ขบวนการแรงงานหญิงรณรงค์ 8 มีนา วันสตรีสากล

1

วันที่ 8 มีนาคม 2557 กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี และ 26 องค์กร ได้ร่วมรณรงค์วันสตรีสากล ตั้งริ้วขบวนจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เดินไปที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ( ท่าพระจันทร์ ) โดยพิธีกรบนรถได้กล่าวปราศรัยถึงความเป็นมาของการต่อสู้การได้มาของระบบสามแปด และในปีนี้กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรีไม่ได้ยื่นข้อเรียกร้องดังเช่นทุกปีเพราะเป็นรัฐบาลรักษาการ มีผู้เข้าร่วมประมาณ 1,000 คน และเมื่อขบวนเดินมาถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ณ หอประชุมศรีบูรพา ได้มีการเปิดเวทีสภาผู้หญิงทำงาน

นางสาวอรุณี ศรีโต ประธานศูนย์เด็กเล็กก่อนวัยเรียนของผู้ใช้แรงงาน ได้กล่าวก่อนจะเกิดวันสตรีสากล เป็นการรวมตัวของผู้หญิงที่ถูกเอารัดเอาเปรียบจนทนไม่ไหว และกล่าวถึงเมื่อก่อนว่าการจัดงานวันสตรีสากล การมีส่วนร่วมของคนงานค่อนข้างไม่มีจะมีแต่คนแก่ และการมีส่วนร่วมของราชการไม่มี

65

ปัจจุบันมีรูปแบบการทำงานที่เอารัดเอาเปรียบที่มากขึ้นกว่าเดิม 100 ปี วันสตรีสากลจึงต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อรำลึกวันสตรีสากลเราจึงมารณรงค์ที่ธรรมศาสตร์เพราะเราไม่รู้จะไปยื่นข้อเรียกร้องกับใคร ในวันนี้รูปแบบ การจัดงานดีและขอให้พวกเรานำชัยชนะมาสู่สตรีและการปฏิรูปทุกรูปแบบของสตรี

รองศาสตราจารย์ ดร.นิรมล สุธรรมกิจ ประธานโครงการสตรีและเยาวชนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่าโครงการสตรีและเยาวชนศึกษา หวังว่าการประชุมวันนี้คงได้ข้อเสนอที่นำไปสู่การปฏิรูปของสตรี และกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมทุกท่าน

42

ช่วงที่ 1 เปิดเวทีสภาผู้หญิงทำงาน

ดำเนินรายการโดย นางสาวสุธาสินี แก้วเหล็กไหล นางชุติมา บุญจ่าย

ผู้แทนผู้หญิงภาคบริการทางเพศ เอ็มพาวเวอร์ กล่าวว่าการทำงานของพนักงานบริการเกี่ยวกับการปฏิรูปการทำงาน และการทำงานของพนักงานบริการเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ของภาครัฐในการเรียกเก็บส่วย โดยเจ้าหน้าที่หาผลประโยชน์กับอาชีพของพนักงานบริการพนักงานบริการ

– กฎหมายจะให้ความคุ้มครองในการใช้อำนาจของรัฐ

– ขายบริการเพื่อส่งเงินเลี้ยงดูคนในครอบครัวแต่ไม่ได้รับการยอมรับทางสังคม จะมีแนวทางแก้ไขปัญหาทางสังคมได้อย่างไร

– สิทธิด้านแรงงานในทางกฎหมายของภาคบริการแม้แต่นายกที่เป็นผู้หญิงยังไม่สนใจปัญหาของผู้หญิง

ผู้แทนเครือข่ายชาวนา กล่าวว่าตอนนี้ผู้หญิงมีหน้าที่ไปขายข้าวไปกู้เงิน ส่วนผู้ชายมีหน้าที่ไปทำนา ชาวนาเจ็บป่วยเป็นโรคไต ต้องฟอกไตทุกเดือน ครั้งละ 1,800 บาท เมื่อหมดเงินจะเอาเงินที่ไหนไปรักษา บางรายก็เป็นโรคเบาหวานลงในนาโดนหอยบาด บางรายก็เป็นโรคฉี่หนู ปัญหาคือชาวนาไม่มีสิทธิทางกฎหมาย การขายที่นาก็แบ่งขายไม่ได้ต้องขายทั้งแปลง พอกู้เงินมาทำนาไม่มีเงินไปใช้หนี้ก็ถูกยึด แล้วลูกหลานจะเอาที่ดินที่ไหนทำกิน

3

ผู้แทนสมาพันแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ / ประเด็นสุขภาพจากการทำงาน ( ขสมก. ) กล่าวว่าการทำงานของผู้หญิงตอนนี้เป็นเรื่องยากมีการทำงานที่ยาวขึ้น พนักงานเป็นโรคไต โรคเบาหวาน กระเพาะปัสสาวะอักเสบ มะเร็งปากมดลูก อยากให้รัฐหันมาดูแลผู้หญิงสักนิดเพราะผู้หญิงทุกวันนี้ร่างกายทรุดโทรมมาก

นางชุติมา บุญจ่าย กล่าวเสริมข้อมูลลูกจ้าง ขสมก. จากการสำรวจพนักงาน 700 กว่าคน ป่วยเป็นโรคเพราะการทำงานอยู่บนรถที่ยาวนาน

ผู้แทนกลุ่มคนพิการ บางหน่วยงานมาจ้างผู้หญิงพิการทำงานและมองว่าคนพิการไม่ต้องจ้างแพงเพราะมาค่อยใช้เงิน อยากให้มีการปฏิรูปร้านนวด ให้แบ่งเวลานวดเป็นช่วงละ 4 ชั่วโมง 1 วันไม่เกิน 8 ชั่วโมง

ผู้แทนคนท้องสหภาพแรงงานสแตนเล่ย์ กล่าวว่าคนงานถูกปิดงาน 44 คน มีเพื่อนท้อง 4 คนและแท้งลูกไปแล้ว 1 คน เราไปที่กระทรวงแรงงานก็ไม่ได้ช่วยเหลืออะไร ตอนนี้อยู่ที่หน้าโรงงานกับเพื่อนๆ ไม่มีเงินที่จะไปฉีดวัคซีนให้ลูก ท้อง 7 เดือนแล้วค่าคลอดก็ยังไม่มี

ผู้แทนชนชั้นกลาง / ประเด็นศูนย์เลี้ยงเด็ก กล่าวว่ามีปัญหาเรื่องศูนย์เลี้ยงเด็ก เมื่อก่อนเป็นครอบครัวใหญ่ลูกจะอยู่กับปู่ ย่า ตา ยาย แต่ตอนนี้เป็นครอบครัวเดี่ยวจึงต้องการมีสถานเลี้ยงเด็กที่อยู่ใกล้บ้านและมีความปลอดภัยสำหรับลูกๆ จึงต้องการให้รัฐมีศูนย์เลี้ยงเด็ก ขอให้ปฏิรูปศูนย์เลี้ยงเด็กเพราะเป็นพื้นฐานของเด็กที่ต้องถูกเลี้ยงดูมาอย่างดี

ผู้แทนลูกจ้างภาครัฐ / ประเด็นความมั่นคงในการทำงาน กล่าวว่ากระทรวงสาธารณะสุข มีการคัดกรองลูกจ้างทุกปี ดิฉันได้ถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดจากโรงพยาบาล และดิฉันได้ทำหนังสือถึงผู้ใหญ่ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแต่ไม่ได้รับการเหลียวแลจากท่านทั้งหลาย จึงได้ไปฟ้องศาลปกครอง เพราะดิฉันถูกเลือกปฏิบัติเพียงคนเดียว

ช่วงที่ 2 ยุทธศาสตร์สู่การปฏิรูป คุณภาพชีวิตผู้หญิงทำงาน

ดำเนินรายการโดย รองศาสตราจารย์ มาลี พฤกษ์พงศาวลี คณะกรรมการโครงการสตรีและเยาวชนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงจำนวนประชากรของประเทศไทย มีผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 1 ล้านกว่าคน และอัตราการเกิดของทารกมีน้อยมาก จึงต้องใช้แรงงานข้ามชาติจำนวนมาก และคุณภาพชีวิตผู้หญิงในยุทธศาสตร์ควรเป็นอย่างไร

ประเด็น นโยบายรัฐบาลต่อผู้หญิงทำงาน

นางรสนา โตสิตระกูล สมาชิกวุฒิสภา กล่าวว่า 104 ปี ของสตรีสากล กับการเรียกร้องสิทธิระบบสามแปด แต่ไม่ว่าการเรียกร้องจะสำเร็จทุกประเทศ ผู้หญิงก็ยังอยู่ในสภาพที่ยากแค้นเหมือนเดิมในทัศนะที่ผู้ชายเป็นใหญ่ ยุทธศาสตร์ของรัฐบาล ผู้หญิงเป็นแม่ที่ต้องเลี้ยงดูลูก หากสังคมใดที่ไม่ให้ผู้หญิงมีเวลาเลี้ยงดูลูก รัฐจะต้องให้ความสำคัญกับผู้หญิงในการเลี้ยงดูบุตร การให้ความรู้กับแม่ลูกก็จะได้รับการดูแลเป็นอย่างดีเพราะแม่เป็นคนจัดสรรอาหารให้กับลูก

ยุทธศาสตร์ของรัฐบาล 1. จะต้องมีศูนย์เลี้ยงเด็ก 2. แรงงานหญิงต้องมีค่าจ้างที่เท่าเทียมกับผู้ชาย 3.ไม่เลิกจ้างคนท้อง แม้รัฐบาลมีผู้หญิงเป็นนายกรัฐมนตรี ปัญหาของผู้หญิงก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข

ประเด็น กลไกการทำงานกับภาครัฐ / รัฐสภา

นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่าที่ผ่านมาการทำงานกับขบวนการแรงงาน 30 กว่าปี การต่อสู้ของสตรี 100 ปีที่ผ่านมา ผู้หญิงของเราต่อสู้กันอย่างไร 1. ศูนย์เลี้ยงเด็กมีเกิด 1 ศูนย์ ในระยะเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมายังไม่มีการเปลี่ยนแปลง 2.การเลิกจ้าง กลุ่มแรกก็เป็นผู้หญิงและผู้หญิงท้องอย่างคนงานสแตนเล่ย์ ผู้หญิงถูกกดดัน และรัฐเองก็ไม่ได้เข้ามาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น การเคลื่อนไหวของกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี 2 ปี ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้หญิงปัญหาของผู้หญิงก็ไม่ได้รับการแก้ไข

การทำงานกับรัฐสภา การนำเสนอกฎหมายก็ไม่ได้รับความสำคัญ แม้จะเป็นสวัสดิการทางสังคมที่จะดูแลตั้งแต่เกิดจนตาย เพราะเราไม่มีตัวแทนของเราเข้าไปอยู่ในสภา 1. สิ่งแรกที่ต้องปฏิรูปคือต้องปฏิรูปตัวเราเอง 2.ผลักดันให้มีกองทุนสวัสดิการผู้สูงอายุ 3.เรื่องสุขภาพต้องขับเคลื่อนให้เกิดการปฏิรูป

ประเด็น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิง

นางสุนี ไชยรส รองประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย กล่าวถึงช่วงการต่อสู้ของขบวนการแรงงาน เรามีประสบการณ์ทางบวกที่มีการทำงานไม่จำกัดตัวเองเฉพาะในโรงงานเพราะยังมี แรงงานนอกระบบ ชาวไร่ ชาวนา ภาคบริการ ภาคอื่นๆ ในช่วงรัฐธรรมนูญปี 2540 กฎหมายการเข้าชื่อพี่น้องมีส่วนร่วมในการเสนอกฎหมาย และมีโอกาสได้เข้าไปนำเสนอกฎหมายในสภา

กลุ่มหลากหลายทางเพศก็ร่วมต่อสู้มาด้วยกัน สู้ในเรื่องความเสมอภาคการเป็นมนุษย์ เพราะยุทธศาสตร์การปฏิรูปผู้หญิงทำงานเรียกร้องกฎหมายตั้งแต่เกิดจนตาย ในมิติความเป็นผู้หญิง เพราะผู้หญิงกำลังเข้าสู่วัยชรา และสิ่งที่กฎหมายกำลังเคลื่อนอยู่ 1.กฎหมายประกันสังคม 2.พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ 3.กฎหมายคุ้มครองแรงงาน 4.พ.ร.บ.เงินทดแทน ( ยังไม่มีกฎหมายลูก ) 5.กฎหมายกระจายอำนาจ 6.กฎหมายที่ดินและทรัพยากร เราต้องรื้อกฎหมายทั้งระบบเพื่อนำไปสู่การปฏิรูป ต้องร่วมกันเข้าชื่อกฎหมายทุกฉบับ ยุทธศาสตร์ กฎหมายที่นำเสนอไปตกหมดเราต้องร่วมกันเข้าชื่อเสนอกฎหมายใหม่กฎหมายคืออำนาจการต่อรองของประชาชน

รองศาสตราจารย์ มาลี พฤกษ์พงศาวลี กล่าวถึงผู้หญิงที่ทำงานไม่ได้รับค่าตอบแทนเป็นตัวเงิน คือภรรยาที่ทำงานบ้านแล้วสามีมักบอกว่าภรรยาของผมไม่ได้ทำงานอยู่บ้านเฉยๆ แต่จริงๆแล้วผู้หญิงที่ทำงานบ้านถ้าคิดเป็นตัวเงินจะไม่ต่างกับผู้หญิงทำงานทั่วไป

ประเด็น กระบวนการสร้างความเข้มแข็งองค์กรผู้หญิงและเครือข่าย

นางสาวธนพร วิจันทร์ ประธานกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี กล่าวถึงกระบวนการสร้างความเข้มแข็ง เพราะเราถูกปลูกฝังมาเรื่องระบบการหวังพึ่ง ขบวนการแรงงานกระบวนการสร้างความเข้มแข็งจะเกิดขึ้นไม่ได้หากเรายังไม่สามารถรวมตัวกันได้ สภาพการจ้างงานแต่ละที่ก็ไม่ได้แตกต่างกัน ถึงเวลาที่เราต้องสร้างระบบสามแปด แต่เราปฏิเสธไม่ได้เพราะเราไม่มีจะกินต้องเลี้ยงปากท้องเมื่อไม่พอกินก็ต้องทำ O.T เรื่องกฎหมายประกันสังคม ที่เราต้องการนำมาดูแลเอง ทำไมพรรคเพื่อไทยไม่รับร่างกฎหมายของเรา ขบวนการต่อสู้เราต้องรวมตัวกันลุกขึ้นมาเรียกร้อง ในวันนี้เราจะมีพรรคการเมืองของเราได้หรือยัง แต่ต้องมีการจัดตั้งทางความคิดให้กับคนที่จะเข้าไปเป็นนักการเมืองเพื่อเป็นตัวแทนของเราเอง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
ประเด็น ภาคประชาสังคมต่อผู้หญิงทำงาน

นางสุนทรี เซ่งกิ่ง เลขาธิการคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน กล่าวถึงการทำงานประเด็นผู้หญิงภาคประชาสังคม ทำงานมา 30 กว่าปี ก็ยังมีผู้ชายเป็นใหญ่ มีการพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ มา 10 กว่าปีก็ยังเป็นวงผู้ชายเป็นใหญ่เหมือนเดิม แต่ในฐานะที่เราเป็นผู้หญิงก็มีแนวคิดการพัฒนางานของ NGO ที่มีผลกระทบต่อผู้หญิงมากขึ้นกว่าเดิม จากการใช้นโยบายของรัฐในการบริหาร ที่ NGO ผู้หญิงต้องคิดและทำแม้ว่าเวลาจะผ่านไปกว่า 30 ปีเราก็ต้องบูรณาการการทำงานระหว่างหญิง- ชาย ให้ผู้หญิงมีบทบาทมากขึ้น

ทำอย่างไรเราจะมีพื้นที่ในประเด็นผู้หญิงในการปฏิรูปที่รัฐบาล และ กปปส.พูดเสมอว่าต้องปฏิรูปประเทศ ผู้หญิงต้องเข้าไปมีส่วนร่วมและสัดส่วน การเชื่อมร้อยการทำงานของผู้หญิงเครือข่ายต่างๆเพื่อให้เกิดการทำงานเท่าเทียมกับผู้ชาย

ประกาศเจตนารมณ์ 8 มีนาคม 2557 นางสาวธนพร วิจันทร์ ประธานกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี

รายงานโดยนักสื่อสารศูนย์แรงงานอ้อมน้อย – อ้อมใหญ่