นายจ้างบีบคนงานจี.เจ. สตีลเซ็นต์ยอมรับการเลิกจ้าง

Untitled-2

กวาดเรียบเลิกจ้างแกนลูกจ้าง  หลังทำข้อตกลงสภาพการจ้างใหม่ และรับกลับเข้าทำงานเพียง 2 เดือน เหตุถูกนายจ้างปิดงาน

เมื่อเวลาประมาณ 18.00 น. ของวันที่ 26 เม.ย. 56 คนงาน จากบริษัทจี.เจ สตีลกว่า 40 คน ได้เดินทางมารวมตัวกันที่สำนักงานกลุ่มแรงงานบ่อวินสัมพันธ์ เพื่อมาขอคำปรึกษาในกรณีที่ถูกเลิกจ้างหลังเพิ่งทำข้อตกลงกับทางบริษัทเมื่อวันที่17 ธ.ค. 55สำหรับบริษัทจี.เจ สติล จำกัด (มหาชน) ตั้งอยู่หมู่ 7 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมเหมราช จ.ชลบุรีประเภทกิจการผลิตเหล็กแผ่น มีคนงานประมาณ 600 คน ทำงาน 3 กะ ทำงาน 6 วัน หยุดงาน 2 วันส่วนใหญ่เป็นพนักงานรายเดือนทั้งหมดเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานจี.เจสตีล 304 คน สหภาพฯตั้งมาได้ 3 ปี

Untitled-1Untitled-6

ทางสหภาพฯได้ยื่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างใหม่เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 55  ต่อมาทางบริษัทได้ยื่นข้อเรียกร้องสวนมา เจรจากันไม่ได้กลายเป็นข้อพิพาทที่ตกลงกันไม่ได้ทางบริษัทจึงใช้สิทธิปิดงานเมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 55 ระหว่างนี้ได้มีการเจรจาจนถึงวันที่ 17 ม.ค.56 ทั้งสองฝ่ายได้ทำข้อตกลงกัน 3 ข้อ คือ 1.เงินเดือนและโบนัสขึ้นอยู่กับผลประกอบการและดุลพินิจของบริษัท 2.บริษัทสามารถใช้สิทธิในการเลิกจ้างพนักงานได้ตามกฎหมาย 3.ข้อตกลงนี้มีผล 2 ปี 3เดือน 18ม.ค.56คนงานกลับเข้าทำงานปกติจนถึงวันที่ 11 เม.ย.56ทางบริษัทได้เรียกพนักงานแกนนำและกรรมการสหภาพฯจำนวน 30 คนเข้าพบและได้ยื่นข้อเสนอ 2 ข้อคือ1.หากยอมเซ็นต์หนังสือยอมรับการเลิกจ้าง บริษัทจะจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายพร้อมบวกให้ปีละ 5 วันตามอายุงาน 2.หากไม่รับข้อเสนอนี้บริษัทจะไม่ให้อะไรนอกจากค่าชดเชยตามกฎหมาย  โดยให้เวลาตัดสินใจเพียง 1ช.ม.เท่านั้นจึงทำให้มีหลายคนยอมรับในข้อเสนอแรกด้วยความจำยอมมีเพียง 8 คนเท่านั้นที่ไม่ยอมรับข้อเสนอ

Untitled-5Untitled-7

นายประยงค์ ร้อยแก้ว หนึ่งในแปดคนที่ไม่ยอมรับข้อเสนอได้กล่าวว่า “ผมขอไปสู้ในชั้นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์(ครส.)เพราะถือว่า เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมสหภาพแรงงานต้องอยู่ถึงผมไม่อยู่ก็ต้องหาคนมาแทนจะสู้ให้ถึงที่สุด” ด้านนายเสมา สืบตระกูลที่ปรึกษากลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออกได้ให้ความเห็นว่า “การกระทำของนายจ้างที่อ้างว่าขาดทุนมาเป็นสาเหตุในการเลิกจ้างเราก็ต้องพิสูจน์ในประเด็นนี้พอมีหนทางอยู่บ้างแต่ต้องใช้เวลาหน่อยในชั้นนี้ก็ไม่เกิน 90 วันซึ่งต้องมีการอุทรณ์แน่นอนในชั้นศาลจะใช้เวลาค่อนข้างนาน ส่วนวิธีการนั้นมีแต่ยังไม่ขอเปิดเผย”

มงคล  ยางงาม นักสื่อสารแรงงาน ศูนย์สื่อสารแรงงานกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก รายงาน