ขบวนแรงงาน ฉลองวันกรรมกรสากล ทวงรัฐแก้ปัญหา 10 ข้อ

2 ขบวนแรงงาน คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย – สภาองค์การลูกจ้าง  เรียกร้องรัฐ รับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 พร้อมต้านแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ปฏิรูปสำนักงานประกันสังคม และแก้ไขกฏหมายคุ้มครองแรงงาน

วันที่ 1พฤษภาคม 2561 คณะจัดงานวันกรรมกรสากล 2561 ประกอบด้วยคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) สมานพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) ได้เดินขบวนรณรงค์ พร้อมทั้งเฉลิมฉลอง วันกรรมกรสากล หรือMAYDAY โดยกิจกรรมเริ่มเปิดที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และเดินร่วมกันไปยังทำเนียบรัฐบาลพร้อมประกาศเจตนารมณ์ ทั้งนี้ช่วงเคลื่อนขบวนมีการส่วนกับขบวนกันกับคณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ ของ 15 สภาองค์การลูกจ้าง 1สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ 1องค์กรแรงงานนอกระบบ เป็นช่วงๆ มีภาพแห่งมิตรภาพการทักทายกันของผู้ใช้แรงงาน 2ขบวน

นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า ด้วยวันที่ 1 พฤษภาคม หรือเรียกว่า”วันกรรมกรสากล”หรือ“วันเมย์เดย์” มีจุดกำเนิดมาจากการต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพในยุโรปและอเมริกา ในยุคของ “การปฏิวัติอุตสาหกรรม” จากสังคมเกษตรไปสู่สังคมอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ผู้คนอพยพจากการผลิตภาคเกษตรกรรมไปเป็นแรงงานภาคอุตสาหกรรม ซึ่งผู้ใช้แรงงานต้องทุนกับการถูกกดขี่ขูดรีดจากนายทุนโรงงานอุตสาหกรรม ถูกบังคับให้ใช้แรงงานเยี่ยงทาส ต้องทำงานหนักถึงวันละ 14-16 ชั่วโมงโดยไม่มีวันหยุด รวมทั้งไม่มีสวัสดิการและมาตรฐานคุ้มครองความปลอดภัยในการทำงาน จนทำให้คนงานมีการเคลื่อนไหวเพื่อต่อสู้การกดค่าจ้างแรงงานและให้ลดชั่วโมงการทำงานลง ซึ่งแนวความคิดนี้ได้ขยายไปหลายประเทศทั้งในยุโรป อเมริกา ละตินอเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ได้นัดหยุดงานครั้งใหญ่และจัดการชุมนุมเดินขบวนเพื่อเรียกร้อง “ระบบสามแปด” คือ ทำงาน 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง และศึกษาหาความรู้ 8 ชั่วโมง การต่อสู้ครั้งนั้นอำนาจรัฐนายทุนได้ใช้กำลังเข้าปราบปรามอย่างรุนแรง แต่หลังจากนั้น สหพันธ์คนงานแห่งอเมริกาก็ได้ฟื้นการต่อสู้เรียกร้องระบบสามแปดอีกครั้งหนึ่ง โดยมีมติให้เดินขบวนทั่วประเทศในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2433

จนกระทั่ง พ.ศ. 2432 ที่ประชุมของสภาสังคมนิยมสากล ณ กรุงปารีส ฝรั่งเศส ได้มีมติให้วันที่ 1 พฤษภาคม 2433 เป็นวันเดินขบวนเรียกร้องให้ลดชั่วโมงทำงาน จึงถือว่า 1 พฤษภาคม“วันกรรมกรสากล”เป็นสัญลักษณ์แห่งการสามัคคีต่อสู้เพื่อปลดปล่อยชนชั้นกรรมกร ซึ่งกรรมกรทั่วโลกจะจัดให้มีการชุมนุมเดินขบวน เพื่อสร้างวัฒนธรรมการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยจากการกดขี่ขูดรีดของระบบทุนนิยม

แม้ว่าคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)จะไม่ได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เนื่องจากได้ยื่นข้อเรียกร้องทุกปีแต่ยังไม่ได้รับการแก้ไข จึงขอให้รัฐแก้ปัญหาตามข้อเรียกเดิมเมื่อปี2561

โดยความต้องการของคนงานและขบวนการแรงงาน ได้ถูกนำไปพิจารณาดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม เพราะรัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีได้พยายามเน้นย้ำเสมอมาว่าจะแก้ไขปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำของประเทศให้หมดไป และจะทำให้ประเทศมี “ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” และ “จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” จะใช้เวลาไม่นาน แต่จนถึงขณะนี้แนวโน้มสัญญาณต่างๆไม่ชัดเจน การให้น้ำหนัก การให้ความสำคัญ ต่อการแก้ปัญหาต่างๆของคนงานไม่มีรูปธรรมมากนัก แต่ก็ยังไม่สายเกินไปที่รัฐบาลจะทบทวนและจะให้ความสำคัญต่อข้อเรียกร้อง ข้อเสนอของขบวนการแรงงานอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป และหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารัฐบาลนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะได้ตระหนักและให้ความสำคัญต่อข้อเสนอที่ได้ยื่นไปเมื่อปี 2560 จะนำมาปฏิบัติให้เป็นจริงตามความต้องการของคนงาน ทั้งนี้ก็เอาประโยชน์ของประเทศชาติ ประชาชน และคนงานเป็นสำคัญ ซึ่งข้อเรียกร้อง จำนวน 10 ข้อ มีดังนี้

ข้อที่ 1. รัฐต้องจัดให้มีรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าที่มีคุณภาพให้ประชาชนทุกคน ได้เข้าถึงอย่างเท่าเทียมโดยไม่เลือกปฏิบัติ อันประกอบด้วย

ด้านสาธารณสุขประชาชนทุกคนเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพและไม่มีค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาตามความต้องการในทุกระดับโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

ข้อที่ 2. รัฐต้องกำหนดค่าจ้างแรงงานที่เป็นธรรม ครอบคลุมทุกภาคส่วนกำหนดนิยามค่าจ้างขั้นต่ำแรกเข้าที่มีรายได้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวอีก 2 คนตามหลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และต้องเท่ากันทั้งประเทศ
กำหนดให้มีโครงสร้างค่าจ้างและปรับค่าจ้างทุกปี

ข้อที่ 3. รัฐต้องให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และ 98 ว่าด้วยการรวมตัวเจรจาต่อรองร่วม และอนุสัญญา 183 ว่าด้วยการคุ้มครองความเป็นมารดา (ตามรัฐธรรมนูญหมวด 3 มาตรา 48)

ข้อที่ 4. รัฐต้องปฏิรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพในการบริการที่ดี มีคุณภาพ มีคุณภาพเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนดังนี้

ยกเลิกนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจและการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจทุกรูปแบบจัดตั้งกองทุนพัฒนารัฐวิสาหกิจ
ให้มีการบริหารจัดการที่โปร่งใส ตรวจสอบได้และมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ

ข้อที่ 5. รัฐต้องยกเลิกนโยบายที่ว่าด้วยการลดสวัสดิการพนักงานรัฐวิสาหกิจและครอบครัว

ข้อที่ 6. รัฐต้องปฏิรูประบบประกันสังคมปฏิรูปโครงสร้างการบริหารงานสำนักงานประกันสังคม ให้เป็นอิสระ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และให้ผู้ประกันตนมีส่วนร่วมจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ในสัดส่วนที่เท่ากัน ระหว่างรัฐ นายจ้าง ลูกจ้าง ตามหลักการพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และนำส่งเงินสมทบที่รัฐค้างจ่ายให้เต็มตามจำนวนเพิ่มสิทธิประโยชน์ ผู้ประกันตนมาตรา 40 ให้เท่ากับ มาตรา 33 เพิ่มสิทธิประโยชน์ ชราภาพร้อยละ 50 ของเงินเดือนสุดท้ายนั้น ปัจจุบันผู้ประกันตนได้รับเงินบำนาญไม่ต่ำกว่ามาตรฐานสากลขององค์การแรงงานฯซึ่งผู้ประกันตน มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพเมื่อสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนและครบอายุ 55 ปีบริบูรณ์ โดยมีสิทธิรับเงินบำเหน็จ หรือบำนาญ ขึ้นอยู่กับระยะเวลา การจ่ายเงินสมทบให้สำนักงานประกันสังคมประกาศใช้อนุบัญญัติทั้ง 17 ฉบับ ที่ออกตามพระราชบัญญัติประกันสังคม ฉบับแก้ไข พ.ศ. 2558 ขยายกรอบเวลาการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ในกองทุนเงินทดแทน จนสิ้นสุดการรักษา ตามคำวินิจฉัยของแพทย์

ข้อที่ 7. รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดกรณีที่นายจ้างไม่จายค่าชดเชยตามกฎหมาย ปิด หรือยุบกิจการทุกรูปแบบ

ข้อที่ 8. รัฐต้องจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงจากการลงทุน โดยให้นายจ้างจ่ายเงินเข้ากองทุนเพื่อเป็นหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิแรงงาน เมื่อมีการเลิกกิจการไม่ว่ากรณีใดก็ตาม ผู้ใช้แรงงานมีสิทธิได้รับค่าชดเชยจากกองทุน รวมทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างได้

ข้อที่ 9. รัฐต้องเร่งรัดให้มีการพัฒนากลไกการเข้าถึงสิทธิ การบังคับใช้ พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานภายใต้การมีส่วนร่วมของแรงงานทุกภาคส่วน และยกเลิกการใช้แร่ใยหินในทุกรูปแบบ

ข้อที่ 10. รัฐต้องจัดสรรงบให้กับสถาบันความปลอดภัยฯเพื่อใช้บริหารจัดการเรื่องความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ในส่วนขบวนสภาองค์การลูกจ้าง 15 แห่ง พร้อมกับสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ และเครือข่ายแรงงานนอกระบบ รวม 17 องค์ที่จัดร่วมกับกระทรวงแรงงาน โดยมีนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มาเปิดงาน และรับข้อเรียกร้อง จำนวน 10 ข้อดังนี้

1.ขอให้รัฐบาลแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541 โดยให้กำหนดอายุเกษียณของลูกจ้างที่ 60 ปี ในกรณีลูกจ้างมีอายุ 55 ปี ต้องการลาออก ให้นายจ้างอนุญาต โดยได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับคนที่เกษียณ 60 ปี

2.ขอให้สำนักงานประกันสังคม ปรับฐานการรับเงินบำนาญ โดยให้มีอัตราเริ่มต้นที่ 5พันบาทต่อเดือน

3.ผู้ประกันตนที่พ้นสภาพจากมาตรา 33 และรับบำนาญ ให้มีสิทธิสมัครมาตรา 39 โดยไม่ตัดสิทธิรับเงินบำนาญ

4.ลูกจ้างพ้นสภาพจากการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ให้ประกันสังคมใช้ฐานเงินเดือนตามมาตรา 33 เดิม คำนวณเป็นฐานรับบำนาญ

5.ให้รัฐกำหนดให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นภาคบังคับทีนายจ้างต้องจัดให้มีขึ้นและกำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินกองทุนเมื่อสิ้นสุดการเป็นลูกจ้าง

6.ให้รัฐเร่งรัดออกกฎหมายที่สนับสนุนการสร้างเสริมระบบธรรมาภิบาลในรัฐวิสาหกิจและยุติการแปรสภาพรัฐวิสาหกิจให้กลายเป็นองค์กรมหาชนหรืออื่นที่เป็นการแบ่งผลกำไรจากรัฐไปให้เอกชน

7.ให้รัฐออกกฎหมายคุ้มครองส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพแรงงานนอกระบบและมีสิทธิจัดตั้งองค์กรได้

8.ให้รัฐดำเนินการให้มีการรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับ 87 และ 98

9.ขอให้แก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541 มาตรา 11/1ให้เป็นภาคบังคับ และมีโทษทางอาญากรณีนายจ้างไม่ปฏิบัติตาม

10.ให้รัฐสั่งให้กระทรวงแรงงานปฏิบัติการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 74 อย่างเคร่งครัด โดยให้นายจ้างและลูกจ้างและรัฐบาล ร่วมกันดำเนินการตัดสินใจโดยเฉพาะในระบบแรงงานสัมพันธ์

นักสื่อสารแรงงาน รายงาย