ขบวนการแรงงานเตรียมรวมพลเคลื่อน 7 ตุลานี้

20130905_104424

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ร่วมกับเครือข่ายแนวร่วมพันธมิตร หลายองค์กรร่วมวางแผนผลักดันให้รัฐบาลไทยให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO.)ฉบับที่ 87 และ ฉบับที่ 98 ภายในปีนี้ ต้องได้รับคำตอบว่าเมื่อไร? พร้อมทั้งยื่นหนังสือแสดงความต้องการของผู้ใช้แรงงานในระดับพื้นที่ กะชุมนุมยืดเยื้อ โดยจัดเสวนา และแถลงข่าวในวันที่ 2 ตุลาคม 2556

เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2556 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)  ได้จัดประชุมร่วมกับสภาองค์การลูกจ้างฯ สหพันธ์แรงงาน กลุ่มสหภาพแรงงาน ศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบ เครือข่ายปฏิบัติการแรงงานข้ามชาติ และเครือข่ายภาคประชาชน เรื่อง การวางแผนเตรียมจัดงาน “วันงานที่มีคุณค่าปี 2556 (Decent Work Day)” ในการขับเคลื่อนและรณรงค์ของขบวนการแรงงานในประเทศไทยต่อการผลักดันให้รัฐบาลไทยรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO.)ฉบับที่ 87 และ ฉบับที่ 98 ที่ห้องประชุมศุภชัย ศรีสติ พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย มักกะสัน กรุงเทพมหานคร

20130905_10002620130905_104443

ชาลี ลอยสูง ประธานคสรท.กล่าวถึงการขับเคลื่อนให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาILO ฉบับที่ 87 และ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัว และเจรจาต่อรองมาอย่างจริงจังตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบันคือปี 2556  การเคลื่อนไหวของขบวนการสหภาพแรงงานที่ทำงานร่วมกันจนเกิดการก่อตั้งเป็น “คณะทำงานเพื่อสนับสนุนอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 78 และ 98 โดยที่มอบหมายให้ตนเองเป็นประธานคณะทำงาน ซึ่งจาการที่เคลื่อนไหวร่วมกันอย่างเข้มข้นทำให้กระทรวงแรงงานออกคำสั่งลงวันที่ 27 ตุลาคม 2552 เพื่อแต่งตั้งคณะทำงานฯ รวม 46 คนที่มีกำหนดให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมทั้งรัฐบาล นายจ้าง ฝ่ายลูกจ้าง และนักวิชาการจนได้ข้อสรุปว่า รัฐบาลควรดำเนินการให้สัตยาบันอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับ ซึ่งขณะนี้รอการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรี และมีขบวนการจัดประชุมสัมมนาทำความเข้าใจในกลุ่มแรงงาน และประชาชนทั่วไปให้รับรู้ ซึ่งจัดเวทีเรียนรู้ในเขตอุสาหกรรม 7 แห่ง การเคลื่อนไหวสนับสนุนให้รัฐบาลให้สัตยาบัน และคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการในปี 2553 อนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคม และคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวเจรจาต่อรองร่วม แต่ปี 2554 คณะรัฐมนตรีขอถอนการให้สัตยาบันฯอ้างว่าเกี่ยวข้องกับมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญขณะนี้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมตรา 190 จึงขอถอนหนังสือสัญญาทั้งหมดออกไปก่อน เพื่อรอดำเนินการจัดทำกฎหมายดังกล่าวให้เสร็จก่อน ด้วยมาตรา 190 ระบุว่าก่อนดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ คณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูล และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และต้องขี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับหนังสือสัญยานั้น ในการนี้ให้คณะรัฐมนตรีเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ

วันนี้ขบวนการให้สัตยาบันยังไม่มีความชัดเจน แม้ว่าสำนักงานกฤษฎีกาได้ตีความแล้วว่าอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับไม่เข้าข่ายมาตรา 190 วรรค 2 ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญปี 2550 และได้ส่งเรื่องให้กระทรวงแรงงานส่งไปยังกระทรวงการต่าประเทศเพื่อลงนามรับรอง แต่ช่วงที่เปลี่ยนผ่านก่อนถึงรัฐบาลปัจจุบันยังไม่มีการรับรองให้สัตยาบันและกระทรวงแรงงานได้มีการเปลี่ยนหลักการเหตุผลใหม่ทั้งหมดและนำมาสู่การจัดประชาพิจารณ์ปั 2555

ในปี 2556 มีความเคลื่อนไหวของรัฐบาลนี้ที่มีความสำคัญ มีการประชุมเพื่อหาข้อยุติเรื่องการให้สัตยาบันอนุสัญญาILO ฉบับที่ 87 และ 98 ของส่วนราชการ ส่วนขบวนการแรงงาน โดยคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยก็มีการขับเคลื่อน และรณรงค์ของสหภาพแรงงานในระดับพื้นที่ต่อการผลักดันให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาฯ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับแรงงานในระดับพื้นที่มากยิ่งขึ้น รวมถึงเรื่องกิจกรรมรณรงค์เกี่ยวกับการให้สัตยาบันอนุสัญญาในระดับจังหวัดด้วย ซึ่งวันนี้ก็จะมีการกำหนดเรื่องการขับเคลื่อนร่วมกันกับทุกภาคส่วน โดยหวังว่าจะให้รัฐบาลให้สัตยาบันอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับ

ช่วงนี้อีก2 ปีก็จะเข้าสู่ประชาคมอาเซี่ยนที่ 10 ประเทศในแถบนี้จะรวมตัวกัน ประเทศไทยต้องสร้างหลักประกันและมาตรฐานการคุ้มครองด้านสิทธิแรงงาน เราต้องร่วมกันตั้งเป้าผลักดันให้รัฐบาลไทยใหสัตยาบันอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับ

20130905_10022320130905_101722

ธวัชชัย ผลเจริญ ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่าการเรียกร้องให้รัฐบาลให้สัตยาบันILOทั้ง2 ฉบับนั้นขบวนการรแรงงานได้ร่วมกันเคลื่อนมานาน แต่รัฐบาลยังไม่รับรอง ก็ต้องตั้งคำถามไปทาง ILO เช่นกันว่า ได้ช่วยในการกดดันรัฐบาลไทยบ้างหรือไม่ และว่าในส่วนประเทศต่างๆที่มีการให้สัตยาบันแล้วมีการปฏิบัติหรือไม่ILO ต้องมีการตรวจสอบด้วย การละเมิดกฎหมายแรงงานในการจ้างแรงงานข้ามชาติ มีสถานประกอบการที่ปฏิบัติตามกฎหมาย กับไม่ปฏิบัติตามกฎหมายรัฐควรมีการตรวจและส่งเสริมให้รางวัลย์กับสถานประกอบการที่ดูแลลูกจ้างตามกฎหมายด้วย

ธนพร วิจันทร์ ประธานกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี กล่าวว่า เป้าหมายในการเคลื่อนไหวที่กำหนดไหวคือจะชุมนุมยืดเยื้อเพื่อผลักดันให้รัฐบาลให้สัตยาบัน ขบวนการแรงงานต้องชัดเจนในการที่จะนำสมาชิกออกมาร่วมกันชุมนุม คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ได้มีการร่างพระราชบัญญัติกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ฉบับที่ .. พ.ศ. …. ซึ่งภาคประชาชนได้มีการลงลายมือชื่อเสนอขณะนี้รออยู่ที่สภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้คอบคลุมทุกกลุ่มแรงงาน

20130905_10372220130905_100314

มนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทยกล่าวว่า ส่วนขององค์การแรงงาน ที่รวมตัวกันในส่วนของสภาองค์การลูกจ้าง 6 แห่ง และอีกหนึ่งสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ จะมีการประชุมหารือกันในวันที่ 14-15 กันยายน 2556 เพื่อกำหนดการเคลื่อนไหวร่วม ด้วยที่กำหนดว่าจะมีการชุมนุมค้างคืนกันยืดเยื้อเพื่อให้รัฐบาลให้สัตยาบันก็ยังไม่ได้ปรึกษากันในส่วนของกลุ่ม แต่หากจะเคลื่อนแค่เพียงให้มีการตั้งคณะทำงานร่วมก็คงเป็นรูปแบบเดิมที่ตั้งแล้วก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร เป้าก็เห็นด้วยว่าต้องได้วันกำหนดเวลาที่ชัดเจนว่ารัฐบาลจะมีการให้สัตยาบันอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับวันไหน และคิดว่าองค์การแรงงานกับคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานควรมาร่วมกันร่างกฎหมาย ลูก เพื่อรองรับหลังจากรัฐให้สัตยาบัน เรื่องสิทธิในการรวมตัว เจรจาต่อรอง เพราะว่าอนุสัญญารองรับสิทธิการรวมกลุ่มของคนทุกกลุ่ม ไม่ใช่เพียงแรงงานในระบบเท่านั้น มันครอบคลุมไปถึงแรงงานนอกระบบ เกษตรกรพันธสัญญา ฯลฯด้วย เราควรเตตรียมกฎหมายลูกไว้สัก 2-3 มาตรา เพราะว่าร่างพรบ.แรงงานสัมพันธ์ฯที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯล่าลายมือชื่อรออยู่สภาคลาดว่าคงใช้เวลาอีกนานเพราะเราก็รู้อยู่ว่า รัฐบาลไม่ได้สนใจร่างกฎหมายของภาคประชาชน

บุญสม ทาวิจิตร ประธานกลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง กล่าวว่า การเคลื่อนไหวในวันที่ 7 ตุลาคม ไม่ควรเป้นเพียงการเคลื่อนไหวเป็นประเพณี ถึงวันก็เคลื่อนไหวแล้วจบไม่ได้อะไร คิดว่าควรมีการรณรงค์ต่อเนื่องให้รัฐให้สัตยาบันให้ได้ปีนี้ตั้งเป้าไว้ ด้วยการแสดงความต้องการของผู้ใช้แรงงานแต่ละพื้นที่ โดยเคลื่อนไหวยื่นหนังสือตามพื้นที่ต่างๆ ก่อนที่จะมีการชุมนุมปักหลักกันแบบยืดเยื้อที่ทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 7 ตุลาคมที่จะถึง เพราะรัฐบาลประเมินเราแล้วว่าอย่างไรก็มาชุมนุมแป็บเดียวเดี๋ยวก็กลับ ปีนี้ก็ตั้งเป้าเลยว่าจะปักหลักชุมนุมกันและต้องติดตามต่อเนื่องเอาให้ได้ในปีนี้ และเราต้องโยงเรื่องของการที่รัฐบาลแช่แข็งค่าจ้างไว้อีก 2 ปี โดยที่ไม่ได้มีการลดค่าครองชีพ หรือควบคุมราคาสินค้าเลยวันนี้ประชาชนต้องใช้ของที่แพงขึ้น เพราะความอ่อนแอและไม่มีการรวมกลุ่มของผู้ใช้แรงงาน และประชาชนจึงส่งผลให้ต้องแบกรับภาระหนัก ไม่สามารถต่อรองให้มีการปรับขึ้นค่าจ้าง หรือต่อรองกับรัฐให้ดูแลและลดภาระค่าครองชีพได้

ธนกิจ สาโสภา รองประธานสภาองค์การลูกจ้างยานยนต์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากการสำรวจลูกจ้างในกลุ่มของตนเองพบว่าแรงงานยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องของอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับเท่าไร และมีความจำเป็นแค่ไหนจึงอยากให้มีการสื่อสารออกไปให้มากๆ ถึงเหตุผลว่าทำไมรัฐบาลต้องให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศทั้ง 2 ฉบับ เมื่อให้สัตยาบันแล้วเขาจะได้อะไร หากไม่ให้ทุกวันนี้เกิดผลกระทบกับเขาอย่างไร หากเห็นสื่อมวลชนทำเรื่องเหล่านี้ให้สังคมได้รับรู้ ขบวนการแรงงานควรต้องช่วยกันตีข่าว ออกไปให้กว้างขวางมากขึ้นฃ

ทั้งนี้ที่ประชุมสรุปว่า การเคลื่อนไหวครั้งนี้จะไม่ใช่การทำตามประเพณีปฏิบัติ ต้องได้รับคำตอบจากรัฐบาลว่าจะมีการให้สัตยาบันหรือไม่ และเมื่อไร พร้อมทั้งจะมีการเคลื่อนไหวในพื้นที่ยื่นหนังสือแสดงความต้องการของผู้ใช้แรงงานในระดับพื้นที่  พร้อมจากมีการจัดเสวนา และแถลงข่าวในวันที่ 2 ตุลาคม 2556

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน