ขบวนการแรงงานสากล เรียกร้องนายก ให้หยุดดำเนินการหักเงิน 7 ผู้นำรถไฟ

ขบวนการแรงงานสากล เรียกร้องรัฐบาลไทย จะเคารพในกฎระเบียบในระดับสากล หยุดทำการหักค่าปรับจากเงินเดือนและเงินเกษียณอายุของผู้นำทั้ง 7  คน กรณีบังคับคดีค่าเสียหายฯ จากการที่รณรงค์เพื่อเรียกร้องให้เกิดอาชีวอนามัยและ ความปลอดภัยให้กับขบวนรถไฟเมื่อปี 2552 อุบัติเหตุ รถไฟตกรางที่หัวหิน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2561  สมาพันธ์สหภาพแรงงานสากล (ITUC) และสหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศ (ITF) กรณี บังคับคดีค่าเสียหายจากผู้นำสหภาพแรงงาน 7 คน ที่เป็นพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยได้ส่งหนังสือถึง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์จันทร์โอชา ซึ่งมีใจความ ดังนี้

สมาพันธ์สหภาพแรงงานสากล (ITUC) และสหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศ (ITF) ได้รับข้อมูลจาก องค์กรสมาชิกในประเทศไทย สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ว่า  การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการตามคา ส่งศาลฎีกาในการยึดทรัพย์ของผู้นำสหภาพแรงงานทั้ง 7 คน ของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) เพื่อจ่ายค่าเสียหายที่รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 24 ล้านบาท (762,116 เหรียญสหรัฐ) ค่าปรับดังกล่าวเป็นค่าปรับที่ทางการรถไฟแห่งประเทศไทยเรียกร้องให้ผู้นำ สหภาพแรงงานทั้ง 7 คนจ่ายเป็นค่าเสียหายให้กับการรถไฟฯ จากการที่พวกเขาทำ การรณรงค์เพื่อเรียกร้องให้เกิดอาชีวอนามัยและ ความปลอดภัยให้กับขบวนรถไฟเมื่อปี 2552 โดยเป็นการรณรงค์ในเชิงอุตสาหกรรมที่มีพนักงานของการ รถไฟฯกว่า1,200 คนเข้าร่วมการรณรงค์ด้วย และการรณรงค์ดังกล่าวทำขึ้นเพื่อสร้างมาตรฐานความปลอดภัย และเป็นเหตุให้พวกเขาปฏิเสธการทำงานเนื่องจากสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยหลังจากกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ รถไฟตกรางที่หัวหิน มีผู้เสียชีวิต 7 คน

โดยผู้นำสหภาพแรงงาน สร.รฟท.ได้แก่ นายสาวิทย์ แก้วหวาน, นาย ภิญโญ เรือนเพ็ชร, นายบรรจง บุญเนตร, นายธารา แสวงธรรม, นายเหลี่ยม โมกงาม, นายสุพิเชษฐ์ สุวรรณชาตรี, นายอรุณ ดีรักชาติ, พวกเขาถูกการรถไฟฯเลิกจ้างเมื่อปี 2554 ในข้อหายุยง ฉบับแปลภาษาไทย สมาพันธ์สหภาพแรงงานสากล (ITUC) และสหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศ (ITF) ขอทวนบทสรุปโดย คณะกรรมการว่า ด้วยเสรีภาพของการสมาคม (CFA) ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เมื่อปี2557  จากกรณีเรื่องร้องเรียนที่ทาง ITUC, ITF และทาง สรส.ร่วมลงนาม โดยทางคณะกรรมการ CFA ให้บทสรุปที่เป็นข้อเสนอแนะไว้ว่า ข้อห้ามในการใช้สิทธิในการนัดหยุด งานภายใต้ พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์นั้น  และ คำสั่งลงโทษที่ศาลพิจารณาจากบทบัญญัติดังกล่าว ถือเป็นการละเมิดหลักการพื้นฐานของเสรีภาพในการสมาคม และจนบัดนี้ยังไม่มีการดำเนินการในขั้นตอนใดๆโดยรัฐบาลในการแก้ไขกฎหมายและบังคับใช้กฎหมาย ดังกล่าว ให้สอดคล้องกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการว่าด้วยเสรีภาพของการสมาคม การรถไฟแห่งประเทศไทย เห็นด้วยแค่เพียงรับพนักงานที่ถูกเลิกจ้างกลับ เข้าทำงานโดยไม่จ่ายค่าชดเชยในช่วงการถูกเลิกจ้างและยังไม่ถอนฟ้องต่อผู้นำ ทั้ง 7 คน

แม้มีการเจรจาต่อเนื่องระหว่างการรถไฟฯและ สร.รฟท. เพื่อไกล่เกลี่ยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทาง ITUC, ITF รู้สึกตกใจ มากที่ได้ทราบข่าวว่า “การรถไฟฯเริ่มทำการหักค่าปรับจากเงินเดือนและเงินเกษียณอายุของผู้นำทั้ง 7  คนแล้ว เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา และการหักเงินเดือนเพื่อจ่ายเป็นค่าเสียหายดังกล่าวส่งผลให้ ตัวอย่างเช่น นายสาวิทย์ แก้วหวาน เหลือเงินในบัญชีเพื่อใช้ในการดำรงชีพเพียง 300 บาท (9.1 เหรียญสหรัฐ) และจะต้อง อยู่ในสภาพแบบนี้ต่อไปอีกกว่า 10 ปีเพื่อชดใช้ค่าเสียหายที่ถูกปรับและค่าดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นด้วย”

สมาพันธ์สหภาพแรงงานสากล (ITUC) และสหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศ (ITF) ขอปฏิเสธในความ เลื่อมใสที่มีต่อการรถไฟฯ และการดำเนินการที่ทำให้ผู้นำทั้ง 7 คนและครอบครัวของพวกเขาต้องตกอยู่สู่ภาวะล้มละลาย จากการจ่ายค่าปรับที่สูงเกินไปเพียงเพราะพวกเขาใช้สิทธิด้านสหภาพแรงงานของพวกเขาในการ ปกป้องสาธารณะและความปลอดภัยให้กับการรถไฟฯ พวกเราขอยืนหยัดต่อสู้ร่วมกับสรส. และสร.รฟท.ต่อไป จนกว่าการรถไฟฯจะยกเลิกการจ่ายค่าปรับความเสียหายดังกล่าว รัฐบาลไทยกระทำการที่ล้มเหลวซ้ำ แล้วซ้ำ อีกในการให้เกรียติต่อคำประกาศขององค์การแรงงานระหว่าง ประเทศ ในหลักการขั้นพื้นฐานและสิทธิด้านแรงงาน และข้อเสนอแนะที่ทางคณะกรรมการว่าด้วยเสรีภาพของ การสมาคมให้ไว้และในฐานะประเทศสมาชิกขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ทาง ITUC, ITF หวังว่า รัฐบาลไทย จะเคารพในกฎระเบียบในระดับสากลและปฏิบัติตามมาตรฐานต่างๆและการตัดสินใจต่างๆที่องค์การแรงงาน ระหว่างประเทศเสนอแนะ กรรมการบอร์ดของการรถไฟฯจะต้องถอนข้อกล่าวหาดังกล่าวทันทีและจ่ายเงินที่หักค่าปรับและเงินชดเชยระหว่างการถูกเลิกจ้างให้กับผู้นำ สร.รฟท.ทั้ง 7 คน คืนทันที นอกจากนี้ควรจะมีการ ดำเนินการในการแก้ไข พ.ร.บ.แรงงานในประเทศไทยให้สอดคล้องกับอนุสัญญาฉบับที่ 87 และ 98 ว่าด้วย เสรีภาพในการสมาคมและการเจรจาต่อรองร่วม โดยเริ่มต้นการปรึกษาหารือกับทางสหภาพแรงงานทันที