ขบวนแรงงานเข้าแถว เสนอนโยบายปฏิรูปด้านแรงงาน

Untitled-6

สภาองค์การสภาพัฒนาแรงงาน คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เดินหน้าเรียงแถวเสนอนโยบายด้านแรงงาน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน เสนอแก้พ.ร.บ.ประกันสังคม แรงงานสัมพันธ์ รับรองอนุสัญญาILO ฉบับที่ 87 และ98 ปรับขึ้นค่าจ้าง การคุ้มครองสิทธิแรงงาน หยุดการละเมิดสิทธิ และเรื่องความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม

นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2557 ได้ส่งหนังสือเพื่อนำเสนอนโยบายด้านแรงงานถึง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา) ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ แถลงการณ์พิเศษผ่านสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ในหัวข้อ “คืนความสุขให้คนในชาติ” โดยได้กำหนด Road map ในการแก้ไขปัญหาของประเทศ 3 ขั้นตอน สภาฯ เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าว เพราะว่าประเทศไทยบอบช้ำมานานตั้งแต่เกิดความขัดแย้งด้านความคิดทางการเมือง ผลกระทบต่อการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ ประชาชนได้รับความทุกข์ยากลำบาก สินค้าก็แพง ค่าแรงก็ไม่มีการปรับ การจ้างงานก็ไม่มั่นคง ความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สินก็ไม่มี สมควรอย่างยิ่งต้องมีการปฏิรูปทุกๆด้านในสังคมไทย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชนในส่วนภาคของแรงงาน จึงขอเสนอนโยบายด้วยกัน 5 ประเด็น ดังนี้

Untitled-7Untitled-8

ประเด็นที่ 1 การประกันสังคม ปัญหาปัจจุบันระบบการประกันสังคม ยังไม่คลอบคุมทั่วถึงพี่น้องประชาชนทุกคน เช่น ผู้ประกันตนที่ทำงานกับนายจ้างมีประมาณ 12 ล้านคน ผู้ประกันตนที่ออกจากงานแล้วมีประมาณ 1.3 ล้านคน และประชาชนทั่วไปที่อายุตั้งแต่ 15 – 60 ปี มีประมาณ 1.7 ล้านคน ดังนั้น คนที่มีระบบประกันสังคม รวมแล้วประมาณ 15 ล้านคน มีสิทธิประโยชน์ค่ารักษาพยาบาลก็แตกต่างกัน การเข้าถึงสิทธิของผู้ประกันตนต้องมีเงื่อนไข การเข้าโรงพยาบาลจะต้องเป็นโรงพยาบาลผู้ประกันตนเลือก จึงจะสามารถเข้ารับการรักษาได้ ถ้าไม่ใช่โรงพยาบาลที่เลือกต้องจ่ายเงินเอง เงินกองทุนประกันสังคมปัจจุบันมีจำนวน 1.1 ล้านล้านบาท การบริหารจัดการกองทุนขาดความเป็นอิสระ

แนวทางที่ใช้ในการแก้ปัญหา

1. รัฐต้องปรับปรุงกฎหมายประกันสังคมขยายสิทธิให้คลอบคุมของประชาชนในทุกภาคส่วน

2. ให้จัดตั้งโรงพยาบาลประกันสังคมทุกเขตพื้นที่อุตสาหกรรม

3. ปฏิรูปสำนักงานประกันสังคมให้เป็นองค์กรอิสระและให้มีตัวแทนฝ่ายลูกจ้างมาจากการเลือกตั้งโดยตรงเป็นตัวแทนในระบบไตรภาคี

ประเด็นที่ 2 การพัฒนาระบบโครงสร้างค่าจ้างในภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทย

โดย ระบบการจ่ายค่าจ้างในประเทศไทย มี 3 ระบบ คือ 1 จ่ายแบบอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 2 .จ่ายตามมาตรฐานฝีมือแรงงานที่รัฐกำหนด 3.จ่ายตามภาวะกลไกตลาด ปัญหา ในปัจจุบันนโยบายรัฐบาล บังคับการจ่ายค่าจ้างแบบขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศในภาคการจ้างงานภาคอุตสาหกรรม ทำให้ค่าจ้างสูงแบบก้าวกระโดด ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง ทำให้ผู้ประกอบการปรับตัวไม่ทัน ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น มีผลทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น ปริมาณคำสั่งซื้อหรือผลิตได้เท่าเดิมหรือน้อยกว่า คนงานอาจถูกเลิกจ้าง มีคนว่างงานมากขึ้น ผู้ประกอบการรายย่อยที่มีทุนน้อยไม่สามารถจ้างงานได้อาจต้องปิดกิจการ ต้นทุนแรงงานไม่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ ลูกจ้างมีความรู้น้อยขาดการ ฝึกทักษะพัฒนาฝีมือ ปัญหาการจ่ายค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน ในปัจจุบันรัฐบาลกำหนดสาขาวิชาชีพที่รัฐประกันอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ ไว้ 22 สาขา ซึ่งยังไม่ครอบคลุมทั่วถึงทุกสาขาอาชีพ และรัฐไม่มีกฎหมายบังคับผู้ประกอบกิจการต้องจ้างงานและจ่ายค่าจ้างให้ได้ตามมาตรฐานฝีมือที่กำหนดได้ ในส่วนการจ่ายค่าจ้างตามภาวะกลไกตลาด ทำให้เกิดการจ้างแรงงานตามภาวะของตลาดแรงงานที่แท้จริง แต่หากรัฐไม่เข้าไปควบคุมกลไกคนงานงานระดับล่างที่ขาดการพัฒนา ทักษะฝีมือ จะถูกการจ้างงานที่เอารัดเอาเปรียบไม่เป็นธรรมได้

แนวทางเสนอ

1. รัฐควรขยายอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานตามสาขาวิชาชีพให้มากขึ้น

2. รัฐควรมีนโยบายส่งเสริมการจ้างแรงงาน ให้อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานตามสาขาวิชาชีพ เช่น ให้สิทธิประโยชน์ทางการชำระภาษี เพื่อลดต้นทุนการผลิต

3. รัฐออกกฎหมายให้ผู้ประกอบกิจการจ้างงานและจ่ายค่าจ้างได้ตามมาตรฐานฝีมือ

4. รัฐต้องส่งเสริมให้ลูกจ้างพัฒนาทักษะฝีมือ ภาษา เทคโนโลยี และสนับสนุนให้ผู้ประกอบการส่งลูกจ้างของตนเองให้พัฒนาความรู้ความสามารถด้านทักษะฝีมือ/ ภาษา/ เทคโนโลยี/ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายยังเป็นการรองรับเข้าการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

5. จัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูปและศึกษากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำแบบใหม่ โดยแยกจากคณะกรรมการค่าจ้างที่เป็นแบบระบบไตรภาคีแบบเดิม

ประเด็นที่ 3 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

ประเด็นปัญหา สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยของผู้ใช้แรงงานที่ต้องทำงานอยู่กับเครื่องจักรกล ต่างๆ นายจ้างไม่จัดอุปกรณ์ป้องกันและอุปกรณ์เสริมให้กับผู้ใช้แรงงานจึงทำเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากการทำงาน จนได้รับอันตรายสูญเสียอวัยวะ หรือถึงขั้นเสียชีวิต อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เป็นส่วนหนึ่งถ้าสถานประกอบกิจการไม่จัดให้มีหรือจัดให้เพียงพอ กับการใช้งาน หรือไม่เหมาะสมกับงาน ทำให้ผู้ใช้แรงงานเกิดอันตรายหรือเป็นโรคเนื่องจากการทำงาน ภายหลังจากออกจากสถานประกอบกิจการแล้ว ในช่วงเวลาที่ผู้ใช้แรงงงานเข้าไปรับรักษาจากสถานพยาบาลต่างๆ แพทย์ก็ไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าเกิดจากโรคเนื่องจากการทำงานหรือไม่ ประกอบกับแพทย์ที่จะวินิจฉัยได้ต้องเป็นแพทย์อาชีวอนามัย ซึ่งมีจำนวนไม่เพียงพอไม่สามารถรองรับกับจำนวนผู้ใช้แรงงานที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น

การแก้ปัญหา

1. รัฐให้มีการบังคับใช้กฎหมายความปลอดภัยฯที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด

2. รัฐ ให้มีการแก้ไขกฎหมายความปลอดภัยฯที่ล้าสมัย และ กำหนดบทลงโทษการฝ่าฝืนกฎหมายความปลอดภัยฯ ให้มี โทษจำ ปรับ หรือทั้งจำและปรับสูงขึ้น

3. ให้จัดตั้งศูนย์โรคที่เกิดจากการทำงานขึ้นในแต่ละจังหวัด

4. ให้จัดตั้งองค์กรอิสระด้านความปลอดภัยขึ้นมาเพื่อขับเคลื่อนศึกษา/วิจัยด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยเฉพาะประเด็น ที่ 4 ด้านแรงงานข้ามชาติ

ประเด็นที่ 4 ปัญหา แรงงานข้ามชาติไม่ว่าสัญชาติลาว กัมพูชา พม่า หรืออื่นๆ ที่เข้ามาทำงานภายในประเทศปัจจุบันเข้ามามีทั้งถูกกฎหมายและลักลอบเข้าเมือง ผู้ประกอบการหลายรายอาศัยช่องว่างตัวบทกฎหมายที่สามารถจ้างงานแบบเหมาค่าแรง ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาในการจ้างงานที่แตกต่างกันของลูกจ้างแรงงานข้ามชาติ ทำให้เกิดความเลื่อมล้ำ กับลูกจ้างคนไทย /และมีปัญหาอาชญากรรม จำนวนมากมายและไม่สามารถควบคุมแรงงานข้ามชาติจำพวกนี้ได้

การแก้ปัญหา

1. ต้องจัดให้ผู้ประกอบการมีการลงทะเบียนของแรงงานด้าวทุกคนทุกสัญชาติที่เข้ามาทำงานให้ถูกต้องตามกฎหมายในสถานประกอบการและแจ้งให้เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ

2. ให้แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาเข้าต้องสู่ระบบของประกันสังคมทุกคน

3. รัฐกำกับดูแลควรมีการจัดแบ่งโซนนิ่งให้กับแรงงานต่างด้าว เพื่อสะดวกต่อการควบคุมดูแล และปัญหาที่อาจเกิดระหว่างแรงงานต่างด้าวในการส่งกลับประเทศ

4. ส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการจ้างงานแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตถูกต้อง

ประเด็นที่ 5 ปัญหาการได้มาของผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในระบบไตรภาคี ของกระทรวงแรงงาน ปัจจุบันคณะกรรมการไตรภาคีมาจากผู้แทนฝ่าย รัฐบาล ฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้าง ในส่วนของฝ่ายลูกจ้างปัจจุบันนี้มาจากสหภาพแรงงานเป็นผู้เลือกหนึ่งสหภาพฯได้หนึ่งเสียง ขณะนี้มีสหภาพแรงงาน 1,400 สหภาพฯ ทั่วประเทศรวมสหภาพฯรัฐวิสาหกิจด้วย และประเทศไทยมีสถานประกอบการ 500,000 แห่ง จำนวนลูกจ้างเข้าระบบประกันสังคม ประมาณ 15 ล้านคน พอถึงวาระการเลือกตั้งมีการแข่งขันกันเฉพาะผู้แทนสหภาพแรงงานที่มาใช้สิทธิประมาณ ร้อยละ 40 ของจำนวนสหภาพฯทั้งหมด ทำให้ไม่ได้ตัวแทนมาจากการเลือกตั้งลูกจ้างโดยตรง
แนวทางการแก้ไข รัฐต้องแก้ไขกฎหมาย/ระเบียบการเลือกตั้งการได้มาของผู้แทนทั้งสามฝ่ายของระบบไตรภาคีใหม่โดยให้ผู้ที่มีส่วนได้เสียหนึ่งคนหนึ่งเสียงไม่ใช่ หนึ่งสหภาพฯ หนึ่งเสียง

Untitled-1

คณะกรรมการสมานฉันท์ยื่นให้ คสช. “พิจารณาออกกฎหมายเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของแรงงาน” 

วันที่ 17 มิถุนายน 2557 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)ได้ยื่นหนังสือ 2 ฉบับถึง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เรื่อง “ขอให้พิจารณาออกกฎหมายเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของแรงงาน”

นายชาลี ลอยสูง ประธานคสรท. กล่าวว่า การยื่นหนังสือครั้งนี้นั้นต้องการให้ทางคสช.มีการปฏิรูปด้านแรงงานด้วยนโยบายด้านแรงงานดังนี้ เรื่องพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับที่ล่าลายมือชื่อ 14.264 รายชื่อ ซึ่งต้องการแก้ไขโครงสร้างการบริหารให้เป็นองค์กรอิสระ มีส่วนร่วม ตรวจสอบได้ และเพิ่มสิทธิประโยชน์ทดแทนให้ครอบคลุมเป็นต้น แต่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรกลับลง มติ ไม่รับหลักการร่างกฎหมายดังกล่าว และได้รับหลักการเฉพาะร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรี กับร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับที่เสนอโดยนายเรวัติ อารีรอบและคณะ เพียงเท่านั้น ทั้งนี้คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่..) พ.ศ. …. สภาผู้แทนราษฎร ได้พิจารณาร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวเสร็จสิ้นมาตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2556 แต่ยังมีหลายประเด็นสำคัญที่ไม่สอดคล้องกับร่างกฎหมายที่เสนอโดยผู้ใช้แรงงาน โดยเฉพาะองค์ประกอบและที่มาของคณะกรรมการประกันสังคม ที่ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานมาเป็นประธานกองทุน ถือว่าเป็นการให้ฝ่ายการเมืองเข้ามามีอำนาจบริหารจัดการในกองทุนประกันสังคมแบบเบ็ดเสร็จ ส านักงานประกันสังคมยังไม่อิสระ อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน จึงขาดการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงจากฝ่ายผู้ประกันตนในการดำเนินงานและการตรวจสอบ ขาดความ โปร่งใสด้านข้อมูล รวมถึงไม่มีการกำหนดเรื่องคณะกรรมการการลงทุน เพื่อเข้ามาท าหน้าที่แบบมืออาชีพในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุน และคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบการท างานของสำนักงานและการดำเนินงานต่างๆให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล เป็นต้น

ประเด็นปัญหาแรงงานที่กระทบด้านแรงงานสัมพันธ์ ด้วยพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ที่ใช้ปัจจุบันนั้นไม่สอดคล้องต่อสถานการณ์การจ้างงานที่เปลี่ยนไป ขบวนการแรงงานได้มีการร่างร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. …. ฉบับที่นายชาลี ลอยสูง กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 12,567 คน เป็นผู้เสนอ และยื่นต่อรัฐบาลชุดที่แล้ว พบว่า ภายหลังจากที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้วินิจฉัยว่าร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นร่างพ.ร.บ.เกี่ยวด้วยการเงินตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 143 (2) ส านักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฏรจึงได้ส่งร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวไปให้นายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณารับรอง และนายกรัฐมนตรียังไม่มีการพิจารณารับรองแต่อย่างใด นอกจากนั้นแล้วต่อกรณีเรื่องการรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และฉบับที่ 98 พบว่า อดีตรัฐบาล นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยพลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรี ได้ทำข้อตกลงกับคณะทำงานผลักดันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ซึ่งนำโดยคณะกรรมกา รสมานฉันท์แรงงานไทย และองค์กรแรงงานต่างๆเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2556 เรื่องการนำอนุสัญญาทั้งสองฉบับเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีภายในเดือนตุลาคม 2556 และจะตั้งคณะทำงานฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายผู้ใช้แรงงานเพื่อกำหนดกรอบระยะเวลารวมทั้งกระบวนการที่รัฐบาลจะดำเนินการให้ สัตยาบันให้ชัดเจน โดยให้แล้วเสร็จภายใน1 พฤษภาคม 2557 นั้น แต่ภายหลังจากการเข้าติดตามและพบผู้เกี่ยวข้องฝ่ายต่างๆ กลับได้รับแจ้งว่าทางคณะรัฐมนตรีมีข้อเสนอแนะเรื่องการให้แก้ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ให้เรียบร้อยก่อนจึงจะนำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีต่อไป จนนำมาสู่การยุบสภาและไม่มีการดำเนินการต่อใดๆทั้งสิ้น เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน คสรท.ในฐานะตัวแทนผู้ใช้แรงงานจึงขอให้พิจารณาสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการเร่งรัดพิจารณาข้อเสนอโดยเร็ว ซึ่งได้มีเอกสารประกอบด้วย 1. ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่..) พ.ศ. ….ฉบับที่นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย กับประชาชน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 14,264 คน เป็นผู้เสนอ 2. ร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. …. ฉบับที่นายชาลี ลอยสูง กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 12,567 คน เป็นผู้เสนอ 3. หนังสือที่ คสรท.221/2556 เรื่องให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และฉบับที่ 98 ประกอบเป็นข้อมูลด้วย

Untitled-3

ในวันเดียวกันคสรท.ได้ยื่นหนังสือ “ให้คสช.พิจารณาแก้ไขปัญหาแรงงาน” ที่รณรงค์ในวันกรรมกรสากลที่ผ่านมาจำนวน 9 ข้อ

นายชาลี กล่าวอีกว่า สภาพปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าผู้ใช้แรงงานได้มีการรณรงค์และขับเคลื่อนเพื่อให้ประเด็นปัญหาด้านแรงงานได้รับการพิจารณาจากแก้ไขจากรัฐบาล โดยเฉพาะในสมัยอดีตนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่พบว่ารัฐบาลชุดดังกล่าวขาดความตระหนักและไม่ให้ความสนใจต่อการแก้ไขปัญหาด้านแรงงานอย่างจริงจัง จึงท้าให้ไม่สามารถลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมทางสังคมได้ ทั้งที่ผู้ใช้แรงงานคือประชากรกลุ่มใหญ่ของประเทศไทย เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิรูปประเทศ และให้ปัญหาด้านแรงงานได้รับการพิจารณาอย่างจริงจัง จึงมีข้อเสนอต่อท่าน ดังนี้

1. ขอให้ยุตินโยบายและกฎหมายที่ละเมิดสิทธิแรงงาน พบว่า ขณะนี้มีแรงงานในสถานประกอบการภาคเอกชนเป็นจ้านวนมากที่ถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม โดยขาดการตรวจสอบถึงสถานการณ์ปัญหาที่เป็นจริง ได้แก่ สหภาพแรงงานเพื่อนแรงงานไทย สหภาพแรงงานมิชลินประเทศไทย สหภาพแรงงานอัลฟ่าไทยสัมพันธ์ สหภาพแรงงานสแตนเล่ย์ประเทศไทย เป็นต้น

2. ขอให้มีการปรับค่าจ้างทุกปี โดยคำนึงถึงค่าครองชีพ ทักษะฝีมือ และลักษณะงาน เพื่อให้แรงงานมีรายได้เพียงพอเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัว ทั้งนี้ขอให้ทบทวนยกเลิกมติคณะกรรมการค่าจ้างที่มีมติไม่ปรับค่าจ้างปี พ.ศ.2557 และ พ.ศ. 2558

3. ขอให้มีการแก้ไขกฎหมายเลือกตั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานที่ท้า งานในเขตพื้นที่สถานประกอบการใดๆ สามารถเลือกผู้แทนที่ลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตที่ตั้งของสถานประกอบการดังกล่าวได้

4. ขอให้เร่งรัดการพัฒนากลไกการบังคับใช้ พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการท้างาน พ.ศ.2554 ภายใต้การมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน

5. ขอให้มีการจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงจากการลงทุน โดยให้นายจ้างและรัฐบาลสมทบเงินเข้ากองทุน เพื่อเป็นหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิแรงงาน เมื่อมีการเลิกจ้างหรือเลิกกิจการไม่ว่ากรณีใดก็ตาม ผู้ใช้แรงงานควรมีสิทธิได้รับเงินชดเชยจากกองทุน รวมทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างได้

6. ขอให้สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กหรือศูนย์พัฒนาเด็กให้แก่ผู้ใช้แรงงาน ในเขตพื้นที่อุตสาหกรรมหรือสถานที่ท้างาน

7. ขอให้เร่งรัดแก้ไข พ .ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ .ศ.2518 แก้ไขฉบับที่ 5 พ.ศ.2550 มาตรา 9 (5) เนื่องจากเป็นการเลือกปฏิบัติและขัดต่อรัฐธรรมนูญ

8. ขอให้ยกเว้นภาษีกรณีเงินก้อนสุดท้ายของคนงานผู้เกษียณอายุ

9. ต้องเร่งสร้างมาตรการและดำเนินการตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2554 โดยการงดนำเข้า และยกเลิกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบแร่ใยหิน ไคลโซไทล์ทันที

Untitled-5 Untitled-4

วันที่ 24 มิถุนายน2557 คสรท.ยื่นหนังสือต่อปลัดกระทรวงแรงงาน ที่กระทรวงฯ กรณีตัวแทนแรงงานที่เข้าร่วมประชุมกับ ILO ที่นครเจนีวา วันที่ 12 มิ.ย.โหวตไม่รับรองอนุสัญญาต่อต้านการใช้แรงงานบังคับปี 1930 ซึ่งผ่านโหวตด้วยเสียงสนับสนุน 437 เสียง งดออกเสียง 27 เสียง และคัดค้าน 8 เสียง ในจำนวนดังกล่าว 4 เสียงที่คัดค้านมาจากประเทศไทย 2 เสียงมาจากองค์กรนายจ้าง และอีก2 เสียงมาจากตัวแทนแรงงานของไทย อนุสัญญาดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายให้ประเทศที่ร่วมลงนามจะต้องยุติการใช้แรงงานทาส ให้เหยื่อเข้าถึงสิทธิในการชดเชย และลงโทษผู้กระทำผิด โดยจะมีข้อผูกพันตามกฎหมาย การยื่นหนังสือครั้งเพื่อให้กระทรวงฯทำการชี้แจงเหตุผลว่าทำไมถึงไม่รับรองอนุสัญญาฉบับดังกล่าว

Untitled-2

ต่อมาวันที่ 26 มิถุนายน 2557 คสรท.ยื่นหนังสือต่อคสช.อีกครั้ง ให้แก้ปัญหาแรงงานกรณีนายจ้างทำข้อตกลงสภาพการจ้างแล้วแต่ไม่รับกลับเข้าทำงานประกอบด้วยกรณีลูกจ้างบริษัทสยามมิชลินประเทศไทย ที่นายจ้างเรียกให้รายงานตัวแต่ยังไม่ให้กลับเข้าทำงานอีกจำนวนมาก ประเด็นต่อมากรณีลูกจ้างบริษัททีเอ ออโตโมทีฟ พาร์ท ที่ให้ลูกจ้างรายงานตัวทุกวันเหมือนว่าทำงานแต่ไม่ให้ทำงานให้อยู่บริเวณเต็นท์หน้าบริษัทพร้อมกล้องวงจรปิดคอยสอดส่องลูกจ้างเท่านั้น และยังมีกรณีลูกจ้างบริษัทสแตนเล่ย์ เวิร์คส์ จำกัด ที่ปิดงานลูกจ้างยาววันนี้ไม่มีการเจรจาหรือทีท่ารับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน การที่บริษัทเอ็นทีเอ็นเมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศเลิกจ้างกรรมการสหภาพแรงงานหลังมีการทำข้อตกลงกับสหภาพแรงงาน ซึ่งคสรท.เห็นว่าเป็นการละเมิดสิทธิแรงงาน คุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เหมือนกักขัง ทำร้ายจิตใจลูกจ้าง บางส่วนหลังกลับเข้าทำงานถูกข่มขู่ให้หวาดกลัวด้วย ทั้งนี้กระทรวงแรงงานยังไม่ได้มีท่าทีต่อประเด็นดังกล่าวแต่อย่างใด

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน