ประชุมทีมบก.นักสื่อสารแรงงาน สัญจรศูนย์สมุทรปราการ

วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม 2554 โครงการ การพัฒนาสื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนขบวนการแรงงาน สนับสนุนโดย แผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน สสส. ณ. ห้องประชุมสหภาพแรงงานพานาโซนิค อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ 
 
นายชาลี   ลอยสูง  ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย  กล่าวว่า หลังจากมีการพัฒนาผู้นำแรงงาน ด้วยการจัดให้มีการอบรมเขียนข่าว ตัดต่อวีดิโอ เกิดทีมนักสื่อสารแรงงานในหลายพื้นที่ สร้างกระแสข่าวแรงงานเกิดขึ้นจนได้รับการยอมรับ และนำไปสู่การนำเสนอข่าวในสื่อกระแสหลัก ทำให้ข่าวสารปัญหาแรงงานที่ถูกละเมิด ถูกกระทำเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง ได้ขยายสู่สาธารณะ โดยปรากฏในข่าวเว็บไซต์ voicelabour.org และหนังสือพิมพ์วอยซ์เลเบอร์ ต้องบอกว่าเป็นข่าวที่เกิดจากนักสื่อสารแรงงาน ภายใต้โครงการการพัฒนาสื่อสนับสนุนขบวนการแรงงาน มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย 
 
จากสภาพปัญหาเดิมที่ข่าวของแรงงานไม่ได้รับการนำเสนอ และถูกมองว่า เรียกร้องแต่เรื่องของตนเอง แต่ขณะนี้ข่าวของพี่น้องแรงงานได้ถูกนำเสนอข้อเท็จจริงให้กับสังคมได้รับรู้ถึงสภาพความเป็นจริงของแรงงานว่าถูกเอารัดเอาเปรียบ ทุกข์ยากอย่างไร
 
การผ่านการฝึกอบรมพัฒนาตนเองของผู้นำแรงงานจนกลายเป็นคนที่มาเขียนข่าวได้ ก็ต้องอยู่ที่ว่าเมื่อพัฒนาแล้วปฏิบัติหรือไม่ หากไม่ปฏิบัติไม่เขียน ไม่ตัดต่อวีดิโอด้วยข้ออ้างต่างๆนานา ไม่มีเวลาไม่มีเครื่องมือ หรือไม่ใช่เรื่องไม่ใช่ปัญหาของฉันท์ ฯลฯ แต่เมื่อเกิดปัญหาร้องหาให้คนอื่นๆเข้าไปช่วย ให้สื่อมวลชนไปทำข่าวให้ อันนี้เป็นเรื่องที่ต้องปรับเพราะสื่อกระแสหลักมีไม่พอที่จะมาทำข่าวของแรงงาน ที่มีปัญหาทุกวันทั้งเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน ประกันสังคม ค่าจ้าง การเลิกจ้าง การะกระทำอันไม่เป็นธรรมฯลฯ เหล่านี้สื่อที่ไหนจะมาทำ และสังคมที่ไหนจะเข้าใจประเด็นเหล่านี้ นักสื่อสารแรงงานควรตระหนักคิดว่าปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคือเรื่องของเราที่มีหน้าที่ต้องสื่อสารให้สังคมได้รับรู้ความจริง
นายวิชัย  นราไพบูลย์  ผู้จัดการโครงการฯ กล่าวว่า ยุคปฏิวัติเกษตรกรรม เข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม และเข้าสู่ยุค IT มีการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่สามารถย่อโลกให้ทุกอย่างด้วยการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ซึ่งระบบของทุนมีการใช้รูปแบบการทำงานประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ การทำงานเชิงสังคม และกรณีที่มีการชุมนุมประท้วงของแรงงานก็มีการทำข่าวสื่อสารให้สังคมเห็นถึงความรุนแรง การออกมาแถลงข่าวข้อเท็จจริง การ
 
ส่วนผู้ใช้แรงงานที่ไม่มีแนวการทำงานด้านการประชาสัมพันธ์แม้ว่าระบบโครงสร้างจะมีฝ่ายประชาสัมพันธ์ก็ตาม การทำงานประชาสัมพันธ์ของแรงงานยังคงใช้สื่อกระแสหลักประสานสื่อมาทำข่าว ภายใต้สภาพปัญหาสื่อมวลชนมีน้อย ข่าวในพื้นที่สังคมมีมากมาย ทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อม ฆาตกรรม เศรษฐกิจ การเมืองฯลฯ และสื่อมวลชนก็ไม่ได้เข้าใจปัญหาแรงงาน และไม่มีข้อมูลเพียงพอในการที่จะทำให้สื่อสนใจหรือจูงใจมากพอให้มาทำข่าวแรงงาน  โดยสรุปคือ แรงงานอ่อนการทำงานประชาสัมพันธ์ และมองว่า งานประชาสัมพันธ์ไม่มีความจำเป็นต่อการทำงานแรงงาน แต่ก็มองว่าต้องเป็นข่าว
 
การทำงานด้านสื่อของแรงงาน ทำไมแรงงานต้องมีสื่อ ภายใต้กระแสที่ข่าวแรงงานที่จะให้สังคมได้รับรู้มีน้อย และสังคมไม่เข้าใจประเด็นปัญหาแรงงานทำให้เกิดความพยายามที่จะสร้างสื่อของตนเอง ต้องมีการพัฒนาด้านคนทำงานสื่อ เป็นนักสื่อสารโดยมีโครงการ การพัฒนาสื่อฯเข้ามาสนับสนุนจนเกิดนักสื่อสารแรงงาน ขึ้นมาทำงานด้านข่าวแรงงาน สิ่งสำคัญในการทำงานกับสื่อ หรือการประชาสัมพันธ์ ต้องมีการจัดทำข้อมูลเพื่อการสื่อสาร ที่สามารถให้ได้ทั้งสื่อกระแสหลัก และสื่อกระแสรองอย่างเว็บไซต์ หรือสื่อสารในพื้นที่ก็ได้ ซึ่งเป็นการสื่อสารหลายช่องทางทั้งสังคม และสมาชิกของตนเอง
นโยบายต่างๆที่องค์กรแรงงานระดับชาติเสนอต่อรัฐ ต้องใช้พลังสื่อ บวกพลังมวลชน แต่ปัญหามวลชนยังไม่รับรู้ว่า ปัญหาการขับเคลื่อนของขบวนการแรงงาน นั้นคือหน้าที่ที่นักสื่อสารแรงงานต้องทำงานด้านสื่อให้มวลชนรับรู้ และเข้าร่วม มีการสร้างสายข่าวในพื้นที่ รับเรื่องร้องทุกข์ จัดทำข้อมูลสภาพปัญหา เพื่อการหนุนเสริมการขับเคลื่อนให้รับแก้ไขปัญหาทั้งแค่องค์กร และระดับนโยบาย ซึ่งอาจสามารถทำงานวิจัย เป็นนักวิจัยให้กับพื้นที่ได้ด้วย
 
ประชุมสรุปงาน ศูนย์พื้นที่สมุทรปราการ โดยสรุปด้งนี้
 
1.  การจัดทำข่าวในพื้นที่ ยังน้อยอยู่คงต้องมีการพัฒนาการเก็บประเด็นเขียนข่าวมากขึ้น
 
2.  ขณะนี้มีการผลิตวีดิโอ 2 ชิ้นคือ เรื่องเกษตรพันธสัญญา ของคุณทวี ประดับศรี ซึ่งกำลังทำการตัดต่อ ด้วยปัญหาเรื่องภาพที่มีน้อย อีกชิ้นคือเรื่องประกันสังคม ที่ทางคุณณัฐวุฒิ จีระประดิษฐ์ รับผิดชอบ ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับเรื่องสัมภาษณ์ และภาพเพิ่ม ซึ่งทั้ง 2 เรื่องคงจะแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายนนี้ 
3.  เรื่องการวางแผนงานทำข่าวในพื้นที่ เดือนหน้าต้องมีการตามเรื่องของวิกฤติแรงงานที่ได้รับผลกระทบต่อสึนามิประเทศญี่ปุ่น ขณะนี้นายจ้างบางบริษัทได้มีคำสั่งในการผลิตเดินเครื่องเต็มร้อย ซึ่งคงต้องเฝ้าระวัง และช่วยกันทำข่าวเนื่องจากศูนย์เป็นพื้นที่ของคนงานอิเล็คทรอนิคส์ ยานยนต์
 
4.  เรื่องจดหมายข่าวในพื้นที่ ตอนนี้มีปัญหายังไม่ได้ทำ ติดอยู่ตรงที่ไม่ค่อยมีคนเขียนข่าวทำให้ต้องรอข่าว ที่ประชุมเสนอให้หาข่าวสารที่อยู่ในพื้นที่อื่นๆมาแลกเปลี่ยนในจดหมายข่าวพื้นที่ด้วย
 
 
ประชุมกองบรรณาธิการฯสัญจร
 
วาระแจ้งเพื่อทราบ
 
1.  ทางโครงการได้ส่งนักสื่อสารแรงงานเข้าร่วมการอบรมทีวีออนไลน์ กับทีมสื่อ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 5 คน ประกอบด้วย คุณทวี ประดับศรี,คุณสราวุธ ขันอาสา,คุณสวรรยา ผดาวัลย์ และยังมีผู้ดูแลโครงการการพัฒนาสื่อ 2 คนคือคุณวิชัย นราไพบูลย์,คุณวาสนา ลำดี ซึ่งได้มีการอบรมการตัดต่อวีดีโอด้วยโปร์แกรมพรีเมียร์โปร์ และการเขียนสคิปข่าว โดยจะมีการทำงานร่วมกันด้วยการส่งข่าววีดิโอไปยังเว็บไซต์ฟายเดย์ 
 
2.  วันที่ 28 พฤษภาคม 2554 สหภาพแรงงานพานาโซนิคฯ จัดอบรมทักษการเขียนข่าว ที่ศูนย์ฉะเชิงเทรา จัดให้ผู้เข้าร่วมลงทะเบียน 200 บาทต่อคน โดยขอความร่วมมือ ทางโครงการการพัฒนาสื่อฯ เรื่องวิทยากรฝึกอบรม
3.  สหพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเลคทรอนิคส์แห่งประเทศไทย จะจัดอบรมสร้างนักสื่อสารให้กับองค์กรสมาชิกในสหภาพแรงงานโดยจัดอบรม 2 วัน กำหนดการอบรมเขียนข่าว ตัดต่อวีดิโอ ซึ่งผู้เข้าร่วมต้องลงทะเบียน 300 บาทต่อคน และขอความร่วมมือกับทางโครงการการพัฒนาสื่อฯเรื่องวิทยากรอบรม(ยังไม่กำหนดวัน)
 
4.  เรื่องการส่งตัวแทนเข้าเป็นตัวแทนสมาชิกสภาผู้ชมผู้รับฟังรายการThaiPBS ซึ่งมีคุณวาสนา ลำดี เข้าไปในฐานะสื่อเว็บไซต์voicelabour.org คงต้องมีการทำงานร่วม โดยสมาชิกสภาผู้ชมฯมีน่าที่ในการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ชม ซึ่งนักสื่อสารแรงงาน เสนอให้ดูThaiPBS และช่วยกันแสดงความคิดเห็น ด้วยการแจ้งที่สมาชิกสภาฯ
 
 
วาระรายงานศูนย์ข่าวพื้นที่
 
(1)  ศูนย์พื้นที่ฉะเชิงเทรา-ปราจีน
 
1.  เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2554 ประชุมประจำเดือน ศูนย์แรงงานฉะเชิงเทราได้มีการเสนอให้ทุกสหภาพแรงงานที่เป็นสมาชิกเขียนข่าวมาส่งให้กับทางศูนย์เพื่อมาทำจดหมายข่าว ซึ่งมีสหภาพแรงงานในพื้นที่ที่ทำจดหมายข่าว 6 แห่ง
2.  การเขียนบทบรรณาธิการของศูนย์ฉะเชิงเทรา โดยคุณอรรถพล พรมหา ส่งให้ทางทีมกลางเพื่อจัดทำหนังสือพิมพ์แล้ว กลุ่มมีแนวคิดสร้างนักสื่อสารแรงงานเพิ่มเนื่องจากศูนย์ขาวฉะเชิงเทราขณะนี้นักสื่อสารที่ผ่านการอบรมไปทีมแรก เหลือทำงานเพียงคนเดียว
 
ที่ประชุมสรุปว่า ให้มีการจัดอบรมพร้อมกับทางสหภาพแรงงานพานาโซนิคฯ เพื่อการใช้งบของโครงการการพัฒนาสื่อฯ ในการสนับสนุนทีมวิทยากรลงพื้นที่
 
 
(2)  ศูนย์พื้นที่นครปฐม-สมุทรสาคร   
 
1.  จดหมายข่าวทางกลุ่มทำเดือนละ 4 ฉบับ ขาดเดือนเมษายน 54 ยังไม่ได้ทำ 
 
2.  การจัดทำวีดิโอสาระคดีข่าวขณะนี้ทางกลุ่มจัดทำเรื่องค่าจ้างคือชีวิต และกำลังทำเรื่องโรงเรียนในโรงงานอีกหนึ่งเรื่อง
 
3.  ประชุมกองบรรณาธิการกลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ กำหนดจัดอบรมนักสื่อสารแรงงานเพิ่ม โดยกำหนดเรื่องการอบรมเขียนข่าว 1 วัน ปัญหาคือขณะนี้ขาดคนทำงาน บุคลากรที่มาทำงานด้านสหภาพแรงงานมีน้อย คนที่เคยผ่านการอบรมเขียนข่าวถูกดึงให้ไปทำงานด้านอื่นๆในกลุ่ม
 
ที่ประชุม เสนอให้กำหนดวันฝึกอบรมเพื่อสร้างนักสื่อสารแรงงานเพิ่ม โดยทางโครงการการพัฒนาสื่อสนับสนุนทีมวิทยากร 
(3)  ศูนย์พื้นที่ระยอง-ชลบุรี
 
1.  ปัญหาขาดคนทำงานเหมือนกับพื้นที่อื่นๆ ขณะนี้มีทีมทำงาน 3 คน กลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก จัดการประชุมใหญ่ และมีการจัดวางแผนงาน จะเสนอให้มีการกำหนดแผนงานเรื่องการทำงานของนักสื่อสารแรงงาน และสร้างนักสื่อสารแรงงานเพิ่มในพื้นที่
 
2.  เรื่องการเขียนข่าวพื้นที่ ขณะนี้ปัญหาแรงงานมีมากแต่คนทำงานมีน้อยพื้นที่ห่างไกลทำให้ไปทำข่าวไม่ทัน แต่ก็จะพยายามปรับเท่าที่กำลังมี ขณะนี้ให้นายสมหมาย ประไว ตามข่าวเรื่องคนงานฟูจิซึ ที่เจ้าหน้าที่สวัสดิการจังหวัดสั่งให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ม.11/1 การจ้างงานเหมาค่าแรง และขณะนี้มีการไปตามถ่ายทำวีดิโอเรื่องคนงานที่โดนเครื่องบดมืออยู่ แต่ยังไม่เสร็จ
 
นายสราวุธ ขันอาสา จัดทำวีดิโอเรื่องแรงงานข้ามชาติที่มาจากประเทศลาว ที่ต้องจ่ายให้บริษัทจัดหางาน 20,000 บาท ที่ถูกหลอกมา 18 คน ตอนนี้ได้หนีกลับประเทศแล้ว จึงไม่เสร็จ
 
กำหนดจะทำเรื่องความปลอดภัยอีกเรื่องเนื่องจากมีคนงานของบริษัทแห่งหนึ่งจากคนงาน 80 กว่าคน มีปัญหาปอดเป็นจุด 40 กว่าคน 
 
ที่ประชุม เสนอให้ทำแบบระวัง เพิ่มความรอบคอบ แต่เห็นว่าควรทำให้เป็นข่าว
 
 
(4)  ศูนย์พื้นที่สมุทรปราการ
 
1.  ในพื้นที่หลงอบรมนักสื่อสารแรงงานเพิ่ม 2 เดือนแรกมีข่าวจำนวนมากส่งให้ส่วนกลาง แต่เดือนนี้ข่าวน้อยลง 
 
2.  สหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย ได้เสนอที่ประชุมกรรมการเรื่องการจัดอบรมนักสื่อสารแรงงาน ซึ่งคงต้องรอการประสานอีกครั้ง
 
3.  ข่าวในพื้นที่ยังมีปัญหา ทั้งการจัดทำข่าววีดิโอยังไม่เสร็จ จดหมายข่าว เดือนละ 1 ฉบับ ฉบับละ 8 หน้า ยังไม่ได้จัดทำในเดือนที่ผ่านมา
 
ที่ประชุมเสนอว่า ให้มีการจัดทำจดหมายข่าวหากทางกลุ่มอยากปรับเป็นรายสะดวกก็ได้ จะไม่ได้หนัก ต้องรอข่าวให้เต็มฉบับ
 
 
(5) ศูนย์พื้นที่สระบุรี 
 
1. ลาประชุม เนื่องจากติดงานในพื้นที่ 
 
 
วาระบทบรรณาธิการ- ข่าว
 
– เดือนมิถุนายน 2554 เป็นของบรรณาธิการศูนย์นครปฐม-สมุทรสาคร 
 
ที่ประชุม กำหนดเนื้อหาบทบรรณาธิการ ดังนี้ ยังคงต้องมีการพูดถึงข้อเสนอวันแรงงาน ปัญหาของสึนามิ การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมบริษัทต่างๆทั้งยานยนต์ อิเล็คทรอนิคส์ ประเด็นการเมือง การแถลงข่าวข้อเสนอแรงงานต่อการเมือง นโยบายการหาเสียงเลือกตั้ง
 
– การเขียนข่าวแรงงาน กับการเมืองในแต่ละพื้นที่ ให้สัมภาษณ์ ผู้นำแรงงาน ผู้ใช้แรงงาน เรื่องการใช้สิทธิ แนวคิดเรื่องการเลือกตั้ง แรงงานนอกระบบ
 
– ปัญหาแรงงานนอกระบบ /แรงงานข้ามชาติ ในพื้นที่
 
– ข่าวเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน ประกันสังคม ฯลฯ 
 
วาระการจัดเสวนา -อบรม
 
– การเสวนา “ทบทวนย่างก้าวนักข่าว วอยซ์เลเบอร์” 
 
ที่ประชุม กำหนดไว้ปลายเดือนมิถุนายน 2554
 
– การฝึกอบรมถ่ายภาพ- ถ่ายวีดีโอ แบบนักข่าวมืออาชีพ
 
ที่ประชุมกำหนดไว้ประมาณเดือน กรกฎาคม หรือสิงหาคม 2554
 
 
(6) เปิดแลกเปลี่ยนนักสื่อสารแรงงานสมุทรปราการกับกองบรรณาธิการฯ โดยสรุปได้ดังนี้ 
 
–  คิดว่าปัญหาเรื่องการทำเขียนข่าวของนักสื่อสารในพื้นที่ ยังมีปัญหาเรื่องการสร้างระบบ ความรับผิดชอบของนักสื่อสารฯ ที่มองว่าไม่ใช่งาน ไม่ใช่หน้าที่ ไม่ทำ 
 
–  มีข่าวแต่เขียนไม่ออก เนื่องจากต้องทำงานทั้งวัน ทำงานล่วงเวลา กลับมาถึงบ้านก็หมดแรงเหนื่อย
 
 ที่ประชุม สรุปร่วมกันว่า ปัญหาต่างๆ เป็นเพราะผู้นำแรงงานยังไม่ให้ความสำคัญในการจัดทำงานสื่อ ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ทั้งต่อสมาชิก และสังคม ฉะนั้น หน้าที่ของนักสื่อสารแรงงานจะต้องชัดต่อบทบาทหน้าที่ในการทำสื่อเพื่อการสร้างความรู้ ให้การศึกษา 
 
**********************************