแต่ละวันสินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆที่จำเป็นต้องใช้ต่อการดำรงชีพมีการปรับ ราคาสูงขึ้น หลายครอบครัวต้องกู้หนี้นอกระบบ ยอมที่จะจ่ายดอกเบี้ยรายวันที่สูงมากเพื่อให้มีชีวิตอยู่ให้ได้รายรับที่เคยได้จากการทำงานวันนี้ไม่มีเมื่อถูกเลิกจ้างกลับไม่ได้รับเงินค่าชดเชยทั้งๆที่เป็นสิทธิที่ ลูกจ้างควรได้รับตามกฎหมายทันทีที่ถูกเลิกจ้าง จะหางานใหม่ก็ไม่มีที่ไหนรับเนื่องจากลูกจ้างส่วนใหญ่ เป็นผู้หญิงและอายุมากแล้ว และในสถานการณ์ การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 เหมือนยิ่งซ้ำเติมลูกจ้างที่ตกงานเพราะลูกจ้างจำนวนมากยังไม่ได้ฉีดวัคซีน เงินเยียวยาที่รัฐบาลแจกก็ไม่ได้รับถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาลติดตามนายจ้างให้นำเงินให้กับลูกจ้าง ตามที่พนักงานตรวจแรงงานสำนักงาน สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรปราการออกคำสั่งให้นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างแต่อย่างใด

นายเซีย จำปาทอง ประธานสหพันธ์แรงงานสิ่งทอการตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทย ได้ลำดับเหตุการณ์ การเรียกร้องของสหภาพแรงงานว่า ตั้งแต่เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2564 สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย ได้ยื่นหนังสือทวงถามความคืบหน้า ต่อนายสุชาติชมกลิ่น รัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน ถึงความคืบหน้าข้อ เรียกร้องที่เคยยื่น วันดังกล่าวมีเลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน ที่ปรึกษารัฐมนตรี อธิบดีกรม สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง มารับหนังสือแทนและชี้แจงให้ลูกจ้างทราบ และรับจะนำเสนอต่อรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานเพื่อพิจารณาและหาแนวทางการช่วยเหลือลูกจ้างต่อไป

วันที่ 20 สิงหาคม 2564 ผู้แทนสหภาพแรงงานได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่กระทรวงว่า อธิบดีกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงานได้ส่งหนังสือถึงอธิบดีกรมบัญชีกลางให้พิจารณานำเงินมาจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง ขณะนี้เวลาผ่านมาหลายวันแล้ว สหภาพแรงงานจึงมาทวงถามความคืบหน้าข้อเรียกร้องที่ยื่นต่อ รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานว่าได้ดำเนินการหรือไม่อย่างไรและขั้นตอนขณะนี้ถึงไหนแล้ว และขอให้รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานช่วยดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อให้ลูกจ้างได้รับเงินค่าชดเชย ค่าจ้างแทนการ บอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีโบนัสและเบี้ยขยัน เพื่อจะได้บรรเทาความเดือดร้อนของลูกจ้างต่อไป

วันนี้  18  สิงหาคม  2564  สหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย  เดินทางมายื่นหนังสือต่อนายสุชาติ  ชมกลิ่น  รัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน  เพื่อติดตามข้อเรียกร้องที่เคยได้ยื่นเพื่อให้ช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกนายจ้างปิดกิจการเลิกจ้างไม่จ่ายเงินค่าชดเชยและเงินอื่นๆที่ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับตามกฎหมาย  แต่รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานไม่มารับหนังสือ  ไม่มาชี้แจงความคืบหน้า  มีเพียงนายสุเทพ  ชิตยวงษ์  เลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน  ดร.จำลอง  ช่วยรอด  ที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน  และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง  รับหนังสือและชี้แจงให้ลูกจ้างทราบ  ความคืบหน้าการดำเนินการต่างๆไม่มีความคืบหน้า และรับปากว่าจะเร่งแก้ปัญหาให้ลูกจ้าง

วันที่  20  สิงหาคม  2564  อธิบดีกรมสวัสดิการส่งหนังสือถึงอธิบดีกรมบัญชีกลาง  เพื่อให้พิจารณานำนำเงินจำนวน  242,689,862.71  บาท(สองร้อยสี่สิบสองล้านหกแสนแปดหมื่นเก้าพันแปดร้อยหกสิบสองบาทเจ็ดสิบเอ็ดสตางค์) มาจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า  ค่าชดเชย  ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี  โบนัสและเบี้ยขยันให้กับลูกจ้าง  ให้ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน

 วันที่  8  กันยายน  2564  กรรมาธิการการแรงงานเชิญผู้แทนสหภาพแรงงาน  ผู้แทนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ผู้แทนกรมบัญชีกลาง  ผู้แทนสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ร่วมประชุม  ผู้แทน

กรมบัญชีกลาง แจ้งว่ากรมบัญชีกลางไม่อำนาจในการพิจารณาเรื่องนี้  ขอให้ทำหนังสือถึงสำนักงบประมาณ  ผู้แทนจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรับปากจะนำเสนอรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานและผู้บริหารระดับสูงของกระทรวง(ตลอดระยะเวลาตั้งแต่วันที่  20  กันยายน  2564 นอกจากการส่งหนังสือแล้วไม่ได้ประสานด้วยวิธีอื่นจึงไม่ทราบว่าทำหนังสือไปหาหน่วยงานที่ไม่มีอำนาจพิจารณา)

ซึ่งในวันนี้  วันที่ 20  กันยายน  2564  ผู้แทนกรมสวัสดิการชี้แจงว่า ได้ส่งหนังสือถึงสำนักงบประมาณแล้ว  แต่เมื่อสอบถามขอสำเนาให้สหภาพแรงงานเพื่อนำไปให้ลูกจ้างที่มาร่วมติดตามกลับไม่สามารถนำมาให้ผู้แทนลูกจ้างดูได้ (สรุปว่ายังไม่ได้ดำเนินการหากมีการดำเนินการแล้วจะส่งสำเนาให้สหภาพแรงงานเหมือนดังเช่นเอกสารที่ส่งวันที่  20  กันยายน  64)

สุดท้ายเลขานุการรัฐมนตรีก็รับปากว่าจะดำเนินแก้ปัญหาให้ลูกจ้างโดยเร็วที่สุด  (รวมถึงหนังสือถึงสำนักงบประมาณ) 

ปัญหานายจ้างต่างชาติปิดกิจการเลิกจ้างสร้างความเดือดร้อนให้ลูกจ้างมา  6  เดือนกว่าที่ว่าโหดร้ายแล้ว สิ่งที่รัฐบาลนายสุชาติ  ชมกลิ่น  รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานที่ไม่มารับหนังสือและปล่อยให้เจ้าหน้าที่เอาโซ่มาล็อกประตูไม่ให้ลูกจ้างเข้าไปในกระทรวงเพื่อเข้าห้องน้ำเหมือนยิ่งซ้ำเติมลูกจ้างที่เดือดร้อนและโหดร้ายพอๆกัน  ลูกจ้างเกินครึ่งหนึ่งต้องปีนข้ามประตูเพื่อเข้าไปในกระทรวงเพื่อเข้าห้องน้ำ  และเมื่อมีฝนตกอย่างหนักจนลูกจ้างหลายคนเปียกเจ้าหน้าที่ถึงได้เปิดประตูให้ลูกจ้างเข้าไปในกระทรวงแรงงาน

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน